แนวปะทะระหว่างทุกขนิยมและสุขนิยม
อ่าน: 4109แนวคิดของทุกขนิยม มองทุกอย่างเป็นทุกข์ เลวร้าย ชั่วร้าย ไม่ดีไปหมด ไม่เป็นธรรม มักเกิดขึ้นในคนที่ “คิดว่าตัวเองขาดโอกาส” อาจยอมทำทุกอย่างที่จะพ้นไปจากสถานะดังกล่าว ในกรณีการประท้วงจนกลายเป็นการก่อความไม่สงบเมื่อเดือนเมษายน 2552 หรือ เดือนมีนาคม 2553
ส่วนแนวคิดสุขนิยม มักเกิดในกลุ่มคนที่มีความพร้อมในหลายเรื่อง จึงต่อต้านความเปลี่ยนแปลง เพราะว่าสถานการณ์ดีอยู่แล้วสำหรับเขา อาจยอมทำทุกอย่างที่จะรักษาสถานะนั้นเอาไว้ เป็นอาการเสพติดความสุข
แนวคิดสุดขั้วที่ขัดกันทั้งสองก่อให้เกิดแนวปะทะอย่างรุนแรง ความรุนแรงเกิดจากการที่ทุกฝ่ายต่างยอมทำทุกอย่าง เพื่อที่จะได้ในสิ่งที่ตนต้องการ แต่ก็น่าสังเกตว่าที่ว่า “ทำ” นั้น คือการ “เรียกร้อง” ให้ “ผู้อื่น” ทำตามที่ “ตน” ต้องการ
สำหรับทุกท่าน หากไม่ปิดหูปิดตาตัวเองจนเกินไป ก็น่าจะยอมรับได้ว่าเมืองไทย มีความไม่เป็นธรรมและมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงอยู่อีกมากมาย แต่อย่าคาดหวังคำตอบง่ายๆ สำหรับปัญหาที่ซับซ้อนเลยครับ แล้วก็อย่ารีบฟันธงว่าจะต้องทำอย่างนี้(เท่านั้น) จนกว่าจะเข้าใจว่าปัญหาคืออะไร
ถ้าตั้งโจทย์ไม่ถูกต้อง ก็อย่างหวังคำตอบที่ “ถูกต้อง” เลยครับ
- แนะนำหนังสือ Scenarios
- ข้อมูลอื่นเกี่ยวกับกระบวนการ scenario planning จาก Siam Intelligence Unit
« « Prev : รดน้ำกลางแดดเปรี้ยง อาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้!
3 ความคิดเห็น
สำหรับภาษาไทย มีหนังสือแปล Scenario Thinking
คนใจใหญ่ ใจกว้าง คือคนกล้าที่แท้จริง
อ่านๆ มา ก็ฉุกใจประเด็นตั้งโจทย์ ไม่แน่ใจว่าในฐานะสมภารใหม่ จะตั้งโจทย์ถูกต้องหรือไม่ ?
คิดต่ออีกนิด เมื่อเราแก้ๆ ไป ก็คงจะสะท้อนได้ว่าใกล้เคียงกับโจทย์หรือไม่….
ปัญหาสำคัญเพิ่มขึ้นอีก คือ ปัญหาข้อนี้เป็นโจทย์เชิงซ้อนและเป็นพลวัต…
และมาจบที่ว่า คงต้องแก้ไป ปรับปรุงโจทย์ไปเรื่อยๆ …
เจริญพร