เริ่มต้นกับ GIS (3)
ลงทุนลงแรงกับ Attributes
ประโยชน์แท้จริงของ GIS ก็อยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจ ที่สังเคราะห์ขึ้นมาจาก Attributes นี่ล่ะครับ GIS เป็นเพียงเครื่องมือที่อิงกับแผนที่ ที่เข้ามาช่วยให้เรามองเห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลในมิติต่างๆ
ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจได้ว่าจะหาข้อมูลไปทำ Attribute อะไร ก็น่าจะตอบตัวเองก่อนว่าทำไปแล้ว ได้ประโยชน์อะไร; ในระบบ GIS การเพิ่ม Attributes เพิ่ม Layers ทำได้ง่ายมาก (เพราะข้อมูลเก็บในฐานข้อมูลซึ่เรียกใช้สะดวก และใช้คอมพิวเตอร์วาดรูปซึ่งทำได้ง่าย) แต่การเก็บข้อมูลนั้น กลับใช้แรงงาน และเวลาอย่างมากมาย
เมื่อออกไปในพื้นที่เพิ่อเก็บข้อมูล จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกครั้ง หากไปครั้งเดียวแต่เก็บข้อมูลได้หลายมิติ ก็จะประหยัดกว่ามาก
การจัดทำระบบ GIS ในเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของราชการ ใช้วิธีซื้อแหลกกันมาตั้งนานแล้วนะครับ เรื่องที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไปแล้ว การซื้อแหลก มีข้อดีอยู่อย่างหนึ่ง คือระบบมักจะอิงอยู่กับซอฟต์แวร์มาตรฐานไม่กี่ตัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันได้ (ถ้าจะทำ)
การเก็บข้อมูล
ดังที่กล่าวไว้ในตอน (1) ข้อมูลที่จะใช้กับ GIS มีสองส่วนคือข้อมูลแผนที่ และข้อมูลเชิงบรรยาย — คือบอกว่าอะไรอยู่ตรงไหน
วิธีเก็บข้อมูลที่เหมาะที่สุด คือวาดแผนที่ กำหนดพิกัดเส้นรุ้ง/เส้นแวงตามมุมของพื้นที่ แล้วจดใส่กระดาษพร้อมข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes) ที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่นั้น จากนั้นค่อยนำกลับมาป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน.. คืนนี้ ต้องนอนเร็ว พรุ่งนี้ไปหาหมอครับ
« « Prev : เริ่มต้นกับ GIS (2)
Next : มูลนิธิ OpenCARE จดทะเบียนได้แล้ว » »
5 ความคิดเห็น
ตามติดค่ะ
ไปหาหมอ?
จากบทเกริ่นนำใน เริ่มต้นกับ GIS (1) “เป็นความพยายามที่จะอธิบายเรื่องที่(ยัง)จับต้องไม่ได้ ให้ผู้ที่(ยัง)ไม่เคยใช้เข้าใจ”
ตามอ่านมาถึงตอนนี้ ขอยืนยันว่า ความพยายามของคุณรอกอดส่งผลเป็นที่น่าพอใจค่ะ
ขอบคุณที่ทำให้เข้าใจ ในเรื่องที่ … ไม่เคยรู้มาก่อน อิอิ
อย่าลืมเอา GPS ไปหาหมอด้วยนะ จะได้กำหนดพิกัดหมอ อิอิ (แซวววว)
เหอะน่า เวลาพูดเรื่องใครไปหาหมอในลานนี้น่ะ คนอ่านสะดุ้งเป็นแถวๆ (กลัวเข้าเนื้อตัวเองมั๊งเนอะ)
ดีแล้วๆที่เป็นเด็กดีไปให้หมอช่วยดูแลน่ะ เรื่องนี้ต้องขยันหน่อยขอบอก