การล่มสลายของประชาธิปไตย

อ่าน: 4348

ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เขียนบันทึกเอาไว้อันหนึ่ง ที่เอามารีไชเคิลเป็นบันทึกข้างล่างนะครับ แก้ไขนิดหน่อย:

มีผู้กล่าวว่า Alexander Fraser Tytler หรือ Lord Woodhouselee (1747-1813) เป็นผู้เขียนไว้ใน The Fall of Athenian Republic การล่มสลายของสาธารณรัฐเอเธนส์ (ต้นแบบประชาธิปไตย) ว่า

A democracy is always temporary in nature; it simply cannot exist as a permanent form of government. A democracy will continue to exist up until the time that voters discover that they can vote themselves generous gifts from the public treasury. From that moment on, the majority always votes for the candidates who promise the most benefits from the public treasury, with the result that every democracy will finally collapse due to loose fiscal policy, which is always followed by a dictatorship.

กล่าวโดยย่อคือประชาธิปไตยล่ม สลายด้วยประชานิยม ผู้ออกเสียงลงคะแนนเองนั่นแหละ ที่เลือกทำลายประชาธิปไตยโดยการโหวตให้กับคนที่สัญญาว่าจะให้สูงสุด สถานการณ์แบบนี้ มักจบลงด้วยการปกครองแบบเผด็จการอยู่เสมอๆ

และมี Quote อีกอันหนึ่ง โดย Tytler เช่นกัน กล่าวว่า

The average age of the worlds greatest civilizations from the beginning of history has been about 200 years. During those 200 years, these nations always progressed through the following sequence:

  • From Bondage to spiritual faith; (จากการกดขี่ สู่ศรัทธาต่อศูนย์รวมของกลุ่ม)
  • From spiritual faith to great courage; (จากศรัทธา สู่ความกล้าเผชิญ)
  • From courage to liberty; (จากความกล้าเผชิญ สู่เสรีภาพ)
  • From liberty to abundance; (จากเสรีภาพ สู่ความอุดมสมบูรณ์)
  • From abundance to complacency; (จากความอุดมสมบูรณ์ สู่ความพึงพอใจ)
  • From complacency to apathy; (จากความพึงพอใจ สู่การขาดความเอาใจใส่)
  • From apathy to dependence; (จากการขาดความเอาใจใส่ สู่ภาวะที่ช่วยตัวเองไม่ได้)
  • From dependence back into bondage. (จากภาวะช่วยตัวเองไม่ได้ ย้อนกลับสู่ารกดขี่)

ถ้าเชื่อ Tytler ก็ควรมองให้เห็นความจริงว่า ไม่ว่าตอนนี้จะยืนอยู่ที่ใด จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นอะไร มันก็จะไม่นิ่งอยู่อย่างนั้นหรอกครับ [สถาบันสถาปนา] — การที่ตอนนี้สังคมเราอยู่ตรงไหน ขึ้นกับมุมมองของแต่ละคน; ฝ่ายหนึ่งมองว่าอยู่ตรง From courage to liberty ฝ่ายอื่นมองว่าอยู่ที่ From dependence back into bondage ถ้ามุมมองกลับเฟสกัน 180° อย่างนี้ จะไปคุยกันรู้เรื่องได้อย่างไร?

สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพพะยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

เอกสารอ้างอิง

« « Prev : สวนกล่อง

Next : อากาศพลศาสตร์ สำหรับรถบัส » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 April 2010 เวลา 6:17

    อืม เบิร์ดนึกถึงความหมายของการเลือกตั้งน่ะค่ะ  จำไม่ได้ว่าอ่านจากไหนแต่ชอบใจความหมายอันนี้…
    ความหมายของการเลือกตั้งอันเป็นหน้าที่ของคนในชาติทุกคนที่คิดว่าตัวเองเป็นประชาธิปไตยมี 4 อย่าง
    1. Free - มีเสรีภาพ 
    2. Fair - มีความเสมอภาค เป็นธรรม ยุติธรรม ไม่ข่มขู่ แม้ในการหาเสียงก็มีความเสมอภาค…ทุกคนสามารถหาเสียงได้อย่างเสมอภาคกัน
    3. Regular - มีความสม่ำเสมอ คือมีกำหนดการเลือกตั้งที่สม่ำเสมอ เป็นประจำ ไม่ใช่ขึ้นกับความต้องการของใคร หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
    4. Meaningful - มีความหมายต่อคนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง เป็นการแสดงออกซึ่งสิทธิ์ที่เขาจะเลือกตัวแทน เลือกนโยบาย จะเลือกเพราะชอบ เลือกเพราะเกลียดขี้หน้าอีกคนหนึ่ง หรือเพราะหล่อโดนใจ สิ่งเหล่านี้ก็เป็น”ความหมาย”ของการเลือกตั้งที่สำคัญที่สุด แต่ดูเหมือนเราจะให้ความสำคัญน้อยที่สุด ;)

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 April 2010 เวลา 10:08

    เรากำลังตกอยู่นอกทฤษฎีประชาธิปไตย
    ถ้าตีความตามปกติจะไม่ทันการ
    ประเทศนี้กำลังสร้างระบบกำมะลอ
    ช่วยวิเคราะห์ดูให้ดีๆ

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 April 2010 เวลา 10:24

    มุมที่หนึ่ง ประเทศชาติกำลังตกอยู่ภายใต้การสร้างกระแสบิดเบือนความหมายประชาธิปไตยในอุดมคติ โดยใช้ความได้เปรียบและสร้างกระแสบางอย่างโดยอิงคำว่าประชาธิปไตย สันติ อหิงสา ใช้เครื่องมือทุกอย่างที่โน้มน้าวคนกลุ่มหนึ่งที่มีจุดอ่อนไหวในเรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์ ประชาธิปไตยในแนวนี้แฝงด้วยเหลี่ยมอันมีสาระเพื่อตัวตนไว้ และจะแสดงออกเมื่อตัวเองได้อำนาจมาแล้วและก้อ้างประชาธิปไตยต่อไปผนวกกับการโฆษณาให้ประชาคล้อยตาม นี่คือการบิดเบือนครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย

    อีกมุมหนึ่ง มันเป็นระยะผ่านของประชาธิปไตยแบบไทยๆ แม้จะมีเงามืดเข้ามาครอบประชาธิปไตยไทย ส่วนตัวเชื่อว่าคุณธรรม ความถูกต้องและเส้นทางเดินที่เหมาะสมจะเป็นแรงต้าน คัดหางเสือให้สังคมบิดกลับไปในทางที่เหมาะสมต่อไปในท้ายที่สุด ซึ่งอาจจะใช้เวลาไม่น้อยก็มาก ไม่เร็วก็ช้า แต่คนที่เห็นความบิดเบี้ยวของประชาธิปไตยจะออกมาเป็นแรงต้าน ซึ่งเรา ท่าน หากเข้าใจและเห็นก็ต้องมีส่วนร่วมเป็นแรงต้านต่อการบิดเบือนประชาธิปไตยสีแดงเท่าที่จะทำได้

    หาก พลังคือแรงที่จะนำพาสังคมเดินไปอย่างถูกต้อง เราต้องเข้าร่วมเป็นพลังนั้นเพื่อเป็น “อีกแรงหนึ่ง” ที่จะถาโถมลงไปให้เป็นพลังที่มากกว่าคัดหางเสือสังคมให้ไปในทิศทางที่ถูกต้องกว่า….

  • #4 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 April 2010 เวลา 17:23
    มนุษย์กระจ้อยร่อย ทำอะไรเองทั้งหมดไม่ได้ ยังไงก็ต้องพึ่งพาอาศัยกัน… แต่ทั้งๆ ที่รู้ ก็ยังขวนขวาย กอบโกยเพื่อประโยชน์ของตน ทั้งๆ ที่ ถ้าตั้งเป้าและทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ตัวเองก็จะได้ด้วยอยู่ดี… แต่ว่ามันช้าไงครับ โกยก่อน คนอื่นช่างหัวมัน

    ก็เท่านั้นแหละครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.66539001464844 sec
Sidebar: 0.53523397445679 sec