สร้างนิสัยใน 30 วัน
อ่าน: 3537
คลิปข้างบนนี้ เลือกคำบรรยายไทยได้นะครับ
Matt Cutts เล่าถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน โดยการทำเรื่องนั้นทุกวัน 30 วันติดต่อกัน อ.วรภัทร์คงเรียกว่าวิธีการของคุมอง เป็นปัญญาฐานกาย อาจจะเป็นเรื่อง “ง่ายๆ” เช่น หัดขอบคุณคนรอบข้าง ไม่ด่วนตัดสินเรื่องที่ตนไม่รู้เรื่อง+ไม่เข้าใจในบริบท สังเกต ทำความรู้จัก และเรียนรู้เรื่องรอบตัวอีกครั้งหนึ่ง เลิกอ้างว่าไม่มีเวลา หัดไว้ใจคนอื่นบ้าง ฯลฯ
การเปลี่ยนแปลงใหญ่นั้น ประกอบไปด้วยการเปลี่ยนแปลงย่อยๆ หลายครั้ง ต่อเนื่อง และยาวนาน ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ผู้ที่สั่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น แต่เป็นผู้ที่ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ส่งเสริม สร้างแรงบันดาลใจ ตลอดจนเอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นตลอดทั้งกระบวนการ จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ “ยั่งยืน” ขึ้นได้
« « Prev : เงินบริจาคสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ
Next : คันดิน » »
6 ความคิดเห็น
ใช่เลยครับ จะเปลี่ยนอะไรได้ต้องเคาะไปเรื่อย เหมือนดังพระไครสต์สอนว่า keep on knocking and the door will be open someday
ดูอย่าง ธรรมะ”กลาย” สิ เขาเคาะไม่หยุด ก้ได้อะไรไปมากหลาย ทั้งที่ต้นทุนธรรมน้อยมากๆ
CP GE GM etc พวกนี้เขาเคาะหนัก เดินเคาะไปรอบโลก กังวานก้องได้ยินทั่ว
แต่พพจ พุทธทาส ของเราก็ไม่ย่อท้อ เฝ้าเคาะเบาๆ โต้อยู่หลังฉากอย่างไม่หยุดเหมือนกัน
เสียงเคาะแห่งธรรมะ กะเสียงเคาะแห่งอธรรม มันก็แข่งกันไป ดังนี้แล ใครจะอยู่ ใครจะไป ก็คงต้องชั่งน้ำหนักกันไป อีกนาน
อิอิ
(ปล. ต้องลงด้วย “อิอิ” เดี๋ยวจะหาว่าซีเรียสกะชีวิตเกินไป หุหุ)
กราบเท้า ขออภัยพระไครสต์ ที่อาจอ้างอิงท่านผิดไป แท้จริงบางคนแปลภาษาพูดท่านไว้ว่า…
Keep Asking, Seeking, Knocking
“Ask, and it will be given to you;
seek, and you will find;
knock, and it will be opened to you.
ภาษาประกิดในโพสต์ก่อนนั้น ผมลอกมาจากเว็บ
แต่ช้าก่อน..ผมวา opened นั้นอาจผิดนะครับ
เท่าทีผมสังเกตมา open ไม่มี ed แม้เป็น past participle ก็ตาม ส่วน close มี
วานท่านกูรูอังกิด ช่วย วิสัชนาความด้วย เด๊อ
หรือว่า ภาษาโบราณเขานิยมแบบนั้น แต่สมัยนี้เปลี่ยนไปแล้ว
ถึงผมจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ แต่มีความเห็นว่า open ที่เป็นคำลักษณวิเศษณ์ (adjective) แปลว่าเปิดกว้าง ไม่ปิดบัง แผ่ออก ฯลฯ เขียนไม่มี -ed แต่ open ที่เป็นคำสกรรมกริยา ซึ่งต้องการทั้งประธาน (it) และกรรม (you) จึงจะทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ (it will be opened to you.) เขียนในรูป Past Participle มี -ed นะครับ
เรื่องนี้ควรขอความเห็นแม่ใหญ่ซึ่งเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษมานานครับ
ทำไมถึงสามสิบวัน? มนุษย์นั้นสติปัญญาไม่เท่ากัน ฉะนั้นหากทำซ้ำๆ ถึงไม่ฉลาดปราดเปรื่องก็จะซึมเข้าฝังตัวอยู่ในสมอง จะเคยชินสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ค่ะ แต่ถ้าเป็นมนุษย์ที่เหนือมนุษย์ อันนี้ทำอะไรก็ได้ ที่มนุษย์ธรรมดาต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ความจริงคือความจริงมีอยู่แค่เท้นเดียว คือความเป็นปัจจุบันค่ะ
ยืนยันกฏแกรมม่า ตามที่คุณ Logos เขียนค่ะ
ลองไปอ่านดูนะครับ เรื่อง open vs opened
http://forum.wordreference.com/showthread.php?t=1484114
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าแบบไหน มันก็ต้องเปิดเหมือนกันแหละ เปิดสามสิบวัน หรือ สามสิบ วิ ก็ต้องเปิด ไม่งั้นเหี่ยว อิอิ
—-
ผมกลับไปอ่านใหม่ ผมว่า น่าเป็น open ที่ไม่มี ed นะครับ เพราะว่า open ในประโยคนี้น่าเป็น adjective มากกว่า past participle คือมัน เปิดตลอดเวลา ถ้าใช้คำว่า opened มันหมายถึงกิริยาการเปิดเพียงชั่วขณะเท่านั้น
ผมเนี่ยมันแส่ไปหมดทุกเรื่อง สมัยอยู่นาสา ทำวิจัยเรื่องการไหลในเครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ด้วย ตอนผมเขียนบทความวิจัยไปนำเสนอ เอาไปให้นายฝรั่งอ่าน ท่านแก้ภาษาผม ที่ผมเขียนว่า combusting flow เป็น flow with combustion ทำให้ผมหงุดหงิด เพราะภาษามันไม่สละสลวยและกระชัยเท่าของผม ผมเลยเอาไปปรึกษาครูภาษาอังกฤษ ท่านบอกว่าของผมก็ใช้ได้ ไม่ผิดอะไร ..จากนั้นมีการแซวกันลั่นแผนก hypersonic propulsion branch ว่า ภาษาผมหรือนายถูกกันแน่ เผอิญนายผมท่านเป็นคนเปิดมากๆ ตอนหลังท่านมาแซว เป็นสำเนียงปักษ์ใต้เมกัน ว่า ภาษาอังกฤษผมดีกว่าท่านอีกนะ (สุดท้ายผมชนะ ได้ใช้คำว่า combusting flow เป็นชื่อบทความ) ..ยังคิดถึงนายคนนนี้มาบัดนี้ ท่านเอ็นดูผมมาก เจอหน้ากันต้องทัก ว่า เป็นไงพ่อหนุ่มน้อย (how cha doing young man?)
—-
พอท่านถาม how cha doing young man? (พร้อมเข้ามาโอบไหล่ กอด ตบบ่า) ผมจำได้ว่า มักตอบไปว่า
Getting along old man, how cha doing Sir?
กระเซ้าเย้าแหย่กัน สนุกมากๆ
แต่พอผมย้ายไปอยู่นาสาภาคเหนือ ความละเล่นแบบนี้ไม่มีเหลือ เพราะคนเหนือนั้น industrious มากๆ จริงจังไปหมด ไม่เหมือนคนใต้ที่สบายๆ หยอกล้อ แซวกันเหมือนคนไทยเลย
—-
นายผมคนนี้ชื่อ Dr. Burt Northam ส่วนผม Chitsomboon
ลองไปกูกลิ้ง หา Northam Chitsomboon ยังเจอ 2500 ฮิต หน้าแรกมีเอกสารวิจัย เรื่อง combusting flow ด้วยแหละ ห้าห้า เหลือเชื่อ ทำให้หวนหาอดีตอีกแล้ว