กังหันปั่นไฟฟ้าจากฝายเตี้ย

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 July 2010 เวลา 15:18 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 8570

การปั่นไฟฟ้าจากจากของไหล ไม่ว่าจะเป็นลมหรือน้ำ คือการเปลี่ยนพลังงานจลน์ของของไหลให้เป็นพลังงานกล ซึ่งนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง มีสูตรพื้นฐานคือ kWh = (1/2)(ρ)(v3)(A)(E)(H)

  • ρ (rho) คือความหนาแน่นของของไหล
  • v คือความเร็วของของไหล
  • A คือพื้นที่หน้าตัดของเครื่องแปลงพลังงาน (กังหันปั่นไฟ)
  • E คือประสิทธิภาพในการดักจับพลังงานจลน์จากการไหลของกระแสอากาศ คิดต่อหน่วยพื้นที่(ให้เป็นหน่วยเดียวกับหน่วยของ A เช่นตารางเมตร) ค่าของ E ในทางทฤษฎีจะไม่สามารถเกิน 59.3% ซึ่งเรียกว่า Betz Limit ตัว E นี้ ในอุตสาหกรรมพลังงานลมเรียกว่าสัมประสิทธิ์กำลัง (Power Coefficient)
  • H คือจำนวนชั่วโมงที่ปั่นไฟได้

ในกรณีของเขื่อนที่ผลิตกระแสไฟฟ้า เราจะเห็นว่าต้องมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความสูง (head) เพื่อให้น้ำไหลด้วยความเร็วที่สูง (v) ขึ้น ยิ่ง v มาก kW ก็ยิ่งสูงเพราะ kW แปรผันตาม v3

แต่การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในปัจจุบันนี้ แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมีปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมายตามการสร้างเขื่อนมาด้วย… ไฟฟ้าจำเป็น แต่ปั่นไฟจากเขื่อนขนาดใหญ่ไม่ได้ ยังมีวิธีครับ

อ่านต่อ »


น้ำบรรจุใหม่

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 July 2010 เวลา 8:49 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 10405

โดยนิยาม ทรัพยากรเป็นสิ่งมีค่าแต่ว่าใช้แล้วก็หมดได้ครับ

น้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่า เราพึ่งพาธรรมชาติอยู่มากในการหาน้ำมา ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่า น้ำผิวดิน น้ำจากระบบชลประทาน น้ำประปา หรือน้ำบาดาลก็ตาม เมืองไทยมีพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 514,000 ตารางกิโลเมตร (321 ล้านไร่) โครงข่ายชลประทานครอบคลุมไม่ทั่วถึง

ในหลายพื้นที่ ใช้ประปาภูเขา ประปาชุมชน และน้ำบาดาล ก็ต้องมีการบำรุงรักษาครับ น้ำบาดาลใช้ไปเรื่อยๆ ก็มีวันหมดเหมือนกัน มีข้อมูลซึ่งน่าจะดีอยู่ที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ขออภัยที่ตรวจสอบอย่างละเอียดไม่ได้ ช้าเหลือเกิน มีโปรแกรมแจกแต่ใช้บนระบบปฏิบัติการที่ผมไม่ได้ใช้ เลยทดสอบไม่ได้)

เท่าที่ทราบ เมืองไทยไม่มี profile (ภาพตัดขวาง) ของดิน ซึ่งใช้เพื่อศึกษาลักษณะของชั้นดิน เป็นเรื่องน่าเสียดายมากที่ในสมัยที่มีคนตกงานมาก รัฐไม่จ้างทำ seismic survey

น้ำบาดาลไม่ได้รวมกันอยู่ในถังหรือโพรงที่เต็มไปด้วยน้ำหรอกครับ น้ำบาดาลซึมอยู่ในดินทรายชุ่มน้ำ โดยปกติดูใสสะอาดเพราะผ่านการกรองด้วยทรายและถ่าน(ดิน)ตามธรรมชาติ

ปริมาณน้ำในบ่อบาดาล ขึ้นกับระดับของ water table ซึ่งคือระดับน้ำที่ซึมอยู่ในดินทรายชุ่มน้ำ ถ้าระดับนี้อยู่ต่ำกว่าปลายท่อในบ่อบาดาล ก็จะไม่สามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้

เมื่อสักสี่สิบกว่าปีก่อนในสมัยที่ประปายังไม่ดี บ้านเกิดผมอยู่ประมาณ 100 เมตรจากแม่น้ำเจ้าพระยา ขุดลงไปนิดเดียวก็เจอน้ำแล้ว water table ถูกเติมโดยแม่น้ำเจ้าพระยา

พุทธธรรมผาซ่อนแก้ว ตั้งอยู่บนเขา ไม่มีแหล่งน้ำ ขุดบ่อบาดาล ระดับ water table อยู่ลึก 150 เมตร ต้องจ่ายค่าไฟเพื่อสูบน้ำมหาศาล หลังจากหน้าฝน ต่อท่อนำน้ามาจากประปาภูเขาได้ แต่เพราะว่าประปาภูเขาไม่มีการบำรุงรักษา จึงใช้ไม่ได้ตลอดทั้งปี

อ่านต่อ »


สูบน้ำจากแหล่งน้ำตื้น

อ่าน: 23395

เพราว่าน้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ แหล่งน้ำจึงมักจะอยู่ในระดับต่ำ จะนำน้ำไปใช้อะไร ก็ต้องขนน้ำขึ้นมา แต่เพราะว่าแก่เฒ่า ไม่มีแรง ติดหรู ติดสบาย หรือว่าร่ำรวยอะไรกันก็ไม่รู้ เวลาเราจะขนน้ำ ก็มักจะนึกถึงปั๊มใช้น้ำมันหรือว่าใช้ไฟฟ้า

แน่นอนครับ การเคลื่อนที่น้ำต้องใช้แรง แต่ผมไม่คิดว่ายากเกินไปหรอก

เมื่อกลางปีที่แล้ว ไปช่วยครูบาตอนที่ SCG Paper ยกพวกมาอบรมที่สวนป่า ผมไปกับกลุ่ม ๑ [มองบ้านพ่อไล] ดูภูมิประเทศแล้วสะท้อนใจ บึงน้ำที่ อบต.ขุดไว้ ยังมีน้ำอยู่บ้าง แต่ระดับน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับของประตูระบายน้ำ (และคลองส่งน้ำ) อันนี้หมายความว่าน้ำที่มีอยู่ ส่งไปตามไร่นาไม่ได้ ต่างบ้านต่างขุดสระของตนเอง แปลกไหมครับ!!! เพราะว่าน้ำส่วนกลางพึ่งไม่ได้ — รอบสระมีถนนลูกรังดูผิวเผินเจริญดี แต่ถนนเองนั่นแหละ ที่ขวางชาวบ้านรอบๆ สระ กับแหล่งน้ำส่วนกลางของตำบล

เรื่องนี้ผมติดใจ กลับมาบ้านก็รีบค้นว่ามีวิธีไหนที่จะเคลื่อนน้ำจากแหล่งน้ำตื้นๆ ให้ไปยังที่ที่จะใช้น้ำ โดยไม่ต้องใช้น้ำมันหรือไฟฟ้าหรือไม่ — ชาวบ้านยากจน ไม่ควรจะต้องจ่ายถ้ามีทางเลือกอื่น — ก็ปรากฏว่ามีหลายวิธีครับ แต่ว่าต้องมีเครื่องมือ แล้วผมก็เขียนเรื่อง [เช็ควาล์ว]

อ่านต่อ »


ปัญหาเรื่องน้ำ

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 July 2010 เวลา 2:23 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4757

เรื่องนี้เขียนซ้ำซาก บ่น โวยวาย แต่เป็นเรื่องวิกฤติจริงๆ ครับ

ผมเป็นกังวลมากเพราะว่าดูเหมือนว่าชาวบ้านจะรอฟ้ารอฝนกันไปเรื่อยๆ ใครลุยลงข้าวนาปีไปแล้ว ป่านนี้ก็คงเจ๊งแล้วเพราะไม่มีน้ำ มีฝนตกมาแว๊บๆ แต่ก็ไม่มีการเตรียมตัวเก็บกักน้ำฝนไว้ จะรอน้ำจากระบบชลประทานอย่างเดียว โดยที่ไม่เข้าใจเลยว่าระบบชลประทานนั้น วิกฤติมากแล้ว

ขณะที่เขียนนี้ ทางทิศเหนือ น้ำในเขื่อนภูมิพลเหลือไม่ถึง 3% ของปริมาณน้ำที่ปล่อยออกมาได้ ถ้าเหลือ 0% ต่อให้มีน้ำอยู่ในเขื่อนบ้างก็ปล่อยออกมาไม่ได้ (นอกจากจะทุบเขื่อน) เขื่อนสิริกิติ์เหลือน้อยกว่า 6% ทางด้านตะวันตก เขื่อนศรีนครินทร์เหลือน้อยกว่า 38% อาจจะช่วยลุ่มแม่กลอง/ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างได้ แต่ว่าพื้นที่อื่นนั้น ส่งน้ำไปช่วยไม่ได้เพราะน้ำไหลลงที่ต่ำเสมอ เขื่อนวชิราลงกรณ์เหลือต่ำกว่า 6% ส่วนทางใต้ เขื่อนรัชชประภาเหลือน้อยกว่า 50% และเขื่อนบางลางเหลือน้อยกว่า 35%

ไม่ได้เขียนถึงเขื่อนอื่น เพราะไม่มีเขื่อนใดเลยเหลือปริมาณน้ำที่จะปล่อยออกมาได้เกิน 100 ล้านลูกบาศก์เมตร หมายความว่าที่คิดว่าจะปล่อยน้ำมาช่วยได้นั้นไม่จริงครับ แต่ที่หนักหนาสาหัสจริงๆ คือเขื่อนอุบลรัตน์ต้นแม่น้ำชี และเขื่อนลำตะคองต้นแม่น้ำมูล เหลือน้ำอีกนิดเดียวครับ — ตั้งแต่ต้นปีนี้ เขื่อนทุกเขื่อทั่วประเทศ ขาดทุนน้ำอย่างย่อยยับ ถ้าฝนไม่ตกหนักเหนือเขื่อนทุกเขื่อน (ซึ่งยากมาก) ปีหน้าจะหนักกว่าปีนี้อีกครับ จนป่านนี้ยังไม่รู้ตัวอีก!

ยุโรป และอเมริกากำลังร้อนจัดเป็นประวัติการณ์ จะทำให้น้ำแข็งละลาย อาจมีท่วมจนแปลงพืชผลทางการเกษตรเสียหาย ถ้าโชคดีไม่ท่วมช่วยนี้ ก็จะทำให้ปริมาณน้ำจืดสำรองร่อยหรอลง และอาจจะเกิดอาการขาดน้ำในฤดูกาลต่อๆ ไป ทางบ้านเราจะเร่งผลผลิตออกมาก็ไม่ได้ เพราะไม่มีน้ำเหมือนกัน

อ่านต่อ »


ขุดบ่อบาดาลแบบชาวบ้าน

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 July 2010 เวลา 7:10 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 46889

น้ำยังคงเป็นปัญหาใหญ่ บันทึกนี้แนะนำหัวขุดสำหรับเจาะหาน้ำบาดาลในระดับตื้นๆ ซึ่งสามารถสร้างได้ง่ายๆ ด้วยท่อพีวีซี โดยตะไบปลายท่อพีวีซีให้เป็นปากฉลาม (วิธีนี้จะขุดผ่านหินไม่ได้ แต่ว่าขุดผ่านดิน ดินเหนียว ทรายได้ — ส่วนดินดานอาจจะเจาะยากหน่อยครับ)

ส่วนการขุด ก็ใช้วิธีเดียวกับการขุดบ่อบาดาลทั่วไป คือหมุนท่อขุดไปเรื่อยๆ หมุนกลับไปกลับมาก็ได้ แต่ส่งน้ำลงไปกลางท่อ ทำให้น้ำที่ไหลออกด้านล่าง ดันดินและทรายขึ้นมาบนผิวดิน

คำว่าบ่อบาดาลตื้น หมายถึงบ่อที่มีระดับน้ำ (Water table) 5-8 เมตร ซึ่งมักจะเป็นที่ลุ่ม เพราะว่าท่อที่ใช้ขุดมีขนาด 2 นิ้ว ทำให้ต้องติดตั้งปั๊มบนผิวดินแล้วดูดน้ำขึ้นมา; ถ้าใช้ท่อขนาดใหญ่ 4 นิ้วเพื่อที่จะเอาปั๊มแบบ submerge ใส่ลงไปที่ก้นบ่อ ก็จะต้องใช้น้ำที่มีแรงดันอัดลงไปในตอนขุด ซึ่งอาจไม่เหมาะที่จะเรียกว่าเป็นเทคโนโลยีชาวบ้าน

อ่านต่อ »


เขื่อนส่วนตัว

อ่าน: 5022

เขื่อนส่วนตัว ฟังดูมโหฬาร แต่ที่จริงแล้ว เป็นเรื่องที่แต่ละคนจัดการเองได้ครับ

ทุกพื้นที่ของเมืองไทย มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1000 มม. หรือ 1 เมตร (ซึ่งถ้าปริมาณฝนต่ำกว่า 250 มม./ปี ก็จะเรียกว่าทะเลทราย) –  ปริมาณน้ำฝนหมายถึงการวัดที่เอาภาชนะรูปทรงกระบอกทิ้งไว้ในที่โล่ง เมื่อฝนตกลงมาแต่ละครั้ง ก็วันความสูงของน้ำที่อยู่ในภาชนะทรงกระบอก เอาตัวเลขทั้งปีมาบวกกัน

ทีนี้ ถ้ามีที่ดินทำนา 5 ไร่ ก็เท่ากับ 8,000 ตารางเมตร ฝนตกมาปีละ 1 เมตร ก็ได้ปริมาณน้ำฝน 8,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ 8,000 คิว ซึ่งนั่นเหลือเฟือสำหรับการเกษตรในพื้นที่ 5 ไร่ทั้งปี โดยไม่ต้องพึ่งน้ำจากระบบชลประทานเลย — แต่ปัญหาใหญ่ก็คือฝนตกลงมา เราก็บ่นๆๆๆๆ แล้วก็ปล่อยน้ำทิ้งไปเฉยๆ ไม่ทำอะไร — นั่นล่ะครับ จุดเริ่มต้นของปัญหา คือการไม่มีการจัดการน้ำ

วิธีการที่ง่ายที่สุด คือขุดสระ ปรับระดับเพื่อนำน้ำไปลงสระเก็บไว้ใช้เมื่อต้องการจะใช้ แต่วิธีการนี้มีปัญหาอย่างหนึ่ง คือเมืองไทยแดดจัด อากาศร้อน ทำให้น้ำในสระเปิดระเหยออกไปเร็ว ต่อให้สระน้ำเก็บน้ำได้ ระดับน้ำก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามอัตราการระเหย ซึ่งถ้าฝนตกสม่ำเสมอก็ไม่มีปัญหาเพราะว่ามีน้ำเติม แต่ว่าฝนไม่ได้ตกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าไม่ใช่ฤดูกาลหรือถ้าแล้งจัด ฝนก็ไม่ตก

ถ้าขุดสระในที่ร่ม จะช่วยได้ระดับหนึ่ง น้ำก็ยังระเหยได้จากลม (ไม่นับการที่จะหาที่ร่มขนาดใหญ่นั้น หาไม่ได้หรอกครับ เมืองไทยไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่แล้ว + ต้นไม้ใกล้น้ำ รากเน่าหมด) สระใต้ดินอาจจะเหมาะกว่า

อ่านต่อ »


ทำนาโดยใช้น้ำน้อย

อ่าน: 8911

อย่าได้แปลกใจเลยครับ ที่คนไม่เคยทำนาจะ(ดัดจริต)มาเขียนเรื่องการทำนา สถานการณ์น้ำวิกฤติมาก น้ำในระบบชลประทานมีไม่พอที่จะทำอย่างที่เคยทำมาอีกแล้ว และคาดว่าจะมีวิกฤติการณ์น้ำรุนแรงต่อเนื่องไปอีกหลายปี ต่อให้อยู่ดีๆ มีปาฏิหารย์น้ำเต็มเขื่อนขึ้นมาได้ ถ้าเราไม่เปลี่ยนวิธีใช้น้ำ ก็จะยังเจอปัญหาแบบที่เคยเจอ แต่คราวนี้น้ำหมดเขื่อนแล้ว จะแก้ไขสถานการณ์ลำบาก — วันนี้ เขตเมืองยังมีน้ำประปา นอกเขตเมืองยังมีประปาชนบท ประปาภูเขา หรือน้ำบาดาล เราเพลิดเพลินกับการใช้ โดยไม่คิดจะเติมน้ำต้นทุน วันไหนน้ำหมด วันนี้มานั่งเสียใจก็สายไปแล้วนะครับ (บ่อบาดาลเติมน้ำได้แต่ก็ไม่ทำ อ่างเก็บน้ำก็เติมได้โดยทำร่องให้น้ำฝนไหลมารวมกัน ฯลฯ)

ทำนาเคยได้ 50-60 ถังต่อไร่ ถือว่าอยู่ได้ ถ้าไป 80-100 ถัง ก็เยี่ยมเลย ลือกันไปสามบาง แต่ถ้า 120 ถัง ได้ออกทีวีแหงๆ พอมีระบบชลประทาน ก็แห่กันทำนาปรัง แล้วพอราคาข้าวขึ้นสูง ทีนี้ทำนาปรังกันสองรอบเลย แต่ผลผลิต(ที่ไม่วายวอดไปจากภัยแล้ง) ตกลงมาเหลือ 25 ถัง แถมใช้น้ำเพิ่มขึ้น 3 เท่าเพราะทำนาสามรอบ เราไม่มีปริมาณน้ำสำรองเพิ่มขึ้นจากเดิมนะครับ แต่ใช้น้ำทำนามากกว่าเดิม มีประชากรที่ต้องการใช้น้ำมากกว่าเดิม

ไม่ได้โทษการทำนาปรังหรือนาปีหรอกครับ แต่อยากบอกว่ามีวิธีทำนาแบบที่ใช้น้ำน้อยลง และให้ผลผลิตมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ผมไม่ได้บอกให้เชื่อ แต่อยากให้ลองคิดดู ถ้าเห็นว่ามีเหตุผล ก็อาจลองทำดูในแปลงเล็กๆ ก่อน นาปีกำลังจะเริ่มแล้ว ต้องเตรียมการก่อน

อ่านต่อ »


สถานการณ์น้ำในเขื่อน

อ่าน: 3333

วันนี้ไปหาหมอมา ไม่มีอารมณ์เขียน จึงขอทดข้อมูลสั้นๆ แต่สำคัญแทนครับ คือปริมาณน้ำในเขื่อนที่ดูแลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ปรับปรุงข้อมูลทุกวัน

ควรดูปริมาณ “น้ำไหลเข้าอ่าง” ยกเว้นเขื่อน “ท่าทุ่งนา” ซึ่งเป็นเขื่อนท้ายเขื่อนศรีนครินทร์ ดังนั้นน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนท่าทุ่งนา ก็จะใกล้เคียงกับน้ำที่เขื่อนศรีนครินทร์ปล่อยออกมา

ถ้าน้ำไหลเข้าอ่าง น้อยกว่าน้ำที่ปล่อยออก ก็แปลว่าเขื่อนขาดทุนน้ำ


แล้งเพราะทำตัวเอง

อ่าน: 2561

เมื่อเช้านี้ ผมไปพบผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งทำงานเรื่องน้ำ มีข้อมูลแปลกโผล่มาซึ่งไม่ได้ขอให้เชื่อหรอกนะครับ ให้ลองคิดดูเฉยๆ

  • ปีที่แล้วฝนไม่ได้น้อยเลย แต่ระบบชลประทานขาดทุนน้ำสองพันล้านลูกบาศก์เมตร เพราะพืชผลการเกษตรราคาสูง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว) จึงต้องปล่อยน้ำออกไปช่วย
  • ปีนี้แล้งจัดและร้อนจัดมาตั้งแต่ต้นปี แต่เพราะราคาข้าวสูงเมื่อปีที่แล้ว จึงมีชาวนาทำนามาก ควรจะทำนาปรัง 6 ล้านไร่ กลับทำ 12 ล้านไร่ และทำสองครั้งด้วย จึงยิ่งมีความต้องการน้ำมหาศาล
  • ถึงตอนนี้ น้ำไม่พอ นาล่มอยู่ดี เงินที่คิดว่าจะได้ก็ไม่ได้ ทุนก็ลงไปแล้ว
  • ยังไงก็ไม่เปลี่ยนไปทำพืชผักอย่างอื่นที่ใช้น้ำน้อยกว่ามาก เช่น พริก
  • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ใช้งบทำเรื่องการจัดการน้ำ (บ่อ สระ คลอง ร่องน้ำ) 2.15% แต่ใช้งบแก้ไขเรื่องน้ำ (ท่วม+แล้ง) 7.9%
  • ทางเหนือ มีพื้นที่ในเขตชลประทาน 15% อีสานเก็บน้ำฝนไว้เพียง 3% แต่ชุมชนไม่เตรียมตัวช่วยเหลือตัวเอง (ขุดบ่อเอง ฯลฯ) เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่รัฐต้องมาช่วย — สงสัยว่าถ้าปริมาณมากมายอย่างนี้ รัฐจะช่วยไหวได้อย่างไร [เพิ่งเขียนบันทึกเรื่องน้ำไม่มี] ในพื้นที่อีสานยิ่งหนักไปกันใหญ่
  • อ่านต่อ »


น้ำไม่มี

อ่าน: 4109

ในเมื่อน้ำไม่มีก็ไม่มีครับ ไม่รู้จะมาคร่ำครวญอะไรกัน

ไม่อยากพูดเลยว่าเตือนมาสักครึ่งปีแล้ว ในบล็อกนี้นี่แหละ (เออนะ แล้วทำไมต้องฟังด้วยล่ะ) มาถึงตอนนี้ คงต้องรอฟ้ารอฝนอย่างเดียว ทำอะไรไม่ทันแล้ว

หากฝนตก ก็เก็บน้ำฝนไว้นะครับ หลังคาเล็กๆ ขนาด 25 ตารางเมตร ฝนตกหยุมหยิมขนาด 5 มม. เก็บน้ำจากหลังคาได้หนึ่งในแปดคิว คงประมาณสักค่อนตุ่ม ถ้าตกจริงจังขนาด 2 ซม. ได้น้ำครึ่งคิว จะอยู่ไปได้สองสามวัน

อย่าคิดว่าอยู่ในเมืองจะสบาย วันไหนที่น้ำประปาไม่ไหลแล้วจะรู้สึก ตอนนี้มีโอกาสเตรียมอะไรได้ ก็เตรียมเสียก่อนเถิดครับ

ส่วนไร่นา น่าจะสำรวจความลาดชันของพื้นที่ แล้วพยายามขุดร่องนำน้ำฝนไปรวมกันที่บ่อให้ได้มากที่สุด อย่าปล่อยให้น้ำหายไปเฉยๆ เลยครับ ต่อให้น้ำไปรวมกันที่ต่ำแล้วต้องสูบมาใช้ ก็ยังดีกว่าไม่มีน้ำจะสูบมาใช้ [ธนาคารน้ำ]

อ่านต่อ »



Main: 0.050554990768433 sec
Sidebar: 0.13557410240173 sec