หลบภัย (2) — ที่พักใต้ดิน

โดย Logos เมื่อ 20 February 2011 เวลา 3:56 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 6210

ในสหรัฐ ตื่นเรื่องที่พักใต้ดินกันเป็นพักๆ มีช่วงสงครามเย็น ช่วงเครื่องบินชนตึก และช่วงภัยธรรมชาติและ 2012

สองช่วงแรก เป็นภัยจากระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งจากเอกสารของ FEMA มีประเด็นสามเรื่องครับ คือ

  1. ระยะห่างจากศูนย์กลางของการระเบิด — ถ้าอยู่ใกล้นักก็ไม่เป็นไรหรอกครับ คงไม่รู้สึกอะไร
  2. การป้องกันรังสี — ดินหนา 3 ฟุต/1 เมตร สามารถลดทอนรังสีลงได้ 99% [หลุมหลบภัยนิวเคลียร์]
  3. ระยะเวลา — ถ้าระเบิดแล้วสองอาทิตย์ รังสีลดเหลือ 1% ของระดับรังสีเดิม

พอระเบิดลง ตูม จะมีคลื่นกระแทกจากแรงระเบิดวิ่งผ่าน ถ้ายังไม่ตายจากความร้อน รังสี หรือคลื่นกระแทก ท่านมีเวลาอีก 1-2 ชั่วโมงที่จะวิ่งเข้าหลุมหลบภัย ก่อนที่ฝุ่นนิวเคลียร์จะเริ่มตกลงสู่พื้นโลก แล้วอย่าคิดจะขับรถด้วยความเร็ว 150 กม/ชม เลยนะครับ พอระเบิดลงตูม คนที่รอดทั้งหมดน่ะ ลงมาอยู่ในถนนหมดแล้ว!

ตัวหลุมหลบภัยนิวเคลียร์เอง สร้างขึ้นเพื่อป้องกันฝุ่นนิวเคลียร์ มีระบบระบายอากาศ กับปริมาณน้ำ+อาหารสำรองเป็นประเด็นหลัก เพียงพอที่จะหลบอยู่ได้สักอาทิตย์สองอาทิตย์เท่านั้น

สำหรับการป้องกันรังสี วัสดุต่างๆ สามารถป้องกันรังสีได้ไม่เท่ากัน โดยการเปรียบเทียบ คอนกรีตหนา 4 นิ้ว ป้องกันรังสีได้ดีพอกับอิฐหนา 5-6 นิ้ว พอกับทรายหรือกรวดหนา 6 นิ้ว พอกับดินอัดหนา 7 นิ้ว พอกับอิฐบล็อคกลวงหนา 8 นิ้ว (หรือหนา 6 นิ้วถ้าช่องที่กลวงใส่ทรายไว้) หรือน้ำหนา 10 นิ้ว หรือหนังสือหนา 14 นิ้ว หรือไม้หนา 18 นิ้ว

ถ้าเป็นการระเบิดในอวกาศ [รังสีคอสมิค] บังเกอร์ใต้ดินก็ต้องอยู่ลึกหลายๆ เมตรนะครับ ซึ่งนั่นก็เป็นปัญหาในตัวเองอยู่เหมือนกัน…

แล้วใครจะไปรู้ล่วงหน้าว่ารังสีคอสมิคจะมาเมื่อไหร่ จะได้ลงไปหลบใต้ดิน แล้วถ้าหากว่ามันแรงแบบที่ต้องลงไปใต้ดินหลายๆ เมตรนั้น กว่าจะไปถึงหลุม คนต้องฝากคนอื่นพาลงหลุมไปด้วย (ถ้ามีคนรอด (ซึ่งไม่ใช่คนที่เดินทางไปด้วยกันเพราะอาการเดียวกัน) เขาก็คงไม่พาลงไป)

ดังนั้น เพื่อหลบรังสีคอสมิคสำหรับในเมือง ที่หลบภัยที่ดี ก็ควรจะอยู่ใกล้ๆ นั่นล่ะครับ ใต้ที่ทำงาน ใต้บ้าน ใต้คอนโด-หอพัก สถานีรถไฟใต้ดิน… แต่สถานที่หลบภัยเหล่านี้ กลับไม่ดีเลยสำหรับหลบระเบิด เพราะสถานที่หลบระเบิด ควรอยู่ห่างเป้าหมายของการระเบิดน่ะซิครับ

แล้วจะเอายังไงกันแน่…

คือที่แน่ๆ อย่างแรกก็คือ ไม่มีคำตอบสำเร็จหรอกครับ ไม่มีหลุมหลบภัยแบบไหนที่เหมาะกับทุกสถานการณ์ เช่นเดียวกับการที่ไม่มีสูตรสำเร็จของชีวิต เลิกมองหาทางออกง่ายๆ กันเสียที สิ่งต่างๆ เกี่ยวพันกันไปหมดตามเหตุ-ปัจจัย บางทีก็มีเหตุผลอธิบายได้ บางทีก็ไม่ เพราะไม่มีใครที่รู้ไปหมดทุกเรื่อง (ยกเว้นแกนนำการประท้วง)

เช่นน้ำมันปาล์มขาดตลาด น้ำมันพืขอย่างอื่นกลับหายไปจากตลาดด้วย ว่ากันว่าราคาขึ้นมาเท่าตัวแต่ก็หาซื้อไม่ได้ ราคาควบคุมของรัฐก็เป็นเรื่องตลกตามเคย พอน้ำมันปาล์มขาดตลาด น้ำมันไบโอดีเซล ก็ลดส่วนผสมของน้ำมันพืชใช้แล้ว ไปเพิ่มสัดส่วนของดีเซล ทำให้ราคาแพงขึ้นไปอีก พอน้ำมันดีเซลราคาแพงขึ้น ค่าขนส่งก็แพงขึ้น สินค้าอื่นๆ ก็แพงตามไปเป็นทอดๆ เงินเฟ้อสูงขึ้น การลงทุนลด ค่าเงินอ่อน … ฯลฯ go so BIG ไปกันใหญ่

อย่างที่สองคือ ถ้าหากว่าจำเป็นต้องลงหลุมหลบภัยแล้ว ทักษะเป็นสิ่งที่จำเป็นกว่าความรู้ครับ เนื่องจากหลุมหลบภัยเป็นที่พักหลบภัยชั่วคราว ถ้าไม่ตายในหลุมหลบภัย ก็จะต้องออกมาสักวันหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ว่านานเท่าไหร่ ในระหว่างที่อยู่ในหลุมหลบภัย จะเป็นสถานการณ์ของ biosphere จะซื้อหาอะไรก็ไม่ได้ สิ่งที่ไม่ได้เตรียมไว้ หากต้องการ ก็ต้องแสวงเครื่องเอานะครับ ดังนั้นจะเก็บอะไรไว้ภายใน ต้องคิดให้ดีก่อน

อย่างที่สามคือ จะมีกรณีคนสร้างไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้สร้าง หลุมหลบภัยเป็นการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยง ไม่จำเป็นต้องประกาศบอกใคร และไม่ต้องเช็คอินผ่าน foursquare ถึงไม่ได้เป็น mayor ของหลุมหลบภัย ก็ไม่เป็นไร

« « Prev : หลบภัย (1) — แนวคิดเกี่ยวกับภัย

Next : หลบภัย (3) — ฮวงจุ้ย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "หลบภัย (2) — ที่พักใต้ดิน"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 2.6324400901794 sec
Sidebar: 0.16178584098816 sec