ผนังที่เป็นฉนวน
เมื่อตอนเด็กๆ จำได้ว่าเคยมีการระดมทำผ้าห่ม โดยการเอากระดาษหนังสือพิมพ์ ทาแป้งเปียก มาต่อกัน เย็บขอบเป็นผืนใหญ่
หลักการก็คืออากาศ(นิ่ง) ระหว่างชั้นของหนังสือพิมพ์ กลายเป็นฉนวนความร้อน ป้องกันความเย็นจากภายนอก และรักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ภายใน แต่ผ้าห่มแบบนี้ ไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากหมึกพิมพ์เลอะเทอะเสื้อผ้า ซักออกยาก แถมมีตะกั่วผสมอยู่ในหมึกพิมพ์อีกด้วย ในสมัยนั้น ผมก็ไม่รู้หรอกนะครับว่า เด็กในเมืองที่ครูสั่งให้หากระดาษหนังสือพิมพ์(เก่าๆ)ทำกันยังไง เพราะหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้มีมากมายเหมือนปัจจุบัน
แต่ผมยังคิดว่าหลักการของฉนวนอากาศ ยังใช้ได้อยู่ โดยแทนที่จะเอามาห่ม ก็ใช้แผ่นกระดาษปะฝาผนัง เพิ่มค่า R ให้ผนัง ซึ่งนอกจะป้องกันความเย็นจากนอกบ้าน เก็บรักษาความอบอุ่นไว้ในบ้านแล้ว ก็ยังกันลมเย็นจากรอยแยกตามช่องผนังไม้ (นึกถึงบ้านชาวเขา ซึ่งเป็นไม้ขัดกัน ฯลฯ) เวลาใช้กระดาษเป็นฉนวนติดผนังแล้ว ก็สามารถลดการสัมผัสผิวหนังลงไปได้ ช่วยป้องกันความหนาวเย็นแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะลงไปผิงไฟไม่ไหว
ตามโรงเรียน สามารถใช้กระดาษหลายชั้นปิดผนัง (ระวังน้ำหนัก) ปิดทับหน้าต่างกระจกซึ่งเป็นจุดที่ห้องสูญเสียความร้อนมาก
- Plastic sheeting ฝรั่งใช้พลาสสิกแผ่นทำแบบเดียวกัน
- Cold Climate Emergency Shelter Systems ที่พักฉุกเฉินสำหรับอากาศหนาว เป็นเหมือนเต้นท์แบบครึ่งทรงกระบอก ใช้ท่อพีวีซีขนาดเล็ก มางอให้โค้งเป็นครึ่งวงกลมใช้เป็นโครงหลังคา (งอได้ง่ายๆ) แล้วเอาผ้าเต้นท์ ไยไฟเบอร์ หรืออย่างกรณีไม่มีงบสร้างจริงๆ ก็ใช้กระดาษเก่าหลายชั้นคลุมเป็นหลังคาแทนได้
พูดถึงเรื่องผิงไฟซึ่งนิยมทำกันมาก การผิงไฟมีอันตรายจากควันไฟ ประเทศกำลังพัฒนามีปัญหาอัตราการตายของทารกสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทารกสำลักควันไฟจากเตาถ่านที่ใช้ในครัว จึงมีการเผยแพร่เตา gasifier ให้ใช้แทน เนื่องจากเผาไหม้ได้ดีกว่า ควันน้อยกว่า ใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่า
กองไฟให้ความร้อนโดยการแผ่รังสีความร้อน ซึ่งเป็นการให้ความร้อนที่มีประสิทธิภาพต่ำมาก มีผลเดี๋ยวเดียว(คือในขณะที่ได้รับรังสีความร้อนเท่านั้น) ดังนั้นการผิงไฟจึงเผาเชื้อเพลิงมหาศาลไปเรื่อยๆ และทำได้เพียงบรรเทาความหนาวเย็นชั่วขณะเท่านั้น
ผมว่าการผิงไฟ ยังสู้การต้มน้ำร้อนแล้วไปผิงน้ำร้อนยังไม่ได้เลยนะครับ
« « Prev : เที่ยวนานๆ ปีละครั้ง
Next : ทดลอง gasifier กระป๋อง » »
14 ความคิดเห็น
ช่วงนี้หนาวกระหน่ำ หลังจากร่ำร้องมานาน อยู่ในสวนป่ามีต้นไม้บังลม มีฟืนให้ก่อไฟ มีเตาถ่านขนาดใหญ่ที่ว่างเปล่า ถ้าเอามาดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัยในหน้าหนาวน่าจะดี เพราะส่วนเตาลงไปอยู่ใต้ดินถึง4เมตร มีท่อระบายด้านข้างจากพื้นล่างสุดขึ้นเบื้องบนตามข้างเตา 4 ด้าน ถ้าหนาวจัด..สามารถก่อเตาผิงไว้ที่มุมเตาด้านในได้ แล้วต่อท่อควันออกด้านนอก ปูพื้นให้ดี นอนข้างเตาผิง น่าจะอุ่นๆๆๆไปทั่วทั้งเตา แต่ก็ควรตรวจสอบเสียก่อน ว่านอนใกล้คนหลายใจหรือเปล่า อิ อิ
เรื่องนี้พร้อมทำถ้ามีงบอุดหนุนประมาณ 3 หมื่น/เตา
สำนักไหนต้องการวิจัย ขอเชิญมาทดลองได้
ชิมิ ชิมิ
ที่ชร.ตอนเด็กๆอาจารย์จะให้เอากระดาษหนังสือพิมพ์กรุหน้าต่าง ช่องเหนือประตูเวลาเริ่มเข้าหนาว เพราะหนาวนานและหนาวต่อเนื่อง ทุกปีจึงเป็นเรื่องสนุกที่จะเตรียมตัวรับในช่วงปลายกย.) และเคยแนะนำให้พี่น้องชนเผ่าใช้ผ้าพลาสติกบาง ๆ คลุมนอกผ้าห่มเวลานอน และกรุภายในบ้านค่ะ (แม่บอกให้คลุมนอกมุ้งพาดอยู่ข้างนอกเพื่อกันความหนาว แต่ไม่ต้องปิดมิดชิดมากเดี๋ยวจะหายใจไม่ออก อิอิอิ…นอนมุ้งอุ่นนะคะ)
พลาสติกบางๆ จะเบาและนุ่มไม่แข็งเท่าพลาสติกหนา ราคาไม่แพง ขายเป็นเมตร เมื่อคลุมนอกผ้าห่มจะช่วยรักษาความอุ่นอีกชั้นหนึ่ง คงเหมือนหลักที่พี่รุมกอดยกมานี่แหละค่ะ
1.กระดาษสา กระดาษจามูลช้าง กระดาษจากเส้นใยใบพืชนา นาชนิด ที่ใช้แล้วน่าจะนำมาใช้ใหม่โดยทำเป็นผ้าห่มได้ดีกวาหนังสือพิมพ์ เพราะเนื้อกระดาษเหล่านี้มีรูพรุน เก็บกักอากาศไว้เก็บความอบอุ่นให้ร่างกายได้ดีทีเดียวค่ะ
2.กระดาษที่ตัดเป็นเส้นๆ ใช้ในหีบห่อบรรจุของกันกระเทือน เมือใช้แล้วนำมารวบรวมหุ้มด้วยกระสอบน้ำตาล เวลาจะห่มให้ใช้ผ้าถุงเก่าๆ หรือผ้าข้าวม้าห่มตัวก่อนใช้ผ้าห่มทีทำจากเส้นกระดาษที่หุ้มด้วยกระสอบน้ำตาล
หลักการอากาศ(นิ่ง)เป็นฉนวนความร้อน อาจจะหาวัสดุในท้องถิ่นได้ง่าย
เมื่อเช้าตอนเขียนบันทึก เม้งอ่านแล้ววิจารณ์ว่า เสื้อไม่ต้องหนามากหรอกครับ แต่หากปิดประตูหลักๆ ได้จะช่วยไม่ให้ตายได้ครับ ประตูที่สำคัญคือ ฝ่ามือทั้งสอง ฝ่าเท้าทั้งสอง คอ หัวทั้งก้อน ผ้าห่มหนาๆ ยังสู้ ถุงมือ ถุงเท้า แล้วห่มผ้าห่มทั่วไปไม่ได้เลยครับ ผมไม่แน่ใจว่าที่เค้าไปแจกๆ เค้าเน้นจุดเหล่านี้ด้วยไหม นอกจากเสื้อหนาว
เมื่อคืนน้านิดหนาวมาก ใส่ถุงนอน ถุงเท้า นอนอุ่นสบาย เมื่่อเช้าได้ดูข่าวค่ะที่วารินชำราบ พ่อค้าขายเนื้อวัวชำแหละรายได้มากขึ้น 4000-5000 บาท/คืน เพราะชาวบ้านหนาวพิงไฟไปแล้วหิว จึงไปซื้อเนื้อมาย่างกิน พิงไฟอุ่นด้วย ใช่เหตุมั้ยเนี่ย อิอิ
แต่ถ้าใช้กิ่งเล็กๆ มาสับเป็นเชื้อเพลิงของ gasifier ผมเห็นด้วย แล้วมันไม่เปลืองไม้เหมือนเอาฟืนมาเผา ยิ่งกว่านั้นกิ่งเล็กๆ มีตกอยู่ทั่วไป เด็กๆ ก็ช่วยเก็บได้ ซึ่งถ้าไม่มีกิ่งไม้เล็กแล้วจำเป็นต้องตัดกิ่ง ก็เลือกตัดไป ยิ่งตัดก็ยิ่งแตก ดีเสียอีกครับ แต่ว่าต้องเลือกตัดอย่างฉลาด ไม่ใช่ตัดจนต้นไม้ตายนะ
ส่วนการเป็นผู้ประมาทในอาหาร อาจทำให้อ้วนได้ — ทีนี้ ถ้าผิงไฟ ก็เอาความร้อนไปเผาอิฐเสียเลย ได้วัสดุก่อสร้างไปทำกำแพงกันลมคลายหนาวได้ หรือไม่ก็เอาอิฐก้อนเผาไฟอีก อิฐอมความร้อนไว้ จากนั้นก็ไปผิงอิฐอีกทีหนึ่ง จะประหยัดไม้ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงอีกทอดหนึ่งครับ
ที่เคยลองทำไต้ไม่มีควัน จุดไฟสามครั้ง เพื่อความสะดวก จึงใช้แอลกอฮอล 1+1+1=3 ซีซี. ต้นทุนสัก 1 บาท จุดไฟสามครั้ง ได้นาน 9+12+34 = 55 นาที ส่วนเศษไม้ก็ใช้ 1-2 ขีดนะครับ ใช้นิดเดียวเอง ไม่ได้เติมเศษไม้เลย ไม่มีควันด้วย — ลองคิดถึงฟืนที่จุดกองไฟได้ 55 นาทีซิครับ จะใช้ฟืนขนาดไหน ควันจะมากแค่ไหน
เอากระดาษหนังสือพิมพ์มาขยำๆเยอะๆเสริมในเสื้อหนาวก็ดีนะครับ แสวงเครื่อง
ยังหนาวไม่พอ ถ้ามีหิมะตกละ สนุกแน่
มาเพิ่มเติมแลกเปลี่ยนนะครับ นอกจากประตูที่ต้องปิดแล้วครับ
อธิบายต่อได้ว่า คนเราก่อนนอนหลับผิงไฟอยู่ พออุ่นสบายหลับเคลิ้มไป พอตกดึกไฟมอด เราหลับลึก ก็จะสูญเสียความร้อนไปเรื่อยๆ จนในที่สุด ร่างกายสูญเสียความร้อนมาก ก็จะตายในที่สุด ซึ่งกรณีนี้อันตรายมากๆ สำหรับ การหลับแบบไม่เตรียมการ หลายๆ ปีก่อน ที่เสียชีวิตเพราะอากาศหนาวก็เป็นแบบนี้ครับ
เพราะว่าคนขาดธาตุไฟในขณะนั้น เมื่อขาดความร้อนทุกอย่างก็จบ
แต่ก็ไม่ได้เลวร้ายแบบนี้เสมอไปครับ ปกติหากไม่หลับลึกมาก ร่างกายจะสั่งให้ปวดฉี่ครับ เราจะตื่นเสียก่อนครับ เราจะพบว่าในหน้าหนาวเราจะปวดฉี่บ่อยกว่าช่วงหน้าร้อนครับ เป็นระบบการป้องกันด้วยธรรมชาติครับ
หากใครจินตนาการไม่ออกว่า การปิดประตูนำความหนาวเข้าร่างกาย จำเป็นอย่างไร หากเราเคยนอนห้องแอร์เปิดแอร์แรงๆ ขนาดอยู่ใต้ผ้าห่มหนาๆ โดยไม่ใส่ถุงเท้า ยังหนาวมากเลยครับ ดังนั้นผมขอแนะนำครับ
แจกถุงมือ ถุงเท้า ผ้าพันคอ ปิดหู หรือหมวกไอ้โม่ง(ไม่ใช่เอาไปปล้นคนอื่นนะครับ) และเสื้อตัวในที่ใส่แล้วแนบเนื้อนะครับ ผมซื้อหนึ่งตัววันก่อนไปเยอรมัน เป็นเสื้อที่ผมชอบมากราคาน่าจะประมาณสองร้อยบาท มันยืดได้ ใส่แล้วรัดตัวเรา ผมพบว่า หน้าหนาวมันทำให้ความร้อนในตัวเราสูญเสียน้อย พอผมใส่หน้าร้อนมันก็ไม่ได้ร้อนด้วยกลับเย็น ไม่แน่ใจว่าทำด้วยวัสดุอะไรครับ อีกอย่างเสื้อสีดำในหน้าหนาวจะช่วยให้อุ่นกว่าเสื้อสีอื่นๆ ครับ เพราะดำดูดความร้อนครับ
บางทีเราจำเป็นต้องอยู่กับธรรมชาติอย่างเข้าใจ ใช้หลักทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดพลังสูงสุดครับ
การช่วยเหลือ สิ่งที่สำคัญ ช่วยเหลืออย่างไรไม่ให้ผู้ให้และผู้รับอ่อนแอ….. ในอนาคตเราอาจจะพบกับช่วงพิสัยของอุณหภูมิต่ำสุดกับสูงสุดห่างขึ้น แล้วเราจะอยู่อย่างไรท่ามกลางอุณหภูมิร่างกาย 37 องศาครับ
ร่างกายเราจะปรับตัวอย่างไร ตามฤดูกาลครับ…..
ด้วยมิตรภาพครับ
เม้งครับ
ขอแจมหน่อย
#12 เทคโนโลยีวัสดุ ก้าวหน้าไปมากครับ บ้านผมทั้งหลังเก่าและหลังปัจจุบัน เป็นกำแพงสองชั้นมาตั้งแต่ปี 2520 หน้าร้อนไม่ร้อน หน้าหนาวไม่หนาว
บันทึกนี้ ได้ความรู้มากมาย ทั้งประสบการณ์จริง ข้อคิด+ข้อสังเกตดีๆ ขอบคุณทุกท่านนะครับ
โอ้..ขอบคุณมากๆ เลยครับพี่บางทราย ได้ความรู้อีกเพียบทำให้ผมนึกถึงตอนก่อกองไฟไล่ยุงเลยครับ ควันคลุ้งเลยครับ อย่าว่ายุงจะรอดเลยครับเพราะคนก็เกือบไม่รอดครับ อิๆๆๆ สำลักควันไฟจนแสบตาครับ ภูมิปัญหาทั้งหลายเข้าท่าดีครับ แต่หากเราไม่ได้สั่งสมบ่มให้รุ่นหลังสิ่งเหล่านี้จะหายไปหมดครับ
ขอบคุณพี่คอนมากๆ เลยครับ ผมเดินไปพลิกดูที่เสื้อตัวนั้น ว่าจะดูว่าเป็นผ้าอะไรกลับไม่มีอะไรเขียนติดไว้เลยครับ มีแต่ตัวอักษร AID อะไรไม่รู้ที่หลุดลอกมองไม่ชัดครับ จับแล้วนุ่มอุ่นดีจริงๆครับ