ไอทีกับการจัดการภัยพิบัติ

อ่าน: 3994

ดูเผินๆ ไอทีมีลักษณะเสมือนจริงในแง่ที่ไม่ได้เกิดการกระทำในตัวเอง

ไอทีเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น จะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้เข้าใจเครื่องมือหรือไม่ และนำไปใช้ประโยชน์ได้แค่ไหน ยกตัวอย่างเช่นเอาฆ้อนไปตอกตะปู ก็จะใช้งานได้ดีมีประโยชน์ แต่ถ้าเอาฆ้อนไปพรวนดิน ถึงจะทำได้ก็จะดูแปลกๆ ไปสักหน่อยนะครับ

ภัยพิบัติทุกครั้งแตกต่างกันเสมอ ทั้งสาเหตุ ผู้ประสบภัย ระยะเวลา พื้นที่ประสบภัย ความเสียหาย ความหนักหนา ทรัพยากร อาสาสมัคร ฯลฯ ยิ่งกว่านั้น การจัดการบรรเทาทุกข์และฟื้นฟูจากภัยพิบัติ ก็เป็นภัยพิบัติในตัวเองเสมอๆ เนื่องจากมีคนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่มีหน้าที่โดยตรง ทั้งที่มาด้วยจิตอาสา ในเมื่อต่างคน ต่างฝ่าย ต่างมีความรู้ความชำนาญที่แตกต่างกัน เรื่องเดียวกัน ก็จะมีมุมมองและวิธีการที่แตกต่างกัน ในเวลาที่ชาวบ้านทุกข์ยาก ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่ใช่เวลาที่จะมากล่าวโทษหรือพิพากษาใครหรอกนะครับ เราต้องไม่ลืมว่ากำลังมีคนที่เดือดร้อนแสนสาหัสอยู่

ดังนั้นการประสานงานก็จะโกลาหลอยู่เป็นธรรมชาติ อาจจะต้องอาศัย connection ส่วนตัวกันมากหน่อย หรือไม่ก็ต้องอาศัยการระดมสรรพกำลังมาช่วยงานกัน ซึ่งจำนำไปสู่ความขลุกขลักต่างๆ อีกมากมาย — เรื่องนี้ไม่มีใครบ่นหรอกครับ เพราะว่าคนที่มาช่วยกัน ต่างก็ทนเห็นชาวบ้านเดือดร้อนโดยไม่ลงมือทำอะไรสักอย่างไม่ได้กันทั้งนั้น

แต่ว่ามันจะดีกว่าหรือไม่ หากมีเครื่องมือที่ช่วยทำให้การประสานงานส่งความช่วยเหลือลงพื้นที่ เป็นไปอย่างที่มีระบบมากขึ้น บันทึกนี้พยายามจะเขียนแนวคิดของการจัดการในเชิงระบบ ที่เชื่อว่าน่าจะจำเป็นสำหรับระยะฉุกเฉินนี้ครับ ขอมองอย่าง “คนนอก” ไม่อย่างนั้นเวลาลงไปคลุกแล้ว ผมจะเมาหมัดคือจะใช้ทุกอย่างเท่าที่มี แล้วมองข้ามสิ่งที่ควรมีแต่ไม่มีไปครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.27171802520752 sec
Sidebar: 0.65146780014038 sec