ถอดบทเรียนเกี่ยวกับชุมชนออนไลน์ (ตอนที่ 3)
อ่าน: 5436สังคมออนไลน์ในฐานะของ Chaordic Organization
สังคม Chaordic เป็นสังคมที่รวมกันอยู่อย่างหลวมๆ มีอิสระทางความคิด แต่เดินทางร่วมกันสู่เป้าหมาย เป็นสังคมที่ไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงทุกองคาพยพให้ดีขึ้น เก่งขึ้น ใช้ประโยชน์จากความรู้และประสบการณ์ของสมาชิกอื่นๆ ในสังคมนั้นเพื่อต่อยอด เพื่อวัตถุประสงค์ร่วมกัน
- Chaordic Commons
- A New Kind of Organization Based on Purpose and Principle, Donella H. Meadows (1941-2001), director of the Sustainability Institute and an adjunct professor of environmental studies at Dartmouth College
- Chaordic Organization, ManyWorlds
สังคม Chaordic เป็นสังคมที่ควรจะปรับเปลี่ยนตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้อง คิดเห็น-ทำ เป็นเนื้อเดียวกัน อาจมีผู้นำได้หลายกลุ่ม แต่ทุกกลุ่มมุ่งสู่เป้าประสงค์ของสังคมอันเดียวกัน (แม้อาจจะใช้วิธีที่ต่างกัน) ในหลายครั้ง การใช้ความแตกต่างให้เป็นประโยชน์ กลับช่วยให้องค์กร ก้าวสู่เป้าประสงค์ได้ดีขึ้น
- The Chaordic Organization: Out of Control and Into Order, โดย Dee Hock, Founder and CEO Emeritus of VISA International, 21st Century Learning Initiative
บทความของ Dee Hock ข้างบนนี้ ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับลักษณะขององค์กรในปัจจุบัน [ที่เน้นเรื่องของการสั่งการจากบนลงล่างและการควบคุม อันถอดแบบมาจากอุตสาหกรรมการผลิต และสงคราม] ไว้หกข้อว่า
First: The greatest danger to people and civilization was not the hydrogen bomb or degradation of the environment, but greater and greater concentration of power and wealth in fewer and fewer hands.
Second: The real consequence of emerging science and technology was not gadgets, whether hydrogen bombs or silicon chips, but radical, social change: ever-increasing diversity and complexity in the way people live and work. Which, in turn, demands radical organizational change.
Third: Industrial Age, hierarchical command-and-control pyramids of power, whether political, social, educational, or commercial, were aberrations of the Industrial Age, antithetical to the human spirit, destructive of the biosphere, and structurally contrary to the whole history and methods of physical and biological evolution. They were not only archaic and increasingly irrelevant, they were a public menace.
Fourth: Just as the human body is organized around a neural network, so complex as to defy description, so too were electronic communication systems emerging and interconnecting into an equally complex economic and social network around which institutions and society would be forced to reorganize.
Fifth: The so-called Information Age could best be understood as the Age of Mindcrafting, since information is nothing but the raw material of that incredible chaord we call mind and the pseudo-mind we call computer. Software, the tool with which we shape and manage that information, is purely a product of the mind.
Sixth: The most abundant, least expensive, most underutilized and frequently abused resource in the world was human ingenuity; the source of that abuse was archaic, Industrial Age institutions and the management practices they spawned.
การไม่ตระหนักในข้อสังเกตทั้งหกนี้ นำไปสู่องค์กรแบบอำนาจนิยม ที่บริหารงานแบบเถ้าแก่ ซึ่งในสังคมปัจจุบันก็เป็นแบบนี้แทบทั้งหมดจนรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา โดยที่ประโยชน์มักไปตกอยู่กับเถ้าแก่เป็นหลัก ไม่ใช่ส่วนรวมหรือองค์กร
ในยุคเริ่มต้น คงไม่มีใครคาดคิดว่าอินเทอร์เน็ตจะ “ประสบความสำเร็จ” มากมายขนาดนี้ ข้อสังเกตที่น่าสนใจที่สุดของเรื่องนี้คือ
- อินเทอร์เน็ต ไม่ได้เติบโตด้วยการควบคุมของใคร แม้แต่รัฐบาลสหรัฐ
- ชุมชนอินเทอร์เน็ต อยู่ร่วมกันด้วยมาตรฐานกลาง ซึ่งร่วมกันร่าง ไม่มีขาโจ๋ ขาใหญ่ คอยชี้นิ้วสั่งใคร มีแต่คำแนะนำ มีการปฏิบัติให้ดู มีแนวปฏิบัติที่ดี มีทางเลือกให้เดิน มีการแข่งขันเพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่าอยู่เรื่อยๆ และที่น่าสนใจที่สุดคือมีความไว้เนื้อเชื่อใจว่าสมาชิกของสังคม จะเลือกในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทั้งตนเองและสมาชิกอื่นทั้งหมด
- การพัฒนาเปลี่ยนแปลง เกิดจากความแตกต่าง ซึ่งไม่ได้ถกเถียงเพื่อเอาชนะ แต่เป็นไปเพื่อให้สังคมเน็ตทั้งหมดดีขึ้น เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่กลับไม่มีการบังคับให้ใครทำอะไร
- อินเทอร์เน็ต เป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสารอย่างอิสระ เหมาะสำหรับผู้มีวุฒิภาวะ แต่ก็ไม่ได้กีดกันกั้นกรองผู้ใด
การพัฒนาทางความคิดของผู้มีอำนาจในสังคมใดๆ จะเป็นปฏิภาคกับความคิดที่จะควบคุมสังคมนั้นๆ — เราเห็นปรากฏการณ์นี้ในอินเทอร์เน็ตเช่นกัน
ผมเห็นว่าสังคมออนไลน์ เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของ Chaordic อันหนึ่ง
ผู้นำในสังคม Chaordic
สังคม Chaordic ยอมรับในความแตกต่าง และความหลากหลาย มีมุ้งเล็กในมุ้งใหญ่ มีอิสระที่จะเลือกเรียนรู้ เลือกทำ ออกจะเป็นเรื่องเข้าใจยากสำหรับผู้ที่ไม่คิดว่าคนมีแรงผลักดันที่จะเป็นที่ ยอมรับของสังคม และถูกควบคุมด้วยบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งสมาชิกของสังคมนั้นยึดถือปฏิบัติ
แต่หากท่านจะสรุปว่าสังคม Chaordic ไม่มีผู้นำแล้วละก็ ผมคิดว่าท่านสรุปเร็วไป
ที่จริงแล้ว สังคม Chaordic ก็มีผู้นำเช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้คงอยู่ในฐานะของผู้มีอำนาจ มนุษย์ยอมรับกันได้เองโดยที่ไม่ต้องมีใครมาสั่ง ลองนึกถึงมหาตมะคานทีที่ปลดปล่อยอินเดียจากอังกฤษ หรือโมเสสใน Exodus ที่นำชาวยิวอพยพหนีความเป็นทาสจากอียิปต์ไปตั้งถิ่นฐานใหม่โดยไม่ต่อสู้ดู แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำในสังคม Chaordic นั้น ตรงกันข้ามกับทฤษฎี Great Man (ฮีโร่ อัศวินขี่ม้าขาว ผู้ปกครองสมบูรณ์แบบ สุดยอดอัจฉริยะที่เก่งทุกอย่าง ฯลฯ) ซึ่งได้รับการขยายผลจากวีรบุรุษสงครามโลกครั้งที่สอง+การฟื้นตัวของโลกหลัง สงคราม จนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันในเชิงการจัดการ ว่าการบู๊ล้างผลาญไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เพื่อผลประโยชน์ไม่ว่าจะของใคร — ใช้คำว่า “ต้อง” อยู่ตลอดเวลา
Dee Hock เคยเขียนบทความเรื่อง The Art of Chaordic Leadership ลงในเว็บของสถาบัน Leader to Leader Institute บทความนี้หายไปแล้ว โชคดีที่มีผู้เซฟไว้ (คลิกเพื่ออ่านฉบับเต็ม) ซึ่งผมตัดตอนแง่คิดที่เกี่ยวกับ Chaordic Leadership มาให้อ่าน
On Chaordic Leadership
Many convictions about leadership have served me well over the years. Although each of these few examples could benefit from pages of explication, a few words may provide insight to chaordic leadership.
- Power: True power is never used. If you use power, you never really had it.
- Human Relations: First, last, and only principle — when dealing with subordinates, repeat silently to yourself, “You are as great to you as I am to me, therefore, we are equal.” When dealing with superiors, repeat silently to yourself, “I am as great to me as you are to you, therefore we are equal.”
- Criticism: Active critics are a great asset. Without the slightest expenditure of time or effort, we have our weakness and error made apparent and alternatives proposed. We need only listen carefully, dismiss that which arises from ignorance, ignore that which arises from envy or malice, and embrace that which has merit.
- Compensation: Money motivates neither the best people, nor the best in people. It can rent the body and influence the mind but it cannot touch the heart or move the spirit; that is reserved for belief, principle, and ethics.
- Ego, Envy, Avarice, and Ambition: Four beasts that inevitably devour their keeper. Harbor them at your peril, for although you expect to ride on their back, you will end up in their belly.
- Position: Subordinates may owe a measure of obedience by virtue of your position, but they owe no respect save that which you earn by your daily conduct. Without their respect, your authority is destructive.
- Mistakes: Toothless little things, providing you can recognize them, admit them, correct them, learn from them, and rise above them. If not, they grow fangs and strike.
- Accomplishment: Never confuse activity with productivity. It is not what goes in your end of the pipe that matters, but what comes out the other end. Everything but intense thought, judgment, and action is infected to some degree with meaningless activity. Think! Judge! Act! Free others to do the same!
- Hiring: Never hire or promote in your own image. It is foolish to replicate your strength. It is stupid to replicate your weakness. Employ, trust, and reward those whose perspective, ability and judgment are radically different from your own and recognize that it requires uncommon humility, tolerance, and wisdom.
- Creativity: The problem is never how to get new, innovative thoughts into your mind, but how to get old ones out. Every mind is a building filled with archaic furniture. Clean out a corner of your mind and creativity will instantly fill it.
- Listening: While you can learn much by listening carefully to what people say, a great deal more is revealed by what they do not say. Listen as carefully to silence as to sound.
- Judgment: Judgment is a muscle of the mind developed by use. You lose nothing by trusting it. If you trust it and it is bad, you will know quickly and can improve it. If you trust it and it is consistently good, you will succeed, and the sooner the better. If it is consistently good and you don’t trust it, you will become the saddest of all creatures; one who could have succeeded but followed the poor judgment of others to failure.
- Leadership: Lead yourself, lead your superiors, lead your peers and free your people to do the same. All else is trivia.
กล่าวโดยย่อ บันทึกนี้พูดถึงพลวัตของสังคมที่มีอิสระทางความคิดและการกระทำ ผลรวมของความคิดและการกระทำของสมาชิกในสังคมนั้น จะเป็นตัวบอกว่าสังคมนั้นเป็นอย่างไร
ดังที่กล่าวแล้วในหัวข้อ ความเป็นบุคคล ไม่มีความสำคัญเลยสำหรับสังคมออนไลน์ ในตอนที่แล้ว เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อย ที่การกระทำของสมาชิกบางคนในสังคม อาจส่งผลต่อสังคมนั้นได้ หากจะเกิดกรณีอย่างนั้นขึ้น ก็จะเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว
สังคม Chaordic ไม่ได้รวมเป็นเนื้อเดียวกัน จึงมีความแตกต่างในแง่คิด มุมมองกันอยู่บ้าง ดังนั้นจึงมีผู้นำได้หลายคน แล้วก็ไม่มีใครถามใครว่า “ใครใหญ่” เพราะทุกคนทำเพื่อเป้าหมายร่วมกัน “ใครใหญ่” จึงเป็นเหมือนคำหยาบ — มีแต่คำถามว่าใครทำอะไร/จะสอดประสานกันได้อย่างไร — หากผู้นำแต่ละกลุ่มหันไปทางเดียวกัน นำพาผู้คนสู่เป้าหมายร่วมกัน ก็จะเกิดการรวมพลังขึ้นได้
ส่วนประเทศไทยรวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย ที่ต้องเรียกร้องความสมานฉันท์นั้น เป็นเพราะว่าเราหันหน้าเข้าหากัน เราจึงมองกันไปคนละทิศคนละทาง เห็นกันคนละภาพ ทำเรื่องที่เชื่อมต่อเข้ากันไม่ได้ จับมือกันได้แต่ไม่สามารถรวมพลังกัน; เมื่อเทียบกับลักษณะของสังคม Chaordic แล้ว ไม่ตรงอยู่สองอย่างครับ
- เราไม่มีเป้าหมายร่วมกัน แล้วก็ไม่พยายามหาเป้าหมายร่วมกัน หรือ มีแต่ไม่ทำ แถมผลักภาระไปให้คนอื่นจะทำแทน
- เราใช้อำนาจควบคุม ไม่ว่าจะด้วยกฏระเบียบ ระบบอาวุโส เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย โดยไม่เชื่อว่ามีผู้ใดสามารถทำได้ดีกว่าผู้มีอำนาจ กฏระเบียบไม่เปิดโอกาสให้ใครได้ทำอะไร — สังคมที่เป็นระเบียบ ไม่ได้หมายความว่าเหมือนกันไปหมด แต่หมายถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เคารพสิทธิ์ และความแตกต่างของผู้อื่น
ชักออกนอกเรื่องแล้ว พอก่อนดีกว่าครับ
ของแถม
- Servant leadership
- ผู้นำที่ดี : ต้องเริ่มจากอยากจะรับใช้ผู้อื่น
- “Servant Leadership” ผู้นำที่เป็นผู้รับใช้ ?
- ศิลปะแห่งภาวะผู้นำ (The Art of Leadership)
- G2K เฮฮาศาสตร์ vs Chaordic Organization
« « Prev : เขียนบันทึกจาก Microsoft Word 2007
7 ความคิดเห็น
แล้วจะโยงกับ Public Participation ได้ไหมเนี่ย..? อิอิ
ท่านจอมป่วนเขียน G2K เฮฮาศาสตร์ vs Chaordic Organization เอาไว้ แต่เราก็ควรจะพยายามตอบคำถาม ว่าองค์ประกอบ 6 ข้อของเฮฮาศาสตร์ในฐานะขององค์กร Chaordic คืออะไร
อิอิอิ
ชอบหน้าตาเจ้าตัวนี้จริงๆค่ะ ห้าๆๆๆๆๆๆๆๆ
เฮฮาศาสตร์เป็นกลุมคนที่มารวมตัวกัน มีความแตกต่างหลากหลาย แต่ยอมรับความแตกต่างและอยู่ร่วมกันได้
มีวัตถุประสงค์ที่บางคนบอกว่ายังไม่ชัดนัก แต่คิดว่าพอสรุป(เอาเอง)ได้ว่ายินดีอยู่ร่วมกันด้วยความรักท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาตัวเองและช่วยกันเป็นแบบอย่างให้เกิดการพัฒนาตัวเอง ยินดีที่จะร่วมมือกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมตามสภาพและความพร้อม กิจกรรมที่ทำร่วมกันก็มีการฝึกอบรม พัฒนาบุคคลกรและพัฒนาองค์กร
การอยู่ร่วมกันก็มีจุดร่วมกันและกติกามารยาทการอยู่ร่วมกัน แต่ไม่ถึงกับเป็นกฏเหล็กที่ต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
มีกิจกรรมที่ทำร่วมกัน ทั้งยังมีอิสระในกลุ่มที่จะทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆได้ คล้ายๆมีมุ้งเล็กในมุ้งใหญ่แต่มีอิสระที่จะทำกิจกรรม
การที่ชุมชนหรือกลุ่มคนจะอยู่ร่วมกันและมีกิจกรรมร่วมกันได้อย่างยั่งยืนได้ก็เพราะมีเครือข่ายที่หลากหลาย มีการพบปะ สื่อสาร พูดคุยกันทั้ง F2F หรือผ่านโลกเสมือน
เฮฮาศาสตร์เริ่มต้นมาได้ดี ผ่านการทดสอบมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังคงมีสิ่งท้าทายอีกมากมายที่จะร่วมมือกันฟันฝ่าต่อไปอีกในอนาคต
ที่ผ่านมาก็มีกิจกรรมที่สวนป่าของครูบา มีการฝึกการพัฒนาตัวเองเป็นกลุ่มกระบวนกร มีการช่วยเหลือกันพัฒนาบุคคลากรและพัฒนาองค์กร คิดว่าในระยะไม่นานจากนี้ก็คงจะมีการรวมกลุ่มย่อยๆทำกิจกรรมร่วมกันเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนครับ เช่นการร่วมกันพัฒนาหลักสูตรลดน้ำหนัก (ทีมพิษณุโลก ทีมกระบี่ ทีมเชียงใหม่ กับทีมเชียงราย….และผู้ที่สนใจ) กิจกรรมหมู่บ้านเฮ ฯลฯ
อนาคตของเฮฮาศาสตร์กำลังรอสมาชิกทุกท่านครับ คนละเล็กคนละน้อยตามความสามารถและความพร้อมของทุกท่าน ที่สำคัญที่สุดคือใจครับ เริ่มต้นด้วยใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักต่อสรรพสิ่ง ใจที่พร้อมจะเปิดออกรับสิ่งใหม่ๆ สิ่งดีๆ พร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน พร้อมที่จะพัฒนาตัวเองและช่วยเหลือผู้อื่นตามความพร้อมของเรา
อู้ดีขะน๊าด
เป็นจะอั้น จะอี้
เป็นไปในทางดี๊ดี๋
อิ อิ พ้อง เน้อ
[...] comment ที่แสดงความเห็นไว้ในบันทึกถอดบทเรียนเกี่ยวกับชุมชนออนไลน์ (