เริ่มต้นกับ GIS (2)
ความคิดเกี่ยวกับ Base Map ราคาถูกในระบบ GIS
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี Base Map ที่สามารถนำมาใช้ได้อยู่หลายที่ เช่น Google Maps Yahoo! Maps หรือ Microsoft Virtual Earth ฯลฯ
Base Map เป็นต้นทุนที่อาจจะแพงที่สุดในการทำระบบ GIS เดิมทีจะต้องใช้เครื่องบิน บินถ่าย หรือซื้อภาพถ่ายจากดาวเทียม แล้วนำภาพมาแปลงเป็นพิกัดลงทีละจุด ในเมื่อมี Base Map ให้ใช้อยู่แล้ว การเริ่มต้นระบบ GIS จึงประหยัดเงินและเวลาลงได้มาก
เราดู Base Map จากอินเทอร์เน็ตผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา หมายความว่าถ้าจะใช้วิธีนี้ ก็ต้องมีความเร็วในการเชื่อมต่อไปต่างประเทศที่ดี (ไม่ใช่แค่วงจรที่เชื่อมต่อไปยังไอเอสพีมีความเร็วสูง แต่ต้องดึงข้อมูลจากต่างประเทศผ่านไอเอสพีนั้นได้เร็วจริงด้วย อย่าไปดูแค่คำว่า Hi-speed หรือ Broadband ซึ่งผู้บริโภคถูกหลอกกันมาซะเยอะแล้ว)
Base Map server ที่ต่างประเทศ ส่งรูปมาให้เราเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ (Tile) แล้วโปรแกรมควบคุม เอา Tile หลายๆ อันมาต่อกันเป็นแผนที่ เราย่อ/ขยาย และกวาดไปดูพื้นที่ข้างเคียงได้ผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา
เพื่อลดความจำเป็นในการพึ่งพา Base Map Server เราสามารถติดตั้ง Cache ได้ฟรี ถ้าเรียกดู Tile ไหนซ้ำๆ กัน รูปใน Tile นั้นจะโหลดจาก Cache ในประเทศ ซึ่งเร็วกว่าโหลดจาก Base Map Server ที่ต่างประเทศมาก
- ถ้าใช้แนวนี้ จะมีเครื่องแม่ข่ายหนึ่งเครื่องทำหน้าที่เป็น Cache ราคาคงประมาณสักสี่ห้าหมื่นบาท แล้วก็มีค่าวงจรอินเทอร์เน็ต (2 เมกะบิตต่อวินาที ก็เดือนละไม่กี่ร้อยบาท)
- Base Map ใช้ได้ฟรี, มีเขตจังหวัด เขตอำเภอพร้อมชื่อภาษาไทย มีแผนที่ถนน และภาพถ่ายจากดาวเทียมให้ฟรีด้วย (ภาพถ่ายจากดาวเทียมอาจจะเก่าไปบ้าง บางแห่งก็ไม่ชัด แต่ฟรี), ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องเป็นเบราว์เซอร์ที่มีอยู่แล้ว, โปรแกรม Cache เป็น Open Source (ฟรี), สามารถผสม Base Map จากข้อมูลหลายแหล่งได้
« « Prev : เริ่มต้นกับ GIS (1)
Next : เริ่มต้นกับ GIS (3) » »
7 ความคิดเห็น
มาเรียนหนังสือก่อนนอนครับ อิอิ
อืม..เทศบาลพิด’โลกน่าจะเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้ลองใช้ (ถ้าโปรแกรมเสร็จ) หรือว่าเทศบาลพิด’โลกจะให้งบโครงการน้อ? อิอิอิ (ถ้าให้นี่ขอจริงๆนะคะ ขอบอกๆๆๆ)
ในที่ประชุมซึ่งเป็นคณะผู้ก่อการที่มีทีมรพ.ทั้งหมด เห็นไปในแนวเดียวกันว่าน่าจะแขวนไว้ที่รพ.เพราะยังไงคณะทำงานอาหารปลอดภัยใช้้แน่ และรพ.น่าจะได้อานิสงส์เวลาวางแผนดำเนินงานตามระบาดวิทยาต่างๆ แต่ก็เกรงใจผู้จะให้ทุนเลยรอประชุมรอบหน้าที่ชม.แล้วค่อยถามให้ชัดว่ายังสนใจจะให้ทุนข้าพเจ้าอยู่หรือไม่ ตามแนวทางที่คิดที่วางไว้นี้ และถ้าสำเร็จแล้วท่านมีความเห็นควรไว้ที่ใด ใครควรเป็นผู้ใช้ สภาพัฒน์ฯภาคเหนือตอนบน? หรือว่าหน่วยงานในท้องถิ่นร่วมด้วย
เส้นทางนี้อีกยาวไกลเลยค่ะ แต่ถ้าไม่เริ่มเดินก็ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่จะไปถึง และเป็นความท้าทายที่อยากพิสูจน์ให้การทำงานตามระบบเดิมๆเห็นว่า วิธีเรียกประชุมตามโรงแรม ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายทั้งค่าห้องประชุม ค่าเดินทาง ฯลฯ ทำให้ง่ายได้ถ้าใช้เทคโนโลยีให้เ็ป็้นประโยชน์และใช้ใจในการทำงาน เลิกติดระบบ เลิกติดวิธีการ
1. พบปะกันบ่อยๆโดยมีเวลาแน่นอน อย่างวงนั่งเล่นคือบ่ายสองของวันอังคาร ไม่มีพิธีรีตอง ไม่มีการบรรยาย นั่งกินขนม-น้ำ(ฟรีที่ฝ่ายโภชนาการ) โน้ตบุ๊คเครื่องหนึ่ง คนพิมพ์สัมผัสเก่งๆคนหนึ่ง ที่เหลือคุยๆๆๆๆๆ คิดๆๆๆ เป็นการระดมสมองแบบดอกอะไร(ไดอะล็อกส์ : สุนทรียสนทนา์) นอกนั้นก็ใช้การคุยกันตามวาระต่างๆที่โคจรไปพบเจอ(เทคนิคเดียวกับพี่ตึ๋งเลยนะคะเนี่ย)
2. ลานปัญญา ..แลกเปลี่ยน เรียนรู้(เรียนรู้และงอกงามตามศัพท์ในบล็อกพี่ตึ๋ง) ผ่านิกระบวนการเขียน ที่แต่ละท่านเทความเห็นอย่างไม่มีกั๊ก ร่วมเรียนรู้และติดตามอย่างไม่ย่อท้อ แม้จะอยู่คนละแห่งหน
3. เอ็มเอสเอ็น อีเมล์ โทรศัพท์ เอสเอ็มเอส และพบเจอตามวาระ ของเฮฯทั้งกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ ..รวมทั้งกลุ่มอื่นๆที่อยู่เบื้องหลัง โดยไม่ต้องมีหนังสือเชิญ ไม่มีวาระการประชุม
ถ้างานนี้เป็นรูปธรรมเมื่อไหร่ เมื่อนั้นคงมีผลกระทบเป็นวงคลื่นได้บ้างค่ะ
ทำงานคนเดียวหัวโตตัวตาย ทำงานกับคนมากหลายจะสนุก ช่วยกันคนละไม้คนมือ สร้างบทเรียนที่ไม่มีในตำรา ไม่ต้องการสร้างราคาให้ตัวเอง มาช่วยกันสหเฮด เป็นเอกสิทธิ์ ของชาวปัญญา ชาวลานนี้น่ารักเป็นที่ซู๊ด ขยันกันมาเรียน ใครรู้ตัวว่าตัวใหญ่นั่งข้างหน้า ขอให้มานั่งแถวหลัง ห้ามบังน้องสาว ตัวเล็กทุกคน จัดระเบียบกันหน่อย ครู Lin Hui ใส่แว่นถือ……มาแล้วน่ะ ขอบอก
โดยนัยนี้ ผมคิดว่าระบบ GIS ไม่ควรเก็บไว้ใช้ในหน่วยงานแต่เพียงผู้เดียว (หรือขายข้อเท็จจริงสาธารณะ) แต่น่าจะเปิดออกสู่อินเทอร์เน็ตเพื่อที่ใครก็เข้ามาดูได้ วิธีนี้จะทำให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า ทำให้ความรู้ข้อมูล ต่อยอดไปได้ไกลเท่าที่มีกำลัง
ซึ่งก๊อกสองของนัยนี้คือระบบ GIS ควรเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ได้ สามารถใช้ Attributes จากหน่วยงานอื่นๆ ข้ามหน่วยงาน ข้ามกระทรวง มาซ้อนเป็น Layer ใหม่ สังเคราะห์ความเข้าใจใหม่ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติและชีวิตนะครับ — การเชื่อมโยงหมายถึงการเปิดเผย “ข้อมูล” (ตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐)
พี่เห็นด้วย ร้อยเปอร์เซตน์ค่ะ ปัญหามันอยู่ที่ว่า ต่างคนต่างทำ ต่างมาตรฐาน แล้วหวงข้อมูล มันยุ่งยากพอสมควร ในการนำ spatial data มา overlay ที่ได้จากต่างกระทรวงทะบวงกรมจึงไม่ง่ายอย่างที่คิด แต่ก็ไม่เกินความสามารถของคุณ Logos การที่จะตรึงแผนที่พื้นที่ด้านต่างๆ ของพื้นที่เดียวกันจากแหล่งข้อมูลต่างกัน (different thematic maps )
ก๊อกสองก็เช่นกัน เราให้เขาเชื่อมโยงของเราได้ แต่พอเราขอเชื่อมโยงเขา ติดเรื่องความลับ ความมั่นคง ความปลอดภัย ฯลฯ. พี่จึงอยากให้สำรวจดูก่อนว่ามีอะไร ที่พอเชื่อถือได้ที่เขาให้เราได้ เราก็รวบรวมดูก่อน แล้วมา update เอาเองค่ะ ไม่ต้องการ garbage ค่ะ พรบ.ก็พรบ.เถอะ ตัวหนังกับการปฏิบัติ มันไม่เหมือนอย่างที่เราคิดค่ะ
นี่ไงจึงอยากเจอตัวเป็นๆ นั่งสุมหัว สหเฮด (heads) ดอกอะไรกัน จนกระจ่าง ฟ้าแจ้งจ่างป่างเสียก่อน เป็นลำดับแรก หลังจากนั้นแบ่งหน้าที่ช่วยกันคนละไม้คนละมือ ร่วมด้วยช่วยกัน แล้วสร้างคนรุ่นใหม่ให้รองรับงานเดินหน้าต่อไปได้ โดยมีรุ่นพี่ป้าน้าอาคอยให้ความช่วยเหลือ เป็นที่ปรึกษา คอยช่วยแก้ไขปัญหาให้ ให้ความมั่นใจ เชื่อมั่น ใจมันสู้เสียอย่างทุกอย่างควรทำได้ สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นตัวอย่างค่ะ ลงมือทำแล้วก็จะได้เรียนรู้ ปัญหามาก็ปัญญามี เราทำงานโดยใช้สติเป็นตัวตั้งมิใช่หรือค่ะ
เห็นด้วยกับรอดกอดนะในเรื่องไม่ควรเก็บไว้ที่หน่วยงานแต่เพียงผู้เดียว
เห็นด้วยกับพี่หลินตรงที่พึงระวังเรื่องขยะข้อมูลจึงควรแค่ใช้เพียงเบื้องต้นแล้วกลั่น คัดทิ้ง รวบรวมใหม่
เห็นด้วยกับรอกอดที่ไม่จำเป็นต้องสร้าง base map ขึ้นมาใหม่ทุกครั้ง น่าจะต่อยอดไปในมุมที่ต้องการเป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่ากว่า ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดนความห็นของพี่คือเวลา
สุมหัวกันก็หน่อยดีนะค่ะ