รอดได้ ยิ่งกว่าซ่อมได้

อ่าน: 6143

ผมคิดว่าส่วนหนึ่งของคนไทย ไม่เข้าใจสเกลของตนครับ ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน ใช้เงินเป็นใหญ่ มีเงินซื้ออะไรได้หมด (จริงหรือ?)

คนมีเงินนั้นมีลักษณะที่อธิบายได้ง่ายๆ สองอย่างว่า (1) เป็นคนที่ไม่จ่าย+ไม่ซื้อในสิ่งไม่มีประโยชน์หรือไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ถ้าซื้อแล้วไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่ซื้อ และ (2) เป็นคนที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย — แต่ไม่ได้แปลว่าว่ามีรายได้มากอย่างที่มักจะเข้าใจ (และอิจฉา) กันหรอกนะครับ เพราะว่าตัวเราเองนั่นล่ะครับที่เป็นคนกำหนดค่าใช้จ่าย ดังนั้นเราจะมีเงินเหลือเก็บก็ต่อเมื่อรู้จักประมาณกำลังของตน

ลองดูเศรษฐกิจในหมู่บ้าน จะซื้อผักซื้อเนื้อสัตว์จากรถขายผัก รถขายผักเองก็ต้องมีกำไรไปจ่ายค่าน้ำมันและเลี้ยงชีพตนเอง กลายเป็นการซื้อผักกลับต้องจ่ายเงินเลี้ยงคนขายผักด้วย รถขายผักมีอะไรให้เลือกมากหรือก็เปล่า ซื้อผักเดิมๆ หมู ไก่ ไข่เดิมๆ นั่นแหละครับ ในเมื่อซื้อของเดิมๆ อยู่ตลอดเวลา แล้วทำไมไม่ปลูกเอง เลี้ยงเอง? (ผมก็ไม่ทำครับ แต่ผมมีพอ)

เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่นะครับ ลองดูสินค้าที่ซื้อขายกันในชุมชนให้ดี มีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่ผลิตได้เองในชุมชน ผมคิดว่าว่าไม่เยอะนะ!! ถ้าการคมนาคมขนส่งถูกตัดขาด (น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำมันแพง ฯลฯ) แล้วชุมชนที่พึ่งสินค้าจากนอกพื้นที่ จะทำอย่างไร

อ่านต่อ »


กาลักน้ำ

อ่าน: 8200

น้ำท่วมมาเดือนกว่าแล้ว บางพื้นที่ของสุโขทัย+พิษณุโลกกว่าสองเดือนแล้ว แต่ยังมีพื้นที่ที่น้ำท่วมขังกระจายอยู่เป็นวงกว้าง

ความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้การฟื้นฟูล่าช้า ตัวผู้ประสบภัยเองสภาพจิตใจยิ่งย่ำแย่ไปหมด น้ำไม่ลดเหมือนไม่มีความหวัง

เมื่อวานไปเปิดบัญชีตามบันทึก [วุ่นวายไปทำไม] เจอลุงเอก ประธานมูลนิธิ (ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า) ลุงเอกงานยุ่งมากแต่เล่าว่าเพิ่งไป อ.บางบาล อยุธยามา น้ำยังปริ่มถนนอยู่เลย

ผมก็ปากหนักไป ดันไม่ได้ถามว่าลุงเอกไปมาเมื่อไหร่ พอกลับมาบ้าน ก็มาเช็คดูระดับน้ำ ปรากฏว่ามาตรวัด C36 (คลองบางหลวง อ.บางบาล) อยู่ต่ำกว่าตลิ่งตั้งหลายเมตร

ถ้าตัวเลขนี้ถูกต้อง ลองนึกถึงใจชาวบ้านแถวนั้นดูนะครับ เห็นอยู่ว่าน้ำท่วมบ้าน ท่วมหนัก และท่วมมานานแล้ว แล้วก็ยังไม่ยอมลดลงเสียที ในขณะที่ระดับน้ำในคลอง ต่ำกว่าตลิ่งตั้งเยอะ ก็ยังทำอะไรไม่ได้ (ก็มันติดถนนนี่หว่า! แค่ข้ามถนนไปก็ไม่ท่วมแล้ว!!!) เวลาน้ำบ่าเข้ามา มันข้ามถนนมาได้ แต่พอข้ามถนนมาแล้ว น้ำไหลกลับไม่ได้ครับ เพราะว่าถนนเมืองไทยเป็นถนนที่ยกสูง เอาไว้ป้องกันน้ำท่วม

อ่านต่อ »


วุ่นวายไปทำไม

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 November 2010 เวลา 18:55 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3875

ค.ศ. 1665 ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช La Rochefoucauld (1613-1680) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสเคยกล่าวไว้ว่า “Il est plus honteux de se défier de ses amis que d’en être trompé.” พอแปลได้ว่า การไม่เชื่อถือมิตรเป็นเรื่องน่าอับอายยิ่งกว่าการที่จะถูกเขาทรยศเสียอีก ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์โคลงอธิบายความไว้ว่า

๏ การระแวงใจแห่งผู้ เป็นมิตร สหายแฮ
เป็นสิ่งน่าอดสู แน่แท้
ยิ่งกว่าถูกเพื่อนคิด ทุรยศ
ภาษิตนี้ขอแก้ อรรถให้ แจ่มใส

๏ คือใครมีมิตรแล้ว ระแวงจิต
ว่ามิตรบ่ซื่อตรง นั่นไซร้
เหมือนสบประมาทมิตร ดูถูก มิตรนา
บ่มิช้าจักไร้ มิตรสิ้นปวงสหาย

๏ กลัวอายเพราะมิตรจัก ไม่ซื่อ ตรงแฮ
จึงคิดฉลาดระแวง หาผิด
ที่แท้ก็ตนคือ ผิดมิตร ธรรมนา
เพราะว่าองค์แห่งมิตร ก็ต้องไว้ใจ

๏ ผู้ใดดูถูกมิตร ดูถูก ตนเอง
เพราะว่าคนทรามไฉน จึงคบ
เมื่อเริ่มจะตั้งผูก มิตรภาพ
ใยไม่วิจารณจบ จิตหมั้นในสหาย

๏ มิตรร้ายผิมุ่งร้าย ต่อเรา
แม้เมื่อเราซื่อตรง อยู่แล้ว
โลกย่อมจะติเขา ไม่ติ เราเลย
คนชั่วย่อมไม่แคล้ว คลาดโลกนินทา

๏ ภาษิตจึงได้กล่าว คติบอก
ว่าระแวงมิตรน่า อัประยศ
ยิ่งกว่าถูกเพื่อนหลอก ลวงเพราะ ซื่อนา
ตรงจะเสียทีคด ไป่ต้องอับอาย

๏ มุ่งหมายจิตมั่นด้วย มิตรธรรม
ถึงหากเพื่อนทุจริต หลอกให้
อย่าวิตกแต่จำ ไว้เพื่อ
จะคบมิตรอื่นไซร้ จะได้รู้พรรณ ๚ะ๛

สังคมยุโรปในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้น ผู้ลากมากดีต่างเชื่อถือในเกียรติยศ จะคบใครก็มักจะเลือกคนมีเกียรติเสมอกัน (ไม่ว่า “เกียรติ” จะหมายถึงอะไรก็ตาม — อย่าลืมว่าเรื่องนี้เกือบสามร้อยห้าสิบปีมาแล้วนะครับ) ความเป็นเพื่อนมักดูกันนานๆ เป็นเรื่องลึกซึ้งนะครับ ส่วนที่ฉาบฉวยน่ะ เรียกว่าแค่เป็นคนรู้จักกันเท่านั้น

อ่านต่อ »


การออกแบบเพื่อฟื้นฟูเหตุภัยพิบัติ

อ่าน: 3890

บ่ายวานนี้ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เป็นเจ้าภาพจัดงาน OPEN FORUM: Design for Disasters Relief  การออกแบบเพื่อฟื้นฟูเหตุภัยพิบัติ ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

เข้าใจว่างานนี้ ค่อนข้างฉุกละหุกครับ session นี้ ตั้งใจให้เป็น Open Forum แต่เนื่องจากมีเวลาจำกัด จากมีอีเมลแจ้งครั้งแรกจนงานเริ่ม มีเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงเท่านั้นเอง แต่งานก็เรียบร้อยดี ขอบคุณ TCDC มากเลยครับ

อ่านต่อ »


ความแตกต่างบนเป้าหมายเดียวกัน

อ่าน: 3728

การบรรเทาทุกข์เป็นงานใหญ่ เมื่อจะทำให้ลุล่วง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ รวมพลังกัน คำว่ารวมพลังกันทำงานใหญ่นั้น ไม่ได้แปลว่าทุกคนทำเหมือนกันไปหมด เพราะการทำเหมือนกันไปหมดนั้น เป็นการระดมพลังทำงานชิ้นเดียว (ลงแขก ซึ่งมักไม่ใช่งานใหญ่ซึ่งมีความซับซ้อน) ทำงานใหญ่ต้องระดมสรรพกำลังมาจากทุกแหล่ง ใช้ความรู้จากหลากหลายวิทยาการ ใช้การประสานใจ มีเป้าหมายเป็นแก่นกลาง

เมื่อมีปัญหาใหญ่โต วางกองอยู่ตรงหน้า เหล่าผู้คนที่มาช่วย จะมองเห็นปัญหานั้นด้วยภาพที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นกับมุมมองของตน ความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์

อย่างไรก็ตาม แต่ละมุมมองเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของปัญหาเท่านั้น ไม่ควรดึงดันยึดเอาว่ามุมมองของตนเท่านั้นที่ถูกต้องที่สุด ทางออกมีแค่ที่อย่างตนเสนอ

ตาบอดคลำช้าง (สำ) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น

การตัดสินว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ ยังไม่สำคัญเท่ากับการตระหนักว่ายังมีผู้คนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ยังต้องการความช่วยเหลืออีกเป็นจำนวนมาก — ผู้ที่อาสามาช่วยต่างต้องการจะช่วยผู้ประสบภัยด้วยกันทั้งนั้น จะด้วยใจบริสุทธิ์กี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ละคนต่างก็มาด้วยความต้องการที่จะช่วย ตามความรู้ความชำนาญของตนด้วยกันทั้งนั้นครับ

เรื่องนี้น่ะเป็นความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย ไม่ใช่การทำข้อสอบปรนัยที่มี “คำตอบที่ถูกต้อง” เพียงคำตอบเดียวนะครับ

ในเมื่อตัวเราไม่ได้รู้อะไรทั้งหมดแต่จะไปตัดสินคนอื่น แล้วจะเป็นการตัดสินใจที่ดีได้อย่างไร?!?! [Paradox ของสายตา กับการไม่รู้จักเป้าหมาย] [เชื่อเพราะเห็น ทำให้หลงได้ง่าย] [ความมีเหตุผล อาจทำให้หลงได้]

อ่านต่อ »


ความช่วยเหลือแบบบูรณาการ

อ่าน: 3159

ไม่รู้จะเวิร์คหรือเปล่านะครับ แต่บันทึกนี้ เป็นเรื่องที่ 40 แล้วตั้งแต่น้ำท่วม ซึ่งตลอดเดือนที่ผ่านมา ผมเขียนแต่เรื่องน้ำท่วมอย่างเดียวเลย

มีข่าวว่าวัสดุก่อสร้างในพื้นที่ประสบภัยขึ้นราคาโดยเฉพาอย่างยิ่งทางใต้ อันนี้จะทำให้ความช่วยเหลือช่วยคนได้น้อยลง ดังนั้นด้วยความคิดพิสดาร ผมจึงเสนอ complex scheme ซึ่งค่อนข้างวุ่นวาย แต่

  1. น่าจะลดราคาวัสดุก่อสร้างลงได้
  2. สวนยางที่ประสบวาตภัย จะขายเศษไม้ได้ ซึ่งต้นใหญ่ๆ ทางราชการช่วยรับซื้ออยู่แล้ว
  3. จ้างงานผู้ประสบภัย
  4. ซื้อวัตถุดิบ มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ขายให้แก่ผู้ประสบภัยที่ต้องการในราคาถูก กำไรมาจ้างผู้ประสบภัยผลิต ให้มีเงินหมุนเวียนในครอบครัว
  5. ตั้งแหล่งผลิตชั่วคราวในพื้นที่ ลดค่าขนส่ง

เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ สืบเนื่องจากบันทึก [อิฐกระดาษ อิฐต้นไม้] ซึ่งเขียนเมื่อตอนฝนตกหนักบริเวณเขาใหญ่ แต่น้ำยังไม่ทะลักไปท่วมปากช่อง/ปักธงชัย บันทึกนั้นใช้เซลลูโลสผสมในปูนซีเมนต์ ทำให้ยังคงความแข็งแรงอยู่ได้ แต่ใช้ปูนน้อยลงครับ เหมือนกับเวลาสร้างบ้านดิน เขาเอาดินพอกฟาง ซึ่งฟางคือเซลลูโลสนั่นแหละ มันจะยึดดินให้เกาะอยู่ด้วยกันล่ะครับ [อิฐมวลเบา กันร้อน กันหนาว]

อ่านต่อ »


ทำช้าดีกว่าไม่ทำ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 November 2010 เวลา 13:19 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3200

เมื่อคืนมีการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายพลังบวกเป็นครั้งแรก

การประชุมครั้งนี้ควรจะมีมาตั้งนานแล้วครับ ที่คลาดแคล้วเรื่อยมาเนื่องจากกรรมการแต่ละท่าน (ยกเว้นผม) ต่างมีภารกิจยุ่งเหยิง เนื่องจากแต่ละท่านมาช่วยกันทำงาน จึงมีการประชุมย่อยๆ เพื่อทำงานไปก่อน เกิดงาน “ขอโทษประเทศไทย” ที่ถูกแบนในฟรีทีวีแต่เผยแพร่ได้ในเคเบิ้ลทีวีและสื่อทางสังคมอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ งาน “พลังในตัวคุณ” ที่ได้เผยแพร่แล้วทุกสื่อ งาน Ignite Thailand++ ที่กรุงเทพสองครั้ง และงาน Ignite Chiangmai++ ครั้งหนึ่ง — ฟรีทุกอย่าง — ผมนั่งอยู่ตรงข้ามกับ ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ ซึ่งมาร่วมประชุมด้วย จึงได้ข้อมูลประหลาดว่าผมเรียนอยู่รุ่นก่อนหน้าอาจารย์ที่โรงเรียนเดียวกันถึงแปดปี (โอย แก่) แต่คุณภานุ อิงคะวัต ประธานเครือข่ายพลังบวกที่นั่งอยู่หัวโต๊ะ เรียนอยู่ก่อนหน้าผมสี่ปี (แก่กว่า ฮาๆๆ) แปลกใจที่มีความหนาแน่นของศิษย์เก่าโรงเรียนมากผิดปกติ

ทีนี้ถ้าถามว่ามายุ่งอะไรกับเขาด้วย ที่จริงก็ยังงงๆ อยู่ครับ ตอนงาน Ignite Thailand++ ครั้งแรก @iwhale ชวนไปฟังคณะทำงานคุยกัน แต่ด้วยนิสัยที่ถ้าผมเห็นว่าปรับปรุงได้ก็จะบอกครับ ต่อให้เป็น “คนนอก” ก็เถอะ หลังจากนั้นก็ได้รับการทาบทาม เนื่องจากว่ายังไม่มีการประชุมกรรมการครั้งแรก ผมจึงไม่เคยกล่าวอ้างว่าเป็นกรรมการ และไม่ยอมถ่ายรูป

ผลการประชุมนั้น คงไม่เขียนในบล็อกนี้ บอกได้แต่เพียงว่าน่าตื่นเต้นครับ — เมืองไทยมีอะไรที่จะต้องทำอีกเยอะเลย ถ้าเราอยากเห็นเมืองไทยดีขึ้นอย่างที่มักจะพร่ำบอกตัวเองและคนอื่น ต่างคนต่างทำไปในทิศทางนั้น ไม่ต้องทำเหมือนกันหรอกครับ แต่ทำไปในทางเดียวกัน ก็จะช่วยขับเคลื่อนเมืองไทยไปในทิศทางที่ดีได้ ซึ่งถ้าไม่คุยกัน แล้วมีคนละเป้าหมาย จะเกิดอาการชักคะเย่อชงักงันอย่างที่เป็นมาหลายปีแล้ว

อ่านต่อ »


ทำความรู้จักกับเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง

อ่าน: 5078

เมื่อสามเดือนก่อน ผมเขียนบทความไว้อันหนึ่งเพื่อส่งไปลงวารสารเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ เรื่อง[แนวคิดเกี่ยวกับภัยพิบัติและการจัดการ]

ตามแนวคิดทางการจัดการสากลแล้ว การแก้ไขบรรเทาด้วยลักษณะ reactive ช่วยได้บ้างเท่านั้นครับ ความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว — แต่ก็ต้องทำนะ เพราะว่าผู้ประสบภัย ต้องการความช่วยเหลือ — แนวที่ดีกว่าคือ pro-active ซึ่งใครๆ ก็รู้ แต่ไม่ค่อยทำกัน

แน่นอนว่าไม่มีใครที่อยากให้เกิดภัยพิบัติขึ้น เมื่อเกิดขึ้นคราใด ก็จะมีความเสียหายอย่างหนักเกิดขึ้นในทันที แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าภัยพิบัติไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย บางทีก็ทำให้เราประมาท คิดไปว่าพื้นที่ที่อาศัยอยู่มีความปลอดภัย จึงไม่ได้เตรียมทางหนีทีไล่ไว้

ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดแล้ว ทั้งรัฐและเอกชนจะเข้ามาช่วยเหลือ แต่ปัญหาคือผู้ประสบภัยจะต้องอยู่ให้ได้ก่อนที่ความช่วยเหลือจะเข้ามาถึง

ยังมีภัยอื่นๆ ซึ่งแม้ไม่สร้างความเสียหายร้ายแรงหรือเป็นวงกว้างเท่าภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ เช่นสึนามิ ไต้ฝุ่น แผ่นดินไหวรุนแรง แต่ก็สร้างความเสียหายจนชีวิตไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ เช่นภัยแล้ง น้ำท่วม ดินถล่ม ลมกรรโชก พายุ โรคพืช การจราจรติดขัด ไฟฟ้าดับ น้ำประปาไม่ไหล ฯลฯ ภัยต่างๆ เหล่านี้ แม้จะไม่เสียหายร้ายแรงเท่าภัยพิบัติขนาดใหญ่ แต่ก็เกิดขึ้นบ่อยกว่ามาก และมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในพื้นที่โดยตรง

โดยเหตุที่พื้นที่กว่าสามร้อยล้านไร่ของแผ่นดินไทย มีความแตกต่างกันมาก อีกทั้งภัยต่างๆ ไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ (อาจจะยกเว้นเส้นทางพายุ ซึ่งก็ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าจะรุนแรงขนาดไหน) การเตรียมพร้อมจากส่วนกลาง จึงไม่สามารถที่จะป้องกัน แก้ไข บรรเทาความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นได้ทัน

ดังนั้นชุมชนคนในแต่ละพื้นที่ จึงต้องเข้าใจความเสี่ยงภัยของตน เพราะความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน จะใช้การเตรียมการ หรือการจัดการความเสี่ยงแบบเดียวกันไปหมดไม่ได้

การแก้ไขเหตุการณ์จากภัยพิบัติ เช่นการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ การสร้างหรือซ่อมแซม จะอย่างไรก็เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จะต้องใช้เวลาและทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ไม่ทันต่อความต้องการของผู้ประสบภัยเสมอๆ การเข้าใจความเสี่ยงในพื้นที่และหาทางป้องกันไว้ก่อน จึงน่าจะเป็นวิธีการที่ดีกว่า…

อ่านต่อ »


มาตรการทางภาษีเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

อ่าน: 3893

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 ออกมาช่วยกระตุ้นความช่วยเหลือจากภาคเอกชน โดยออกเป็นมาตรการทางภาษีตามประกาศของกรมสรรพากร

เงินและสิ่งของบริจาคที่ผ่านมาเป็นน้ำใจอันบริสุทธิ์ของคนตัวเล็กๆ เป็นส่วนใหญ่ ในส่วนบริษัทห้างร้าน ผมเข้าใจว่ามีปัญหาอยู่บ้าง เพราะการบริจาคที่ไม่มีประกาศหรือมาตรการใดรองรับ อาจกลายเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม (ศัพท์บัญชี)

ได้ปรึกษากับ @iwhale ถึงความจำเป็นที่จะต้องทำอะไรบางอย่าง เพื่อระดมความช่วยเหลือจากภาคธุรกิจ โดยจำเป็นต้องออกใบเสร็จที่ตรงตามข้อกำหนดของการตรวจสอบบัญชีและกรมสรรพากรยอมรับ เพื่อที่จะปลดล็อคให้ความช่วยเหลือจากบริษัทห้างร้าน ผ่านไปสู่ผู้ประสบภัยได้อย่างไม่ติดขัด — เรื่องนี้ พูดกันตรงๆ ผมก็หนักใจครับ มันเป็นภาระกับมูลนิธิเล็กๆ เหมือนกัน แล้วที่ผ่านมา มูลนิธิไม่ยุ่งเรื่องเงินบริจาคเลย ผมได้ปรึกษากรรมการของมูลนิธิ และสอบถามอาสาสมัครของมูลนิธิแล้วว่าดีหรือไม่ ไหวหรือไม่ ก็ได้รับการยืนยันว่าดีและไหว ดังนั้นมูลนิธิโอเพ่นแคร์จะทำดังนี้ครับ:

อ่านต่อ »


หลุมไฟดาโกต้า แก้หนาว

อ่าน: 7934

เรื่องหลุมไฟดาโกต้าที่เขียนมาหลายบันทึกในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เป็นวิธีเอาตัวรอดในเขตมิดเวสต์ของสหรัฐซึ่งอากาศทารุณ

ผมเอาหลุมไฟดาโกต้ามาเล่นที่สวนป่า เพราะว่าเป็นเตาที่ให้ความร้อนสูง ใช้เชื้อเพลิงน้อย ไม่ใช้ฟืน แต่ใช้กิ่งไม้เล็กๆ เท่านั้น — เช่นเดียวกับเตาทั่วไป ถ้าไฟติดแล้ว ใช้กิ่งสดก็ได้ครับถ้าทนควันได้

หลุมไฟดาโกต้าจะมีสองรู รูแรกเป็นรูที่อากาศเข้าและใช้ใส่เชื้อเพลิง ส่วนอีกรูหนึ่งเป็นรูที่ความร้อนออกมา ซึ่งเราตั้งเตาหรือต้มน้ำ จะร้อนเร็ว เนื่องจากมีการบังคับทางลม บังคับให้เผาไหม้ได้ดีขึ้น และป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการเผาไหม้ ผมก็นึกว่าเจ๋งแล้ว เจอท่าพิสดารของครูบาเข้า งงไปเลย

ครูบาดัดแปลงเพิ่มอีกสองแบบ (ดูรายละเอียดในลิงก์ข้างบน) คือเข้าหนึ่งรูแยกไปออกสองรู แบบนี้ประหยัดแรงขุด ใช้รูใส่เชื้อเพลิงร่วมกัน แต่ทำอาหารได้สองเตา อีกแบบหนึ่งเป็นสามใบเถา มีรูเตาเรียงกันสามรู ทีแรกผมไม่คิดว่าจะสำเร็จหรอกครับ แต่ได้กินข้าวที่หุงจากเตาสามใบเถานี้มาสองสามมื้อแล้วครับ เตาเหล่านี้ ฝีมือครูอาราม@มงคลวิทยา ณ ลำพูน กับ ครูอ้น ฤๅษีแห่งลำปลายมาศ เวลาเขาขุดเตากัน ผมหลังเดี้ยงไปแล้ว เนื่องจากซ่าไปซ่อมถนนคนเดียว ใช้จอบส่วนตัวที่เอาไปจากบ้านด้วย

หุงข้าวโดยอาจารย์หมอ
24042010221.jpg 24042010222.jpg

ท่ามกลางกำลังใจ และความโล่งใจจากนิสิตแพทย์ ว่าเย็นนี้มีข้าวกินแล้ว
24042010224.jpg

อ่านต่อ »



Main: 0.064360857009888 sec
Sidebar: 0.16624116897583 sec