Pentatonic Scale รู้โดยไม่ต้องเรียน
ใน World Science Festival 2009 เมื่อปีที่แล้ว Bobby McFerrin แสดงให้ผู้ร่วมสัมนาทั้งหมดเห็นการสอนแบบไม่ต้องสอน ใช้ทฤษฎีดนตรีง่ายๆ เรียกว่า Pentatonic Scale (หนึ่ง octave มีโน๊ต 5 ตัว เช่นในสเกล C ประกอบไปด้วย โด เร มี ซอล ลา) ถึงจะไม่รู้ทฤษฎีดนตรี และไม่เคยได้ยินคำว่า Pentatonic Scale มาก่อน ผู้ฟังทั้งห้อง ก็ต่อได้ถูกต้อง
เรื่องนี้มีประเด็นน่าสนใจสองอย่าง คือ (1) ทำไมต้องจับความรู้ยัดเยียด เหมือนกับไม่มีความเชื่อใจผู้เรียน แค่สะกิดนิดเดียวด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ก็อาจจะได้ผลสมบูรณ์ตามที่ตั้งใจก็ได้ (2) วิธีการนำเสนอ+ถ่ายทอด อาจจะสำคัญกว่าหลักสูตร เช่นเดียวกับประโยคที่ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ของ Einstein ก็ได้
การเรียนรู้ ทำไมต้องเกิดในสถาบันการศึกษาเท่านั้น?
« « Prev : MAD จะไม่เละถ้าไม่โง่
Next : ประวัติอย่างย่อของ ICT ในเมืองไทย พ.ศ.2511-2550 » »
10 ความคิดเห็น
เป็นคำถามและประเด็นที่น่าสนใจดีค่ะ ขอบคุณค่ะ เรียนรู้ตลอดชีวิตที่ไหนก็ได้ จากใครก็ได้
สุดยอดจริงๆ สุดยอดสำหรับแง่คิดที่เราหยิบเอาไปคิดต่อว่าการทำงานกับคนในสนามจริงนั้น ภายใต้เงื่อนไขที่มีอยู่และเงื่อนไขที่เราน่าจจะสร้างสรรคขึ้นมานั่นคืออะไรเพื่อการเรียนรู้ของคน
สรุปว่าคนทำงานก็ต้องเป็นมืออาชีพ และมีมาตรฐานต่อไป ทั้งที่รู้ว่าไม่ใช่ทางที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไงกับระบบห่วยๆ แบบ top-down อย่างนี้ครับ
บ้านเรามีพวกรู้แห้งๆ บ้าทฤษฎี บ้าอุดมคติ บ้าอุดมการณ์ พวกรู้ไปหมด กับพวกที่ใช้แต่คำว่า “ต้อง” ในทุกประโยค เยอะเกินไปแล้วครับ น่าจะส่งออกคนเก่งเหล่านี้ไปช่วยประเทศทางอัฟริกาบ้าง
อื่อฮื้อ
บ้านเรามีพวกรู้แห้งๆ บ้าทฤษฎี บ้าอุดมคติ บ้าอุดมการณ์ พวกรู้ไปหมด กับพวกที่ใช้แต่คำว่า “ต้อง” ในทุกประโยค เยอะเกินไปแล้วครับ น่าจะส่งออกคนเก่งเหล่านี้ไปช่วยประเทศทางอัฟริกาบ้าง
ส่งมาสวนป่าก็ได้ครับ จะเอามาขนขี้วัว แคว๊กๆ
แค่ใช้กระบวนการที่เหมาะสมปลุกเร้าให้เกิดจินตนาการ กระบวนการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นเองได้ ที่ไหนก็ไม่สำคัญแล้วล่ะค่ะ แต่ข้อสำคัญผู้เรียนต้องลงมือทำ ต้องเข้าร่วมกระบวนการโตยเน่อ ^_^
Pentatonic Scale ได้ยินมาตั้งแต่มัธยม แต่ไม่เก็ท แต่คนที่เข้าใจเค้าก็พูดทับศัทพ์เป็นเราธรรมดา ปล่อยให้เด็กๆเอ๋อไปตามๆกัน
วันนี้ฟังคุณ กระทิง พูลผล พูดในงาน IgniteBkk มีประโยคโดนใจว่า “การศึกษาที่ดี คือการศึกษาที่ให้แรงบันดาลใจ”
ถ้าดู clip นี้เมื่อ 18 ปีที่แล้วบางทีมันอาจจะจุดประกายอะไรผมได้มากกว่านี้
ได้มากได้น้อย ก็ยังดีกว่ารอ หรือมีเหตุผลไปเรื่อยๆ
ที่ยากที่สุดในกระบวนการเรียน คือหาวิธีเรียนรู้ที่เหมาะกับแต่ละคน เมื่อพบแล้ว ทีนี้จะเก่ง จะกว้างและลึกขึ้นเรื่อยๆ ครับ ยิ่งพบเร็ว ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์
เจ๋งอ่ะ เรียนรู้ด้วยธรรมชาติ ดูแล้วร้องตามไปด้วย รื่นไหลดี