ช่องว่างระหว่างความรู้และการกระทำ
บันทึกนี้ เป็นบันทึกรีไซเคิลเขียนไว้เมื่อสองปีก่อน แต่มีประเด็นเกี่ยวเนื่องกับงานตีแตกอีสาน (เฮเจ็ด) ครับ ความคิดเห็นอื่นๆ ดูได้ที่นี่
Robert Waterman ผู้ร่วมเขียนหนังสือบรรลือโลก In Search of Excellence ได้กล่าวถึงหนังสือ The Knowing-Doing Gap: How Smart Companies Turn Knowledge into Action ซึ่งแต่งโดย Jeffrey Pfeffer และ Robert I. Sutton ไว้ว่าเป็นหนังสือที่ต้องอ่าน “for all of us”.
Why don’t organizations do more of what they already know they should do? The answer isn’t lack of smarts or strategy. Pfeffer and Sutton’s analysis of the companies that get it right is fascinating and right on the money. Now…will we take action?
ในเมื่อมีความรู้ในสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว ทำไมองค์กรต่างๆ จึงไม่ได้ทำในสิ่งที่ต้องทำ
คำถามโลกแตกอันนี้ กลับเตือนให้ตระหนักว่า KM และการเสาะแสวงหาความรู้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการ “KM และ K ไม่ใช่เป้าหมาย” ความสัมฤทธิผลของงานต่างหากที่เป็นผลลัพท์ที่ต้องการ (ไม่ว่าวัตถุประสงค์ขององค์กรจะเป็นอะไร) กระบวนการที่จะทำให้งานสัมฤทธิ์ผลคือการกระทำ งานจะต้องเกิดจากการกระทำเสมอ งานไม่เกิดจากแผนงานเลิศหรูที่กลับไม่ได้ลงมือทำ
Pfeffer & Sutton แยกแยะถึงสถานการณ์ใหญ่ๆ ไว้ 5 อย่างซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมการทำงานขององค์กร ที่นอกจากไม่กระตุ้นแล้วยังขัดขวางคนทำงานอีก เรื่องเหล่านี้หากเกิดขึ้นแล้วยากที่จะแก้ไข ดังนั้นคนเป็นนายจะต้องสอดส่องถึงสัญญาณเตือนต่างๆ ระวังป้องกันไม่ให้สถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้น
- เมื่อการวิพากษ์มาแทนที่การกระทำ (When Talk Substitutes for Action) พูดกันมาก วิจารณ์กันมาก ชี้นิ้วใส่ผู้อื่น แต่ไม่มีใครทำ
There was an important job to be done and Everybody was sure that Somebody would do it.
Anybody could have done it, but Nobody did it.
Somebody got angry about that because it was Everybody’s job.
Everybody thought that Anybody could do it, but Nobody realized that Everybody wouldn’t do it.
It ended up that Everybody blamed Somebody when Nobody did what Anybody could have done.
- เมื่อความจำมาทดแทนความคิด (When Memory Is a Substitute for Thinking) องค์กรกลายเป็น procedure-oriented เต็มไปด้วย active inertia — บันทึกเก่า: ทำไมองค์กรที่ดีจึงพังได้
- เมื่อความกลัวบดบังการใช้ปัญญา (When Fear Prevents Acting on Knowledge) — บันทึกเก่า: ความกล้าหาญของ”ผู้จัดการ”
- เมื่อการวัดผลกลับมีผลมากกว่าการใช้วิจารณญาณ (When Measurement Obstructs Good Judgement) — บันทึกเก่า: KPI: เราจะวัดผล หรือผลจะวัดเรา
- เมื่อการแข่งขันกันเติบโตเปลี่ยนเพื่อนเป็นศัตรู (When Internal Competition Turns Friends into Enemies) — บันทึกเก่า: Career Path การ เติบโตในหน้าที่การงาน ขึ้นกับการพิสูจน์ตนว่ารับผิดชอบในขอบเขตที่สูงขึ้นได้หรือไม่; การเอาชนะที่มีประโยชน์ต่อองค์กรนั้น จะต้องเอาชนะต่ออุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่เอาชนะต่อพวกเดียวกันที่เป็นกำลังช่วยเหลือให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย
ในส่วนของทัศนคติต่องานนั้น ขอนำความบางตอนจาก มาตุบูชานุสรณ์ โดยท่านพุทธทาสภิกขุ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา ปีที่ ๑๖ เล่ม ๓ สิงหาคม ๒๔๙๑ ซึ่งท่านพุทธทาสรำลึกถึงโยมแม่ของท่านที่บริจาคเงินเก็บทั้งหมด มาเป็นเงินประเดิมในการเปิดกิจการคณะธรรมทานและจัดสร้างสวนโมกขพลาราม มาให้ท่านผู้อ่านพิจารณา
ต่อข้อถามของแม่ที่ว่า ดูมันเป็นเรื่อง ใหญ่โตขนาดพลิกแผ่นดิน พวกเรากำลังน้อยเช่นนี้ จะไม่เจียมตัวบ้างเทียวหรือ. เราชี้แจงให้แม่หายเข้าใจผิดว่า เราไม่สามารถถึงกับพลิกแผ่นดิน เราสามารถเพียงทำไปเรื่อยๆ ตามสติกำลัง มีผลเท่าไร ก็เอาเท่านั้น แต่เราหวังอยู่ว่า การกระทำด้วยความจงรักต่อพระศาสนาของเรานี้ อาจมีคนเอาไปคิดไปนึก แล้วอาจมีคนทำตามมากขึ้น จนกระทั่ง ผู้มีอำนาจท่านทำ หรือประชาชนทั้งโลกพากันทำ มันก็อาจมีการพลิกแผ่นดินได้เหมือนกัน แม้เราจะไม่ได้พลิกเอง ผลก็เท่ากัน เราคงยังเจียมตัว และไม่ต้องอกแตกตายเพราะข้อนั้น แต่เราได้รับผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งจะมากยิ่งกว่าโดยตรงเสียอีก.
แม่ตั้งคำถามที่ไม่สู้ยากแก่การตอบอีกหลายข้อ แต่ก็ผ่านไปได้เช่นเดียวกับข้อที่ยากๆ ข้างต้น เช่นถามถึงว่า มีความรู้พอที่จะทำกันได้หรือ ใน เรื่องความรู้นี้ พวกเรามีหลักว่า ส่วนใหญ่แห่งกิจการของเรานั้น เป็นการกระตุ้นผู้ที่มีการศึกษามาแล้ว ให้ขะมักเขม้นในการปฏิบัติธรรม ตามความรู้ที่เรียนมาแล้ว มากกว่าที่เราจะตั้งตนเป็นครูสอนเขา และเราทำตนเป็นผู้อุปัฏฐากหรือให้ความสะดวกแก่ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติ ตามที่เราจะทำได้ (ตามที่เคยประกาศในหนังสือพิมพ์พุทธสาสนา ให้เป็นที่ทราบทั่วกันแล้ว) ต่างหาก ส่วนความรู้อื่นๆ เป็นพิเศษนั้น เชื่อว่าเราพอจะหามาแจกจ่ายเป็นธรรมทานได้สมกับที่เป็นองค์การเล็กๆ ในชนบทบ้านนอก แม้จะบกพร่องบ้างก็คงมีคนให้อภัย ส่วนความคิดเห็นส่วนตัวในฐานะเป็นเอกชนคนหนึ่งนั้น เรามีมากพอในปัญหาที่ว่า เราจะช่วยกันส่งเสริมพระศาสนาของเราได้อย่างไร และอาจเป็นการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นได้ด้วย ทั้งหมดนี้ จะเป็นผลดีแก่พระศาสนาแน่นอน, ทั้งยังไม่มีใครทำกันเป็นกิจจะลักษณะ นับว่าเราทำในส่วนที่ยังขาดอยู่ให้เต็ม.
« « Prev : ตีแตกอีสาน กลายเป็นเฮเจ็ดสำราญ
6 ความคิดเห็น
โดนใจจริงๆ ส่วนใหญ่ทีพบเห็นมักจะเป็น NATO เกือบทั้งนั้น ส่วนน้อยที่ลงมือทำจริงแต่เสียงค่อยมากแถบไม่ได้ยิน และสังคมก็ไม่เปิดพื้นเท่าไหร่ให้คนเหล่านนี้ ทั้งๆ ที่มีผู้มีตาทั้งสั้นและยาวรับรู้การลงมือทำจริง ทำได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม กล้าปฏิเสธสิ่งที่ทางการเขาสั่งมาว่า…. เพื่อความอยู่รอดของชีวิตในวิถีชีวิตที่มันเป็นธรรมชาติ
คุณLogos ถ้าเป็นไปได้น่าจะทำเป็น hard copy รวมเล่มบทความหรือข้อเขียนเหล่านี้ไว้ เพราะสะดวกที่หยิบมาพลิกดูได้ตลอดเวลา ถึงไม่มีไฟฟ้า แค่เพียงคบไฟ แสงจันทร์กลางท้องทุ่ง ยิ่งทำให้การอ่านที่ได้บรรยากาศแบบธรรมชาติค่ะ
แทงใจดำอีกแล้ว คอน เห็นด้วยกับพี่หลิน
พี่เองก็ตระหนักตลอดเวลาว่า เราคือผู้กระทำ เราคือรอยต่อระหว่างการเอาหลักการ ทฤษฎีหลากหลายที่บรรดานักคิดสรุปไว้เอาทำให้ปรากฎ หลายเรื่องเราก็รู้ว่า หลักการนั้นมีข้อยกเว้น มีจุดอ่อน เราปฏิบัติ เราเห็น เรารู้ …..หรือบางหลักการเราก็สามารถพัฒนาต่อไปได้อีกเพราะเรามีข้อมูลที่พิสูจน์….
โอว .. สุดยอด .. แทงใจ โดนใจมากๆเช่นกันครับ
พอยกสิ่งที่ท่านอาจารย์พูดมาแสดง ก็ทำให้นึกถึงอีกหลายอย่างที่เคยได้ยิน ได้ฟังจากปากท่านมาแต่สมัยยังเป็นนักเรียน เช่น .. คอยดูเถิด ยิ่งสว่าง จะยิ่งมืด .. ท่านพูดถึงอะไรคงเดากันถูกนะครับ
ตามมาอ่านครับ
-”ลานซักล้าง” เป็นลานที่เจ้าของลานมีความปราณีตและตั้งใจที่จะนำสิ่งดีๆมาเสนอให้ชาวลานฯได้อ่าน ทำให้เป็นลานมีคุณค่ายิ่งมีเนื้อหาและวิทยาการที่ทันโลกทันเหตุการณ์ตลอดเวลา…
-เห็้นด้วยกับอ.Lin Huiค่ะ และเรื่องhard copy นั้นป้าจุ๋มได้ดึงมาทำไว้อ่านเป็นส่วนตัวแล้วโดยcopy ไปใส่word แล้วแต่งให้อยู่ในformatเดียวกัน แล้วก็print ไว้อ่านในยามที่websiteเดิ้ยงค่ะ มีประโยชน์มากค่ะ
-ต้องขอขอบคุณคุณLogosที่ตั้งใจนำสิ่งดีๆมาให้พวกเราได้อ่านประเทืองปัญญาตลอดเวลา…แต่อย่างไรก็ขอให้รักษาสุขภาพด้วยค่ะ…”Don’t work too hard”
-หายเหนื่อยรึยังคะ???ขอขอบคุณอีกครั้งที่พาพวกเราไปเฮฯ7อย่างสำราญ…
[...] [ช่องว่างระหว่างความรู้และการกระทำ] [...]