Global Disruption

อ่าน: 3176

Dr. John Holdren นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐ (ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำเนียบขาว และเป็นประธานร่วมของคณะที่ปรึกษาประธานาธิบดีโอบามา ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ในสมัยที่ยังอยู่ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ให้สัมภาษณ์กับเครือข่าย DemocracyNow.org เรื่อง Global Disruption ดังนี้ครับ

  • ตัว ดร.โฮลเดรนเอง ไม่ชอบคำว่า Global Warming (โลกร้อน) เพราะว่าคำนี้ไม่ได้ให้ภาพที่ถูกต้องของปัญหาทั้งหมด แต่ชี้ไปที่การเพิ่มของอุณหภูมิ ซึ่งบอกเป็นนัยว่าค่อยๆ เปลี่ยน และเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าๆ กันทั่วโลก เขาชอบคำว่า Global Disruption (การปรับตัวขนานใหญ่ของโลก) มากกว่า เพราะว่าผลนั้น รุนแรงทั้งปัญหาสภาวอากาศ อาหาร น้ำ คลื่นความร้อน/คลื่นความเย็นที่รุนแรงมาก การระบาดของโรค ฯลฯ เกิดขึ้นพร้อมๆ กันหมด จึงรุนแรงมาก
  • ตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 1988 จนถึงเวลาที่สัมภาษณ์ในปี 2008) มีพวกลัทธิแก้ (Denialists) ซึ่งแย้งไปเรื่อยๆ ว่าเป็นเรื่องไม่จริง ปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้นและวัดได้จริง และยังมีกลุ่มบรรษัทขนาดใหญ่ที่มีผลประโยชน์ขัดกับการแก้ไขปัญหานี้ ที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มเคลื่อนไหวต้านการแก้ไขปัญหาโลกร้อน และพยายามใช้สื่อทุกชนิดที่จะชี้ว่าเรื่องนี้เป็นการหลอกลวงขนานใหญ่ เนื่องจากหาฉันทามติไม่ได้ ตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา จึงไม่มีใครทำอะไรจริงจัง ยังผลให้ระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ สูงทะลุข้ามขีดอันตรายไปมากแล้ว และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงเลย
  • พิธีกรขอความเห็นว่าจีนเป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก (->ปัญหาอยู่ที่จีน ตรรกะที่ผิดเพี้ยนอีกแล้ว) ดร.โฮลเดรน ก็ตอบว่าจริง แต่สหรัฐปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหัวประชากรมากกว่าจีนถึงสี่เท่า อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนได้ตระหนักแล้วถึงปัญหา จึงได้เริ่มปรับตัวขนานใหญ่เกี่ยวกับเรื่องปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวอากาศ จีนเข้าใจแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกระทบต่อจีนอย่างหนัก ทางตอนใต้ประสบปัญหาน้ำท่วม ในขณะที่ตอนเหนือประสบปัญหาความแห้งแล้ง สหรัฐยังไม่ทำอะไรจริงจังเลย (จีนมีศักยภาพเรื่องพลังงานสะอาดมากที่สุดในปัจจุบัน ด้วยกำลังการผลิตเซลแสงอาทิตย์ที่สูงที่สุดในโลก และมีพื้นที่ที่มีลมแรงพอจะปั่นไฟฟ้าแล้วคุ้มค่าเป็นบริเวณกว้างใหญ่)

โดยปกติ ผมมักไม่เขียนเกี่ยวกับเรื่องเฉพาะกาลหรอกครับ เพราะว่าเขียนปุ๊บ…ล้าสมัยทันที แต่เมื่อสัปดาห์ก่อน ไปให้ความเห็นไว้บน Fabebook แล้วกลับมาเขียนบันทึกเรื่อง “350 ppm” ขีดปลอดภัยสำหรับมนุษยชาติ

ทั้งสองแห่ง ผมอ้างถึง 350.org ซึ่งจะจัดกิจกรรมการแสดงพลังขึ้นทั่วโลกในวันที่ 10 ตุลาคมที่จะถึงนี้ (10/10/10)

ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ในอันดับสูง ปล่อยออกเป็นปริมาณมากเหมือนเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมหนัก หรือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว สิ่งนี้บอกเป็นนัยว่าเราใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพพอครับ

กิจกรรมลดโลกร้อนในวันที่ 10 ตุลาคมเช่นกันในเมืองไทย ประสานโดย http://www.globalwarming.in.th/ ถ้าเห็นความสำคัญ มีเวลาและมีแรงเหลือ ก็ลองดูเว็บนี้นะครับ

กิจกรรมวันเดียวแม้จัดขึ้นทั่วโลกก็ไม่ได้แก้ปัญหาโลกร้อน แต่ถึงทำวันเดียวก็ดีกว่าไม่ได้ทำเลย เพราะความเข้าใจติดตัวกลับไปบ้านนะครับ

« « Prev : เสียง

Next : ประชุมภาคี OpenCARE » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 September 2010 เวลา 9:27

    ชอบคำ Global Disruption มากกว่าครับ ให้ความหมายที่กว้างกว่าและชี้ให้เห็นกระบวนการมากกว่า
    อ่านทั้ง 350 ppm ก็รู้สึกว่าบ้านเราแม้ว่าจะมีคนที่ติดตามสนใจมากสมควร แต่กระบวนการเอามาพูดเตือนกันและเริ่มแผนงานปรับ ทั้งแก้ไขและเตรียมรับ ยังน้อยเมื่อเทียบกับอัตราการเกิดขึ้นของ Global Disruption สิ่งที่น่าจะขยับก่อนที่สุดคือสถาบันการศึกษา ทั้งทำและค้นคว้าในด้านการแก้ไขและการปรับตัวในบ้านเราให้มากกว่านี้ รัฐเองมัวทะเลาะกันอยู่ไม่เลิก

    ความซับซ้อนของสังคมเลยทำให้เวลากินตัวสภาพสังคมแบบนี้ไปเอง ผู้นำหลายคนคงอยากจะทำ แต่ภาระที่พัดพาให้ต้องลำดับการแก้ไขก่อนหลังบีบบังคับให้ภาพออกมาเป็นเช่นนี้ นี่คือความซับซ้อนของสังคม

    คิดต่อไปว่า เอ เราจะทำอะไรได้บ้างนะ มากกว่าที่ทำมาแล้วคืออะไรบ้าง ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน วัด หน่วยงาน ฯลฯ

    บางทีผมก็คิดว่า เราทะเลาะ 3G รถไฟเร็วจี๋ ฯลฯ ลงทุนระดับแสนล้าน มันน่าจะเป็นลำดับหลังของการทุ่มเทมาแก้ Global Disruption

    เราลงทุน ระดับแสนล้าน นั้นๆ แต่เรายังแก้ปัญหา แหล่งน้ำเพื่อการผลิตไม่ได้ แล้วจะอวดไปเป็นครัวโลก…มันสวนทางกันน่ะครับ

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 September 2010 เวลา 19:55
    ที่ทำได้โดยด่วนและไม่แพง คือ อบต. ออกทุนทำกล้าไม้ชุมชน ปีละสองหมื่นถุงดำครับ ค่าถุงดำสองหมื่นถุง อบต.จัดการได้สบายครับ — แจกจ่ายไปตามชุมชนต่างๆ ปิดเทอมแล้วไปปลูกต้นไม้กัน

    ส่วนพันธุ์ไม้ ก็หาเอาในท้องถิ่นแบบที่รู้ว่าปลูกขึ้นได้แน่ ไม่จำเป็นต้องเป็นไม้พันธุ์เดียวกันด้วยนะครับ คำนวณมั่วๆ (เพราะไม่รู้ว่าเป็นไม้อะไร) ถ้าปลูกห่างกัน 1.5 เมตร ไร่หนึ่งก็ปลูกได้ 700 ต้น สองหมื่นกล้า ก็ลงในที่ดินได้ 28 ไร่

    เมืองไทยมี 7400 ตำบล ไม่ทำซะสามในสี่ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ส่วนที่ทำอยู่ 1850 อบต. ก็ปลูกต้นไม้ได้ปีละ 51,800 ไร่นะครับ; เมืองไทยมีพื้นที่แผ่นดิน 514,000 ไร่ ปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่า 20% ก็คือ แสนไร่

    ดังนั้นถ้าอบต.ทำ สองสามปี ก็เพิ่มพื้นที่ของต้นไม้ได้เยอะ แต่ถ้ารัฐเป็นคนทำ โครงการนี้คงจะเน่าแน่ครับ

    ต่อให้ที่ดินแถวนั้นถูกถางไปทำนาหมดแล้ว ปลูกตามคันนาก็ได้ครับ ต้นไม้บังลมไม่ให้ข้าวท้องแก่ร่วงหล่น เป็นร่มเงารักษาดิน แล้วเว้นที่ไว้สิบก้าวเพื่อเอาเครื่องจักรข้ามคันนา

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 September 2010 เวลา 21:38

    เห็นด้วย สมควรทำอย่างยิ่ง หาก อบต.เข้ามาทำอย่างจริงจัง ก็จะส่งผลที่สร้างพลังได้มากทีเดียว ตอนนี้ เราสนับสนุนเครือข่าย เพาะกล้าเอง ปลูกเอง แต่ควรให้ทุกภาคส่วนร่วมกัน โโย อบต.เป็นแกน เพราะมีงบประมาณ อาจไปร่วมมือกับโรงเรียน สอนเด็กไปเก็นเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า เอามาเพาะ เมื่อเพาะขึ้นแล้วก็ไปปลูก เอาชาวบ้านที่มีความรู้มาคุยให้ฟัง มาเล่าป่าในอดีต อะไรมันมีในอดีต อะไรที่หายไป …ฯลฯ วัด ทุกวัดควรปลูกป่าทุกปี ญาติโยมไปทำบุญก็ทำด้วยต้นไม้ แล้วไปปลูกกัน ไปเยี่ยมเยืนกันก็เอาต้นไม้ไปเยี่ยม วันเกิด วันสำคัญต่างๆ วันพ่อ วันแม่ วันฯลฯ เอาต้นไม้ไปฝาก อำเภอมีการประชุมประจำเดือนทุกต้นเดือน ให้ กำนันผู้ใหญ่บ้านเอาต้นมาคนละต้นสองต้น เอามารวมกันแล้วเอไปปลูกที่ใดๆที่เหมาะสม ทอกกฐิน ทอดผ้าป่าต้นไม้ โดนเฉพสะวันเกิด ไปปลูกต้นไม้กัน หากหายใจเป็นต้นไม้ ก็น่าจะใช้เวลาไม่นานเกินรอ สภาพจะเปลี่ยนไปทางที่ดีขึ้นนะครับ

  • #4 ป้าจุ๋ม ให้ความคิดเห็นเมื่อ 27 September 2010 เวลา 21:11

    เห็นด้วยจริงๆค่ะกับทั้งสองท่าน เรื่องการปลูกต้นไม้นี่จะทำอย่างไรให้มีการขับเคลื่อนไปได้และเร็ววันด้วยค่ะ ดีค่ะปลูกให้หลากหลายคละเคล้ากันไป
    ส่วนเรื่องเวลาปลูกก็คงไม่น่าจะต้องรอให้ถึงวันสำคัญอย่างเดียว ช่วยกันประชาสัมพันธ์ สนับสนุนให้ปลูกไปเรื่อยๆ เรียกว่าปลูกทุกโอกาสที่มี ถ้าได้ทำต่อเนื่องภายใน 4-5 ปีน่าจะโตให้เห็นได้ชื่นใจนะคะ
    จะยากส์…ก็ตรงจุดstartนี่แหละค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.54344511032104 sec
Sidebar: 0.51241302490234 sec