คุ้นเคยจนนึกว่ารู้ แต่ที่จริงไม่ได้ตระหนักเลย
อ่าน: 4510ไฟฟ้า… บ้านไหนก็มีไฟฟ้า
ไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ เป็นเทคโนโลยีของศตวรรษที่ 19 ใช้ power plant ขนาดใหญ่ ผลิตไฟฟ้าจากเขื่อน ถ่านหิน และฟอสซิล จ่ายกำลังไปตามสายส่งไฟฟ้า ซึ่งเกิดการสูญเสียมากกว่าจะไปถึงปลายทาง
โลกใช้เวลานานหลายร้อยล้านปี กว่าที่จะเก็บสะสมพลังานแสงอาทิตย์ ภายใต้ความร้อน ความกดดัน เปลี่ยนซากพืชซากสัตว์เป็นฟอสซิล แต่มนุษย์เผาฟอสซิลกลับเป็นไฮโดรคาร์บอน และความร้อนอย่างรวดเร็วในช่วงร้อยกว่าปีนี้เอง เร็วกว่าที่ธรรมชาติทำกว่าล้านเท่า แล้วอย่างนี้ จะไม่ร้อนรุ่มได้ยังไง??
ดีที่สุดคือพลังงานแสงอาทิตย์
เพราะดวงอาทิตย์แผ่พลังงานให้แก่โลกอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นงานที่ต้องการได้ จะไม่ทำให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น
แต่มันก็ไม่ง่ายอย่างนั้นหรอกครับ ดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ให้เราเห็นในช่วงกลางคืน ยิ่งกว่านั้นการแปลงและเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ยังมีประสิทธิภาพต่ำอีกด้วย เวลาเราพูดถึงพลังงานแสงอาทิตย์ มักจะไปคิดถึงโซล่าร์เซล ซึ่งปัจจุบันก็มีประสิทธิภาพเพียงประมาณ 20% เท่านั้น ที่จริงยังมีวิธีการอื่นอีกตั้งเยอะ ที่จะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นงานที่ต้องการ เช่น
- Solar collector เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานความร้อน แล้วเอาความร้อนไปทำงานอีกทีหนึ่ง ดูเหมือนเป็นกระบวนการหลายขั้นตอน แต่ก็น่าจะมีประสิทธิภาพรวมมากกว่า และมีราคาต่ำกว่าการใช้โซล่าร์เซล
- พื้นผิวเมืองไทย มีพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบประมาณ 1000 W/m2 หักเรื่องเมฆ เรื่องฝน เรื่องอากาศขมุกขมัวออกสักครึ่งหนึ่ง หักความไม่มีประสิทธิภาพของการแปลงพลังงานอีกร้อยละ 60 หมายความว่าพื้นที่ 10 ตร.ม. มีแดด 6 ชั่วโมง จะปั่นไฟฟ้าได้ 120 หน่วยต่อวัน (พอกับโซล่าร์เซลประสิทธิภาพสูงในพื้นที่เท่ากัน แต่น่าจะถูกกว่าหลายเท่า) ซึ่งมากเกินพอสำหรับบ้านอยู่อาศัย
การผลิตไฟฟ้า
เพราะกฏหมายโบราณกำหนดไว้ว่าหน้าที่นี้เป็นของรัฐวิสาหกิจใหญ่ แล้วกฏหมายยังไม่เปลี่ยน เราก็เลยลืมไปว่าบ้านเรือนต่างๆ ผลิตไฟฟ้าเองได้ (แต่ต่อไฟฟ้ามาใช้ ก็ง่ายดี) ที่จริงแล้ว แม้เมืองไทยจะตั้งอยู่ในเขตที่ลมไม่แรง แต่บ้านเรือน/ตึกแถว/ไร่นา ที่ตั้งอยู่ริมถนนที่มีการจราจรคล่องตัว สามารถตั้งกังหันลมขนาดเล็กปั่นไฟฟ้าใช้เองได้
ยังไม่ต้องคิดถึงขนาดจะเป็น VSPP ขายไฟให้การไฟฟ้าหรอกนะครับ (Grid-tied invertor เพื่อขายไฟให้การไฟฟ้ามีราคาแพงมาก) แค่ลงทุนสองหมื่น ปั่นไฟ 500 วัตต์ชาร์ตแบตเตอรี่ เพื่อเอามาปั่นไฟเลี้ยงคอมเพรสเซอร์แอร์ขนาด 2kW (ที่ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา) ก็หรูแล้ว ได้ความเย็นฟรีเกือบตลอดเวลา ถ้าแบตอ่อน จึงเอาไฟจากการไฟฟ้ามาใช้
Storage
ผมชอบโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับของ กฟผ.มากครับ เคยเขียนบันทึกไว้; ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ น่าจะใช้ไฟฟ้าแบบ TOU จึงใช้ไฟฟ้าช่วงกลางคืนซึ่งถูกกว่า มาทำความเย็นเก็บไว้ เพื่อนำมาใช้ในตอนกลางวัน
เช่นเดียวกัน การออกแบบสายส่งไฟฟ้า มี capacity จำกัด (ที่มากพอสำหรับ peak load เผื่ออนาคตไว้อีกส่วนหนึ่ง) แต่ปริมาณการใช้ไฟฟ้า จะไปหนักตอนหัวค่ำ หมายความว่าในช่วงเวลาอื่น สายส่ง “ว่าง” หากเราถ่ายโอนพลังงานไฟฟ้ามาเก็บไว้ใกล้เมือง แทนที่จะส่งตรงมาจากโรงไฟฟ้าห่างออกไปร้อยสองร้อยกิโลเมตร จะทำให้ตอบสนองต่อ peak load ได้ดีขึ้น (มั๊งครับ) ซึ่งกรณีนี้ Flywheel ก็น่าสนใจ
ท่านายกไปพูดไว้ที่โคเปนฮาเกน (อ่าน -ฮาเกน จริงๆ) ว่าจะใช้พลังงานทดแทนเท่านั้นเท่านี้เปอร์เซ็นต์ ว่าแต่วันนี้ทำอะไรไปแล้วบ้าง มีแผนอะไรบ้างครับ
« « Prev : ส่ง เจ้าเป็นไผ ๑ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ไปโรงพิมพ์แล้ว
Next : เที่ยวงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี ๒๕๕๓ » »
2 ความคิดเห็น
ไม่รู้ตอนนี้งานวิจัยด้าน Solar Cell เราไปถึงไหนแล้วครับ เคยมีความพยายามในเรื่องนี้เหมือนกัน
คิดกันขนาดจะเอาแกลบไปทำ เพื่อลดต้นทุนของการนำเข้า Silicon wafers แต่คงไม่ง่ายเท่าไหร่ แต่ยังไง พลังงานแสงอาทิตย์ ก็น่าเสียดายอยู่ที
ที่บ้านเจาะหลังคาเปลี่ยนเป็บแบบใส แทนแบบทึบ ตอนนี้ที่โต๊ะกินข้าวไม่ต้องเปิดไฟตอนกลางวันครับ
ถ้ามีพลังงานตกกระทบ 1000 วัตต์ต่อตารางเมตร (ถ้าไม่ชอบเลขนี้ ก็เปลี่ยนเอาเองนะครับ) แปลไปใช้ได้ 25% ก็ 250 วัตต์ ส่วนที่เหลืออีก 750 วัตต์ กลายเป็นความร้อนครับ แล้วมันจะร้อนกว่าเตารีดไฟฟ้าเสียอีก