สร้างเมฆอีกที
ปัญหาเรื่องความแห้งแล้งในช่วงนี้ เป็นเรื่องจริงจังในระดับ ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา ชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองไทยขึ้นกับลมฟ้าอากาศ เรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตนั้นดูค่าเฉลี่ยไม่ได้ แต่จะต้องทำให้แน่ใจว่าทุกพื้นที่สามารถอยู่ได้ ไม่เฉพาะในเขตชลประทานหรือเขตเมืองเท่านั้น
มีองค์ความรู้และงานวิจัย ตลอดจนการทดลองเรื่องการสร้างเมฆอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเรื่องการทำฝนหลวงด้วย
จากการพิจารณาขั้นตอนของการทำฝนเทียม สถานการณ์ในปัจจุบันคงไม่เอื้ออำนวยเท่าไร เครื่องบินเริ่ม “ก่อกวน” ให้เมฆรวมตัวกันที่ระดับความสูงหมื่นฟุตซึ่งเป็นระดับเมฆชั้นกลาง (6,000-10,000 ฟุต) ปัญหาคือไม่มีเมฆชั้นกลาง (และไม่มีเมฆชั้นต่ำซึ่งเป็นระดับของการเกิดฝน) ทั้งนี้เป็นเพราะอากาศร้อนจัด
Lapse rate มีค่า 6.5°C/1000m หมายความว่าที่ความดันบรรยากาศปกติ ถ้าระยะสูงขึ้น 1 กม. อุณหภูมิที่ความสูงระดับนั้นก็จะลดลงประมาณ 6.5°C
ถ้าอุณหภูมิที่พื้นผิวเป็น 40°C การที่จะเริ่มกระบวนการสร้างเมฆแบบเย็น (ทำเมฆจากไอน้ำที่เย็นยิ่งยวด Supercool Liquid Water หรือ SLW) ก็จะต้องทำที่ระดับความสูงที่มีอุณหภูมิ -12°C ซึ่งคือ 52/6.5 ≈ 8 กม. หรือ ความสูงกว่าสองหมื่นหกพันฟุต
ซึ่งที่ความสูงระดับนั้น อากาศเบาบางแล้ว สงสัยว่าจะไม่สามารถใช้เครื่องบินทำฝนหลวงแบบของกระทรวงเกษตรได้(มั๊ง)
มีความพยายามที่จะควบคุมสภาพบรรยากาศมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองแล้ว สารเคมีที่ได้ยินชื่อบ่อยที่สุดคือซิลเวอร์ไอโอไดด์ (AgI) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายเกล็ดหิมะ ทำให้ SLW มาจับตัวด้วย กลายเป็นกลุ่มใหญ่จนกลายเป็นเมฆได้
การใช้ซิลเวอร์ไอโอไดด์เพื่อการสร้างเมฆ ใช้ในปริมาณที่น้อยมาก เช่น 10-50 กรัม ใช้ได้ทั้งปล่อยจากเครื่องบิน และปล่อยจากพื้น
การปล่อยจากพื้น มักจะปล่อยจากตีนเขาให้ลมพัดขึ้นไป ในหลายสถานการณ์ที่ไม่มีภูเขาสูง ก็สามารถเผาด้วยอุณหภูมิสูง ให้ซิลเวอร์ไอโอไดด์กลายเป็นไอ (1506°C) ความร้อนจากการเผา นำไอซิลเวอร์ไอโอไดด์ขึ้นไปที่บรรยากาศชั้นสูงเอง ดังรูปขวา
เตาเผาโพรเพน (ใช่ก๊าซ CNG ที่เติมรถยนต์) ขนาดเล็กอย่างนี้ อาจจะช่วยสร้างเมฆชั้นสูงขึ้นมาได้ เมื่อน้ำหนักเมฆเพิ่มขึ้น เมฆก็จะลดระดับลงมา
แต่หากพื้นดินยังร้อนอยู่แบบที่เป็น เมฆก็จะหายไปเพื่อความชื้นสัมพัทธ์ไม่เพียงพอ ประกอบกับอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเมฆลอยต่ำลงมา
ดังนั้นก็จะต้องเติมความชื้นในอากาศเสริมเข้าไปอีกถ่ายหนึ่ง
« « Prev : แบบทดสอบสุขภาพจิต EMHI
Next : ลาออก » »
2 ความคิดเห็น
[...] [สร้างเมฆอีกที] ถ้าจะยิง flare นัดละพันห้า [...]
[...] ถ้ามีใบไม้คอยสังเคราะห์แสงอยู่ พลังงานแสงแดดส่วนหนึ่งจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานเคมี สร้างอาหารให้พืช ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ คายออกซิเจน แต่ถ้าไม่มีใบไม้คอยสังเคราะห์แสง พลังงานแสงแดดตกกระทบพื้น แล้วเปลี่ยนเป็นความร้อน ทำให้ดินเสื่อม (แล้วก็โบ๊ะปุ๋ยเคมี ยิ่งใส่ ก็ยิ่งจน แต่ก็ยังทำ) น้ำผิวดินแห้ง น้ำใต้ดินหด ดินยิ่งร้อน เมฆยิ่งก่อตัวยากครับ [สร้างเมฆอีกที] [...]