นักการศึกษา วิพากษ์การศึกษา
อ่าน: 4038
เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงของอังกฤษ ให้ภาพที่น่าคิดอันหนึ่ง ว่าการศึกษาในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ระบบการศึกษาในปัจจุบัน ถูกออกแบบมาสองร้อยกว่าปีแล้ว ก่อนหน้านั้นไม่มีการศึกษาแบบที่เราคุ้นเคยกัน และเป็นไปเพื่อเตรียมคนสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ระบบการศึกษาจึงเตรียมคนออกมาอย่างเป็นอุตสาหกรรม… ถ้าระบบแบบนี้เวิร์คจริง ทำไมจึงมีคนไม่ประสบความสำเร็จ/ต้องดิ้นรน/เป็นทุกข์มากกว่า
มีผลการทดสอบ Divergent Thinking กับเด็ก 1500 คน — Divergent Thinking (คิดอย่างหลากหลาย) คือความสามารถในการมองเห็น “คำตอบ” หลายคำตอบ ไม่คิดแบบตัดตอนเป็นส่วนๆ (เพราะนี่ จึงเป็นนั่น แล้วจึงเป็นโน่น (ถ้าผิด ก็ผิดระเนระนาดทั้งยวงอย่างน่าสงสาร)) หรือพยายามหาคำตอบแบบรวบยอด (คำตอบเดียวใช้ได้ทุกสถานการณ์) เด็กระดับอนุบาลได้คะแนนสูง (98%) แต่เมื่อเด็กคนเดียวกันโตขึ้น ได้รับการศึกษามากขึ้น กลับมีคะแนนต่ำลง… ระบบการศึกษา ทำให้คนแคบลงหรือเปล่า??
พันธุ์ข้าวที่เรากินกันตอนนี้ คงไม่เหมือนกับพันธุ์ที่กินกันตอนต้นรัตนโกสินทร์ ขนมปังก็เช่นกัน คงเปลี่ยนไปทั้งรสชาติและกระบวนการผลิต แต่การศึกษายังเป็นระบบ “ผู้รู้” สั่งสอนภายใต้ “มาตรฐานการศึกษา” ผลิตคนออกมาเหมือนสินค้าอุตสาหกรรม
การศึกษาตามรูปแบบปัจจุบัน แยกไม่ออกระหว่างการสอนกับการยัด การรับรู้กับการเรียนรู้ โดยมีหลักสูตรและมาตรฐานเป็นตัวบังคับ
« « Prev : สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ
Next : อิฐกระดาษ อิฐต้นไม้ » »
4 ความคิดเห็น
ประเด็นนี้ชัดมากๆ ตีเบ้าตาแตกเลยทีเดียวแหละ
เป็นที่ไปที่มาว่า ทำไมเราจึงมายืนอยู่จุดนี้
มนุษย์มอง ออกแบบ ระบบการศึกษาเพื่อสนองตอบในยุคนั้นๆ
เห็นว่าอุตสาหกรรมดีก็โหมใส่ แต่ตัดรอนในมิติอื่นๆที่เป็นเสาหลักของสังคมพื้นฐาน
ไม่ได้สร้างระบบการศึกษาที่สอดรับให้ก้าวหน้าเป็นแผงขึ้นไปด้วยกัน
การสุดโต้งด้านหนึ่งด้านใด อาจจะพิจารณาได้ว่า
แม้แต่การออกแบบการศึกษา ก็ออกแบบแผนมาด้วยความรู้ที่ไม่พอใช้ ไม่รอบคอบ
สังคมโลกจึงอยู่กับความรู้แบบงูกินหาง เดินตามก้นกันต้อยๆ
เจริญเท่าไหร่ ก็ทุกข์มากขึ้นเท่านั้น
ถึงกระนั้นก็ดี ยังดื้อตาใส กันอยู่อย่างที่เห็นๆนี่แหละ
สังคมบางส่วนที่ อ๋อ จึงแสวงหาทางออก ต่างๆนานา
ยังไม่ควบแน่นการจัดการความรู้ให้ไปเป็นแนวทางเดียวกันได้เหมือนเมื่อ 200 ปี ที่ผ่านมา
ประจวบกับสงครามโลก ช่วยเป็นตัวเร่งให้เห็นว่าอุตสาหกรรมช่วยสงคราม ช่วยฟื้นฟู ทุกอย่างได้รวดเร็วก้าวหน้า
จึงก้าวพรวดๆ ไม่ดูตาม้าตาเรือ ถนนทุกสายมุ่งไปอุตสาหกรรม ซึ่งมีทั้งสกปรก มลภาวะตามมาอย่างน่ากลัว
หลังสงครามสงบแล้ว น่าจะทุ่มเทสร้างอุตสาหกรรมที่สะอาดปลอดภัย ไม่ไปข้องแวะธรรมชาติ
แต่ก็อีกนั่นแหละ เมื่อทุกอย่างอยู่ภายใต้กิเลิศ จะละทิ้งสิ่งที่ควรจะรับผิดชอบ จะก้าวหน้าแบบข้าจะรวยคนเดียว รวยเร็วๆ เป็นเจ้าโลก
ส่งผล ทำเอานกเอี้ยงไม่มีควายเฒ่าจะเลี้ยง
ความวิบัติที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมและสังคมมนุษย์นี้แหละ กำลังตามเช็กบิลระบบการศึกษาที่สุดโต้ง
ไม่รู้ผิดหรือถูกนะครับ ตื่นมาอ่านแล้ว เห็นด้วยว่าใช่เลย ก็เลยคันในหัวจ๋ายยยยยยยยยย
ช่วงที่พยาบาลอุบล 84 คนมาสวนป่าวันที่ 23-24-25 เดือนนี้
ถ้าเทวดาไปช่วยขยายความเรื่องนี้ให้นักศึกษาพยาบาลฟังจะจ๊าบบบส์มาก
รวมทั้งเอาเกมส์ ปั้นพระ เกมส์ตั้งไข่ ไปเล่นด้วย จะสนุก
หมอเจ๊ หมอจอมป่วน แห้วซ่าส์ เก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าแล้ว
ถ้าไม่ว่างอาจจะเจาะไปวันหนึ่งวันใดก็ได้
ช่วงนั้นน่าจะหนาวมีหมอกบางๆบ้างแล้ว
เข้าตำรา 7 วัน อาบน้ำขันเดียว
อิอิ
หากผู้เรียนไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม อันตราย
หากผู้สอนก็ไม่รู้ว่าสอนไปเพื่ออะไร แบบไหน ฯ ยิ่งอันตราย
หากผู้สอนรู้วัตถุประสงค์ รู้วิธีการ แต่ทั้งหมดนั้นไม่สอดคล้องกับสถานการณ์สังคมปัจจุบันเสียแล้ว
การศึกษาจะเป็นความหวังของประเทศไทยได้อย่างไร
คลำหาทางกันต่อไป สักวันคงมีทางออกดีดี จนเกิด Critical Change
#3 ระบบการศึกษามี teach how to learn น้อยเกินไป ส่วนการเรียนมี learn how to learn น้อยกว่าอีกครับ ถ้าค้นพบ ถือว่าโชคดีมาก แต่จะเอาเวลาและโอกาสจากไหนล่ะครับ — มีสักกี่คน ที่เลือกสาขาวิชาที่ตนชอบและเหมาะกับตนที่สุด (คือรู้ด้วยว่าสาขาวิชาอื่นๆ ที่ไม่ได้เลือกนั้น ไม่เหมาะกับตัว)
— เขียนต่อหน่อยครับ เมื่อกี้ออกไปประชุมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย —
วิดีโอชุดนี้ เป็นความเห็นของอาจารย์ไร้กรอบ พูดที่ มอ. เรื่องระบบการศึกษา ยาวเกือบสองชั่วโมงแต่น่าฟังมากครับ แต่ต้องใจกว้างหน่อย http://www.youtube.com/watch?v=Jbkg1_QCNx0&feature=PlayList&p=EE2445DBBB96635C&index=0&playnext=1
เรียนแล้วเครียด ทำงานแล้วเครียด สงสัยจะผิดทางแล้วล่ะครับ