ความมีเหตุผล อาจทำให้หลงได้
อ่าน: 4442สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา — พระ(อัญญา)โกณฑัญญะเข้าใจเมื่อ 2596 ปีมาแล้ว, จากธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, ม. ๔/๑๖
ผู้ที่มีทิฏฐิมานะ (มีความคิดเห็นอย่างดื้อรั้น(แต่ไม่มีปัญญา) และมีความถือตัว) ไม่สามารถจะนำตัวเองหรือใครไปสู่ความเจริญได้เลย ข้ออ้างต่างๆ เป็นไปเพื่อปกป้องอัตตาของตน
เรามักเข้าใจสับสนระหว่างข้ออ้างกับเหตุผล ซึ่งความไม่รู้นี้ มีราคาแพงมาก และอาจไม่ได้มีผลแต่เฉพาะตนก็ได้ สุดยอดของความไม่รู้ คือความไม่รู้ว่าไม่รู้อะไร ยิ่งเจริญจึงยิ่งไม่สงบ ยิ่งไม่มีความสุข ยิ่งวุ่นวาย ยิ่งแก้ยิ่งเละ ยิ่งรู้มากกลับยิ่งไม่รู้
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความมีเหตุผล แต่อยู่ที่ว่าเหตุผลนั้นเป็นจริงหรือไม่
กงล้อธรรมจักรหมุนไปไม่หยุดนิ่ง หากเข้าใจธรรมะ ก็สมควรยอมรับได้ในความเปลี่ยนแปลง แต่ก็แน่นอนว่ามนุษย์ไม่ชอบหรอก ซึ่งนั่นนำมาซึ่งความหลงผิดว่าสิ่งต่างๆ นิ่งอยู่ได้ถาวร ทำอย่างนี้อย่างนั้นแล้วจะรักษาสภาพเอาไว้ได้ จะให้ฝืน ให้ลำบากยากเย็น โดนก่นด่าบุพการีก็ยอม เอาความ “ถูกต้อง” เป็นข้ออ้าง ลืมพิจารณาไปว่าเป็นเพียงความถูกต้องบนสมมุติ ไม่ใช่สัจธรรม
การขอให้ถูกจากมุมของตนก็พอ เป็นการสะท้อนว่าสิ่งที่ทำนั้น เป็นไปเพื่อตนเอง (ไม่ใช่ logos argument นะ จะบอกให้) หลอกใครก็อาจหลอกได้ หลอกตัวเองนั้น สนิทแบบถอนตัวได้ยาก เพราะว่ามันเป็นการปกป้องตนเอง จะต้องใช้กำลังใจที่เข้มแข็งเพื่อยอมรับความจริง
ผู้นำที่อ่อนแอจนต้องหลอกตัวเองนั้น พาคนลงเหวได้ง่าย ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
« « Prev : โล่งใจ
Next : รูปใหม่ » »
2 ความคิดเห็น
เห็นจริงกับบันทึกนี้อย่างยิ่ง
เราคิดว่าดีแล้ว เหมาะแล้ว น่ะสิ เราจึงพูดจึงทำ … บางทีลืมไปจริง ๆ ด้วยว่า มันเป็นสมมุติบัญญัติ
เหตุผลของตัวเองต่างหาก และที่ยากกว่าสิ่งอื่นก็คือ กว่าจะรู้ตัวว่าได้ “หลอกตัวเอง” มาเสียตั้งนาน ก็เกือบจะแก้ไขเรื่องไม่ได้แล้ว
[...] ในเมื่อตัวเราไม่ได้รู้อะไรทั้งหมดแต่จะไปตัดสินคนอื่น แล้วจะเป็นการตัดสินใจที่ดีได้อย่างไร?!?! [Paradox ของสายตา กับการไม่รู้จักเป้าหมาย] [เชื่อเพราะเห็น ทำให้หลงได้ง่าย] [ความมีเหตุผล อาจทำให้หลงได้] [...]