จับตา “ภัยพิบัติ”
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. มีรายการ Post Script รู้จริง รู้ทัน ทางช่อง TNN24 ทางรายการได้เชิญ ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
ผมดูแล้วก็ชอบใจ อาจารย์อธิบายง่ายๆ ตรงไปตรงมา จึงขอให้มูลนิธิโอเพ่นแคร์ ติดต่อทางรายการเพื่อขออนุญาตนำเทปรายการมาเผยแพร่ ซึ่งก็ได้รับอนุญาตเรียบร้อย แบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 7 นาที ดังนี้ครับ
เมื่อเกิดภาวะโลกร้อน น้ำแข็งทั่วโลกก็ละลาย ทำให้ระดับน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น แม้วัดแล้วอาจจะเห็นเป็นปริมาณเล็กน้อย แต่มหาสมุทรต่างๆ มีพื้นที่กว้างใหญ่ ก็ยังคิดเป็นปริมาณมวลของน้ำมหาศาล
ถึงแม้ว่ามวลของโลกไม่ได้เปลี่ยนแปลง มหาสมุทรแปซิฟิกมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด จึงเหมือนมีมวลของน้ำเพิ่มขึ้นมากที่สุด การเปลี่ยนแปลงมวลของมหาสมุทรนี้ กระทบต่อโมเมนตัมเชิงมุมของโลก ดังนั้นโลกก็จะมีการปรับตัว โดยแกนหมุนของโลกจะปรับเปลี่ยนไป
เมื่อการหมุนของโลกเปลี่ยนไป จะเกิดแรงกระทำต่อ “ผิว” โลก ทำให้แผ่นเปลือกโลกขยับตัว… อันนี้ทำให้เราเห็นกิจกรรมทางธรณีวิทยาเพิ่มขึ้น ทั้งแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด
วารสาร Scientific American ฉบับเดือน June 2010 มีบทความ 12 Events That Will Change Everything ซึ่งหนึ่งในนั้นคาดการว่าจะมีแผ่นดินไหวใหญ่ในเขตวงแหวนแห่งไฟ (รอบมหาสมุทรแปซิฟิก) USGS คาดการณ์ว่ามีโอกาสถึง 99% ที่มลรัฐคาลิฟอร์เนีย จะประสบแผ่นดินไหวใหญ่ไม่น้อยกว่า M6.7 ซึ่งเคยเกิดขึ้นที่เมือง Northridge, CA เมื่อปี 2537 และในปีนี้เกิดแผนดินไหวใหญ่ ซึ่งอยู่ตื้น (ทำความเสียหายมาก) และแรง (มีขนาดไม่ต่ำกว่า M7.0) แล้วถึง 5 ครั้ง:
- 3 ม.ค. หมู่เกาะโซโลมอน ขนาด M7.1 ลึก 25 กม.
- 12 ม.ค. ในเฮติ ขนาด M7.0 ลึก 13 กม.
- 26 ก.พ.ในญี่ปุ่น ขนาด M7.0 ลึก 25 กม.
- 27 ก.พ. ในชิลี ขนาด M8.8 ลึก 26.3 กม.
- 4 เม.ย. ในคาลิฟอร์เนีย ขนาด M7.2 ลึก 10 กม.
- 6 เม.ย. ในเกาะสุมาตรา ขนาด M7.8 ลึก 31 กม.
เกือบทั้งหมด (ยกเว้นเฮติ) อยู่ในขอบมหาสมุทรแปซิฟิก!
เรื่องนี้อาจไม่มีข้อสรุป หรือหากผู้อ่านจะสรุปว่าอะไรก็แล้วแต่ การจัดการภัยพิบัติที่ดีที่สุด คือเข้าใจความเสี่ยงในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ครับ อยู่ใกล้รอยแยก ระวังอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง อยู่ใกล้น้ำ ระวังน้ำ อยู่ใกล้ป่า ระวังไฟป่า อยู่ในหุบเขา ระวังน้ำป่าและดินถล่ม ฯลฯ
« « Prev : ความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับ “เว็บตรวจสอบเหตุการณ์ ภาคประชาชน”
Next : การเขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (2) » »
2 ความคิดเห็น
คอมฯเปิดดูได้ช้ามาก แต่ก็คุ้มรอ..
เรารับรู้เรื่องนี้กันหลายครั้งแต่การตื่นตัวยังอยู่ในวงแคบๆ เหมือนมันไกลตัว เหมือนว่าอะไรเกิดก็เกิด เหมือนว่าเกิดแล้วคงทำอะไรไม่ได้ ยอมรับชตากรรม แต่คิดว่าเรามีหนทางลดหนักเป็นเบา หรือเตรียมตัวเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดีกว่าปล่อยไป ซึ่งไม่น่าเป็นวิสัยมนุษย์ที่เตรียมพร้อมนะครับ