ยุ่งยากเกินไปหรือเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 March 2011 เวลา 0:19 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3252

Rube Goldberg machine เป็นเครื่องมือที่แสดงความเชื่อมโยง ซึ่งพวกนักศึกษานิยมสร้างกระบวนการทางกลต่อเนื่องยาวๆ ให้สิ่งหนึ่งกระทำต่ออีกสิ่งหนึ่ง ต่อเนื่องกันไปจนได้ผลลัพท์ที่ต้องการ มักจะเป็นกระบวนการเชิงเส้น (แต่ไม่จำเป็น)

คลิปข้างล่าง เป็นการต้มบะหมี่สำเร็จรูปหนึ่งจานครับ จะฉีกซอง เทน้ำร้อน แล้วตอกไข่เฉยๆ ก็ได้ แต่เขาก็จะทำอย่างนี้

อ่านต่อ »


การขอรับบริจาค เพื่อบรรเทาทุกข์ผู้อพยพภัยจากการสู้รบ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 February 2011 เวลา 0:05 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3421

เมื่อมีข่าวการสู้รบบริเวณชายแดนเขตอีสานใต้ ก็มีข้อเสนอจากความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องช่วยเหลือผู้อพยพจากภัยการสู้รบ โดยขอให้มูลนิธิโอเพ่นแคร์ช่วยเป็นตัวกลางในการรับบริจาค และจ่ายเงินอย่างโปร่งใสให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการบริจาคนั้น ผมก็ไม่ได้คิดอะไรมากหรอกครับ รีบรับปากทำเลย

ระบบเดิมมีอยู่แล้ว ยุ่งเหมือนกัน แต่ถ้าจะเอาแบบโปร่งใสนะ ก็ต้องมีการสอบทานกันทุกขั้นตอนอย่างนี้ล่ะครับ ทั้งหมดก็เพื่อให้ผู้บริจาคสบายใจได้ว่าเงินบริจาคนั้น ใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการบริจาคจริงๆ — ไม่มีประโยชน์ที่จะไปเรียกร้องให้คนอื่นโปร่งใส แต่ตัวเองงุบงิบ มีนอกมีในนะครับ

ขั้นตอนคือ

อ่านต่อ »


ถอดบทเรียนน้ำท่วมปลายปี 2553

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 January 2011 เวลา 9:31 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3191

ช่วงปลายปี พ.ศ.2553 ประเทศไทยประสบภัยธรรมชาติต่อเนื่องกันหลายระลอก

ภัยธรรมชาติเกิดจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราทำลายธรรมชาติเองด้วยความต้องการพื้นที่เพาะปลูกพืชเพื่อความเจริญทางเศรษฐกิจ สภาพป่าทั่วประเทศลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสี่ของพื้นที่

เมื่อเกิดฝนตกหนัก เราไม่มีป่าเพียงพอที่จะชะลอหรือดูดซับน้ำไว้ได้มากเหมือนในอดีต สภาพดินที่ถูกถางจนเตียน ทำให้หน้าดินเปิดรับแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่ นอกจากแสงอาทิตย์จะทำลายความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ยังทำให้ดินร้อนจัด อากาศเหนือพื้นดินก็ร้อนขึ้นตามไปด้วย ยังผลให้เมฆไม่สามารถก่อตัวเหนือพื้นดินได้ ดังนั้นจึงเกิดปรากฏการณ์ที่เวลาแล้งก็แล้งจัด เวลาฝนตกหนัก การที่ไม่มีต้นไม้มาชะลอน้ำไว้ ทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนเทือกสวนไร่นา เกิดปัญหาเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำอีก

ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แต่ภัยธรรมชาติจะเลื่อนสถานะเป็นภัยพิบัติตามนิยามของสหประชาชาติก็ต่อเมื่อเป็นสถานการณ์หรือเหตการณ์ที่เกินกำลังของคนในพื้นที่ที่จะจัดการเอง จำเป็นต้องร้องขอ ระดมความช่วยเหลือจากคนนอกพื้นที่ ไม่ว่าจะจากในประเทศหรือระหว่างประเทศก็ตาม

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ.2553 เริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม เกิดฝนตกหนักทางตอนเหนือของประเทศเป็นปริมาณมาก ปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ซึ่งต่ำมากจนใกล้ระดับวิกฤติ เนื่องจากเขื่อนขนาดใหญ่ปล่อยน้ำซึ่งก็มีไม่มากลงมาบรรเทาภัยแล้งมาตั้งแต่ต้นปี จนเมื่อฝนตกหนักทางเหนือ ร่องน้ำที่นำไปสู่เขื่อนก็เป็นโอกาสที่เขื่อนจะเก็บกักน้ำเอาไว้ได้ ชดเชยน้ำที่ปล่อยออกไปก่อนหน้า

แต่มีน้ำฝนอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ตกเหนือเขื่อน น้ำฝนปริมาณมากไม่มีเขื่อนกักเก็บ ไม่มีป่าที่คอยชะลอน้ำไว้ จึงไหลบ่าลงท่วมพื้นที่สุโขทัยและพิษณุโลกมานาน ก่อนที่จะเกิดกรณีฝนตกหนักในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และเกิดน้ำท่วมนครราชสีมาและลุ่มน้ำมูลในอีสานใต้ในเวลาต่อมา ต้นเดือนพฤศจิกายน เกิดพายุดีเพรสชั่นทางใต้ ทำให้ฝนตกหนัก เกิดน้ำท่วมและดินถล่มเป็นบริเวณกว้างในหลายจังหวัด

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและวาตภัยทั่วประเทศประมาณ 9 ล้านคน — คิดเป็นกว่า 13% ของประชากร เกิดความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจจากหลายภาคส่วนของสังคมไทยในการบรรเทาทุกข์ แต่กระนั้นก็ยังไม่สามารถบรรเทาทุพภิกขภัยอันเกิดเป็นวงกว้างได้อย่างทั่วถึง ยังมีความล่าช้า ยังมีความรั่วไหลในกระบวนการบรรเทาทุกข์ มีความซ้ำซ้อน มีประสิทธิภาพที่ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อีก

อ่านต่อ »


โลจิสติกส์ของการบรรเทาทุกข์

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 January 2011 เวลา 18:19 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3319

เวลาเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ ก็มักจะมีการรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยครับ

เรื่องนี้มีมาตั้งแต่สมัยแหลมตะลุกพุก พ.ศ.2505 มีการออกทีวีร้องเพลง ซึ่งคนที่ร้องเพลงนั่นแหละ ที่เป็นคนไปกระตุ้น(ล่วงหน้า)ให้คนรู้จักแจ้งความจำนงว่าจะบริจาค การบริจาคแบบนี้ ตั้งอยู่บนสมมุติฐานอันใหญ่ว่าเงินบริจาค จะถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วเพื่อบรรเทาทุกข์ให้ผู้ประสบภัย การใช้จ่ายเงินบริจาค ตรงไปตรงมา ไม่รั่วไหลตกหล่น ไม่ซื้อของแพงเกินไป ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง…

ผู้รับบริจาค เป็นเพียงทางผ่านของความช่วยเหลือเท่านั้นนะครับ ที่ผ่านมา ผู้รับบริจาคทำอะไรไปแล้วบ้างเพื่อให้ผู้บริจาคเห็นว่าทุกอย่างตรงไปตรงมาอย่างที่ควรจะเป็น — รับอะไรมา จ่ายอะไรไป เปิดเผยรายการต่อผู้บริจาคและไม่ได้บริจาค เลิกงุบงิบทำกันดีไหมครับ

ทั้งการรับและการเบิกจ่าย จะต้องมีบัญชีที่โปร่งใสคอยควบคุม และเรื่องนี้กลับไม่ค่อยทำกัน จะเป็นด้วยไม่ว่างหรือคิดว่ายุ่งยากก็แล้วแต่ — ผมคิดว่าการช่วยผู้ประสบภัยสำคัญนะครับ แต่ความโปร่งใสตรงไปตรงมาต่อผู้บริจาคก็สำคัญเช่นกัน ป่วยการจะไปเรียกร้องความโปร่งใสจากคนอื่นในขณะที่ตัวเราเองก็ไม่ทำ

ลองนึกถึงสถานการณ์โกลาหลของศูนย์รับบริจาคต่างๆ — พื้นที่ก็แคบ ของบริจาคหลั่งไหลมา พอมาถึงก็ต้องรีบนำออกไปแจกทันที เหมาะหรือไม่เหมาะยังเป็นเรื่องรอง — ตรงนี้แทบไม่มีบัญชีตรวจนับเลยครับ ถ้าทำได้ ถือว่ายอดๆๆๆๆๆ มาก

การไม่มีบัญชีควบคุม ทำให้ไม่รู้ว่าของบริจาค เข้าออกเท่าไหร่ รั่วไหลไปไหนหรือไม่! ของบริจาค มอบมาด้วยน้ำใจ เพื่อผู้ประสบภัย เป็นสิ่งมีค่านะครับ จะถือว่าได้มาฟรี แล้วทำตกหล่นสูญหายไปนั้นไม่ได้ ที่เขียนนี้ไม่ได้แปลว่ามีอะไรตกหล่นสูญหายนะครับ เพราะว่าเมื่อไม่มีบัญชีควบคุมแล้ว ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไปว่ามีอะไรหายไปหรือเปล่า!

อ่านต่อ »


รถสื่อสารฉุกเฉิน ไม่ได้กู้ภัยแต่จำเป็น!!!

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 December 2010 เวลา 0:32 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4042

ไม่ว่าจะเป็นภัยระดับไหน เป็นเรื่องยากที่จะมียานพาหนะที่พร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ครับ แต่การเข้าพื้นที่ด้วยความไม่พร้อม นอกจากช่วยเหลือผู้ประสบภัยไม่ได้แล้ว ยังอาจทำให้ผู้ประสบภัยผิดหวังซ้ำสองก็ได้ รถกู้ภัยที่มีทุกอย่างพร้อม ก็จะมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก จะเข้าพื้นที่ประสบภัยได้ลำบาก

โดยทั่วไป จะเป็นการเหมาะสมกว่าหากส่งหน่วยตรวจการขนาดเล็กที่คล่องตัว เข้าไปในพื้นที่ประสบภัยพิบัติเพื่อเก็บข้อมูลเที่ยวหนึ่งก่อน เมื่อรู้ความต้องการตลอดจนข้อจำกัดต่างๆ ของพื้นที่ประสบภัยแล้ว จึงนำเอาความช่วยเหลือเข้าไป

หน่วยตรวจการขนาดเล็กแบบนี้ มีงานวิจัยของเนคเทคเคยทำไว้หลังเหตุการณ์สึนามิ เรียกว่ารถสื่อสารฉุกเฉิน (Emergency and Education Communications Vehicle - EECV) ซึ่งมีใช้อยู่ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสภากาชาดไทย ถ้าผมจำไม่ผิด รถ EECV เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์สึนามิเมื่อปลายปี 2547 ลงพื้นที่จริงเมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ในปี 2549

อ่านต่อ »


ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?! ตอนต่อมา

อ่าน: 4398

ต่อจากนี้ไป เราจะได้ยินคำเตือนเรื่องดินถล่ม ทุกครั้งที่คาดว่าจะมีฝนตกหนัก แล้วในที่สุดก็จะรู้สึกเฉยๆ ไปในที่สุด… ความรู้สึกแบบนี้อันตรายครับ ถึงเตือนแล้วไม่เกิด หรือว่าเตือนแล้วไม่มีทางออกให้ก็ตาม

บ้านเรือนที่ตั้งอยู่เชิงเขามีความเสี่ยงต่อดินถล่มเสมอ ไม่ว่าฝนจะตกหนักหรือไม่ และไม่ว่าจะมีใครเตือนภัยหรือไม่

FEMA อธิบายไว้ว่า

A landslide is defined as “the movement of a mass of rock, debris, or earth down a slope”. (Cruden, 1991). Landslides are a type of “mass wasting” which denotes any down slope movement of soil and rock under the direct influence of gravity. The term “landslide” encompasses events such as rock falls, topples, slides, spreads, and flows, such as debris flows commonly referred to as mudflows or mudslides (Varnes, 1996). Landslides can be initiated by rainfall, earthquakes, volcanic activity, changes in groundwater, disturbance and change of a slope by man-made construction activities, or any combination of these factors. Landslides can also occur underwater, causing tsunami waves and damage to coastal areas. These landslides are called submarine landslides.

Failure of a slope occurs when the force that is pulling the slope downward (gravity) exceeds the strength of the earth materials that compose the slope. They can move slowly, (millimeters per year) or can move quickly and disastrously, as is the case with debris-flows. Debris-flows can travel down a hillside of speeds up to 200 miles per hour (more commonly, 30 - 50 miles per hour), depending on the slope angle, water content, and type of earth and debris in the flow. These flows are initiated by heavy, usually sustained, periods of rainfall, but sometimes can happen as a result of short bursts of concentrated rainfall in susceptible areas. Burned areas charred by wildfires are particularly susceptible to debris flows, given certain soil characteristics and slope conditions.

อ่านต่อ »


บัญชีเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ซะงั้น!

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 December 2010 เวลา 0:13 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2978

ไม่น่าเชื่อว่าจะต้องเขียนเรื่องนี้เป็นครั้งที่สี่ แต่จะไม่เล่าเบื้องหลังซ้ำอีกหรอกนะครับ ถ้าสนใจ ตามอ่านได้เองที่ [มาตรการทางภาษีเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย] [ทำช้าดีกว่าไม่ทำ] [วุ่นวายไปทำไม]

มูลนิธิโอเพ่นแคร์ เปิดบัญชีรับบริจาคขึ้นสองบัญชี

บัญชีแรก คือบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ เลขที่บัญชี 402-177809-6 เป็นไปตามประกาศของกรมสรรพากรเรื่องมาตรการภาษีให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ที่ให้ผู้บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สามารถนำใบเสร็จของมูลนิธิไปหักภาษีเงินได้ส่วนบุคคลได้ และสำหรับนิติบุคคล ก็นำเงินบริจาคหักเป็นรายจ่ายได้ ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ

บัญชีแรกนี้จะต้องบริจาคภายในปี 2553 นี้เท่านั้น และเงินบริจาคก็จะต้องใช้ให้หมดภายใน 31 พฤษภาคมปีหน้า เมื่อบริจาคเข้าบัญชีนี้แล้ว กรุณากรอกฟอร์ม http://bit.ly/opencare-flood เพื่อกรอกชื่อที่อยู่สำหรับใบเสร็จรับเงิน

มีปัญหาว่าภัยธรรมชาติในครั้งนี้ ตามรายงานของ ปภ.เมื่อสองวันก่อน มีผู้ได้รับผลกระทบ 8.97 ล้านคน 2 ล้านครัวเรือน 32,423 หมู่บ้่าน 3,972 ตำบล คงเชื่อได้ยากว่าจะฟื้นฟูได้เสร็จก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคมปีหน้า จึงเป็นที่มาของบัญชีที่สอง

บัญชีที่สอง คือบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ เลขที่บัญชี 402-177853-3 บัญชีนี้ ไม่อยู่ภายใต้ประกาศของกรมสรรพากรข้างบน เนื่องจากเชื่อว่ามีความจำเป็นในการฟื้นฟูระยะยาว ซึ่งไม่สามารถจะทำให้จบสิ้นไปภายในเดือนพฤษภาคมปีหน้าได้ ผู้บริจาคสามารถระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินด้วย เป็นบัญชีเงินบริจาคเหมือนที่หยอดตามกล่องรับบริจาค แต่ตรวจสอบได้และระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินได้ และติดตามการใช้เงินบริจาคได้ เมื่อบริจาคเข้าบัญชีนี้แล้ว กรุณากรอกฟอร์ม http://bit.ly/opencare-volunteerfund เพื่อระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน

อ่านต่อ »


วันยาวกับประชุมยาว ประชุมเครือข่ายอาสาฯ

อ่าน: 3587

เมื่อวาน ไปร่วมประชุมเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติครั้งที่ 4 ที่โรงแรมดุสิตธานี มีท่านอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธานในที่ประชุม

การประชุมครั้งนี้ สนุกดีครับ ผมไม่มีปัญหากับการประชุมยาวๆ แต่มีปัญหากับการประชุมที่ผมไม่ได้พูดไม่ว่าสั้นหรือยาว คราวนี้ได้พูด เลยไม่มีปัญหา ฮาาา

มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างกว้างขวาง โดย สสส. กรุงไทยอาสา ทีวีไทย อ.ไพบูลย์กล่าวเปิด @iwhale รายงานภาพรวมของเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างย่อ(โดยละเอียด!) มูลนิธิซิเมนต์ไทย มูลนิธิโอเพ่นแคร์ | อาสาดุสิต พอช. CSR โคราช มูลนิธิชุมชนไท ตามลำดับ พอคุณปรีดาพูดไปได้นิดหนึ่ง ผมก็ขอตัวกลับก่อนครับ คือว่าสไลด์ชุดนี้เคยฟังแล้ว

อ่านต่อ »


ความหนาแน่นของประชากรกับการจัดการภัยพิบัติ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 November 2010 เวลา 0:09 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3782

ช่วงนี้กำลังอ่านหนังสือชื่อ “THE NEXT 100 YEARS จะเกิดอะไรขึ้นในรอบ 100 ปี : พยากรณ์โลกวันนี้ ถึงปี 2100” โดย George Friedman แปลโดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

หนังสือเขียนอธิบายในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ วางน้ำหนักไว้ที่สหรับอเมริกา ตั้งแต่ต้นเล่ม ก็พบประเด็นเรื่องความหนาแน่นของประชากร

…แม้ว่าขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะใหญ่โตมาก แต่น่าสนใจตรงที่ว่าสหรัฐฯ ยังมีจำนวนประชากรต่ำกว่ามาตรฐานโลก สัดส่วนความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตรของโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 49 คน ญี่ปุ่นอยู่ที่ 338 คนต่อตารางกิโลเมตร เยอรมันอยู่ที่ 230 คน ส่วนสหรัฐฯ มีเพียง 31 คนต่อตารางกิโลเมตรเท่านั้น แม้ไม่รวมอลาสกา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ที่คนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ความหนาแน่นของประชากรสหรัฐฯ ก็จะมีเพียง 34 คนต่อตารางกิโลเมตร…

สำนักงานสถิติแห่งชาติ แจ้งผลสำรวจว่าเมื่อสิ้นปีที่แล้ว ประเทศไทยมีประชากร 67 ล้่านคน ส่วนพื้นที่ที่เป็นแผ่นดินนั้นมีประมาณ 514,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นความหนาแน่นของประชากร 130 คนต่อตารางกิโลเมตร ส่วนจังหวัดใหญ่ๆ เช่นกรุงเทพมหานคร(ไม่รวมจังหวัดปริมณฑล) มีประชากร 6.87 ล้านคน แออัดอยู่ในพื้นที่ 1500 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นความหนาแน่น 4,580 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งตัวเลขความหนาแน่นที่สูงมากแบบนี้ ก็เป็นปกติของเมืองใหญ่ ซึ่งมีโอกาสสำหรับชีวิตให้ไขว่คว้าอยู่มาก มหานครทั่วโลกมีความหนาแน่นของประชากรมากกว่ากรุงเทพเสียอีก

แล้วความกระจุกตัว ก็เริ่มจากตรงนี้ล่ะครับ มีคนเยอะ มีธุรกิจเยอะ เก็บภาษีได้เยอะ ยิ่ง “สำคัญ” ยิ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ยิ่งดึงดูดคนให้เข้ามาแสวงหาโอกาสในชีวิต แล้วก็วนเวียนไปเป็นวงจร ยิ่งนาน แรงดึงดูดก็ยิ่งแรง

อ่านต่อ »


แก้หนาว

อ่าน: 3723

ตอนนี้ยังไม่หนาว แล้วมาเขียนเรื่องแก้หนาวทำไม — การเตือนก็ต้องเตือนล่วงหน้าซิครับ

ผมคิดว่าเรา “แก้ปัญหาเฉพาะหน้า” กันได้ดี แต่ไม่ได้ตระหนักกันเท่าไหร่ ว่าที่จริงแล้วไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอะไรเลย เราผ่านสถานการณ์ไปได้ บางทีทำได้ดี น่ายกย่อง บางทีก็ทุลักทุเลสะบักสะบอม สาเหตุยังมีอยู่เหมือนเดิม

ทั้งนี้ก็เพราะว่าเรามักใช้สูตรสำเร็จ ถึงเคยทำอย่างนี้มาแล้ว “สำเร็จ” ก็ไม่ได้หมายความว่าทำอย่างนี้อีก จะสำเร็จเหมือนที่ผ่านมา เพราะว่าเป็นคนละบริบทแล้ว สถานการณ์ต่างกัน มีทรัพยากรและข้อจำกัดต่างกัน

ก็ ชี วิ ต ไ ม่ มี สู ต ร นี่ ค รั บ  แ ต่ ว่ า ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ นั้ น เ ป็ น ข อ ง จ ริ ง (ชิมิ)

ผู้มีประสบการณ์ หากมีความรอบรู้และมีข้อมูลที่แท้จริง ก็อาจบอกแนวโน้มได้ — เรื่องแนวโน้มนี้ไม่ใช่การทำนายอย่างแม่นยำราวจับวาง เพียงแต่มีโอกาสถูกมากกว่า ต่างกับการเดาสุ่ม

อ่านต่อ »



Main: 1.068470954895 sec
Sidebar: 1.761036157608 sec