น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (1)

อ่าน: 5256

รู้สึกติดใจกับโศกนาฏกรรมอันโหดร้ายที่เหลียวมองไปรอบตัวมีแต่น้ำ แต่ดื่มไม่ได้ ต้องขนน้ำมาจากระยะไกลหลายสิบ หลายร้อยกิโลเมตร

คืนนี้พักจากการเขียนโปรแกรม ก็เลยค้นเน็ตดูว่ามีวิธีแก้ปัญหาน้ำดื่มในเขตภัยพิบัติในประเทศอื่นบ้างหรือไม่ เลยไปเจอวิธีหนึ่ง เรียกว่า Ceramic Water Filter ครับ เรียก Ceramic Filter ฟังดูดี มีชาติสกุล เหมือนใช้ความรู้สูงด้วยนะ ที่จริงแล้วสร้างได้ไม่ยากหรอกครับ เพราะ Ceramic Filter นี้คือดินเผานั่นแหละ รูปร่างเหมือนกระถางต้นไม้แต่ไม่เจาะรูระบายน้ำที่ก้น

หลักการก็ง่ายๆ ครับ ดินเผาไม่ได้แน่นเป็นเนื้อเดียวไปหมด มันมีช่องว่างเล็กจิ๋วขนาด 0.6-3 ไมครอนที่น้ำซึมผ่านได้  ดังนั้นก็จะกรองสารแขวนลอยต่างๆ เช่นดิน ซากพืช ซากสัตว์ที่มากับน้ำ

ใช้แกลบป่นละเอียด 20% กับดินเหนียว 80% ผสมกัน 10 นาทีจนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นผสมน้ำอีกเท่าตัวโดยปริมาตร ปั่นรวมกันไปอีก 10 นาทีก่อนนำไปปั๊มขึ้นรูป แล้วก็ผึ่งไว้ให้แห้งก่อนส่งเข้าเตาเผา

ขั้นตอนการเผา มีการไล่น้ำโดยเผาที่ 100°C ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วก็ค่อยๆเร่งเป็น 866°C กระบวนการเผาทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมง แล้วก็ต้องปล่อยให้เตาค่อยๆ เย็นลงเองอีกประมาณ 24 ชั่วโมง

ฟิลเตอร์รูปกระถางต้นไม้ที่ได้ เอาไปแช่น้ำไว้สามชั่วโมงให้ดินเผาอิ่มน้ำ จากนั้นทดลองเติมน้ำจนเต็ม ทิ้งไว้หนึ่งชั่วโมงเพื่อวัดว่ากรองน้ำได้โอเคไหม ถ้าหากว่ากรองน้ำได้ไม่อยู่ในช่วงมาตรฐาน (มากหรือน้อยเกินไป) ก็จะถูกทำลายทิ้ง จากนั้นก็เทน้ำออก ผึ่งให้แห้ง เตรียมตัวสำหรับขึ้นต่อไป

อ่านต่อ »


ปั๊มน้ำกู้ชาติ

อ่าน: 23083

น้ำท่วมใหญ่ นอกจากเสียหายในวงกว้างแล้ว ยังเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศด้วย แผ่นดินไทยไม่ได้เรียบแบนแต๊ดแต๋ แต่มีความลาดเอียงแม้ในเขตที่ราบลุ่ม มีคันนา ถนน คูคลอง เนินเขา ภูเขา มีอาคารบ้านเรือนขวางทางน้ำอยู่ ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก การที่น้ำปริมาณมากไหลไปไม่สะดวก ทำให้น้ำยกตัว เอ่อขึ้นล้นตลิ่ง ท่วมเทือกสวนไร่นานและบ้านช่องของชาวบ้าน

น้ำท่วมจะผ่านไปในที่สุด แต่บริเวณที่น้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นแอ่ง เป็นกะทะ จะยังมีน้ำขังอยู่ ซึ่งจะต้องระบายออก นอกจากนี้ เมื่อน้ำไหลผ่านจากพื้นที่หนึ่งไปยังปลายน้ำ พื้นที่ตามเขื่อนดิน เขื่อนกระสอบทราย ที่ใช้ป้องกันน้ำท่วม จะมีรั่วซึมได้บ้างเป็นธรรมดา บ้านเรือนร้านค้าที่ทำเขื่อนกั้นน้ำเอาไว้ ก็อยู่ในสถานการณ์เดียวกันครับ

เวลาพูดถึงการสูบน้ำออก เรามักจะนึกถึงเครื่องยนต์ ถ้ามีอยู่แล้ว จ่ายค่าพลังงาน/มีพลังงานให้ซื้อได้ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่มี ลองทำปั๊มกำลังคนดูไหมครับ ใช้ท่อพีวีซีกับวัสดุเหลือใช้ก็พอ

อ่านต่อ »


ร่องดักน้ำฝน

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 October 2010 เวลา 0:34 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 4178

บันทึกนี้เป็นเทคที่สามครับ ตามไปอ่านอันที่สองและอันแรก ซึ่งเป็นความคิดดั้งเดิมได้ ทั้งสองเสนอให้ขุดร่องเพื่อชะลอน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นที่ลาดเอียง

ความคิดที่สามก็อยู่บนหลักการเดียวกัน แต่ว่าแทนที่จะปล่อยให้เป็นร่องเปิด ซึ่งเมื่อน้ำฝนไหลผ่านดินชั้นบนมาลงร่อง คราวนี้ผมเสนอให้เอกหิน/กรวดก้อนเล็กๆ ใส่ไว้ในร่อง ประการหนึ่งเป็นตัวกรองธรรมชาติ เพื่อที่น้ำที่ปลายด้านต่ำของร่องจะได้สะอาดขึ้น เนื่องจากโคลนดินและฝุ่นที่ถูกฝนชะมา จะถูกหินกรวดกรองเอาไว้

ประการที่สองคือกินกรวดจะค้ำยันร่องเอาไว้ไม่ให้ถล่มลง

อ่านต่อ »


ฝายชะลอน้ำได้… ขั้นบันไดก็ชะลอน้ำได้

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 October 2010 เวลา 20:41 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 5316

บันทึกนี้เป็นเทคสอง อันแรกอยู่ตรงนี้ครับ

ฝายชะลอน้ำ เป็นการนำอะไรบางอย่าง ไปวางกีดขวางกีดขวางทางน้ำไหลในร่องน้ำ เมื่อน้ำไหลช้าลง ก็จะยกตัวขึ้นเหนือฝาย ฝายในลักษณะนี้ไม่ได้กักน้ำไว้ที่ต้นน้ำทั้งหมด แต่ค่อยๆ ปล่อยน้ำลงมาตามร่องน้ำ เป็นการลดความรุนแรงของน้ำหลาก และเก็บความชุ่มชื้นไว้ในป่าต้นน้ำ ทำให้ต้นไม้เติบโต เมื่อมีต้นไม้มากขึ้น ดินไม่ถูกแดดเผา ฝนจึงตกได้ง่ายขึ้น เป็นเรื่องที่น่าจะคิดกันอย่างจริงจังแล้วนะครับ ไม่มีน้ำมันชีวิตจะยากลำบากขึ้นมาก แต่ไม่มีน้ำจืดเราตายแน่

แน่นอนว่ามนุษย์ตัวกระจ้อยร่อย ไม่มีพลังพอที่จะต่อกรกับธรรมชาติ ฝนจะตกแดดจะออก จะไปทำอะไรได้ ถ้าฝนตกเบาๆ ขนาด 10 มม. แต่ตกในพื้นที่ 1000 ตารางกิโลเมตร คิอเป็นปริมาณน้ำ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ถ้าตกในที่ราบก็ไม่เท่าไหร่ เพราะว่าไหลกระจายกันไป ซึมลงดินไปบ้าง ยังไงก็ไม่ท่วมเกิน 10 มม. (หรือ 1 ซม.) เดี๋ยวเดียวก็หายไป

แต่ถ้าพื้นที่เป็นภูเขาเช่นจังหวัดทางตะวันตก หรือทางภาคเหนือ ปริมาณน้ำที่ตกบนภูเขา จะไหลไปตามร่องน้ำ ตามหุบเขา ซึ่งแคบกว่าพื้นที่ของภูเขา แล้วไปรวมกันตามลำธาร คลอง และแม่น้ำ ปริมาณน้ำมหาศาลนี้ แม่น้ำลำคลองรับไม่ไหวหรอกครับ จึงเอ่อล้นตลิ่ง ท่วมบ้านเรือนไร่นาทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนไปตามๆ กัน

อ่านต่อ »


น้ำมาก ก็เป็นปัญหาอีก

อ่าน: 4782

ตอนแรกคิดว่าเขียนบันทึกที่แล้วเรื่องเดียวก็พอแล้ว แต่มาคิดอีกที เรื่องนี้มีประโยชน์เกินกว่าจะปล่อยผ่านไปเฉยๆ ครับ ซึ่งถ้าได้ฟังการนำเสนอแล้วจะรู้สึกสนุกมาก ตื่นเต้น-เร้าใจ-น่าติดตาม แม้เนื้อหาออกเชิงวิชาการ จึงขอย่อยมาเล่าให้ฟังนะครับ

ทีมงานของ ดร.สุทัศน์ วีสกุล AIT นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับระบบทำนายน้ำท่วม (มีการพยากรณ์ฝนซึ่งแปลความหมายจากเรดาร์ตรวจอากาศ ซึ่งจะไม่เล่าล่ะครับ)

งานชิ้นนี้เป็นการต่อยอดปรับปรุงขยายผลจาก AIT River Network Model ซึ่งเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากดุษฎีนิพนธ์ เพื่อทำนายปริมาณน้ำไหลในลุ่มเจ้าพระยา นำมาประยุกต์กับการปิดเปิดประตูระบายน้ำและปัมป์น้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำ งานชิ้นนี้มีประโยชน์มากเมื่อพิจารณาดูประโยคที่ว่า

ที่นาสามารถนำมาให้เป็นพื้นที่แก้มลิงได้ หากไม่ทำให้ข้าวเสียหาย

กรณีน้ำท่วมกรุงเทพซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญ เก็บภาษีได้ครึ่งหนึ่งของภาษีทั้งประเทศ จะสร้างความเสียหายมหาศาล ตามสถิติ ก็มักจะมีน้ำท่วมใหญ่ทุก 5 ปี

อ่านต่อ »


ขั้นบันไดชะลอน้ำฝน

อ่าน: 6694

มนุษย์มักไม่ค่อยพอใจในสิ่งที่มี หลังจากแล้งหนักมาแปดเดือน ตอนนี้เป็นช่วงที่ฝนตกหนัก ภูเขาก็กลายเป็นภูเขาหัวโล้นไปหมด เมื่อฝนตกหนัก น้ำฝนไหลลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วง แต่ว่าภูเขาเป็นพื้นที่รับน้ำขนาดใหญ่ เมื่อปริมาณน้ำไหลลงมารวมกันในร่องน้ำ ก็จะเป็นปริมาณน้ำมหาศาล ซึ่งเมื่อลงมาสู่ถิ่นที่อาศัยของคนซึ่งอยู่ด้านล่าง น้ำก็ระบายออกไม่ทันเนื่องจากน้ำปริมาณมหาศาล ไหลมาพร้อมๆ กัน บ้านเรือนเทือกสวนไร่นาทรัพย์สินเสียหาย

เรื่องอย่างนี้เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ฝนจะตก ก็ต้องตก ปริมาณน้ำที่จะไหลมา ยังไงก็ไหลมาตามร่องน้ำเดิม โครงการแก้มลิง ในลักษณะที่เป็นแหล่งน้ำของชุมชน สามารถแก้ปัญหาได้สองอย่างคือ เป็นที่เก็บกักน้ำในเวลาที่มีน้ำมาก และแก้ไขความแห้งแล้งในเวลาที่มีน้ำน้อย แต่ทว่าแก้มลิงต้องการปริมาตรบรรจุน้ำมหาศาลเพื่อหน่วงน้ำไว้ ไม่ให้ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนของชาวบ้าน เนื่องจากที่ดินมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการทำโครงการแก้มลิง จึงต้องทำโดยรัฐซึ่งมีกำลังสูงกว่าใครทั้งนั้น

ในลุ่มน้ำน่านซึ่งไม่มีเขื่อน โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น ความจุ 1,175 ล้านลูกบาศก์เมตรได้รับการต่อต้านมาก แม้จะมีประโยชน์แต่อาณาบริเวณของเขื่อน 74,000 ไร่ จะท่วมป่าสักทองแหล่งสุดท้ายของเมืองไทย จึงมีโครงการสร้างฝายล้านฝายแทนเขื่อนแก่งเสือเต้น ซึ่งชาวบ้านให้การตอบรับเป็นอย่างดี โครงการอย่างนี้ประสานประโยชน์เรื่องการจัดการน้ำ โดยช่วยลดความขัดแย้งทางความคิดลง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะสร้างฝายจำนวนมากมาย (ตัวเลขล้านแห่งเป็นเพียงการเปรียบเทียบ) ก็ยังเป็นพื้นที่หน่วงน้ำตามทางน้ำเท่านั้น จะเป็นพื้นที่เล็กๆ เก็บกักน้ำไว้ตามลำธารที่น้ำไหล

อ่านต่อ »


เข้าใจน้ำท่วม

อ่าน: 5947

เวลาน้ำท่วม อย่าไปโทษฝนโทษฟ้าเลยครับ หันมองกลับลงมาที่พื้นดินดีกว่า เราไม่เข้าใจพื้นดินเพียงพอทั้งที่ยืนอยู่กับพื้นทุกวัน

มีการทดลองง่ายๆ ที่คณะธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐเทกซัส เรื่องลักษณะของดินกับน้ำฝนครับ

มีถังพลาสติกสี่ถัง ซึ่งบรรจุสภาพพื้นดินไว้สี่อย่าง: แผ่นคอนกรีตปูบนดิน ดินอัดแน่น ดินมีวัชพืชปกคลุม ดินที่ปลูกพืช(มีรากเจาะลงลึก); ตัวถังพลาสติก เจาะรูไว้สองแบบ รูด้านบนเอาไว้เก็บน้ำที่ไหลไปบนพื้นผิว (เรียกว่า runoff water) ส่วนรูด้านล่าง เอาไว้เก็บน้ำที่ซึมลงในพื้นผิว

เมื่อเทน้ำปริมาณเท่าๆ กันลงด้านบนของแต่ละถัง น้ำที่ไหลอยู่บนผิวพื้น (runoff/น้ำหลาก/น้ำท่วม) จะไหลผ่านท่อบน หลังจากเก็บน้ำมาหมดแล้ว ค่อยเติมสีผสมอาหารสีเขียวลงไปเพื่อความชัดเจน แต่น้ำที่เก็บมาจากท่อล่างซึ่งต้องซึมผ่านดินมาก่อน เติมสีน้ำเงินลงไป

อ่านต่อ »


คืนแม่

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 August 2010 เวลา 13:42 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 5088

เมื่อคืนเป็นวันก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำรัส มีความตอนหนึ่งว่า

…ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับที่ศิริราช ทรงปฏิบัติพระราชกิจตามปกติ เช่น พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้บุคคลต่างๆ เฝ้าฯ หลายครั้ง ท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้ไปเฝ้าฯ หลายครั้งแล้ว เพื่อทรงติดตามปัญหาความทุกข์ยาก ของประชาชนทั่วประเทศ เรื่องที่ทรงห่วงมากระยะนี้ ก็เรื่องน้ำ ปัญหาเรื่องน้ำ ตั้งแต่ตอนที่ฝนทิ้งช่วง ประชาชนประสบปัญหาภัยแล้ง ต้องทรงส่งฝนหลวงไปช่วย จนถึงขณะนี้ฝนตกมาแล้ว ก็ยังทรงติดต่อตามข่าว และสถิติทุกอย่าง เพื่อเตรียมการไว้สำหรับป้องกัน หรือแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะมีมาอีก

ฝนหลวง คือ วิธีการทำให้เกิดฝน ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงค้นและพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๘ เพื่อช่วยประชาชนในท้องถิ่น ที่ขาดแคลนน้ำ แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะทำฝนหลวงได้ทุกพื้นที่ ทุกเวลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งว่า ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ ทรงอธิบายว่า ต้องมีเมฆ และความชื้นในอากาศเพียงพอ จึงจะทำได้ โครงการฝนหลวง มีผลงานเป็นที่รู้จักกันดี และเป็นที่เรียกร้องของประชาชนเสมอ ในยามที่ฝนทิ้งช่วงนานๆ จนเกิดปัญหาภัยแล้ง อย่างในปีนี้ น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาณน้อย และลดลงอย่างรวดเร็ว ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึง ๒๘ กรกฎาคมนี้ มีน้อยกว่าปีที่แล้วถึง ๑ ใน ๔

ทางราชการได้ออกประกาศเตือน ให้ชาวนา ชาวไร่ ลดการปลูกพืชฤดูแล้ง พยายามปลูกพืช ที่ใช้น้ำน้อยแทน แต่ประชาชนก็ยังปลูกมากกว่า ที่ทางราชการวางแผนไว้ถึง ๖๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ส่วนมากเป็นการปลูกข้าวนาปรัง ซึ่งต้องใช้น้ำมากเสียด้วย ข้าพเจ้าก็เห็นใจ และเข้าใจชาวนา เพราะเมื่อข้าวได้ราคา และนาว่าง ก็อยากจะปลูกข้าวต่อไป แม้จะทราบว่าน้ำไม่พอ บางคนก็ยอมเสี่ยง เผื่อว่าโชคดี ฝนอาจจะมาเร็ว แต่เมื่อฝนไม่ตก ข้าวก็เหี่ยวแห้งรอวันตาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงติดตามเรื่องสถานการณ์น้ำ อยู่ตลอดเวลา แม้ระหว่างประทับพักฟื้นอยู่ ที่โรงพยาบาลศิริราช ก็ไม่ทรงว่างเว้นเลย เดือนมิถุนายนนี้ ทรงขอให้สำนักฝนหลวง และการบินเกษตร ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ ในภาคเหนือ ๔ แห่งด้วยกัน ภาคอีสาน ๑ แห่ง ภาคกลาง ๑ แห่ง เพื่อเพิ่มน้ำให้เขื่อนใหญ่ ๕ แห่ง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระดับน้ำก็กระเตื้องขึ้นมา และพื้นที่แห้งแล้งภายนอกก็ลดลง

การทำฝนหลวงนี้เป็นที่สนใจ นานาชาติอย่างกว้างขวาง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจดสิทธิบัตรการทำฝนหลวงไว้แล้ว ใครจะใช้เทคโนโลยีฝนหลวง ต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน หลายชาติมาศึกษาดูงาน ในประเทศไทย บ้างก็ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้เทคโนโลยีฝนหลวง เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ ทางรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นรัฐที่ค่อนข้างแห้งแล้งอยู่เสมอ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้เทคโนโลยีฝนหลวง พระองค์ท่านก็พระราชทาน แสดงให้เห็นว่า พระมหากรุณานั้นมิได้จำกัดอยู่เพียงราษฎร ในประเทศไทยเท่านั้น แต่แผ่กว้างไปถึงชาวโลกด้วย

ซึ่งข้าพเจ้าก็ภาคภูมิใจ ที่พระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน มีส่วนช่วยดับทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ ในนานาประเทศ ซึ่งบางประเทศนั้น ก็มีชื่อเสียงทางเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ยิ่งกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำไป และจากที่บ้านเราฝนแล้งมาระยะหนึ่ง ต่อไปนี้จะมีข่าวดี ที่พึงต้องระวังไปพร้อมกัน เพราะมีแนวโน้มของสภาพอากาศว่า ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคมปีนี้ ประเทศไทยจะมีฝนมากกว่าปกติ ข่าวดีก็คือ เราจะได้มีน้ำสำรองไว้ใช้ในปีหน้า แต่ที่ควรระวังคือ ปัญหาน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมที่จะตามมา ดังที่เราเห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ในระยะนี้

เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม นี้เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้คณะผู้บริหาร สถาบันสารสนเทศน้ำ และการเกษตร เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลรายงาน สรุปสถานการณ์น้ำ ได้รับสั่งให้ย้ำทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเรื่องน้ำทั่วประเทศ ให้ช่วยกันวางแผน เพื่อรับมือปัญหาน้ำที่ขาดแคลน เป็นประจำทุกฤดูแล้ง และจะขาดแคลนมากขึ้น ในอนาคต โดยให้คำนึงถึงการประสานประโยชน์ ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป

อ่านต่อ »


แกว่งตุ้มสร้างงาน

อ่าน: 6682

ลูกตุ้มที่แกว่งหรือหมุนรอบจุดหมุน จะเกิดแรงเหวี่ยง

การผลักลูกตุ้มให้แกว่งใช้พลังงานไม่มาก เมื่อลูกตุ้มซึ่งต่ออยู่กับคานแกว่งแล้ว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจุดศูนย์กลางของมวล ทำให้โมเมนต์ของคานเปลี่ยนแปลง และทำให้ปลายอีกด้านหนึ่งของคานแกว่งไปด้วย

เฮ้อ… อธิบายยากจัง ดูรูปทางขวาดีกว่าครับ

จะเห็นคานสีเหลืองสองคาน เรียกเป็นคานอันล่าง กับคานอันบน; ที่คานอันล่าง ข้างขวามีลูกตุ้มรูปพัดสีแดงแขวนอยู่กับแขนด้านสั้น ส่วนแขนด้านยาว ต้อกับเพลสหมุนสีน้ำเงิน เมื่อลูกตุ้มรูปพัดถูกผลักให้แกว่งไปมา คานสีเหลืองก็ขยับขึ้นลง ทำให้ไปหมุนเพลาสีน้ำเงิน

ตรงนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ในเชิงเส้น (คือผลักลูกตุ้มไปข้างหน้าตรงๆ) แต่ด้วยเครื่องมือกล เกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่เชิงเส้นเป็นการเคลื่อนที่เชิงมุม (เรียกภาษามนุษย์ว่าการหมุน)

เมื่อมีการหมุนแล้ว สามารถใช้หลักของของคาน สามารถนำไปขยายให้เป็นช่วงชัก เอาไปปั๊มน้ำจากบ่อได้… ซึ่งมีผู้ทดลองทำ ปรากฏว่าสูบน้ำได้ในระดับความลึก 12 เมตร

ในสเกลที่ใหญ่ขึ้นไป เมื่อตุ้มมีน้ำหนักมากขึ้น มีแขนที่ยาวขึ้น สามารถใช้สร้างกำลังกลไปปั่นไฟฟ้าได้… เข้าทำนอง สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

ถ้าแกว่งเบาๆ ก็ได้กำลังน้อย ถ้าแกว่งจนหมุนครบรอบ ก็จะได้กำลังมากที่สุดเท่าที่เครื่องจะทำได้ แล้วแกว่งจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย จะหมุนตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา ก็ได้กำลังเท่ากัน จึงใช้ได้ทั้งคนถนัดขวาและถนัดซ้าย (ส่วนคนที่ถนัดแต่วิจารณ์ คงไม่เวิร์คอยู่ดี ฮ่าๆๆๆ)

กำลังในการสูบน้ำหรือปั่นไฟมาจากไหน ก็มาจากแรงผลักให้ลูกตุ้มแกว่ง+แรงดึงดูดของโลกครับ ตรงนี้ล่ะน่าสนใจ เพราะว่าเครื่องมือกลต่างๆ ละเลยกำลังจากแรงดึงดูดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

อ่านต่อ »


แล้งจัดมาครึ่งค่อนปี ตอนนี้น้ำท่วม แล้วจะทำอย่างไร

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 August 2010 เวลา 16:07 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3452

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ว่าทั่วโลกจะมีปัญหาขาดน้ำจืดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เป็นเพราะประชากรโลกเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ปัจจุบันมีหกพันแปดร้อยล้านคน ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในเอเซีย คนต้องใช้น้ำ ปลูกพืชต้องใช้น้ำ เลี้ยงสัตว์ต้องใช้น้ำ พืชและสัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติก็ต้องใช้น้ำเช่นกัน

น้ำทั่วโลก เรียกได้ว่ามีปริมาณคงที่เสมอ เพราะน้ำไม่สามารถหนีแรงดึงดูดของโลกออกไปได้ แต่ว่าน้ำเคลื่อนที่ เปลี่ยนสถานะไปตามสภาวะอากาศ น้ำส่วนใหญ่ของโลกเป็นน้ำในทะเล-มหาสมุทรซึ่งนำมาใช้อุปโภคบริโภคไม่ได้

น้ำ 97% เป็นน้ำทะเล ที่เหลือเป็นน้ำจืด 3%
ในปริมาณน้ำจืดทั้งหมด เป็นหิมะ 68.7% เป็นน้ำใต้ดิน 30.1% น้ำผิวดิน 0.3% และอื่นๆอีก 0.9%
ในบรรดาน้ำผิวดินทั้งหมด อยู่ในทะเลสาบ 87% ในบีงชุ่มน้ำ 11% และในแม่น้ำ 2%

หนาวก็ไม่หนาว ยังไม่ทันไร จะแล้งอีกแล้ว

เมืองไทยได้ดุลการชำระเงิน ซึ่งมีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นตัวมาฉุดดุลการค้า ซึ่งในบางขณะนั้นติดลบ ให้กลับมาเป็นบวก ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมก้าวหน้าไปได้ แต่ถ้ามีปัญหาแล้งหรือน้ำท่วม ใครเขาจะมาเที่ยวครับ เที่ยวเมืองไทยกันเองยังโปรโมทกันลำบากเลย

อ่านต่อ »



Main: 0.087805032730103 sec
Sidebar: 0.17308497428894 sec