แบบร่างเตาเผาดิน เผาอิฐ
อ่าน: 5267วันนี้ตื่นขึ้นมาตาลีตาเหลือก รีบแต่งตัวจะไปชุมชนบางบัวซึ่งตามกำหนดการ ทางชุมชนบางบัวเชิญไป “ร่วมดูงาน และประชุมเครือร่วมกับคณะของ UN ที่จะมาคุยสภาพปัญหา ตลอดจนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศตนเอง” และอาจจะมี “ทีมงาน Let’s do it ที่มาจากเอสโทเนีย (ประเทศต้นตำหรับของการที่ประชาชน ลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหา(ขยะ)ของตนเอง) กับทีมของสหประชาติจะไปแวะดูงานที่นี่ด้วย”
ขับรถออกมาจากบ้านแล้ว ก็โทรไปแซวพรรคพวกหน่อย ปรากฏว่างานเขายกเลิกหรือเลื่อนออกไปก่อนก็ไม่รู้ แต่วันนี้ไม่มี… ทำยังไงล่ะ
ก็เลยแก้เขินโดยการแวะไปสั่ง paramotor ชุดหนึ่ง จะให้เพื่อนเป็นของขวัญ (ที่จริงจะให้เขาลองบินเล่นเอง ลองติดตั้งระบบควบคุม UAV ซึ่งถ้าใช้ได้ ก็จะเอาค่า settings มาใช้เลย) — ว่ากันที่จริง paramotor ไม่เหมาะกับการบินสำรวจทำแผนที่สถานการณ์เนื่อง จากใช้ร่มเป็น airfoil เกิด drag มากมาย จึงบินได้ช้ามาก จะครอบคลุมพื้นที่ต่อการขึ้นบินแต่ละครั้งได้ต่ำ… แต่ผมสนใจตรงนี้แหละครับ เพราะว่ามันบินช้า การควบคุมจึงยากกว่าเครื่องบินที่บินเร็ว มี airflow ต่ำกว่ามาก บินไปเจอลมกรรโชก อาจ stall ได้ อยากดูว่า stability control เค้าทำได้ดีขนาดไหน การควบคุมมีแค่ 2 ช่อง คือความเร็วของใบพัด (trust) และเลี้ยวซ้ายขวา (yaw) เวิร์คก็ดี ถ้าไม่เวิร์คก็ไม่เป็นไร ไม่กี่พันบาท ค่าความรู้แค่นี้ไม่แพง — แต่ถ้าเกิดใช้งานได้ ทีนี้เราเปลี่ยนร่ม ให้เป็น airfoil มาตรฐานก็ได้
กลับมาเรื่องเตา ถ้าถามถึงความจำเป็น ไม่มีหรอกครับ ซื้อเอาก็ได้ จ้างเค้าเผาก็ได้ แต่ว่าอยากลองทำเองอ่ะ
แนวคิดคือแสวงเครื่องให้มากที่สุด ใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ให้มากที่สุด ใช้เงินซื้อน้อยที่สุด ไม่มีประสิทธิภาพก็ไม่เป็นไร ไม่ลองไม่รู้
เตาสี… สีอะไรหว่า ฟ้าอมเขียวก็แล้วกัน เป็นเตาลักษณะครึ่งทรงกระบอก ทำจากดิน ก็ขุดมาปั้นไงครับ ส่วนนี้ขุดดินลงไปก็ได้ ดินเป็นฉนวนความร้อนอยู่แล้ว ปั้นแต่หลังคาซึ่งใช้โครงไม้เอาตาข่ายคลุมให้ยึดดิน พอกด้วยโคลนหนาแล้วทิ้งให้แห้ง
ไฟ ใช้ gasiferier สีน้ำเงิน ใส่ข้างใต้… ที่คิดจะใช้ gasifier เพราะมันติดไฟอยู่นานโดยใช้เชื้อเพลิงน้อย ความร้อนที่ gasifier ปล่อยออกมาในรูปของอากาศร้อน ก็เอาเข้าไปในเตา
ส่วนของเตา ถ้ามีอากาศร้อนเข้ามาแต่ไม่มีทางออก อากาศร้อนก็ไม่เข้ามาหรอกครับ ดังนั้นต้องมีปล่องให้อากาศออก โดยที่ปล่องสีส้ม ต่อจากด้านล่างของเตา ปล่องนี้ยิ่งสูงก็ยิ่งดี (stack effect ซึ่งเคยอธิบายหลายทีแล้ว)
เมื่อความร้อนเข้ามา ก็อบอวลอยู่ในเตา การเร่งความร้อน ปกติเค้ามักจะใช้ลมเป่า แต่เราใช้ปล่องสูง ดูดลมออกไป คงพอได้
เริ่มเผาตอนเช้า (ถ้าตื่นไหว) gasifier แต่ละชุด อาจจะให้ไฟได้นานเป็นชั่วโมง ดังนั้นก็อาจจะไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงบ่อยนัก รอจนเย็นช่วงให้ขนมหมาค่อยดับเตา แล้วปล่อยทิ้งให้เย็นเองตลอดคืน เช้าค่อยไปชันสูตรผลงาน
พอมีของที่จะเผาแล้วครับ เช่นพระดินเหนียวที่ปั้นเอง จุดเชื่อมต่อ (hub) ของโครงสร้างแบบ geodesic dome ซึ่งเอาไปทำที่พักชั่วคราวได้ กระถาง เครื่องกรองน้ำดินเผา อิฐ ฯลฯ
ถ้าความร้อนไม่พอ คงเปลี่ยนขนาดท่อให้เล็กลง… แต่ก่อนจะทำเตาเผาสำเร็จ คงต้องทดลอง gasifier ในขนาดที่ใหญ่กว่าแบบกระป๋องหลายๆ แบบ ที่เคยทดลองเล่นนะครับ พวกนั้นมันของเล่น แล้วต้อรอให้ฝนหยุดก่อนด้วย
Next : จะ GEET หรือจะกรี๊ดดี » »
8 ความคิดเห็น
การสร้างเตาไม่ยากเท่าไร แต่สร้างให้ ปสภ. สูงคือสิ่งท้าทาย และเป็นประโยชน์มากครับ
เช่นเตาผมตอนนี้ทำปสภ.ได้ 55% แล้ว ซึ่งผมกล้าโม้ว่า สูงที่สุดในโลก เพราะขณะนี้นักวิจัยไทยทำได้ 25% เท่านั้น (ซึ่งสูงมากแล้ว)
จาก 25% เป็น 55% มันหมายถึง การประหยัดการตัดไม้ทำลายป่า ปีละ 2 ล้านไร่ และประหยัดเงินปีละ 3 หมื่นล้าน (อาจดูน้อยเมื่อคิดเป็น % GDP แต่มันมากมหาศาลเมื่อคิดเทียบกับรายได้ของรากหญ้า..ที่เป็นผู้ใช้เตาถ่าน)
นอกจากนี้เตาผมยังประหยัดเวลา 3 เท่า จากหุงต้ม 3 ชม. เหลือ 1 ชม. อีก 2 ชม.ที่เหลือเอาไปดูน้ำเน่า นินทากัน หรือ เอาไปทำสมาธิก็ได้
ดังนั้นเรื่องนี้คงจะต้องหาวิธีที่ใช้เชื้อเพลิงน้อยๆ แต่ให้ความร้อนนานๆ อยากปรึกษาพี่ว่ามีวิธีการที่เหมาะสำหรับการใช้งานแบบนี้ไหมครับ ถ้าทำได้ พวกเตาเผาอิฐจะประหยัดฟืน/แก๊ส/ไฟฟ้าไปได้เยอะเลย แถมในพื้นที่ประสบภัย อาจจะมีวัสดุก่อสร้างที่แข็งแรงพอสมควร สำหรับซ่อมสร้างบ้านเรือนขึ้นมาใหม่หลังจากโดนภัยธรรมชาติครับ
นานหลายปีมาแล้ว ผมขับรถทางไกล ได้ผ่านไปโรงเผาอิฐ แวะเข้าไปคุย ได้ความรู้ และปัญหา ทำให้ผมได้แนะนำเจ้าของโรงงานไปว่า ถ้าทำ 1 2 3 น่าจะประหยัดพลังงานและเวลาได้มาก (ได้สองต่อ) แต่วันนี้ ลืมไปหมดแล้วครับ
การเผาถ่าน เผาเซรามิก เผาอิฐ มันมีอะไรคล้ายๆกันครับ
ภูมิปัญญาไทยโบราณเก่งเหลือเชื่อ ผมไปเจอมาที่น้ำหนาว เตาเผาถ่านภูมิปัญญาบรรพบุรุษไทยโบราณ สามวันสุก หลักการออกแบบคิดเหมือนผมเลย (ทั้งที่พวกท่านไม่ได้เป็นด๊อกนาซ่าหยั่งผมซะหน่อย ปอสี่ไม่รู้จบกันหรือเปล่า)
ส่วนเตาอีวาเตะญี่ปุ่น ที่หลายคนนิยมหนักหนา 14-21 วัน
ดังที่ได้เรียนครูบาไว้แล้วว่า ผมได้คิดเตาเผาถ่านแบบใหม่ ที่สร้างง่าย ประหยัดเวลา และพลังงาน ใช้เผาถ่าน ได้ความร้อนสูง ทำถ่านกัมมันต์ได้ดี …ซึ่งผมว่าเอามาเผาอิฐก็ต้องได้ด้วยแน่นอนครับ
คือบังเอิญได้รับโรงอิฐเก่ามา จะทำต่อแต่สนใจเรื่องเตาประหยัดพลังงานอยู่
แต่เท่าที่ดูข้อมูลวิจัย มีระบบเตาที่มีประสิทธิภาพ 50%(จากการวิจัย ปี 41)ถ้าทำจริงปัญหาพอสมควรทีเดียว
ที่นี้ข้อมูลงานวิจัยฉบับเต็มสำหรับคนนอกอย่างเราๆ หายากเต็มที
คุณ Logos และ คุณ Withwit พอจะแนะนำเรื่องเตาเผาให้ได้ไหมคะ
คือถ้าปรับปรุงได้คงจะดีกว่าการทุบแล้วสร้างใหม่เยอะ ไม่เปลืองทรัพยากรณ์ด้วยคะ
โครงส้รางเตาเก่าเป็นแบบสี่เหลี่ยมหลังชนกัน 2 ห้อง คะ
ที่ผมเสนอแบบข้างบน เพราะคิดเอาเองว่าลักษณะเผาไหม้ช้าแต่อยู่ได้นานด้วยกระบวนการ Gasification ให้ไม้คายก๊าซที่ติดไฟ แล้วเอาก๊าซนั้นมาเผาต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้นเราก็ไม่เปลืองฟืนในการเผาอิฐมากนัก แบบนี้น่าจะให้ความร้อนสม่ำเสมอมากกว่าการเผาแบบ Pyrolysis ซึ่งให้ปริมาณความร้อนที่ดีกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า และไม่เหลือเศษ (ไม้กลายเป็นขี้เถ้าหมด) แต่ความร้อนอาจไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะเป็นปัญหากับการเผาอิฐหรือเครื่องปั้นดินเผาได้
ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น ต้องการความเห็นที่แตกต่าง จะได้ช่วยกันมองจากหลายๆ มุม แล้วในที่สุดทุกคนก็จะเก่งขึ้นได้นะครับ
http://www.youtube.com/watch?v=HNz1H9ks5IE
ขอบคุณ คุณ Logos
สวัสดีปีใหม่คะ
ขอถามว่าจะติดต่ออ. ทวิช ได้ยังไงคะ
เพราะถามไปในบล็อก withwit แล้วท่านมิได้ตอบกลับมา
หรือว่าต้องpost ไว้ที่หน้าหลักคะ กรุณาแนะนำหน่อยคะ
อนุโมทนาด้วยที่ไปสวนป่ามาคะ