เรื่องของอหิงสาที่คนไทยไม่รู้จัก

โดย Logos เมื่อ 14 July 2008 เวลา 20:46 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3865

ปรับปรุงจากเรื่องเดียวกันของผมเอง

มหาตมะ คานธี เป็นคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดา เป็นผู้นำกระบวนการ Quit India Movement (เป็นกระบวนการอารยะขัดขืน) เพื่อแยกอินเดียและปากีสถานออกจากสหราชอาณาจักร

สิ่งที่แปลกประหลาดของคานธี ที่โลกตะวันตกไม่เคยพบเห็นมาก่อน คืออหิงสา และการต่อสู้โดยสันติวิธี คานธีอาจเป็นคนแรกในยุคปัจจุบัน ที่แสดงให้อารยธรรมตะวันตก ซึ่งทะนงตนว่าเป็นเลิศในศิลปวิทยาการ ได้เห็นว่าปรัชญาตะวันออกลึกซึ้งขนาดไหน

คานธียืนยันมาตลอดว่าตนเป็นฮินดู ยึดถือในคัมภีร์ภควัตคีตา แต่จากประวัติการศึกษา อีกทั้งการวิเคราะห์สภาพสังคมอินเดียในเวลานั้น ทั้งอหิงสาและการต่อสู้โดยสันติวิธี น่าจะเป็นแนวคิดตามศาสนาเชน (Jainism; ซึ่งไม่ใช่ Zen) ซึ่งผมคิดว่านี่คืออิสรภาพที่แท้จริงในความหมายของศาสนา

หลายปีก่อนผมไปเที่ยวอินเดีย เจอ“พระพุทธรูปโป๊” แต่ก่อนที่จะเริ่มโวยวาย ผู้นำเที่ยวก็รีบอธิบายว่านั่นคือรูปของมหาวีระ ศาสดาของเชน

มหาวีระเป็นลูกพระเจ้าสิทธารถะ กษัตริย์แห่งกรุงเวสาลี (ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร) มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยพุทธกาล ในยุครุ่งเรือง มีสานุศิษย์ประมาณสี่แสนคน มหาวีระออกผนวชแสวงหาสัจธรรมอยู่สิบสองปีครึ่งจึงบรรลุธรรม

หลักคิดของเชน จะมองว่าคล้ายกับพุทธก็คล้าย จะว่าต่างก็ต่าง ปรากฏข้อความอ้างอิงจากวิกิพีเดียที่บอกว่าคัมภีร์พุทธเรียกเชนว่านิคัณฑะ (พบคำว่านิคัณฑุในสคารวสูตร ดูจะไม่เป็นเรื่องเดียวกันแต่ก็เป็นพระสูตรที่น่าอ่าน) เชนมีหลักธรรมจริยาห้าประการที่ยึดถืออย่างเคร่งครัด (คล้ายกับศีลห้าแต่ชาวพุทธในปัจจุบันกลับไม่เคร่ง)

  1. อหิงสา การไม่ใช้ความรุนแรง
  2. ความสัตย์ การยึดถือความเป็นจริง
  3. ไม่ลักทรัพย์
  4. การถือพรหมจรรย์
  5. การไม่ครอบครอง

หลักธรรมจริยาข้อห้า เป็นเหตุให้พระเชนไม่นุ่งผ้า (ปัจจุบันมีพระเชนที่นุ่งผ้า ส่วนท่านที่เคร่งก็ยังคงไม่นุ่งผ้าเช่นเดิม)

เช่นเดียวกับการที่พุทธมีพุทธบริษัท เชนก็มีเชนบริษัทสี่อย่างซึ่งแบ่งแบบเดียวกัน ในสมัยพุทธกาลซึ่งระบบวรรณะรุนแรงมาก การที่ทั้งพุทธและเชนจัดแบ่งสานุศิษย์โดยข้ามชนชั้น น่าจะเป็นแรงผลักดันอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้มีผู้คนมาเลื่อมใสเป็นจำนวนมาก

เชนมีสานุศิษย์เป็นคนจากวรรณะแพศย์ (พ่อค้า-ชาวนา) เป็นจำนวนมาก ทำให้ทำนุบำรุงศาสนาสืบต่อมาในอินเดียได้จนถึงปัจจุบัน; สำหรับฆราวาสเชน ด้วยหลักการไม่ครอบครอง จึงบริจาคทรัพย์สินเงินทองให้วัด เป็นกำลังของศาสนา; บันทึก: การเกิดขึ้นและล่มสลายของพระพุทธศาสนาในอินเดีย (พระอาจารย์มหาชัยวุธ) และ Decline of Buddhism in India (wikipedia)

หากท่านผู้รู้พบสิ่งใดในบันทึกนี้ที่ผิดพลาดไป ขอความกรุณาช่วยแย้งและแสดงเหตุผลเพื่อความเข้าใจอันถูกต้องด้วย และผมขออภัยมาล่วงหน้าเลยครับ

เพิ่มเติม

« « Prev : “พวก” กับ “เพื่อน”

Next : ถ้ารับความจริงไม่ได้ ก็แต่งรูปด้วย Photoshop ซะ อิอิ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 chaiwut28 ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 July 2008 เวลา 21:26

    เข้ามาเยี่ยม…

    งดความเห็นเรื่องนี้ เพราะไม่เห็นด้วย และไม่เลื่อมใสในคานธี เป็นการส่วนตัว…

    เคยอ่านความเห็นแย้งของฝ่ายมุสลิมต่อแนวทางของคานธี… ข้อเปรียบเทียบความสำคัญระหว่าง ดร.เอมเบดก้า กับ คานธี… และประเด็นอื่นๆ นานจนลืมๆ ไปแล้ว

    ว่าไปแล้วก็ให้นึกถึงประพจน์ที่ว่า… นักการเมืองทุกคนเป็นคนเลว ไม่มีนักการเมือใดเป็น่คนดี… แต่คานธีอาจจัดอยู่ในจำพวกที่เลวน้อยก็ได้

    ทำท่านอกประเด็น (…)
    เจริญพร

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 14 July 2008 เวลา 21:47
  • #3 linhui08 ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 July 2008 เวลา 16:10

    เกิดไม่ทันค่ะ แต่ติดตามค้นหาอ่านจาก ตำราและสารคดี หรือแม้แตภาพยนต์ แต่ก็ไมมีใครสรุปได้อย่างเฉีนบ แถมยังเปรียบเทียบ
    ให้เห็นค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.084403038024902 sec
Sidebar: 0.14638781547546 sec