ความหนาแน่นของประชากรกับการจัดการภัยพิบัติ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 November 2010 เวลา 0:09 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3913

ช่วงนี้กำลังอ่านหนังสือชื่อ “THE NEXT 100 YEARS จะเกิดอะไรขึ้นในรอบ 100 ปี : พยากรณ์โลกวันนี้ ถึงปี 2100” โดย George Friedman แปลโดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

หนังสือเขียนอธิบายในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ วางน้ำหนักไว้ที่สหรับอเมริกา ตั้งแต่ต้นเล่ม ก็พบประเด็นเรื่องความหนาแน่นของประชากร

…แม้ว่าขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะใหญ่โตมาก แต่น่าสนใจตรงที่ว่าสหรัฐฯ ยังมีจำนวนประชากรต่ำกว่ามาตรฐานโลก สัดส่วนความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตรของโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 49 คน ญี่ปุ่นอยู่ที่ 338 คนต่อตารางกิโลเมตร เยอรมันอยู่ที่ 230 คน ส่วนสหรัฐฯ มีเพียง 31 คนต่อตารางกิโลเมตรเท่านั้น แม้ไม่รวมอลาสกา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ที่คนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ความหนาแน่นของประชากรสหรัฐฯ ก็จะมีเพียง 34 คนต่อตารางกิโลเมตร…

สำนักงานสถิติแห่งชาติ แจ้งผลสำรวจว่าเมื่อสิ้นปีที่แล้ว ประเทศไทยมีประชากร 67 ล้่านคน ส่วนพื้นที่ที่เป็นแผ่นดินนั้นมีประมาณ 514,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นความหนาแน่นของประชากร 130 คนต่อตารางกิโลเมตร ส่วนจังหวัดใหญ่ๆ เช่นกรุงเทพมหานคร(ไม่รวมจังหวัดปริมณฑล) มีประชากร 6.87 ล้านคน แออัดอยู่ในพื้นที่ 1500 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นความหนาแน่น 4,580 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งตัวเลขความหนาแน่นที่สูงมากแบบนี้ ก็เป็นปกติของเมืองใหญ่ ซึ่งมีโอกาสสำหรับชีวิตให้ไขว่คว้าอยู่มาก มหานครทั่วโลกมีความหนาแน่นของประชากรมากกว่ากรุงเทพเสียอีก

แล้วความกระจุกตัว ก็เริ่มจากตรงนี้ล่ะครับ มีคนเยอะ มีธุรกิจเยอะ เก็บภาษีได้เยอะ ยิ่ง “สำคัญ” ยิ่งมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ยิ่งดึงดูดคนให้เข้ามาแสวงหาโอกาสในชีวิต แล้วก็วนเวียนไปเป็นวงจร ยิ่งนาน แรงดึงดูดก็ยิ่งแรง

อ่านต่อ »


การให้

อ่าน: 4005

การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจนั้น ไม่สำคัญหรอกครับว่าจะเป็นข่าว ไม่จำเป็นว่าจะต้องได้รับการยกย่อง ถ้าจะให้ก็ไม่ต้องมีเหตุผลอะไร หรือแม้แต่ตั้งเงื่อนไขว่าผู้รับจะต้องสำนึกหรือจดจำชื่อของท่านได้ ความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น ท่านจะไปบังคับกะเกณฑ์ไม่ได้ แต่ท่านถามตัวเองได้เสมอว่าการให้ของท่านนั้น ได้ให้ไปจริงๆ แล้วหรือไม่

เมื่อให้ไปแล้ว สิ่งที่ให้ไปก็เป็นของผู้อื่นแล้ว — ถ้ายังติดใจอยู่ว่าอันนี้ฉันให้นะ กรณีอย่างนั้นเรียกได้ว่า ท่านยังไม่ได้ให้ไป เพราะยังคิดว่าเป็นของท่านอยู่ (แต่ท่านเก็บความภูมิใจ เก็บมิตรที่ได้พบปะไว้ในใจได้)

วันนี้ไปบ้านน้องก้อย [กำลังใจแก่ผู้ประสบอุทกภัย] สองครั้ง จะเอารูปหมวกไหมพรมไปให้ดู [ถักหมวกแบบง่าย] ว่าที่ขายให้ถูกๆ และบริจาคสมทบไปเมื่อเดือนก่อน ออกมาเป็นอย่างนี้; ครั้งแรกไปก่อนเที่ยง ปรากฏว่าไม่มีใครอยู่บ้านเลย ยังไม่กลับจากหัวหินกัน ไปอีกครั้งตอนบ่าย คุณแม่น้องก้อยบอกว่าเมื่อออกมาจากโรงเรียน(เนื่องจากป่วย)แล้วมาเรียนที่บ้านแล้วนั้น น้องก้อยมีความสุขขึ้นมาก ปีหน้าจะเรียนวิศวะธรรมศาสตร์ เร็วกว่าเพื่อนๆ หนึ่งปี ในเมื่อจะเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว คงไม่ค่อยมีเวลาจะทำร้านขายไหมพรม จึงอยากบริจาคไหมพรมไปถักให้เกิดประโยชน์ ผมขอว่าให้ผมได้ช่วยบ้างเถิด คุณแม่บอกว่าในเมื่อน้องก้อยอยากบริจาค ก็ขอให้เขาได้ทำตามความตั้งใจดีกว่า นัดกันว่าอีกสองสามวันจะโทรมาตาม เมื่อมีเวลาเช็คสต็อคก่อน

ผมบอกน้องก้อยไปว่าเขียนเรื่องของน้องก้อยเอาไว้บนบล็อกด้วย แล้วเปิดลานซักล้างให้ดู ในนั้นมีลิงก์ไปทวิตเตอร์อยู่ น้องก้อยก็ขอ follow แล้วก็คลิกไปที่ facebook ของผม ปรากฏว่ารู้จัก kaiwan.h เหมือนกัน โลกกลม!

อีกสองสามวัน ผมจะเอา DVD งาน Ignite Thailand++ ครั้งที่สองไปให้ด้วยครับ คราวนี้ไม่ได้ลืม แต่ไม่มีเวลาทำให้ ได้ชวนแล้วว่าถ้าเหงา ก็ให้มาสมัครที่ลานปัญญาได้ จะได้เห็นว่า สว.เค้าคุยอะไรกัน

การให้โดยช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ถึงใครจะไม่เห็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเห็นครับ

อ่านต่อ »


วันหยุด

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 November 2010 เวลา 10:40 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3227

เมื่อวานไม่ได้ทำเรื่องน้ำท่วมหรอกครับ แต่ในมุมของผม ผมทำสิ่งที่ควรทำมากกว่า คือพาพ่อแม่ไปเที่ยว

พ่อกับแม่อายุรวมกันร้อยห้าสิบกว่าปีแล้ว สว.อยู่บ้านมานานๆ ก็มีเบื่อบ้างเป็นธรรมดา ตลอดเดือนกว่าที่ผ่านมา ทำแต่เรื่อง(เบื้องหลัง)เกี่ยวกับการบรรเทาทุกข์อุทกภัย ไม่ได้พาพ่อแม่ไปไหนเลย เมื่อวานจึงวางเรื่องภัยธรรมชาติเอาไว้วันหนึ่ง ขอทำหน้าที่ลูกบ้าง — ส่วนการถักหมกไหมพรมสำหรับเด็ก (และพระ) ที่ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ถึงถักไม่เป็น ก็ส่งไหมพรมไปช่วยได้ [กำลังใจแก่ผู้ประสบอุทกภัย]

อ่านต่อ »


แก้หนาว

อ่าน: 3858

ตอนนี้ยังไม่หนาว แล้วมาเขียนเรื่องแก้หนาวทำไม — การเตือนก็ต้องเตือนล่วงหน้าซิครับ

ผมคิดว่าเรา “แก้ปัญหาเฉพาะหน้า” กันได้ดี แต่ไม่ได้ตระหนักกันเท่าไหร่ ว่าที่จริงแล้วไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอะไรเลย เราผ่านสถานการณ์ไปได้ บางทีทำได้ดี น่ายกย่อง บางทีก็ทุลักทุเลสะบักสะบอม สาเหตุยังมีอยู่เหมือนเดิม

ทั้งนี้ก็เพราะว่าเรามักใช้สูตรสำเร็จ ถึงเคยทำอย่างนี้มาแล้ว “สำเร็จ” ก็ไม่ได้หมายความว่าทำอย่างนี้อีก จะสำเร็จเหมือนที่ผ่านมา เพราะว่าเป็นคนละบริบทแล้ว สถานการณ์ต่างกัน มีทรัพยากรและข้อจำกัดต่างกัน

ก็ ชี วิ ต ไ ม่ มี สู ต ร นี่ ค รั บ  แ ต่ ว่ า ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ นั้ น เ ป็ น ข อ ง จ ริ ง (ชิมิ)

ผู้มีประสบการณ์ หากมีความรอบรู้และมีข้อมูลที่แท้จริง ก็อาจบอกแนวโน้มได้ — เรื่องแนวโน้มนี้ไม่ใช่การทำนายอย่างแม่นยำราวจับวาง เพียงแต่มีโอกาสถูกมากกว่า ต่างกับการเดาสุ่ม

อ่านต่อ »


ไร่นาหลังน้ำลด

อ่าน: 3334

น้ำท่วมนำความอุดมสมบูรณ์มา เมื่อน้ำลดแล้ว จะพบซากพืชเน่าอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นงานหนักในการปรับสภาพดินเพื่อเพาะปลูกในรอบใหม่ แต่…

อย่าเผานา เผาไร่

เช่นเดียวกับคนที่ต้องการอาหาร พืชก็เติบโตได้ด้วยสารอาหาร ที่หลักๆ ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม (N P และ K ตามสูตรปุ๋ยนั่นแหละครับ) แต่ว่าปุ๋ยไม่มีธาตุตัวที่สำคัญที่สุด คือคาร์บอน (C) รากพืชดูดสารอาหารจากดิน แล้วใช้สารอาหารเหล่านี้ไปสร้างเซล แต่ทุกเซลห่อหุ้มด้วยเซลลูโลส ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอน และแน่นอนว่าใช้ธาตุคาร์บอนเยอะมาก

เมื่อเผาพืชเซลลูโลสเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ปล่อยออกไปในอากาศ เหลือเป็นเถ้าถ่านคืนคาร์บอนคืนสู่ดิน เมื่อคาร์บอนมีน้อยลง พืชก็เติบโตได้ยากเพราะไม่รู้จะเอาคาร์บอนมาจากไหนไปสร้างเซลเพื่อเจริญเติบโต

พอชาวไร่ชาวนาเห็นพืชไม่โต ทีนี้ก็ไปซื้อปุ๋ยมาเติม ยิ่งทำ ยิ่งจน เอากำไรของตัวเองที่ควรจะได้ ไปจ่ายเป็นค่าปุ๋ย (ช่วยได้เหมือนกัน พืชโตขึ้น แต่คนปลูกจนลง)

[เผาอ้อย] [ดิน]

การกำจัดพืชที่เน่าควรจะไถกลบให้ไปย่อยสลายในดินครับ เป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน เอาคาร์บอนกลับคืนสู่ดิน

อ่านต่อ »


รอดได้ ยิ่งกว่าซ่อมได้

อ่าน: 6129

ผมคิดว่าส่วนหนึ่งของคนไทย ไม่เข้าใจสเกลของตนครับ ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน ใช้เงินเป็นใหญ่ มีเงินซื้ออะไรได้หมด (จริงหรือ?)

คนมีเงินนั้นมีลักษณะที่อธิบายได้ง่ายๆ สองอย่างว่า (1) เป็นคนที่ไม่จ่าย+ไม่ซื้อในสิ่งไม่มีประโยชน์หรือไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ถ้าซื้อแล้วไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่ซื้อ และ (2) เป็นคนที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย — แต่ไม่ได้แปลว่าว่ามีรายได้มากอย่างที่มักจะเข้าใจ (และอิจฉา) กันหรอกนะครับ เพราะว่าตัวเราเองนั่นล่ะครับที่เป็นคนกำหนดค่าใช้จ่าย ดังนั้นเราจะมีเงินเหลือเก็บก็ต่อเมื่อรู้จักประมาณกำลังของตน

ลองดูเศรษฐกิจในหมู่บ้าน จะซื้อผักซื้อเนื้อสัตว์จากรถขายผัก รถขายผักเองก็ต้องมีกำไรไปจ่ายค่าน้ำมันและเลี้ยงชีพตนเอง กลายเป็นการซื้อผักกลับต้องจ่ายเงินเลี้ยงคนขายผักด้วย รถขายผักมีอะไรให้เลือกมากหรือก็เปล่า ซื้อผักเดิมๆ หมู ไก่ ไข่เดิมๆ นั่นแหละครับ ในเมื่อซื้อของเดิมๆ อยู่ตลอดเวลา แล้วทำไมไม่ปลูกเอง เลี้ยงเอง? (ผมก็ไม่ทำครับ แต่ผมมีพอ)

เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่นะครับ ลองดูสินค้าที่ซื้อขายกันในชุมชนให้ดี มีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่ผลิตได้เองในชุมชน ผมคิดว่าว่าไม่เยอะนะ!! ถ้าการคมนาคมขนส่งถูกตัดขาด (น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำมันแพง ฯลฯ) แล้วชุมชนที่พึ่งสินค้าจากนอกพื้นที่ จะทำอย่างไร

อ่านต่อ »


กาลักน้ำ

อ่าน: 8184

น้ำท่วมมาเดือนกว่าแล้ว บางพื้นที่ของสุโขทัย+พิษณุโลกกว่าสองเดือนแล้ว แต่ยังมีพื้นที่ที่น้ำท่วมขังกระจายอยู่เป็นวงกว้าง

ความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้การฟื้นฟูล่าช้า ตัวผู้ประสบภัยเองสภาพจิตใจยิ่งย่ำแย่ไปหมด น้ำไม่ลดเหมือนไม่มีความหวัง

เมื่อวานไปเปิดบัญชีตามบันทึก [วุ่นวายไปทำไม] เจอลุงเอก ประธานมูลนิธิ (ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า) ลุงเอกงานยุ่งมากแต่เล่าว่าเพิ่งไป อ.บางบาล อยุธยามา น้ำยังปริ่มถนนอยู่เลย

ผมก็ปากหนักไป ดันไม่ได้ถามว่าลุงเอกไปมาเมื่อไหร่ พอกลับมาบ้าน ก็มาเช็คดูระดับน้ำ ปรากฏว่ามาตรวัด C36 (คลองบางหลวง อ.บางบาล) อยู่ต่ำกว่าตลิ่งตั้งหลายเมตร

ถ้าตัวเลขนี้ถูกต้อง ลองนึกถึงใจชาวบ้านแถวนั้นดูนะครับ เห็นอยู่ว่าน้ำท่วมบ้าน ท่วมหนัก และท่วมมานานแล้ว แล้วก็ยังไม่ยอมลดลงเสียที ในขณะที่ระดับน้ำในคลอง ต่ำกว่าตลิ่งตั้งเยอะ ก็ยังทำอะไรไม่ได้ (ก็มันติดถนนนี่หว่า! แค่ข้ามถนนไปก็ไม่ท่วมแล้ว!!!) เวลาน้ำบ่าเข้ามา มันข้ามถนนมาได้ แต่พอข้ามถนนมาแล้ว น้ำไหลกลับไม่ได้ครับ เพราะว่าถนนเมืองไทยเป็นถนนที่ยกสูง เอาไว้ป้องกันน้ำท่วม

อ่านต่อ »


วุ่นวายไปทำไม

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 November 2010 เวลา 18:55 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3861

ค.ศ. 1665 ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช La Rochefoucauld (1613-1680) นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสเคยกล่าวไว้ว่า “Il est plus honteux de se défier de ses amis que d’en être trompé.” พอแปลได้ว่า การไม่เชื่อถือมิตรเป็นเรื่องน่าอับอายยิ่งกว่าการที่จะถูกเขาทรยศเสียอีก ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์โคลงอธิบายความไว้ว่า

๏ การระแวงใจแห่งผู้ เป็นมิตร สหายแฮ
เป็นสิ่งน่าอดสู แน่แท้
ยิ่งกว่าถูกเพื่อนคิด ทุรยศ
ภาษิตนี้ขอแก้ อรรถให้ แจ่มใส

๏ คือใครมีมิตรแล้ว ระแวงจิต
ว่ามิตรบ่ซื่อตรง นั่นไซร้
เหมือนสบประมาทมิตร ดูถูก มิตรนา
บ่มิช้าจักไร้ มิตรสิ้นปวงสหาย

๏ กลัวอายเพราะมิตรจัก ไม่ซื่อ ตรงแฮ
จึงคิดฉลาดระแวง หาผิด
ที่แท้ก็ตนคือ ผิดมิตร ธรรมนา
เพราะว่าองค์แห่งมิตร ก็ต้องไว้ใจ

๏ ผู้ใดดูถูกมิตร ดูถูก ตนเอง
เพราะว่าคนทรามไฉน จึงคบ
เมื่อเริ่มจะตั้งผูก มิตรภาพ
ใยไม่วิจารณจบ จิตหมั้นในสหาย

๏ มิตรร้ายผิมุ่งร้าย ต่อเรา
แม้เมื่อเราซื่อตรง อยู่แล้ว
โลกย่อมจะติเขา ไม่ติ เราเลย
คนชั่วย่อมไม่แคล้ว คลาดโลกนินทา

๏ ภาษิตจึงได้กล่าว คติบอก
ว่าระแวงมิตรน่า อัประยศ
ยิ่งกว่าถูกเพื่อนหลอก ลวงเพราะ ซื่อนา
ตรงจะเสียทีคด ไป่ต้องอับอาย

๏ มุ่งหมายจิตมั่นด้วย มิตรธรรม
ถึงหากเพื่อนทุจริต หลอกให้
อย่าวิตกแต่จำ ไว้เพื่อ
จะคบมิตรอื่นไซร้ จะได้รู้พรรณ ๚ะ๛

สังคมยุโรปในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนั้น ผู้ลากมากดีต่างเชื่อถือในเกียรติยศ จะคบใครก็มักจะเลือกคนมีเกียรติเสมอกัน (ไม่ว่า “เกียรติ” จะหมายถึงอะไรก็ตาม — อย่าลืมว่าเรื่องนี้เกือบสามร้อยห้าสิบปีมาแล้วนะครับ) ความเป็นเพื่อนมักดูกันนานๆ เป็นเรื่องลึกซึ้งนะครับ ส่วนที่ฉาบฉวยน่ะ เรียกว่าแค่เป็นคนรู้จักกันเท่านั้น

อ่านต่อ »


การออกแบบเพื่อฟื้นฟูเหตุภัยพิบัติ

อ่าน: 3879

บ่ายวานนี้ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เป็นเจ้าภาพจัดงาน OPEN FORUM: Design for Disasters Relief  การออกแบบเพื่อฟื้นฟูเหตุภัยพิบัติ ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

เข้าใจว่างานนี้ ค่อนข้างฉุกละหุกครับ session นี้ ตั้งใจให้เป็น Open Forum แต่เนื่องจากมีเวลาจำกัด จากมีอีเมลแจ้งครั้งแรกจนงานเริ่ม มีเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงเท่านั้นเอง แต่งานก็เรียบร้อยดี ขอบคุณ TCDC มากเลยครับ

อ่านต่อ »


ความแตกต่างบนเป้าหมายเดียวกัน

อ่าน: 3713

การบรรเทาทุกข์เป็นงานใหญ่ เมื่อจะทำให้ลุล่วง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ รวมพลังกัน คำว่ารวมพลังกันทำงานใหญ่นั้น ไม่ได้แปลว่าทุกคนทำเหมือนกันไปหมด เพราะการทำเหมือนกันไปหมดนั้น เป็นการระดมพลังทำงานชิ้นเดียว (ลงแขก ซึ่งมักไม่ใช่งานใหญ่ซึ่งมีความซับซ้อน) ทำงานใหญ่ต้องระดมสรรพกำลังมาจากทุกแหล่ง ใช้ความรู้จากหลากหลายวิทยาการ ใช้การประสานใจ มีเป้าหมายเป็นแก่นกลาง

เมื่อมีปัญหาใหญ่โต วางกองอยู่ตรงหน้า เหล่าผู้คนที่มาช่วย จะมองเห็นปัญหานั้นด้วยภาพที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นกับมุมมองของตน ความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์

อย่างไรก็ตาม แต่ละมุมมองเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของปัญหาเท่านั้น ไม่ควรดึงดันยึดเอาว่ามุมมองของตนเท่านั้นที่ถูกต้องที่สุด ทางออกมีแค่ที่อย่างตนเสนอ

ตาบอดคลำช้าง (สำ) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น

การตัดสินว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ ยังไม่สำคัญเท่ากับการตระหนักว่ายังมีผู้คนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ยังต้องการความช่วยเหลืออีกเป็นจำนวนมาก — ผู้ที่อาสามาช่วยต่างต้องการจะช่วยผู้ประสบภัยด้วยกันทั้งนั้น จะด้วยใจบริสุทธิ์กี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ละคนต่างก็มาด้วยความต้องการที่จะช่วย ตามความรู้ความชำนาญของตนด้วยกันทั้งนั้นครับ

เรื่องนี้น่ะเป็นความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย ไม่ใช่การทำข้อสอบปรนัยที่มี “คำตอบที่ถูกต้อง” เพียงคำตอบเดียวนะครับ

ในเมื่อตัวเราไม่ได้รู้อะไรทั้งหมดแต่จะไปตัดสินคนอื่น แล้วจะเป็นการตัดสินใจที่ดีได้อย่างไร?!?! [Paradox ของสายตา กับการไม่รู้จักเป้าหมาย] [เชื่อเพราะเห็น ทำให้หลงได้ง่าย] [ความมีเหตุผล อาจทำให้หลงได้]

อ่านต่อ »



Main: 0.082281112670898 sec
Sidebar: 0.22470092773438 sec