หลบภัย (4) — หลังภัยใหญ่

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 February 2011 เวลา 0:12 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4410

ถึงชีวิตไม่เที่ยงตามธรรมชาติ ก็ไม่ได้หมายความว่าชีวิตไม่มีค่า

ก่อนจะมีภัย ควรมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง พยายามแก้ไขบรรเทาไม่ให้เกิดภัยร้ายแรง แต่หากภัยนั้นเกินกำลัง ก็หลบไปตั้งหลักก่อน… อาการที่ยืนนิ่งอยู่บนรางรถไฟในขณะที่รถไฟกำลังพุ่งมาหา หรือการยืนอยู่ท่ามกลางสนามรบนั้น ไม่ใช่การไม่อินังขังขอบหรือหลุดพ้นปล่อยวางได้หมดแล้วทุกสิ่งหรอกนะครับ

บันทึกนี้พูดถึงที่หลบภัยและวิถีชีวิตหลังจากที่ภัยขนาดใหญ่ผ่านพ้นไป แม้เงินตราอาจไม่มีค่า (เงินอาจจะมีค่าเหมือนเดิม แต่หาซื้ออะไรไม่ได้) แม้การขนส่งจะมีอย่างจำกัด แม้ความสะดวกสบายอย่างที่เคยเป็นมาจะไม่มีอีกต่อไป แม้สิ่งที่สะสมไว้จะหายไปหมด แต่ยังมีความรู้อยู่กับตัวคน มีโอกาสฟื้นฟูหรือสร้างใหม่ให้ดีกว่าเก่า…

ไปๆ มาๆ อาจจะคล้ายกับพิภพเทอร์มินัสในสถาบันสถาปนาก็ได้ เป็นนิคมการเกษตร มีแรงงาน มีความรู้ แต่แทบไม่มีโลหะที่นำมาใช้ได้ อาจจะคล้ายกับโลกในกรณีที่โครงสร้างพื้นฐานถูกทำลายไปหมด — เป็นโลกหลังภัยร้ายแรง แต่ไม่ถึงระดับเลวร้ายเสียทีเดียว

คำว่าระดับเลวร้ายนี้ แต่ละคนตีความหมายไม่เหมือนกัน สำหรับผม ตีความว่าเป็นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้วในโลก ก่อนที่จะมีเผ่าพันธุ์มนุษย์ และเป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์

อ่านต่อ »


เอนไซโคลปิเดีย กาแลคติกา

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 December 2010 เวลา 0:06 ในหมวดหมู่ ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม บันเทิง #
อ่าน: 3868

เอนไซโคลปิเดีย กาแลคติกา (Encyclopædia Galactica) ปรากฏขึ้นครั้งแรกในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Foundation (สถาบันสถาปนา) โดยไอแซค อสิมอฟ เมื่อปีพ.ศ. 2485 ในขณะที่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังดำเนินอยู่อย่างดุเดือด

ในเนื้อเรื่อง มีวิชาอนาคตประวัติศาสตร์​ (Psychohistory) ซึ่งสามารถทำนายภาพใหญ่ของอนาคตได้ อนาคตประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่บนสัจพจน์อยู่สามอย่างคือ

  • พฤติกรรมของประชากรที่นำมาคำนวณในแบบจำลอง ต้องมีขนาดใหญ่พอ
  • ประชากรต้องไม่รู้ผลของการทำนายพฤติกรรมด้วยวิชาอนาคตประวัติศาสตร์ เพื่อไม่ให้เกิดการโน้มน้าวหรือเบี่ยงเบน
  • มนุษย์ชาติเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาเพียงเผ่าพันธุ์เดียวในแกแลกซี่

ตอนแรกของสถาบันสถาปนา ตีพิมพ์เพียง 6 เดือนหลังจากเพิร์ลฮาร์เบอร์ถูกโจมตี ทำให้สหรัฐเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังเพลี่ยงพล้ำอย่างหนัก ก็น่าสงสัยเหมือนกันว่าอสิมอฟคิดอย่างไรกับอนาคตของมนุษยชาติ… ตอนนั้นเยอรมันบุกตะลุยเข้ารัสเซีย ยังไม่มีทีท่าจะอ่อนแรง อิตาลีบุกอัฟริกา ญี่ปุ่นบุกจีนและโจมตีสหรัฐในแปซิฟิก ตอนนั้นยังไม่มีข่าวค่ายกักกันชาวยิวโดยนาซี

ในเรื่องสถาบันสถาปนา เอนไซโคลปิเดีย กาแลคติกา เป็นแหล่งรวมความรู้ของมนุษย์ทั้งมวลตั้งแต่อดีตกาล รวบรวมเก็บเอาไว้ที่ “สุดขอบจักรวาล” เพื่อรักษาความรู้ของมนุษยชาติ ซึ่งในขณะนั้นเป็นสังคมที่มีประชากรหนึ่งพันล้านล้านคน และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เนื่องจากอนาคตประวัติศาสตร์ทำนายว่าความรุ่งเรืองของมนุษย์ จะสะดุดลงเป็นพันปี พล็อตเรื่องในเบื้องแรก เขาก็จะพยายามย่นระยะเวลาแห่งยุคมืดนั้นลง

แต่เรื่องราวซับซ้อนตามแบบนิยายที่สนุก วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของ เอนไซโคลปิเดีย กาแลคติกา คือการรวบรวมผู้มีทักษะทางวิทยาศาสตร์สูงเอาไว้ในดาวเคราะห์อันห่างไกล(จากความวุ่นวายทางการเมืองและการช่วงชิงอำนาจ) ด้วยเป้าหมายที่จะพลิกฟื้นความก้าวหน้าอันชะงักงัน และ “อาณาจักร” ของมนุษยชาติ

อ่านต่อ »


การล่มสลายของประชาธิปไตย

อ่าน: 4367

ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เขียนบันทึกเอาไว้อันหนึ่ง ที่เอามารีไชเคิลเป็นบันทึกข้างล่างนะครับ แก้ไขนิดหน่อย:

มีผู้กล่าวว่า Alexander Fraser Tytler หรือ Lord Woodhouselee (1747-1813) เป็นผู้เขียนไว้ใน The Fall of Athenian Republic การล่มสลายของสาธารณรัฐเอเธนส์ (ต้นแบบประชาธิปไตย) ว่า

A democracy is always temporary in nature; it simply cannot exist as a permanent form of government. A democracy will continue to exist up until the time that voters discover that they can vote themselves generous gifts from the public treasury. From that moment on, the majority always votes for the candidates who promise the most benefits from the public treasury, with the result that every democracy will finally collapse due to loose fiscal policy, which is always followed by a dictatorship.

กล่าวโดยย่อคือประชาธิปไตยล่ม สลายด้วยประชานิยม ผู้ออกเสียงลงคะแนนเองนั่นแหละ ที่เลือกทำลายประชาธิปไตยโดยการโหวตให้กับคนที่สัญญาว่าจะให้สูงสุด สถานการณ์แบบนี้ มักจบลงด้วยการปกครองแบบเผด็จการอยู่เสมอๆ

อ่านต่อ »


สถาบันสถาปนา

อ่าน: 4492

ความประทับใจในวัยเด็กลืมยาก ผมอ่านนิยายวิทยาศาสตร์บันลือโลกชุดสถาบันสถาปนา (the Foundation) เล่มแปลของ Isaac Asimov มาตั้งแต่เรียนมัธยมปลาย

Isaac Asimov เริ่มเขียนนิยายนี้ เมื่ออายุ 22 และแต่งงานในปีนั้น ตอนแรกๆ ตีพิมพ์เป็นเรื่องสั้นๆ ในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สองกำลังดุเดือด — เนื้อเรื่องสนุกดี อ่านแล้วติดจนลืมหนังสือกำลังภายในไปเลยครับ

อ่านต่อ »


เรือโนอาห์

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 July 2009 เวลา 0:09 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4065

เรือโนอาห์​ (Noah’s Ark) เป็นเรื่องที่มีอยู่ในพระมหาคัมภีร์ไบเบิ้ล พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน (เรียกว่า นูห์ /Nuh/) และศาสนาอันเก่าแก่ที่เกิดขึ้นจากบริเวณตะวันออกกลาง ว่าพระเจ้าทรงมีพระวัจนะ บัญชาให้สร้างเรือใหญ่ แล้วนำสัตว์โลกอย่างละเป็นคู่ขึ้นเรือไป หนีจากน้ำท่วมโลก

แนวคิดเรื่องเรือโนอาห์ในฐานะของเครื่องมือเก็บรักษาตัวอย่างของวัฒนธรรม ความรู้ ความหลากหลายทางชีวภาพ ฯลฯ เอาไว้หลังจากที่ “ภัย” เกิดขึ้น เหมือนเป็นหลักประกันความต่อเนื่องของชาติพันธุ์หลังการทำลายล้าง ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ สงคราม ความล่มสลายทางเศรษฐกิจ หรือภัยจากการทำลายล้างตัวเอง

ที่กลับมานึกถึงเรื่องเรือโนอาห์ ก็เพราะชีวิตและสังคมในปัจจุบันนี้ วุ่นวายเกินไป ต่างสนใจแต่เรื่องของตนเองจนเบียดเบียนคนอื่นเป็นเรื่องปกติไปแล้ว คนสมัยนี้ลืมไปว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม อ่อนแอ และจำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่นและธรรมชาติ ความเห็นแก่ตัวแต่หลอกตนเองว่าเห็นแก่ชาติบ้านเมือง จะนำคนไปสู่ความล่มจม ตายหมู่ และจะเป็นหมู่ใหญ่ด้วย ไม่ว่าจะร่วมด้วยหรือคัดค้าน โลกนี้ไม่ใหญ่พอที่จะแบกรับความขัดแย้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน

เรือโนอาห์สมัยใหม่ในความคิดของผมนี้ ไม่ได้เป็นเรือหรอกนะครับ มันเป็นสถานที่ที่มีความมั่นคงทางปัจจัยสี่ น้ำ อาหาร และพลังงาน มีต้นไม้ใหญ่ มีสมุนไพร ปลูกพืชอาหารกินเอง เก็บกินไม่ใช่ทำกิน มีน้ำไหลแต่ไม่ท่วม ทำให้คนใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโลกภายนอกมากนัก ฝันไว้ว่า (1) ไม่ต้องใช้เงินก็มีชีวิตอยู่ได้ (2) ไม่ได้ตัดขาดจากโลกภายนอก แต่ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาโลกภายนอก (3) ไม่ได้ปฏิเสธเงินหรือธุรกิจ เพียงแต่ว่ามันอาจจะไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตนัก (4) ถ้ามีเงินอยากใช้ก็ใช้ ไม่ห้าม (5) ความรู้ที่มีในนี้ เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ต่อชีวิต ไม่ต้องสูงส่ง แต่มีประโยชน์ ถ้าสูงส่งแล้วมีประโยชน์ก็ยิ่งดี (6) ถนัดอะไร/รักอะไรก็ทำอย่างนั้น มีเหลือก็แจก/ขาย (7) ใช้เน็ตทำสิ่งที่ไม่ต้องเดินทาง หรือฝึกอบรม พักฟื้นหลังป่วย ดูแลผู้สูงอายุ ฯลฯ (8) เริ่มช่วยชุมชนใกล้ๆ ก่อน ใครอยู่ไกลแต่อยากมาดูก็มา

เรือโนอาห์ลำนี้ มียาดีอยู่อย่างหนึ่ง บางทีอาจบรรเทาความโลภลงได้บ้าง คือเนื่องจากปัจจัยสี่บริบูรณ์ ความร่ำรวยจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ใครเป็นอย่างไรก็เป็นไป แต่ดูกันที่ว่าใครเป็นของจริงหรือไม่ กินมื้อหนึ่งเกินปริมาตรท้องไม่ได้อยู่ดี ถ้าอยากสะสมไว้กินมื้อหน้า ก็ปลูกต้นไม้เอาไว้ตั้งแต่วันนี้ — เมื่อชีวิตอยู่ได้แล้ว ทีนี้จะทำประโยชน์อะไรก็ทำเลยครับ

อาจจะคล้ายสถาบันสถาปนาของอาซิมอฟในบางมิติ หรืออาจคล้ายสังคมอุดมคติในสตาร์เทร็ค ซึ่งก็แล้วแต่จะคิดกันไปครับ แต่ผมเรียกว่าหมู่บ้านเฮ

ที่เขียนในบันทึกนี้ไม่ใช่ทั้งหมดของหมู่บ้านเฮหรอกครับ การบรรยายถึงชุมชนอะไรก็ตามนั้น ไม่สามารถทำได้ในเพียงไม่กี่ย่อหน้า จะค่อยๆ ขยายต่อไปในโอกาสต่อๆ ไป


ถอดบทเรียนเกี่ยวกับชุมชนออนไลน์ (ตอนที่ 2)

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 December 2008 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 8053

“The Net” ≡ Collective

เครื่องหมาย ≡ เป็นเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ อ่านว่า “is identical to” แปลว่าเหมือนเป๊ะ

ตัวตนเสมือนเป็นแรงผลักดันให้เกิดพฤติกรรมในเน็ต ผู้ใช้เน็ตใช้ตัวตนเสมือนประหนึ่งว่าเป็นตัวตนจริง เพราะตัวตนเสมือนสามารถส่งผ่านความพอใจ (รางวัล) ให้ตัวตนจริงได้ แต่ก็เป็นด่านในการกลั่นกรองสิ่งที่ไม่ดีได้เช่นกัน

เราจึงมักเห็นผู้ที่ใช้เน็ตมาเป็นเวลานาน มักจะใช้ alias (นามแฝง) เป็นตัวตนเสมือน แต่บางทีกลับมีความชัดเจนยิ่งกว่าตัวตนจริงเสียอีก

ในสังคมออนไลน์ มีอิสระในทางความคิด และมีทางเลือกอยู่มาก ผู้ใช้เน็ตจึงมีความแตกต่างเป็นพื้นฐาน เป็นการอยู่ร่วมกันอย่างยุ่งเหยิง

อ่านต่อ »


วงจรความคิดง่ายๆ อาจพาลงเหวได้

อ่าน: 4123

อ่านหนังสือพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.๙) เจอข้อความที่สะดุดใจ จึงค้นพระไตรปิฎก เจอข้อความนี้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทสครับ

[๘๑๗] มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคมด้วย.
มิตรในวันนี้ไม่มีเหตุหาได้ยาก. มนุษย์ทั้งหลายมีปัญญามุ่ง
ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด.
(เพราะฉะนั้น) พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

[๘๑๘] คำว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงจะคบหาสมาคมด้วย ความว่า
มิตรทั้งหลายมีประโยชน์ตนเป็นเหตุ มีประโยชน์ผู้อื่นเป็นเหตุ มีประโยชน์ทั้งสองฝ่ายเป็นเหตุ
มีประโยชน์ในปัจจุบันเป็นเหตุ มีประโยชน์ในสัมปรายภพเป็นเหตุ มีประโยชน์อย่างยิ่งเป็นเหตุ
จึงจะคบหา สมคบ เสพ สมาคมด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มิตรทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ
จึงจะคบหาสมาคมด้วย.

เพราะประโยชน์เป็นเหตุ จึงติดแหงกกันอยู่ตรงนี้

แต่เพราะว่ายังไม่หลุดพ้น ติดแหงกอยู่กับประโยชน์ ก็ดีกว่าอยู่กับติดอยู่กับโทษและมิจฉาทิฏฐินะครับ อิอิ

อ่านต่อ »



Main: 0.85158610343933 sec
Sidebar: 0.38557004928589 sec