บัณฑิตจบใหม่ตกงาน
อ่าน: 5487เรื่องที่ภาคธุรกิจลดความต้องการบัณฑิตใหม่เนื่องจากธุรกิจหดตัว หรือว่าต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ ก็ส่วนหนึ่ง แต่ยังมีบัณฑิตจบใหม่อีกส่วนหนึ่งที่ไม่รู้ว่าเรียนมาทำไม เรียนอะไรมา ใช้ประโยชน์อะไรได้ และจะทำอะไรในอนาคต
เรื่องนี้เป็นเรื่องซีเรียสนะครับ บัณฑิตจบใหม่มีความรู้ มีความคาดหวังสูง แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ความรู้ที่เรียนในมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องทางทฤษฎีเป็นส่วนใหญ่ นำมาสู่การปฏิบัติได้ไม่ง่ายนัก เพราะตัวบัณฑิตเองก็ไม่มีประสบการณ์พอที่จะพลิกแพลงให้เป็นประโยชน์
สองวันก่อน ผมได้รับอีเมลมาปรึกษา จากบัณฑิตจบใหม่ท่านหนึ่งซึ่งพยายามจะช่วยเพื่อน ความตอนหนึ่งว่า…
และในตอนนี้ ผมก็เรียนจบและได้งานทำแล้ว แต่สิ่งที่ผมพบคือ เพื่อนๆ หลายๆ คนที่ยังตกงานกันมากมาย ผมลองพูดคุยกับเพื่อนๆ ดูว่าทำไมถึงยังหางานทำไม่ได้ คำตอบที่ผมได้นั้นก็ถือว่าค่อนข้างน่าตกใจพอสมควรครับ ซึ่งผมพอจะสรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้
- ไม่รู้ว่างานที่ตัวเองอยากทำคืออะไร - คือพอจะกำหนดสโคปได้ว่า อยากทำงานสายนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะทำตำแหน่งอะไร เพราะขาดประสบการณ์ ขาดคำแนะนำ
- ตอนเลือกคณะเข้ามาเรียน เลือกจากคำตอบของคำถามว่า “คณะนี้เรียนอะไร?” และ “สาขานี้เรียนอะไร?” ไม่ใช่ “จบไปทำอะไร?” - ผลลัพธ์ที่ได้ คือ จบมาแล้วเคว้ง ชอบเรียน แต่ไม่ได้ชอบทำงานด้านนี้ ไม่รู้ว่าจะไปทำอะไรดี
- รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร แต่ไม่รู้ว่ามีที่ไหนที่มีตำแหน่งเหล่านี้บ้าง หรือ ตำแหน่งอะไรที่ทำงานเหล่านี้บ้าง - สิ่งหนึ่งที่เป็นความจริงในประเทศไทยเลย คือ ชื่อตำแหน่งเดียวกัน แต่ function ตามใจแต่ละบริษัท
- รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร แต่เมื่อจบออกมาแล้วก็พบว่า เวลาที่ใช้ในมหาวิทยาลัย 4 ปี ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการก้าวไปในเส้นทางสายนั้นเลย ไม่ว่าสิ่งที่อยากจะทำนั้น จะเป็นสิ่งที่ตรงกับสายที่เรียนมา หรือไม่ตรงสายก็ตาม - เช่นเดิมครับ เพราะขาดทั้งประสบการณ์และคำแนะนำ ทำให้ไม่สามารถเห็นภาพรวมในสิ่งที่ตัวเองอยากทำในโลกแห่งการทำงานได้ สุดท้ายเวลา 4 ปีก็สะเปะสะปะไปมา
ทั้งหมด 4 ข้อนี้ ผมมองว่ามันเป็นปัญหาที่ใหญ่ และสมควรที่จะถูกแก้ไขโดยเร็วครับ และวิธีการที่ผมมองว่าจะช่วยเยียวยาให้มันดีขึ้นก็คือ พยายามสร้างช่องทางให้ทุกคนได้มีโอกาสรับรู้ประสบการณ์ทางตรงหรือทางอ้อม จากคนในวงการทำงานจริงๆ เพื่อช่วยให้ทุกคนได้มองเห็นภาพในโลกของการทำงานจริงๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ โดยผมอยากจะเริ่มต้นจากการสร้างเวทีให้คนได้มาแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้กันบนอินเตทอร์เน็ตก่อน เพราะเป็นเวทีที่แบ่งปันกันได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด และผมก็มีความสามารถพอที่จะทำได้ครับ
เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่มากในสังคมนะครับ จะทำอย่างไรดี?
« « Prev : สมองสร้างความรู้สึก และ “ความจริง” ต่างๆ เพื่อความอยู่รอดได้
Next : เรื่องไม่ง่ายกับการประชุม » »
7 ความคิดเห็น
ยากเหมือนกันนะครับ กว่าจะรู้ว่าตัวเองชอบอะไร และจะทำมาหากินอะไรต่อไปในอนาคต ช่วงเวลาไหนที่คนเราจะค้นหาตัวเอง ไม่ใช่ช่วงเวลาในมหาวิทยาลัยแน่นอน
share เรื่องสั่วนตัวนิดนึง
ผมเคยชอบเล่นดนตรีมาก เพราะรู้สึกว่าทำได้ดี ดังนั้นตอน ม.1 ลองสมัครเข้าเล่นวงโยธวาทิตของโรงเรียน ซึ่งประกวดได้รองแชมป์ประเทศไทยมาหมาดๆ ฝึกอย่างหนักจน ม.3 และเรียนต่อ ม.4 โดยตั้งใจว่าฝึกไปเรื่อยๆและ entrance เข้าคณะศิลปกรรมจุฬาฯ ตามพี่ๆ แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เรื่องจากพ่อซื้อเครื่อง 286 มาให้เล่นตอน ป.5 - ป.6 ซื้อหนังสือมาอ่านเอง จำได้ว่าอยากเขียนโปรแกรมแต่ไม่รู้จะถามใคร ซื้อหนังสือ ภาษา Basic มาอ่านเอง เขียนโปรแกรม plot graph ได้ แต่นึกไม่ออกว่าจะเอาไปทำอะไรมากกว่านั้น แล้วมันก็อยู่เท่านั้นไม่ได้มีอะไรงอกเงย
จุดเปลี่ยนตอน ม.5 คิดว่าอาชีพเล่นดนตรีไม่มั่นคง แถม พ่อแม่ไม่ปลื้ม มุ่งเบนเข็มเข้าวิทย์คอมฯ อ่านหนังสือ ทำการบ้าน เรียนพิเศษ เกรดดีขึ้นเรื่อยๆ มีลุ้นในการ entrance แล้วก็ลาออกจากวงโยธวาทิต จบ ม.6 entrance ไม่ติดวิทย์คอมฯ แต่ไปติด วิทย์ฟิสิกส์ฯ คิดว่าจะสละสิทธิ์ แล้วไปเรียนวิทย์คอมฯที่รามฯ แต่โดนหลายคนห้ามไว้ ขนาดคนที่ไม่รู้จักยังโทรมากล่อม บอกว่า วิทย์ฟิสิกส์ก็เก่งคอมพิวเตอร์เหมือนกัน เลยลองเรียนดู
ฟิสิกส์ก็คือฟิสิกส์ คอมฯเป็นแค่เครื่องมือ เรียนเขียนโปรแกรม แค่คอร์สเดียว นอกนั้นต้องหาอ่านเอาเอง รู้จักกับ อ.ที่เก่งคอมฯ ในภาควิชาฯ เลยขอไปช่วยงาน ผลคือได้ความรู้ ทักษะ และโอกาสดีๆ
จบมา ต่อโท ทันที เพราะค่าเงินบาทลอยตัว เลือกเรียนด้านคอมพิวเตอร์ คือ image processing แถมด้วย parallel processing ซึ่งทั้งสองอย่าง พอรู้มาบ้างแล้วจากการเรียนในภาควิชาฟิสิกส์ (งง ดีไหมล่ะ)
หนีไปทำงานก่อนเรียนจบ ใน ตำแห่นง นักวิจัย ตอนนั้นช่วยทำตัว Inverter Air-Conditioning System ในส่วนของ indoor unit ในบริษัทตอนนั้นใช้ PID control อยู่เลย ผมเป็นคนที่เปลี่ยนจาก PID เป็น Fuzzy Logic
สรุปได้สั้นๆว่า “เล่น” ให้มากๆ ตั้งแต่ยังด็ก ทั้งแนวกว้าง และ ลึก (ผมไม่ได้บอกให้เรียนพิเศษนะ) และ ควรมีคนที่แนะนำได้ เช่น อย่างตัวผมอยากเขียนโปรแกรม แต่ไปต่อไม่เป็น น่าเสียดาย
แต่มีคำถามอยู่ว่าอะไรเป็นปัจจัยที่จะทำให้คนๆนึง สนใจในเรื่องๆหนึ่ง แล้วทำทุกอย่างเพื่อจะได้รู้เรื่องนั้นๆ เพราะถ้าคนๆนั้นไม่อยากรู้ เรื่องมันก็จบเท่านี้ มันเป็นเรื่องของกระบวนการที่สร้างขึ้นมาได้ หรือเป็นเรื่องเฉพาะคน
ทีนี้เวลาผู้จัดการศึกษาบอกว่า ใช้แนวคิดเด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียน ในทางปฏิบัติกลับเอามาตรฐานเดียวมาครอบเด็ก ภายใต้ชื่อมาตรฐานการศึกษา แบบนี้จะพูดว่าพัฒนาเด็กตามศักยภาพได้ยังไงครับ
เรื่องแบบนี้ คงจะแก้ไม่ได้ด้วยคาถาวิเศษ หรือทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วปัญหาหายไปหมด แค่สรุปว่าจะผ่านเข้าไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้อย่างไร ก็หมดเวลาแล้วครับ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมากี่รอบกันแล้ว
ถ้าเป็นผม ผมจะเปิด open source innovation ครับ เอาแบบ instructables เลย ประดิษฐ์ ประยุกต์ สร้างเอง ดัดแปลงเอง แทนการซื้อแหลก พ่อแม่ประคบประหงมลูกให้น้อยลงได้แล้วครับ หัดให้ทำ micro business รับจ้างทำงาน (ที่ปลอดภัย)/ขายของง่ายๆ ตั้งแต่เด็ก… คือแทนที่จะแก้ไขระบบอันซับซ้อนเกินแก้ไข สร้าง parallel track ให้เลือกกันเองเลยครับ ไม่ต้องไปคิดว่าเรารู้ดีกว่าเด็กว่าเขาชอบอะไร เหมาะกับอะไร แต่เชื่อใจเด็กบ้าง (เหมือนกับในองค์กรที่คำสั่ง top down ที่ไม่ฟังอะไร มักจะห่วย) ให้รางวัลอย่างถูกต้อง ไม่ใช่เอาเงินมาล่อ หรือทำอะไรนิดหน่อย ตั้งรางวัลเป็นแสน
ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
สวัสดีครับ
เห็นเรื่องนี้แล้วทำให้คิดถึงนักศึกษาของตัวเอง ว่าต่อไปจะทำอะไรกัน
แผ่นดินไทยอุดมสมบูรณ์มากหากเทียบกับประเทศอื่นๆ อุดมสมบูรณ์ทางด้านการปลูกผักทำเกษตรทำมาหากิน ทำให้เราทราบว่าตรงไหนควรจะปลูกอะไร
ทราบดินชนิดต่างๆว่ามีหกสิบแบบ แต่ละพื้นที่จะปลูกอะไรให้เข้ากันแล้วได้ผลผลิตที่ดี หากทำได้แบบนี้ก็นับว่าเป็นการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรให้สอดรับกับการวางแผนทางเกษตรกรรมที่ดี ตลอดจนส่งผลให้ระบบอื่นๆ เป็นไปได้ดีด้วย
พอเห็นตัวอย่างว่านั่นคือการจัดการวางแผนปลูกผักพืชของบ้านเรา มองมาสู่การศึกษาและการบริหารทรัพยากรบุคคลของชาติก็เ่ช่นเดียวกัน บางทีเรามาคิดเอาตอนปลายว่าแต่ละสาขาจบแล้วค่อยมาหางานเอา หรือว่าเรียนๆ ไปก่อน กว่าจะจบก็คงคิดได้งานเอง ซึ่งจริงๆ แล้วการวางแผนในการสร้างคน สร้างงาน นับเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในการให้คนหนึ่งคนค้นหาว่าตัวเองชอบ อยากทำอะไรก่อนที่จะจบแล้วมีงานรองรับในอัตราส่วนที่สมดุลแต่ละสาขาอาชีพ มิใช่การเรียนเป็นแบบแห่ตามค่านิยมตามยุคสมัย เพราะในที่สุดก็ล้นตลาดเหมือนกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ล้นตลาด ในบางช่วงถูกสุดขีดและบางช่วงแพงลิบลิ่ว
แล้วจะทำอย่างไร? หากช่วงเวลาของการเรียนรู้ไม่ได้ใช้ในการเรียนรู้ค้นหาตัวเองจนได้คำตอบก่อนที่จะออกไปเจอโลกจริงที่ตัวเราเองต้องนำหรือตามคนอื่น
สมัยโบราณ อยากได้วิชาความรู้ต้องแสวงหา เดี๋ยวนี้ ได้อะไรกันง่ายๆ ไม่ต้องดิ้นรน ก็มีคนยื่นให้
ลักษณะตลาดวิชา ดูเผินๆ เหมือนมีอิสระที่จะแสวงหา แต่คำว่าตลาดทำให้เสียวไส้ครับ ว่าขายอะไรกัน
แล้วทำไมจึงเรียนข้ามคณะ ข้ามภาควิชาไม่ได้
ในสายที่รู้แน่นอนว่าจบแล้วไปทำงานพยาบาล…แต่กลับพบปัญหาได้ในอีกหลายแบบ
แบบหนึ่งที่ชวนปวดหัวคือ ความกลัวการรับผิดชอบ คนเรียนก็จะเรียนแบบไม่มีความสุขเพราะชีวิตตั้งแต่เด็กไม่เคยรับผิดชอบอะไร ทำผิดพลาดก็จะหาตัวผิดตัวช่วยมารับผิดแทน…เด็กกลุ่มนี้จะเลี่ยงการฝึกงานเป็นที่สุด วิชาภาคปฏิบัติจะเป็นวิชาที่เขาไม่ชอบที่สุด ทัศนคติไม่ดีที่สุด..คะแนนจะดีมากในวิชาทฤษฎียิ่งข้อสอบแบบปรนัยยิ่งได้เกรดสูง…ถ้าเจอสิ่งที่ไม่ใช่ความคุ้นเคยจะใช้อารมณ์ประเมิน(ผ่านอินเทอร์เน็ตตามระบบมหาวิทยาลัย)จนคนสอนเสียหายหลายคนขยาดจะสอน…เด็กกลุ่มนี้ถ้าได้ถามไปรายไหนรายไหนมักจะได้คำตอบเลือกเอนฯตามใจพ่อแม่ ตั้งแต่เด็กอยู่บ้านไม่เคยทำอะไร รับอาชีพเรียนหนังสือ ว่างก็เที่ยวเล่น นอนดึกตื่นสาย ไม่ส่งงาน ส่งก็ลอกมา เวลาเรียนไม่สนใจแต่อยากให้ติวข้อสอบ…ชั่วโมง self study ก็นอน มีช่วงsummer ให้ขึ้นฝึกประสบการณ์ตามความถนัดเป็นวิชาเลือกก็ไม่เอา ..หนักไม่เอาเบาไม่สู้…บางคนบ้านยากจนมากแต่กลับไม่เคยห่วงจะประหยัดให้พ่อแม่ ทำตัวฟุ่มเฟือยได้สนิทสนมอย่างมหัศจรรย์ นักศึกษาบางรายใช้มือถือเครื่องเป็นหมื่นๆ เข้าเรียนได้พ่อแม่ไปกู้เงินซื้อรถใหม่ให้ลูกฯลฯ…พวกนี้พอถึงเวลาจะจบก็ยังเดือดร้อนไม่อยากทำงาน พอจะต้องสอบขึ้นทะเบียนกับสภา ก็ติวข้อสอบแทนการอ่านหนังสือ ลอกข้อสอบออกมาให้จับได้เสียชื่อสถาบันเข้าไปอีก
ปัญหาแบบนี้คิดว่าเพี้ยนกันมาตั้งแต่พ่อแม่แล้วล่ะค่ะ….ถ้าเขายิ่งโชคร้ายระหว่างเรียนประถมมัธยมไปเจอครูมัวทำผลงานไม่สอนก็ยิ่งแย่….พอมาถึงระดับมหาวิทยาลัยไปเจอกลุ่มนี้ไม่ว่าจะจัดการศึกษาอย่างไรก็ยาก…และนับวันนับเจอมากขึ้นๆๆๆ ….เหนื่อยมากค่ะ
ในที่สุดก็จะหวังให้คนอื่นแก้ปัญหาให้ (ด้วยโมเดลของการโปรดสัตว์) แล้วก็ตกเป็นเหยื่อซ้ำซากดังที่เคยเป็นมา
ดูเหมือนเราลืมมองเทวดาตัวเล็กๆ ตั้งแต่แรกเกิด ความจริงเขามาเกิดพร้อมความเป็นตัวตนของเขาว่าจะเป็นอะไรในอนาคต เพียงแต่พ่อแม่ไม่เข้าใจและไม่พยายามสื่อให้เข้าใจได้ เลยเทวดาเพี้ยนไปหมดตามที่พ่อแม่ต้องการ น่าเสียดายที่ไม่เข้าใจธรรมชาติข้อนี้ เคยบอกหลายๆ คนให้เฝ้าสังเกตุเทวดาตัวน้อย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ ถ้าเกินนี้แล้วก็คงไม่ได้เจอเทวดาตัวจริง ธรรมชาติของเด็กเขาเกิดมาพร้อมพรสวรรค์ทุกคน ให้สังเกตุจดจดจำ และสนับสนุนให้เขาเดินทางไปสู่ความสำเร็จ ใครเจอเร็วลูกๆ ก็โชคดี แม้แต่พี่น้องท้องเดียวกันเขาก็มีพรสวรรค์ที่ได้รับต่างกันมา ควรให้เขาเป็นธรรมชาติของเขา ลูกก็มีความสุข พอแม่ก็มีความสุข เรามักจะถูกสังคมครอบงำจนเสียความเป็นธรรมชาติ กว่าจะค้นพบตัวเองก็สายมากแล้ว แต่ก็ยังดีที่เจอ บางคนไม่รู้จักตัวเองเลย งายอดิเรก คือพรสวรรค์ที่มีอยู่ในตัว ขอให้ค้นตัวเองให้เจอแล้วจะทำงานนั้นอย่างมีความสุข