หลุมหลบภัยนิวเคลียร์

โดย Logos เมื่อ 10 December 2010 เวลา 18:17 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 8143

ระหว่างที่ทำเรื่องน้ำท่วมครั้งใหญ่ ซึ่งมีแนวโน้มจะต่อด้วยภัยหนาวรุนแรง ผมค้นเน็ตไปเรื่อยๆ ก็ไปเจอเอาสารของสหรัฐเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เป็นมรดกของสงครามเย็น เขียนไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 โดย Oak Ridge National Laboratory เรื่อง Nuclear War Survival Skills (NWSS) เชิญคลิกอ่านเอาเองครับ

ปัจจุบันนี้สงครามเย็นเลิกไปแล้ว ถึงความเสี่ยงในสงครามนิวเคลียร์ล้างโลกจะลดลงมาก แต่ก็ไม่ได้หายไปทั้งหมดเพราะยังมีการก่อการร้ายอยู่ประปราย

ผมไม่ได้สนใจสงครามนิวเคลียร์หรอกครับ เพียงแต่สนใจเรื่องที่หลบภัยหนาว และข้อมูลเรื่องปริมาณน้ำ+อาหาร+survival kits ที่ต้องเตรียมไว้สำรองในกรณีที่โครงสร้างพื้นฐานถูกตัดขาดทั้งหมด ไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีการติดต่อสื่อสาร (และเงินไม่มีความหมาย)

ว่ากันที่จริง ภัยหนาวเป็นเรื่องของการป้องกันผลของการลดอุณหูมิจากลม (wind chill) และการรักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้; NWSS แนะนำให้ขุดหลุมหลบภัยเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว ทั้งนี้เพราะดินหนาสามฟุต สามารถลดทอนรังสีแกมมาจากระเบิดนิวเคลียร์ลงได้ 99%

ที่พักหลบภัยชั่วคราว

รูปทางขวา นักศึกษาสาวสาวสองคน ที่ไม่ได้เป็นนักกีฬา สามารถขุดหลุมหลบภัยขนาด 4 คนได้ในเวลา 35.5 ชั่วโมง ด้วยเครื่องมือที่ถูกต้อง แม้จะต้องตัดผ่านรากไม้

หลุมแบบนี้ สร้างโดย ขุด ขุด ขุด เอาไม้ปิดข้างบน เอาผ้าปู แล้วเอาดินกลบอีกที

ดูรูปแล้วน่าจะอึดอัดแฮะ แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าหลุมหลบภัยแบบนี้ มีไว้ป้องกันรังสีแกมมา กับฝุ่นกัมมันตรังสีซึ่งจะตกหลังจากการระเบิด 15 นาทีถึงสองวัน


1. ประตู 2. ช่องอากาศเข้าพร้อมตัวกรอง 3. ดินคลุมด้านบน 4. คานไม้ 5. ช่องระบายอากาศออก 6. ผ้าม่านทำด้วยผ้ามีน้ำหนัก 7. ถังขยะ 8. ร่องเก็บน้ำเสีย
ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเอาอากาศสดไว้เหนือลม หรือว่าฝรั่งไม่สนใจเรื่องกลิ่น

แต่ถ้าเป็นที่พำนักชั่วคราวสำหรับหลบภัยหนาว ควรจะเพิ่มปล่อง (ไม้ไผ่ทะลุปล้องหรือท่อพีวีซี ยิ่งสูงยิ่งดี ให้เกิด stack effect) เพื่อให้ความร้อนจากตัวคนภายในหลุม ระบายออกได้บ้าง และอากาศภายนอกไหลเข้ามาแทนที่ ระบายความอับของหลุมหลบภัย

แต่หากอากาศไหลเวียนไม่พอ อาจเพิ่ม Kearny Air Pump (KAP) ซึ่งเป็นเครื่องปั๊มอากาศที่ทำเองได้ ใช้แรงคน

KAP ทำจากหน้าต่างหรือประตู ทั้งกรอบและบาน โดยตัวบาน ทะลุออกให้หมด ติดแฟลบ (บานพับ) เข้าไป

ดูใน Appendix B ของหนังสือ NWSS ก็ได้ อ้อ…เรื่องที่หลุมหลบภัยอยู่บทที่ 5 ครับ

น้ำ

(บทที่ 8 ) กองทัพเรือสหรัฐ เคยทดลองนำทหารเรือ 99 คน เข้าไปอยู่ในหลุมหลบภัยสองสัปดาห์ พบว่าโดยเฉลี่ย ใช้น้ำขั้นต่ำ คนละ 2.3 ลิตร/วัน ในกรณีที่ออกมาข้างนอกไม่ได้เลย จะต้องมีปริมาณน้ำสะอาด กักเก็บไว้อย่างเพียงพอ


อาหาร

Ounces per day

Grams per day

Pounds for 30 days full ration

Kilograms for 30 days full ration

Whole-kernel hard wheat

16

454

30

13.6

Beans

5

142

9.4

4.3

Nonfat milk powder

2

57

3.8

1.7

Vegetable oil

1

28

1.9

0.9

Sugar

2

57

3.8

1.7

Salt (iodized)

1/3

10

0.63

0.3

Total Weights

10

748

49.5

22.5

Multi-vitamin pills:

1 pill each day

การหุงหาอาหาร ควรจะใช้พลังงานน้อยที่สุด ซึ่งเตาอั้งโล่ที่ปู่ย่าตายายเคยใช้ น่าจะเป็นเตาแบบที่ดีที่สุดครับ

จุดตายคือไฟฟ้า

ไฟฟ้านั้นเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญยิ่งยวด เมื่อไม่มีไฟฟ้า การติดต่อสื่อสารจะหยุดชะงัก น้ำมันจะเติมไม่ได้ การเดินทางและการขนส่งจะหยุดด้วย แต่ละพื้นที่จะถูกตัดขาดออกจากกัน ถึงตอนนั้น พื้นที่ไหนยืนอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ในเรื่อง อาหาร น้ำ และพลังงาน ก็อาจจะเห็นความวุ่นวายเหมือนในหนังล่ะครับ

« « Prev : พระอรหันต์องค์ที่ ๗

Next : เคารพความแตกต่าง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.2196249961853 sec
Sidebar: 0.21001410484314 sec