หากเดินทางไปซื้อของไม่ได้…
ดีทรอยต์ เมืองใหญ่ที่สุดของมลรัฐมิชิแกน เป็นสัญลักษณ์ของอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐ เกิดมีข่าวประหลาดว่าเมืองดีทรอยต์ทั้งเมือง ไม่มีร้านขายอาหารสด/ร้านขายของชำ/ซูเปอร์มาร์เก็ตมาสามปีแล้ว!!! ทั้งนี้ตั้งแต่อุตสาหกรรมรถยนต์เกิดตกต่ำ ตามด้วยวิกฤตทางการเงินครั้งร้ายแรง กิจการขนาดใหญ่ล้มละลายกันแทบทั้งหมด คนตกงาน
Detroit lost its last chain grocery store three years ago when the last two Farmer Jack’s groceries closed. This seems incredible—a city of nearly 1 million people without a supermarket—but it’s true. No A&P. No Meijer’s. Not even a Wal-Mart. Any Detroiters who want fresh store-bought fruits and vegetables or wrapped meats have to get in their car and drive to the suburbs. That is, if they have a car.
In this food desert, some Detroiters have taken to growing their own produce. This has received a great deal of good press from advocates of local food movements, opponents of factory farming, back-to-the-land activists and others who see urban and small-scale farming as the future of American agriculture.
ใครจะซื้ออาหารสด ก็ต้องขับรถไปเมืองใกล้ๆ; ชาวเมืองทางฝั่งใต้ (จน) ต้องหันมาปลูกพืชกินเอง ส่วนทางด้านเหนือ (รวย) ก็เรียกร้องซูเปอร์สโตร์
ทีนี้ลองคิดถึงเมืองไทยนะครับ จากการศึกษาขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) เมื่อหลายปีก่อน ร้อยละ 25 ของราคาสินค้าไทย เป็นค่าโลจิสติกส์! ในขณะที่สินค้าจากประเทศพัฒนาแล้ว มีสัดส่วนแค่ครึ่งเดียวหรือน้อยกว่าไทย… ถ้าขืนยังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ ราคาสินค้าซึ่งถูกกำหนดโดยราคาตลาด ขายแพงนักก็ส่งออกไม่ได้ ส่วนค่าขนส่งก็ลดไม่ได้เหมือนกัน อย่างนี้อุตสาหกรรมต้นน้ำก็โดนกดราคา เหมือนกับที่เป็นมาน่ะซิครับ
ทำไมค่าขนส่งจึงแพง??? ราคาน้ำมันก็ถูกกว่าในหลายประเทศนะครับ ส่วนหนึ่งก็คงเพราะ
- ไม่มีอะไรอยู่ใกล้กันสักอย่าง จึงต้องขนส่งกันไกลๆ
- จะเป็นนาข้าว สวนยาง จะเป็นอะไรก็เป็นพืชเชิงเดี่ยวกันไปหมด ซื้อผักกิน ซื้อไข่กิน ซื้อหมู ซื้อปลา ซื้อน้ำมันมาเติมเพื่อไปหาซื้ออย่างอื่นมา
- อุตสาหกรรมไม่พึ่งวัตถุดิบในท้องถิ่นมากเท่าที่ควร ซื้อแหลก ขนแหลก
- รถไฟ เฮ้อ ที่เห็นใช้รถไฟขนสินค้ากันอย่างจริงจัง ก็มีน้ำมันนี่ล่ะครับ ดังนั้นราคาขายน้ำมัน จึงบวกต้นทุกการขนส่งทางรถไฟไปด้วยแล้ว หมายความว่าต้นทุนค่าขนส่งด้วยรถไฟ ถูกกว่าการขนส่งด้วยรถยนต์ แล้วทำไมกิจการต่างๆ จึงไม่เปลี่ยนวิธีขนส่ง? ที่จริงแล้ว น่าจะมีศูนย์กระจายสินค้า ตั้งอยู่ข้างๆ สถานีรถไฟด้วยซ้ำไปครับ แทนที่จะวิ่งไปวิ่งมากับกรุงเทพ เอารถวิ่งส่งระหว่างสถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุดกับร้านค้า น่าจะประหยัดกว่าตั้งเยอะ
การที่ค่าขนส่งคิดเป็นสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับราคาสินค้านั้น ยังมีนัยอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่มีชุมชนไหนเลยที่พึ่งตนเองได้ จะต้องทำการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นที่อยู่ไกลออกไปมากๆ ทีนี้ถ้าเกิดน้ำมันราคาแพงมากจนเติมไม่ไหว สินค้าก็ขึ้นราคาแพงจนซื้อไม่ไหว แล้วจะทำอย่างไรดีล่ะครับ
สมมุติว่าอากาศแห้งแล้วจัด ไฟฟ้าจากลาวผลิตไม่พอ พอไฟฟ้าไม่พอ ปั๊มน้ำมัน/ปั๊มก๊าซก็ทำงานไม่ได้เพราะว่าปั๊มใช้ไฟฟ้าทั้งนั้น พอไม่มีน้ำมัน ไปซื้อของไม่ได้ หมายความว่าสิ่งพอหาซื้อได้ ก็อยู่ในระยะเดินหรือขี่จักรยานนะครับ ว่าแต่ว่าวันนี้รู้หรือยังว่ามีอะไรอยู่ตรงไหน ในระยะที่เดินทางได้โดยไม่ใช้น้ำมัน
แหม ถ้าเกิดสินค้าขาดแคลน เกิดภัยพิบัติเดินทางไปไหนมาไหนไม่ได้ หรือเงินเฟ้อสูงอย่างที่เคยเกิดมาในหลายประเทศแล้ว มีเงินจะซื้ออะไรไม่ได้… อืม ไม่อยากคิดเลย… ถึงตอนนั้นแหละ จะรู้ว่าตัวเรารู้อะไรบ้าง
« « Prev : บ่ายหนึ่งกับ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น
5 ความคิดเห็น
อาจจะเกิดจนได้ มีเงินแล้วเดี้ยง ทุกเรื่องมีเบื้องหลังซับซ้อนนัก ที่เรารู้ๆแค่หางอึ่ง พอถูกล้วงตับข้อมูลลับแพร่กระจาย หน้าหงายหน้าซีดกันเป็นไก่ต้มทั้งโลก ของไทยเราเองก็ย่อยเสียเมื่อไหร่ อยากให้ถ่ายทอดข้อมูลที่เจ้าหนุ่มฝรั่งแกะรอยออกมาเปิดเผย จะได้ไหม เหมาะสมหรือเปล่า อิ
ทีวีเพิ่งออกข่าว น้ำมันพืชขาดตลาด แม้จะขึ้นราคาก็ยังขายให้คราวละขวดเล็กๆ แม่ค้าหันไปหาน้ำมันหมู เรื่องนี้เป็นแค่น้ำจิ้ม ถ้าน้ำมันแพงมากขึ้นๆ (ซึ่งก็แหงอยู่แล้ว) ขาดไฟฟ้าวันไหน ขี่ม้ามาสวนป่านะครับ อย่างเดือดร้อนก็แค่โยงน้ำจากบ่อมาใช้ ฟืนไฟหุงต้มพอมี อาหารพอได้ ก่อไฟพาลาโบล่าของเรายังไงละครับ อิอิ
สำหรับเรื่องน้ำ หากไม่มีไฟฟ้า หรือไดรโว่เจ๊ง ลองปั๊มเชือกก็ได้นะครับ แต่ว่าควรมีถังน้ำอยู่แถวปากบ่อ เพื่อจะได้ไม่ต้องยกน้ำขึ้นแท๊งค์ ประหยัดแรงไปอีกสิบเมตร — เรื่องนี้ ลองทำได้ก่อนเลยครับ (เอาไดรโว่ออกก่อน) ต้นทุนมีท่อประปาพลาสติกขนาด 1 นิ้ว ยาว 15 เมตรพร้อมข้อต่อ กงล้อจักรยาน 1 ล้อ เชือก 30 เมตร เศษผ้าเก่าๆ สำหรับผูกเป็นปมบนเชือก ที่เหลือเป็นโครงไม้ครับ
น่าสนใจมาก เรื่องนี้ผ่านตาตอนไหนก็ไม่รู้ ที่จริงน่าทำการทดลอง สำรองเครื่องมือดึงน้ำขึ้นมาใช้ ว่างๆจะทดลองทำนะครับ อิ
อย่าลืมค่าด่านตำรวจนะครับ มันเป็นสัดส่วนค่าใช้จ่ายที่มากจริงๆ จากเชียงใหม่ถึง กทม. ไม่ต่ำกว่าสิบด่าน ด่านละ 200 บาท ก็สองพันแล้ว ยังค่าเสียเวลาในการจอดอีกล่ะ
ผู้ประกอบการบางคนเล่าให้ผมฟังว่า ต้องเลิกทำกิจการเพราะไม่คุ้มกับค่าโดนด่านไถเงิน ..อนาถไหมประเทศไทยเรา