ร่วมใจปลูกป่าหลังคาโคราช

อ่าน: 3226

วันนี้ (23) โดยการผลักดันอย่างแข็งขันของนายอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอสีคิ้ว และชาวบ้านที่รู้สึกว่าไม่ทำอะไรไม่ได้แล้ว ได้ร่วมใจกันปลูกป่า ในพื้นที่เขาสะเดา ทางด้านเหนือของเขื่อนลำตะคอง พื้นที่นี้มีความสูงห้าร้อยกว่าเมตร เรียกได้ว่าเป็นหลังคาโคราช


คลิกบนรูปเพื่อดูภาพขยาย

มาปลูกป่ากันตรงนี้ ก็เพราะมันโกร๋นน่ะซิครับ คลิกดูแผนที่ การปลูกป่าจะไม่แก้ปัญหาอะไรในทันที ยังไม่สามารถหน่วงน้ำฝนไว้ได้มากในช่วงปีแรกๆ การทำลายล้างต้นไม้เกิดมาหลายปีแล้ว แต่จะใช้เวลาหลายปีกว่าจะฟื้นฟูขึ้นมาได้(บ้าง)

อย่างไรก็ตาม ลงมือทำเสียบ้าง ก็ยังดีกว่าเอาแต่นั่งบ่นบริกรรมไปนะครับ แต่งานนี้ ผมติดธุระ ไปร่วมไม่ได้ ถ้าหากใครอยากไป ขอเชิญที่พิกัด 14.928892, 101.580597 หรือ 14° 55′ 44.01″ เหนือ 101° 34′ 50.15″ ตะวันออก… ถ้ายังไม่แน่ใจว่าอยู่ตรงไหน คลิกที่ลิงก์แผนที่ในย่อหน้าก่อน แล้วซูม-แพนดูเอาเองครับ

ข่าวไทยรัฐออนไลน์

กรมอุทยานฯ สั่งเฝ้าระวัง 6 จุดเสี่ยงน้ำท่วม-ดินถล่ม ในเขตอุทยานฯ เขาใหญ่ ชี้อาจรุนแรงเหมือนเกิดที่ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช…

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. นายสุนันต์ อรุณนพรัตน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ขณะนี้ นายมาโนช การพนักงาน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้ให้ข้อมูลเข้ามาเป็นการด่วนว่าบริเวณเขาเขียว ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานฯ เขาใหญ่ ไม่กี่วันมานี้มีฝนตกปริมาณ 300 มิลลิเมตรในรอบ 24 ชั่วโมง ซึ่งตนสั่งให้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะหากฝนตกติดต่อกัน 3 วัน อาจเกิดเหตุน้ำท่วม ดินถล่ม คล้ายที่เกิดขึ้นที่ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช ในช่วงที่ผ่านมา และสร้างความเสียหายมาก ซึ่งขอเตือนว่าอย่าไปอยู่ในบริเวณนั้น เพราะเป็นพื้นที่อันตรายมากจริงๆ ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวสวยงามเหมือนที่หลายคนคิด เมื่อเกิดเหตุขึ้นจะลำบาก และส่งผลกระทบต่อคนในพื้นราบด้วย

ด้านนายมาโนช กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่จับตาพื้นที่ 6 จุด บริเวณอุทยานฯ เขาใหญ่ ซึ่งได้มีการติดตั้งกระบอกวัดน้ำฝนเอาไว้ โดยที่ผ่านมามีฝนตกหนักปริมาณ 300 มิลลิเมตร จนส่งผลให้เกิดดินถล่มเป็นครั้งแรกในเขตอุทยานฯเขาใหญ่ ทางฝั่ง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี แม้พื้นที่บริเวณนี้จะไม่มีการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวก็ยังเกิดเหตุการณ์ขึ้น ทั้งนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หากฝนตกติดต่อกันต่อเนื่องในปริมาณดังกล่าว 2-3 วันขึ้นไป บริเวณลุ่มน้ำมูล อ.วังน้ำเขียว อ.ปักธงชัย จะเกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนี้เป็นห่วงว่า จะมีปัญหาดินถล่มตามมาด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีรีสอร์ตจำนวนมากตั้งอยู่ เพราะไม่มีป่าไม้คอยยึดเกาะหน้าดิน ซึ่งต้องเฝ้าระวังตั้งแต่เดือนนี้ไปจนถึงต้นเดือน ต.ค.

โศกนาฏกรรมน้ำป่าในอินเดีย - อุทาหรณ์สำหรับคนที่ประมาทพลังของธรรมชาติ

« « Prev : แบตเตอรีโลก

Next : ในพื้นที่ประสบภัย มองหาอะไรดี » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 July 2011 เวลา 0:35

    ปลูกป่าน่ะมันง่ายนะผมว่า แต่การบริหารจัดการให้เกิดการปลูกต่างหากที่น่าสนใจกว่า เพราะที่ดินถูกบุกรุกทำไร่ ผมอยากทราบว่าเขาทำอย่างไร ชาวบ้านถึงยอมให้ปลูกป่าได้ มีการประนีประนอมผลประโยชน์อย่างไร

    ผมอยากเห็นมีการปลูกป่า (โดยเฉพาะป่าต้นน้ำ) ทั่วประเทศ จากนั้นทำอุตสาฯป่าไม้แบบยั่งยืนพร้อมกันไป แล้วนำผลประโยชน์คืนสู่ชาวบ้านแบบมีสัญญาต่อกัน เป็นเวลาเช่น 20 ปี จากนั้นคืนป่าให้หลวง แบบนี้มันก็วินๆ

    ควรมการวิจัยว่าพืชที่ปลูกเป็นพืชที่อุ้มน้ำได้มาก ด้วย

    ตอนนี้ป่าน้ำหนาว น่าสงสารมาก โกร๋นไปหมด ทั้งที่เป็นป่าต้นน้ำแม่นำสำคัญหลายสาย

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 23 July 2011 เวลา 0:48
    น้ำหนาวไม่ค่อยหนาวแล้ว เป็นผลจากการที่คนทำลายระบบนิเวศน์ลงโดยการบุกรุกถางป่าจนเหี้ยนหมดครับ ดินถูกแดดเผาโดยตรง ความชุ่มชื้นที่ผิวดินหายไปหมดเพราะแดดเผาดิน พอดินร้อน ฝนก็ไม่ตกเพราะเมฆไม่ก่อตัว น้ำไม่มี ต้นไม้ที่ยังไม่ถูกตัดก็โตลำบาก ลามไปเรื่อยเป็นวง พอต้นไม้ตาย ดินถูกเผาอีก ต่อไปเป็นทอดๆ

    การฟื้นฟู ต้นไม้ใหญ่ก็ต้องปลูกครับ แต่วัชพืชก็ต้องปล่อยให้ขึ้นคลุมดินด้วย จึงพอจะมีทาง

    http://www.youtube.com/watch?v=mgLJWaIXndY&list=PLDBC8BC60F303E184

  • #3 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 July 2011 เวลา 16:48

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.55415892601013 sec
Sidebar: 0.38017392158508 sec