ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (9)

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 January 2012 เวลา 15:07 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5020

วิดีโอคลิปอันนี้ คล้ายกับการทดลองที่สวนป่าครับ เป็นเตาเผาถ่าน biochar อย่างง่าย ซึ่งสร้างได้เอง

อ่านต่อ »


กระชุหิน

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 August 2011 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4496

กระชุ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึงภาชนะสานรูปกลมสูง สำหรับบรรจุของ เช่นนุ่นหรือถ่าน, กระชุก ก็ว่า

กระชุหิน นี้เป็นการใช้รั้วตาข่าย มาทำเป็นภาชนะบรรจุหิน เพื่อที่ว่าก้อนหินจะได้ไม่ไหลหรือกลิ้งหลุดไปไหน การที่มีหินมากองกันอยู่ ก็จะสามารถใช้ต้านของไหล เช่นน้ำหรือโคลนได้ เมื่อของไหลมาปะทะกองหิน หินที่ถูกกระชุยึดไว้จะถ่ายแรงให้กับพื้นดิน ในทางวิศวกรรมโยธา ใช้กระชุหิน (Gabion basket) หรือกำแพงหิน (Gabion wall) ป้องกันการกัดเซาะ หรือการพังทลายของดินที่มีความลาดชันสูง

… Gabion baskets have some advantages over loose riprap because of their modularity and ability to be stacked in various shapes; they are also resistant to being washed away by moving water. Gabions also have advantages over more rigid structures because they can conform to ground movement, dissipate energy from flowing water, and drain freely. Their strength and effectiveness may increase with time in some cases, as silt and vegetation fill the interstitial voids and reinforce the structure. They are sometimes used to keep stones which may fall from a cutting or cliff from endangering traffic on a thoroughfare. … — Wikipedia

อ่านต่อ »


แบบร่างเตาเผาดิน เผาอิฐ

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 June 2011 เวลา 15:49 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5122

วันนี้ตื่นขึ้นมาตาลีตาเหลือก รีบแต่งตัวจะไปชุมชนบางบัวซึ่งตามกำหนดการ ทางชุมชนบางบัวเชิญไป “ร่วมดูงาน และประชุมเครือร่วมกับคณะของ UN ที่จะมาคุยสภาพปัญหา ตลอดจนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศตนเอง” และอาจจะมี “ทีมงาน Let’s do it ที่มาจากเอสโทเนีย (ประเทศต้นตำหรับของการที่ประชาชน ลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหา(ขยะ)ของตนเอง) กับทีมของสหประชาติจะไปแวะดูงานที่นี่ด้วย”

ขับรถออกมาจากบ้านแล้ว ก็โทรไปแซวพรรคพวกหน่อย ปรากฏว่างานเขายกเลิกหรือเลื่อนออกไปก่อนก็ไม่รู้ แต่วันนี้ไม่มี… ทำยังไงล่ะ

ก็เลยแก้เขินโดยการแวะไปสั่ง paramotor ชุดหนึ่ง จะให้เพื่อนเป็นของขวัญ (ที่จริงจะให้เขาลองบินเล่นเอง ลองติดตั้งระบบควบคุม UAV ซึ่งถ้าใช้ได้ ก็จะเอาค่า settings มาใช้เลย) — ว่ากันที่จริง paramotor ไม่เหมาะกับการบินสำรวจทำแผนที่สถานการณ์เนื่อง จากใช้ร่มเป็น airfoil เกิด drag มากมาย จึงบินได้ช้ามาก จะครอบคลุมพื้นที่ต่อการขึ้นบินแต่ละครั้งได้ต่ำ… แต่ผมสนใจตรงนี้แหละครับ เพราะว่ามันบินช้า การควบคุมจึงยากกว่าเครื่องบินที่บินเร็ว มี airflow ต่ำกว่ามาก บินไปเจอลมกรรโชก อาจ stall ได้ อยากดูว่า stability control เค้าทำได้ดีขนาดไหน การควบคุมมีแค่ 2 ช่อง คือความเร็วของใบพัด (trust) และเลี้ยวซ้ายขวา (yaw) เวิร์คก็ดี ถ้าไม่เวิร์คก็ไม่เป็นไร ไม่กี่พันบาท ค่าความรู้แค่นี้ไม่แพง — แต่ถ้าเกิดใช้งานได้ ทีนี้เราเปลี่ยนร่ม ให้เป็น airfoil มาตรฐานก็ได้

กลับมาเรื่องเตา ถ้าถามถึงความจำเป็น ไม่มีหรอกครับ ซื้อเอาก็ได้ จ้างเค้าเผาก็ได้ แต่ว่าอยากลองทำเองอ่ะ

อ่านต่อ »


เตามือถือประสิทธิภาพสูง

อ่าน: 4360

การเอาฟืนมาเผาเพื่อให้ความร้อนนั้น เป็นการเผาไม้ซึ่งปลูกมาหลายปี เพื่อให้ความร้อนเพียงไม่กี่สิบนาที

แต่ในเวลาที่หนาวหรือจะหุงหาอาหารนั้น จะไม่ให้จุดไฟเลยก็แปลกไปล่ะครับ

บันทึกนี้พูดถึงเตาขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และให้ความร้อนสูงเมื่อเทียบกับขนาดของเตา ใช้หลักการของ stack effect [ปล่อง] ซึ่งจะว่าไป เตานี้เป็นปล่องเสียมากกว่า

ตัวเตามีเพียงแผ่นโลหะ ที่สูงมากกว่ากว้าง จะเป็นกระป๋อง สังกะสี อลูมิเนียม เหล็ก หรือเศษวัสดุอะไรก็ได้ ปลายเปิดทั้งสองด้าน ด้านล่างเจาะรูให้อากาศเข้า  ส่วนด้านบนเจารูใหญ่ไว้รูหนึ่ง ภายในปล่องมีตะแกรงอยู่ค่อนไปทางด้านล่าง แล้วเจาะรูเล็กๆ ไว้ในด้านตรงข้ามกับรูใหญ่

อันทางขวานี้บริษัท Stratus ทำขายอันละ $24.95 ครับ

สัดส่วนก็มี ความสูง 22.3 ซม. ปากเตาด้านบนกว้าง 10.2 ซม ส่วนด้านล่างกว้าง 13.1 ซม ซึ่งสัดส่วนไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรหรอกครับ ลมเข้าด้านล่าง พัดผ่านไม้ที่เผาไหม้ แล้วพาเปลวไฟและความร้อนลอยขึ้นข้างบน เกิดแรงดูดให้ลมพัดดังนี้ตาม stack effect เหมือนเตาอั้งโล่

ปากบนเล็กกว่าฐานนิดหน่อย เพื่อบีบให้ความร้อนพุ่งออกมาทางปากเตาอันเป็นที่วางกะทะ หรือต้มน้ำร้อน: ดูคลิปการใช้งานกันก่อนนะครับ

อ่านต่อ »


เตาจรวด

อ่าน: 5116

อันที่จริง เรื่องนี้ก็ไม่มีอะไรหรอกครับ แต่นำมาเขียนอีกเพราะผมไม่คิดว่าการเผาฟืนในที่โล่งแจ้งเพื่อสร้างความอบอุ่น จะเป็นวิธีการที่ดี ควันไฟมีอันตรายต่อผู้ที่สูดดม แม้จะไม่เห็นผลในทันใด แต่ก็คล้ายกับการสูบบุหรี่ — แต่เวลามันหนาวจับขั้วหัวใจ จะบอกไม่ให้ก่อกองไฟแล้วดันไม่มีวิธีอื่นทดแทน อย่างนี้คงคุยกันไม่รู้เรื่อง

เตานี้เป็นเตาธรรมดา คล้ายเตาอั้งโล่นั่นแหละครับ เปิดช่องให้อากาศเข้าทางเดียว และให้ความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ออกทางเดียวคือทางปล่องด้านบน เรียกว่า rocket stove ใช้เศษกิ่งไม้เล็กๆ เป็นเชื้อเพลิง ไม่ต้องใช้ฟืนดุ้นใหญ่ ซึ่งต้องไปตัดต้นไม้ต้นใหญ่มาเพื่อที่จะติดไฟนานๆ

การทำปล่องเอาไว้ ทำให้เกิด stack effect [ปล่อง] เป็นแรงดูดเปลวไฟและลมร้อนออกทางด้านบน ทำให้เตาดูดอากาศเข้ามายังห้องเผาไหม้จากด้านล่าง เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ขึ้น (เปลี่ยนเชื่อเพลิงไปเป็นความร้อนได้ดีขึ้น) ควันน้อยหรือไม่มีควัน

สามารถสร้างได้ง่ายๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น จะเป็นการก่อดินก็ได้ หรือจะใช้อิฐก่อ ก็แล้วแต่สะดวก

อ่านต่อ »


หลุมหลบภัยนิวเคลียร์

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 December 2010 เวลา 18:17 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 8010

ระหว่างที่ทำเรื่องน้ำท่วมครั้งใหญ่ ซึ่งมีแนวโน้มจะต่อด้วยภัยหนาวรุนแรง ผมค้นเน็ตไปเรื่อยๆ ก็ไปเจอเอาสารของสหรัฐเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เป็นมรดกของสงครามเย็น เขียนไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 โดย Oak Ridge National Laboratory เรื่อง Nuclear War Survival Skills (NWSS) เชิญคลิกอ่านเอาเองครับ

ปัจจุบันนี้สงครามเย็นเลิกไปแล้ว ถึงความเสี่ยงในสงครามนิวเคลียร์ล้างโลกจะลดลงมาก แต่ก็ไม่ได้หายไปทั้งหมดเพราะยังมีการก่อการร้ายอยู่ประปราย

ผมไม่ได้สนใจสงครามนิวเคลียร์หรอกครับ เพียงแต่สนใจเรื่องที่หลบภัยหนาว และข้อมูลเรื่องปริมาณน้ำ+อาหาร+survival kits ที่ต้องเตรียมไว้สำรองในกรณีที่โครงสร้างพื้นฐานถูกตัดขาดทั้งหมด ไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีการติดต่อสื่อสาร (และเงินไม่มีความหมาย)

ว่ากันที่จริง ภัยหนาวเป็นเรื่องของการป้องกันผลของการลดอุณหูมิจากลม (wind chill) และการรักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้; NWSS แนะนำให้ขุดหลุมหลบภัยเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราว ทั้งนี้เพราะดินหนาสามฟุต สามารถลดทอนรังสีแกมมาจากระเบิดนิวเคลียร์ลงได้ 99%

อ่านต่อ »


หลุมไฟดาโกต้า แก้หนาว

อ่าน: 7766

เรื่องหลุมไฟดาโกต้าที่เขียนมาหลายบันทึกในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เป็นวิธีเอาตัวรอดในเขตมิดเวสต์ของสหรัฐซึ่งอากาศทารุณ

ผมเอาหลุมไฟดาโกต้ามาเล่นที่สวนป่า เพราะว่าเป็นเตาที่ให้ความร้อนสูง ใช้เชื้อเพลิงน้อย ไม่ใช้ฟืน แต่ใช้กิ่งไม้เล็กๆ เท่านั้น — เช่นเดียวกับเตาทั่วไป ถ้าไฟติดแล้ว ใช้กิ่งสดก็ได้ครับถ้าทนควันได้

หลุมไฟดาโกต้าจะมีสองรู รูแรกเป็นรูที่อากาศเข้าและใช้ใส่เชื้อเพลิง ส่วนอีกรูหนึ่งเป็นรูที่ความร้อนออกมา ซึ่งเราตั้งเตาหรือต้มน้ำ จะร้อนเร็ว เนื่องจากมีการบังคับทางลม บังคับให้เผาไหม้ได้ดีขึ้น และป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการเผาไหม้ ผมก็นึกว่าเจ๋งแล้ว เจอท่าพิสดารของครูบาเข้า งงไปเลย

ครูบาดัดแปลงเพิ่มอีกสองแบบ (ดูรายละเอียดในลิงก์ข้างบน) คือเข้าหนึ่งรูแยกไปออกสองรู แบบนี้ประหยัดแรงขุด ใช้รูใส่เชื้อเพลิงร่วมกัน แต่ทำอาหารได้สองเตา อีกแบบหนึ่งเป็นสามใบเถา มีรูเตาเรียงกันสามรู ทีแรกผมไม่คิดว่าจะสำเร็จหรอกครับ แต่ได้กินข้าวที่หุงจากเตาสามใบเถานี้มาสองสามมื้อแล้วครับ เตาเหล่านี้ ฝีมือครูอาราม@มงคลวิทยา ณ ลำพูน กับ ครูอ้น ฤๅษีแห่งลำปลายมาศ เวลาเขาขุดเตากัน ผมหลังเดี้ยงไปแล้ว เนื่องจากซ่าไปซ่อมถนนคนเดียว ใช้จอบส่วนตัวที่เอาไปจากบ้านด้วย

หุงข้าวโดยอาจารย์หมอ
24042010221.jpg 24042010222.jpg

ท่ามกลางกำลังใจ และความโล่งใจจากนิสิตแพทย์ ว่าเย็นนี้มีข้าวกินแล้ว
24042010224.jpg

อ่านต่อ »


ปล่อง

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 September 2010 เวลา 16:33 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4584

ช่วงหน้าหนาวแต่ร้อน ที่ผ่านมา ผมไปสวนป่า มีการปรับปรุงห้องอบสมุนไพร ให้งานแก่ลุงอะไรจำชื่อไม่ได้ แต่รู้ว่าเป็นเพื่อนนักเรียนกับครูบา

เกิดสงสัย ก็เลยเรียนถามครูบาว่า

ครูบาจะเอาไว้ทำอะไรครับ
เอาไว้คุยกัน
แต่ห้องนี้มันไม่มีหน้าต่างนะครับ เดิมเป็นห้องอบสมุนไพร
อ๋อ ง่ายนิดเดียว เดี๋ยวจะต่อปล่องไม้ไผ่ ถ้าไม้ไผ่ยิ่งสูง ก็ยิ่งเย็น นี่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน

ตั้งแต่ช่วงต้นปี ผมก็ไปค้นข้อมูลมาแล้วล่ะ เก็บไว้ในคลังข้อมูลจนลืมไปเลย เรื่องนี้มีหลักทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า stack effect ครับ เป็นหลักการของปล่องควัน (chimney ที่บางทีเรียกผิดว่าปล่องไฟ)

ลองคิดถึงปล่องที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกกลวง ตั้งตรงขึ้นฟ้า เมื่อเอาควันไฟใส่ทางด้านล่าง ควันไฟมีความร้อน จึงลอยขึ้นสูงโดยธรรมชาติ ไปไล่อากาศในปล่องออกไปทางด้านบน ในขณะเดียวกัน ก็ดูดอากาศจากด้านล่าง(ซึ่งมักจะเป็นควันไฟนั่นแหละ) ขึ้นมาแทนที่ตัวเองเมื่อตัวเองลอยขึ้นสูง

ตรงนี้ถ้าดูให้ดี ก็จะสังเกตเห็นว่ามีการดูดอากาศจากด้านล่างไปปล่อยออกทางด้านบน การดูดนี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของอากาศ ทำให้ความดันด้านล่างของปล่องน้อยกว่าความดันบรรยากาศนอกปล่อง ทำให้อากาศพยายามไหลเข้ามาในปล่อง เกิดเป็นแรงดูด

อ่านต่อ »



Main: 0.81748294830322 sec
Sidebar: 0.36985301971436 sec