“พวก” กับ “เพื่อน”
อ่าน: 4696คำสองคำนี้ ดูเผินๆ มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ที่จริงแล้วแตกต่างกันมาก ที่เรามักเห็นว่ามีความหมายใกล้เคียงกัน จนหลายๆ ครั้งเข้าใจสับสนเพราะชีวิตในยุคนี้ ฉาบฉวย ผิวเผินเป็นอย่างมาก การศึกษาตามระบบก็ไม่ได้ช่วยให้เข้าใจอะไรอย่างลึกซึ้งเลย
พวก หมายถึงคน สัตว์ สิ่งต่างๆ ที่รวมเข้าเป็นกลุ่ม เพื่อความง่ายในการแยกแยะของสมอง; มีเหมือนกันที่สมองบ้องตื้น ไม่เข้าใจว่าแม้จัดเป็นพวกได้ถูกต้อง เช่นอนุกรมวิธาน ก็ยังมีความแตกต่างแม้อยู่ในสปีซีส์เดียวกัน
สมองที่ชอบแบ่งพวก เป็นสมองที่ฉาบฉวย ไม่เข้าใจอะไรลึกซึ้ง ไม่ควรให้ปกครอง สั่งสอนคน หรือรับผิดชอบในเรื่องที่ละเอียดอ่อน อาจผิดพลาดร้ายแรงได้เนื่องจากความหลงและอคติ
เพื่อน เป็นคำที่น้อยคนในสังคมปัจจุบันจะเข้าใจเช่นกัน คำนี้บางทีเข้าใจความหมายสับสนกับคำว่า “เคยพบหน้ากัน”; เพื่อนไม่ได้เป็นหรือเห็นเหมือนกันไปหมด แต่เพื่อนมีความเข้าใจ ไว้ใจกัน เห็นไม่เหมือนกันก็ตักเตือน แลกเปลี่ยนกันได้ เข้าใจกัน ให้อภัยกันได้ ความเป็นเพื่อนตั้งอยู่บนกัลยาณมิตรธรรม
แม้ในสังคม primitive อย่างสังคมกรีก อริสโตเติลกล่าวไว้ว่า Friendship consists of only one soul; inhabiting two bodies. (ความเป็นเพื่อนประกอบไปด้วยวิญญาณหนึ่งดวงในสองร่าง)
« « Prev : 813 และ 814 ที่สุวิมลและบุตรแมนชั่น
Next : เรื่องของอหิงสาที่คนไทยไม่รู้จัก » »
3 ความคิดเห็น
ถ้าจะคบกันเป็นเพื่อน เห็นเพื่อนกำลังจะเดินลงเหว เพื่อนแท้ก็จะต้องบอกกล่าวเตือนให้เพื่อนเดินในทางที่ถูก ไม่ใช่ช่วยถีบให้ลงเหวไป เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะนับว่าเป็นเพื่อนได้อย่างไร
และแม้ในระหว่างเพื่อน บางทีเตือนก็ไม่ฟังหรอกนะครับ มิจฉาทิฏฐิบังตา ในทำนองกลับกันบางทีคนเตือน ก็เป็นคนตาบอดเพราะอคติบังตาเช่นกัน
ถึงอย่างไร ผมก็เห็นว่าในระหว่างเพื่อน ผิด-ถูก เป็นเรื่องกระจอกครับ ผิดก็ผิด ถูกก็ถูก เรื่องที่เกิดไปแล้วก็เกิดไปแล้ว
ความเป็นเพื่อนไม่ได้เปลี่ยนให้ผิดเป็นถูก หรือถูกเป็นผิด แต่ความเป็นเพื่อนพิเศษตรงที่รับฟัง เข้าใจ ชี้แจงจนกระจ่าง ตักเตือน อดทน ให้อภัยได้ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันบ้าง บรรเทาความทุกข์ไม่ใช่ทับถม และช่วยให้เพื่อนผ่านพ้นไปหรือไม่ — องฺ.สตฺตก.23/34/33
คำว่าพวกกับเพื่อน ไม่เหมือนกันนัก นานมาแล้ว ดีใจที่มีคนๆหนึ่ง บอกกับพี่ว่า เขานับเราเป็น เพื่อน ของเขา ไม่ใช่แค่ พวกหรือ คนรู้จัก