ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?!

อ่าน: 4735

สิ่งปลูกสร้างที่อยู่ใกล้ทางน้ำหรือใกล้ภูเขา มีโอกาสจะเจอดินถล่มทั้งนั้นครับ

เวลาเราสร้างบ้าน ก็ไม่รู้หรอกว่าตรงไหนมีโอกาสเกิดดินถล่ม พื้นผิวโลก หากแห้งแล้วมีความลาดเอียงไม่เกินมุมลาดเอียงปลอดภัย (angle of repose) ซึ่งอาจสูงได้ถึง 30° แต่เมื่อไรที่เปียก เละเทะเป็นดินโคลน แค่เอียงเป็นมุม 1-2° ก็อาจจะเริ่มไถลเคลื่อนตัวได้แล้ว — น้ำเป็นเหมือนตัวหล่อลื่น ยิ่งถ้ามีเหตุการณ์ธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหว ฝนตกหนักจนดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัวแล้ว หรือเจอคลื่นกระแทกซ้ำๆ ก็อาจจะทำให้เกิดดินถล่มได้

และนั่นก็เกิดขึ้นมาแล้ว และยังมีความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ที่อยู่ใกล้พื้นที่ลาดชัน (ภูเขา)

คุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินไม่อิ่มตัว

บทบาทของดินไม่อิ่มตัวต่อความมั่นคงของลาดดิน ลาดดินไหล่เขาโดยเฉพาะมวลดินที่อยู่ส่วนบนเหนือกว่าระดับน้ำใต้ดิน จะอยู่ในสภาวะไม่อิ่มตัว ดังนั้นจะมีความดันน้ำเป็นลบ (Negative Pore Pressure) เนื่องจากแรงตึงผิวของความชื้นที่เกาะอยู่ระหว่างเม็ดดินโดยเฉพาะในฤดูแล้ง ซึ่งจะเป็นตัวการที่เพิ่มความแข็งแรงของดิน ดังนั้นจะสังเกตเห็นว่าลาดดินตัดใหม่ จะยังมั่นคงอยู่ได้แม้จะมีความลาดชันมาก ดังแสดงในรูปที่ 2 แต่เมื่อมีฝนตกหรือระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้น ความดันที่เป็นลบนี้ จะถูกทำลายไปและอาจกลับเป็นความดันที่เป็นบวก (Positive Pore Pressure) ดังนั้น ลาดดินดังกล่าวจะเกิดการพังทลายได้ในช่วงที่มีฝนตกหนักและความชื้นในมวลดินสูงขึ้น

อ้างอิง: วรากร ไม้เรียง และ นงลักษณ์ ไทยเจียมอารีย์. 2547. ความแข็งแรงของดินไม่อิ่มตัวเพื่อการวิเคราะห์ความมั่นคงของลาดเขา. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ณ​โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำ จ.เพชรบุรี, 19-21 พฤษภาคม 2547

อ่านต่อ »


คนละไม้คนละมือ

อ่าน: 3124

เอาหนังต่อต้านคอร์รัปชั่นของอินเดียมาให้ดู เคยแปะไปในบันทึกเก่าอันหนึ่งในบล็อกนี้นานมาแล้ว แต่หาไม่เจอแล้วครับ

แม้หนังจะมีเป้าหมายที่การต่อต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งดูจะไม่เกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วมหรือภัยพิบัติเลย แต่ข้อความสำคัญคือเวลาจะทำเรื่องใหญ่ที่คนแต่ละคนคิดว่าทำไม่ได้ ไม่มีแรง ไม่มีอำนาจพอนั้น จะต้องรวมพลังกัน ร่วมกันทำ หาเป้าหมายร่วมกันให้ได้ มุ่งไปทางเดียวกัน แต่ต่างคนต่างทำในส่วนของตัวเอง เลือกทำเองครับ เลือกทำในส่วนที่ตนทำได้ดี ช่วยกันคนละไม้คนละมือ จึงจะเกิดการรวมพลังเพื่อเปลี่ยนแปลง

อ่านต่อ »



Main: 0.35841298103333 sec
Sidebar: 0.7160210609436 sec