ความช่วยเหลือแบบบูรณาการ

อ่าน: 3148

ไม่รู้จะเวิร์คหรือเปล่านะครับ แต่บันทึกนี้ เป็นเรื่องที่ 40 แล้วตั้งแต่น้ำท่วม ซึ่งตลอดเดือนที่ผ่านมา ผมเขียนแต่เรื่องน้ำท่วมอย่างเดียวเลย

มีข่าวว่าวัสดุก่อสร้างในพื้นที่ประสบภัยขึ้นราคาโดยเฉพาอย่างยิ่งทางใต้ อันนี้จะทำให้ความช่วยเหลือช่วยคนได้น้อยลง ดังนั้นด้วยความคิดพิสดาร ผมจึงเสนอ complex scheme ซึ่งค่อนข้างวุ่นวาย แต่

  1. น่าจะลดราคาวัสดุก่อสร้างลงได้
  2. สวนยางที่ประสบวาตภัย จะขายเศษไม้ได้ ซึ่งต้นใหญ่ๆ ทางราชการช่วยรับซื้ออยู่แล้ว
  3. จ้างงานผู้ประสบภัย
  4. ซื้อวัตถุดิบ มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ขายให้แก่ผู้ประสบภัยที่ต้องการในราคาถูก กำไรมาจ้างผู้ประสบภัยผลิต ให้มีเงินหมุนเวียนในครอบครัว
  5. ตั้งแหล่งผลิตชั่วคราวในพื้นที่ ลดค่าขนส่ง

เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ สืบเนื่องจากบันทึก [อิฐกระดาษ อิฐต้นไม้] ซึ่งเขียนเมื่อตอนฝนตกหนักบริเวณเขาใหญ่ แต่น้ำยังไม่ทะลักไปท่วมปากช่อง/ปักธงชัย บันทึกนั้นใช้เซลลูโลสผสมในปูนซีเมนต์ ทำให้ยังคงความแข็งแรงอยู่ได้ แต่ใช้ปูนน้อยลงครับ เหมือนกับเวลาสร้างบ้านดิน เขาเอาดินพอกฟาง ซึ่งฟางคือเซลลูโลสนั่นแหละ มันจะยึดดินให้เกาะอยู่ด้วยกันล่ะครับ [อิฐมวลเบา กันร้อน กันหนาว]

อ่านต่อ »


ทำช้าดีกว่าไม่ทำ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 November 2010 เวลา 13:19 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3186

เมื่อคืนมีการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายพลังบวกเป็นครั้งแรก

การประชุมครั้งนี้ควรจะมีมาตั้งนานแล้วครับ ที่คลาดแคล้วเรื่อยมาเนื่องจากกรรมการแต่ละท่าน (ยกเว้นผม) ต่างมีภารกิจยุ่งเหยิง เนื่องจากแต่ละท่านมาช่วยกันทำงาน จึงมีการประชุมย่อยๆ เพื่อทำงานไปก่อน เกิดงาน “ขอโทษประเทศไทย” ที่ถูกแบนในฟรีทีวีแต่เผยแพร่ได้ในเคเบิ้ลทีวีและสื่อทางสังคมอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ งาน “พลังในตัวคุณ” ที่ได้เผยแพร่แล้วทุกสื่อ งาน Ignite Thailand++ ที่กรุงเทพสองครั้ง และงาน Ignite Chiangmai++ ครั้งหนึ่ง — ฟรีทุกอย่าง — ผมนั่งอยู่ตรงข้ามกับ ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ ซึ่งมาร่วมประชุมด้วย จึงได้ข้อมูลประหลาดว่าผมเรียนอยู่รุ่นก่อนหน้าอาจารย์ที่โรงเรียนเดียวกันถึงแปดปี (โอย แก่) แต่คุณภานุ อิงคะวัต ประธานเครือข่ายพลังบวกที่นั่งอยู่หัวโต๊ะ เรียนอยู่ก่อนหน้าผมสี่ปี (แก่กว่า ฮาๆๆ) แปลกใจที่มีความหนาแน่นของศิษย์เก่าโรงเรียนมากผิดปกติ

ทีนี้ถ้าถามว่ามายุ่งอะไรกับเขาด้วย ที่จริงก็ยังงงๆ อยู่ครับ ตอนงาน Ignite Thailand++ ครั้งแรก @iwhale ชวนไปฟังคณะทำงานคุยกัน แต่ด้วยนิสัยที่ถ้าผมเห็นว่าปรับปรุงได้ก็จะบอกครับ ต่อให้เป็น “คนนอก” ก็เถอะ หลังจากนั้นก็ได้รับการทาบทาม เนื่องจากว่ายังไม่มีการประชุมกรรมการครั้งแรก ผมจึงไม่เคยกล่าวอ้างว่าเป็นกรรมการ และไม่ยอมถ่ายรูป

ผลการประชุมนั้น คงไม่เขียนในบล็อกนี้ บอกได้แต่เพียงว่าน่าตื่นเต้นครับ — เมืองไทยมีอะไรที่จะต้องทำอีกเยอะเลย ถ้าเราอยากเห็นเมืองไทยดีขึ้นอย่างที่มักจะพร่ำบอกตัวเองและคนอื่น ต่างคนต่างทำไปในทิศทางนั้น ไม่ต้องทำเหมือนกันหรอกครับ แต่ทำไปในทางเดียวกัน ก็จะช่วยขับเคลื่อนเมืองไทยไปในทิศทางที่ดีได้ ซึ่งถ้าไม่คุยกัน แล้วมีคนละเป้าหมาย จะเกิดอาการชักคะเย่อชงักงันอย่างที่เป็นมาหลายปีแล้ว

อ่านต่อ »


ทำความรู้จักกับเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง

อ่าน: 5062

เมื่อสามเดือนก่อน ผมเขียนบทความไว้อันหนึ่งเพื่อส่งไปลงวารสารเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ เรื่อง[แนวคิดเกี่ยวกับภัยพิบัติและการจัดการ]

ตามแนวคิดทางการจัดการสากลแล้ว การแก้ไขบรรเทาด้วยลักษณะ reactive ช่วยได้บ้างเท่านั้นครับ ความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว — แต่ก็ต้องทำนะ เพราะว่าผู้ประสบภัย ต้องการความช่วยเหลือ — แนวที่ดีกว่าคือ pro-active ซึ่งใครๆ ก็รู้ แต่ไม่ค่อยทำกัน

แน่นอนว่าไม่มีใครที่อยากให้เกิดภัยพิบัติขึ้น เมื่อเกิดขึ้นคราใด ก็จะมีความเสียหายอย่างหนักเกิดขึ้นในทันที แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าภัยพิบัติไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย บางทีก็ทำให้เราประมาท คิดไปว่าพื้นที่ที่อาศัยอยู่มีความปลอดภัย จึงไม่ได้เตรียมทางหนีทีไล่ไว้

ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดแล้ว ทั้งรัฐและเอกชนจะเข้ามาช่วยเหลือ แต่ปัญหาคือผู้ประสบภัยจะต้องอยู่ให้ได้ก่อนที่ความช่วยเหลือจะเข้ามาถึง

ยังมีภัยอื่นๆ ซึ่งแม้ไม่สร้างความเสียหายร้ายแรงหรือเป็นวงกว้างเท่าภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ เช่นสึนามิ ไต้ฝุ่น แผ่นดินไหวรุนแรง แต่ก็สร้างความเสียหายจนชีวิตไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ เช่นภัยแล้ง น้ำท่วม ดินถล่ม ลมกรรโชก พายุ โรคพืช การจราจรติดขัด ไฟฟ้าดับ น้ำประปาไม่ไหล ฯลฯ ภัยต่างๆ เหล่านี้ แม้จะไม่เสียหายร้ายแรงเท่าภัยพิบัติขนาดใหญ่ แต่ก็เกิดขึ้นบ่อยกว่ามาก และมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในพื้นที่โดยตรง

โดยเหตุที่พื้นที่กว่าสามร้อยล้านไร่ของแผ่นดินไทย มีความแตกต่างกันมาก อีกทั้งภัยต่างๆ ไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ (อาจจะยกเว้นเส้นทางพายุ ซึ่งก็ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าจะรุนแรงขนาดไหน) การเตรียมพร้อมจากส่วนกลาง จึงไม่สามารถที่จะป้องกัน แก้ไข บรรเทาความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นได้ทัน

ดังนั้นชุมชนคนในแต่ละพื้นที่ จึงต้องเข้าใจความเสี่ยงภัยของตน เพราะความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน จะใช้การเตรียมการ หรือการจัดการความเสี่ยงแบบเดียวกันไปหมดไม่ได้

การแก้ไขเหตุการณ์จากภัยพิบัติ เช่นการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ การสร้างหรือซ่อมแซม จะอย่างไรก็เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จะต้องใช้เวลาและทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ไม่ทันต่อความต้องการของผู้ประสบภัยเสมอๆ การเข้าใจความเสี่ยงในพื้นที่และหาทางป้องกันไว้ก่อน จึงน่าจะเป็นวิธีการที่ดีกว่า…

อ่านต่อ »


มาตรการทางภาษีเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

อ่าน: 3884

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 ออกมาช่วยกระตุ้นความช่วยเหลือจากภาคเอกชน โดยออกเป็นมาตรการทางภาษีตามประกาศของกรมสรรพากร

เงินและสิ่งของบริจาคที่ผ่านมาเป็นน้ำใจอันบริสุทธิ์ของคนตัวเล็กๆ เป็นส่วนใหญ่ ในส่วนบริษัทห้างร้าน ผมเข้าใจว่ามีปัญหาอยู่บ้าง เพราะการบริจาคที่ไม่มีประกาศหรือมาตรการใดรองรับ อาจกลายเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม (ศัพท์บัญชี)

ได้ปรึกษากับ @iwhale ถึงความจำเป็นที่จะต้องทำอะไรบางอย่าง เพื่อระดมความช่วยเหลือจากภาคธุรกิจ โดยจำเป็นต้องออกใบเสร็จที่ตรงตามข้อกำหนดของการตรวจสอบบัญชีและกรมสรรพากรยอมรับ เพื่อที่จะปลดล็อคให้ความช่วยเหลือจากบริษัทห้างร้าน ผ่านไปสู่ผู้ประสบภัยได้อย่างไม่ติดขัด — เรื่องนี้ พูดกันตรงๆ ผมก็หนักใจครับ มันเป็นภาระกับมูลนิธิเล็กๆ เหมือนกัน แล้วที่ผ่านมา มูลนิธิไม่ยุ่งเรื่องเงินบริจาคเลย ผมได้ปรึกษากรรมการของมูลนิธิ และสอบถามอาสาสมัครของมูลนิธิแล้วว่าดีหรือไม่ ไหวหรือไม่ ก็ได้รับการยืนยันว่าดีและไหว ดังนั้นมูลนิธิโอเพ่นแคร์จะทำดังนี้ครับ:

อ่านต่อ »


หลุมไฟดาโกต้า แก้หนาว

อ่าน: 7921

เรื่องหลุมไฟดาโกต้าที่เขียนมาหลายบันทึกในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เป็นวิธีเอาตัวรอดในเขตมิดเวสต์ของสหรัฐซึ่งอากาศทารุณ

ผมเอาหลุมไฟดาโกต้ามาเล่นที่สวนป่า เพราะว่าเป็นเตาที่ให้ความร้อนสูง ใช้เชื้อเพลิงน้อย ไม่ใช้ฟืน แต่ใช้กิ่งไม้เล็กๆ เท่านั้น — เช่นเดียวกับเตาทั่วไป ถ้าไฟติดแล้ว ใช้กิ่งสดก็ได้ครับถ้าทนควันได้

หลุมไฟดาโกต้าจะมีสองรู รูแรกเป็นรูที่อากาศเข้าและใช้ใส่เชื้อเพลิง ส่วนอีกรูหนึ่งเป็นรูที่ความร้อนออกมา ซึ่งเราตั้งเตาหรือต้มน้ำ จะร้อนเร็ว เนื่องจากมีการบังคับทางลม บังคับให้เผาไหม้ได้ดีขึ้น และป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการเผาไหม้ ผมก็นึกว่าเจ๋งแล้ว เจอท่าพิสดารของครูบาเข้า งงไปเลย

ครูบาดัดแปลงเพิ่มอีกสองแบบ (ดูรายละเอียดในลิงก์ข้างบน) คือเข้าหนึ่งรูแยกไปออกสองรู แบบนี้ประหยัดแรงขุด ใช้รูใส่เชื้อเพลิงร่วมกัน แต่ทำอาหารได้สองเตา อีกแบบหนึ่งเป็นสามใบเถา มีรูเตาเรียงกันสามรู ทีแรกผมไม่คิดว่าจะสำเร็จหรอกครับ แต่ได้กินข้าวที่หุงจากเตาสามใบเถานี้มาสองสามมื้อแล้วครับ เตาเหล่านี้ ฝีมือครูอาราม@มงคลวิทยา ณ ลำพูน กับ ครูอ้น ฤๅษีแห่งลำปลายมาศ เวลาเขาขุดเตากัน ผมหลังเดี้ยงไปแล้ว เนื่องจากซ่าไปซ่อมถนนคนเดียว ใช้จอบส่วนตัวที่เอาไปจากบ้านด้วย

หุงข้าวโดยอาจารย์หมอ
24042010221.jpg 24042010222.jpg

ท่ามกลางกำลังใจ และความโล่งใจจากนิสิตแพทย์ ว่าเย็นนี้มีข้าวกินแล้ว
24042010224.jpg

อ่านต่อ »


อีกด้านหนึ่งของน้ำ

อ่าน: 4553

มอร์นิ่งทอล์ควันนี้เจอประเด็นคุณภาพของน้ำ ผมก็ไม่รู้ว่าผู้ประสบอุทกภัยใช้น้ำจากที่ไหนกินหรือทำอาหารกันหรอกนะครับ รู้สึกหวาดเสียวมาก

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวว่าเฮติ เกิดอหิวาต์ ทั้งๆ ที่หายไปจากเฮติมาหลายสิบปีแล้ว กรณีน้ำท่วม อาจจะมีความเสี่ยงจากอหิวาต์หรือท้องร่วงอย่างแรงมากกว่าแผ่นดินไหวเสียอีก แต่บทเรียนจากเฮติเช่นกัน พูดถึง Oral Rehydration Therapy (ORT หรือ ORS Oral Rehydration Solution) เป็นการให้น้ำและเกลือแร่ เพื่อบรรเทาอาการสูญเสียน้ำจากอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง (อหิวาต์)

หากผู้ประสบภัย (หรืออาสาสมัครที่ออกไปช่วยเหลือ) มีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง จะต้องรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน แต่ถ้าหากไปไม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม จะต้องระวังอาการช็อคจากการสูญเสียน้ำ ถ้ามีผงเกลือแร่กับน้ำสะอาด ก็ให้ผู้ป่วยดื่มในปริมาณตามฉลาก แต่ถ้าไม่มี อาจเตรียมสารละลายข้างล่างให้ดื่มทดแทนแล้วรีบนำส่งสถานพยาบาลโดยเร็วนะครับ

  • ผู้เตรียมสารละลาย ล้างมือให้สะอาด
  • เกลือแกง (เกลือทะเล ผสมไอโอดีนหรือไม่ก็ได้) 1 ช้อนชา — 1 ช้อนชา ประมาณ 1 ฝาเบียร์ครับ
  • น้ำตาลทราย 4 ช้อนชา
  • น้ำ 1 ลิตร หากไม่แน่ใจคุณภาพน้ำ ให้ต้มเสียก่อน หรือไม่ก็ใช้น้ำมะพร้าวอ่อนครับ
  • ผสมให้เข้ากัน แล้วให้ผู้ป่วยดื่มในอัตรา 5 ml/กก./ชม. เช่นผู้ป่วยน้ำหนัก 60 กก. ก็ให้ดื่มสารละลายนี้ 300 ml/ชั่วโมง (ประมาณ 1 กระป๋องน้ำอัดลม ซึ่งมีปริมาตร 325 ml)

อ่านต่อ »


ก่อนเปลี่ยนโหมดสู่การฟื้นฟู

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 16 November 2010 เวลา 0:01 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4069

ตอนนี้อาจจะยังไม่ใช่เวลาถอดบทเรียนเพราะต้องช่วยผู้ประสบภัยก่อน แต่เนื่องจากผมขี้ลืมจึงขอบันทึกไว้ก่อน

ตลอดเดือนที่ผ่านมา ผมเขียนบันทึกเรื่องอุทกภัยใหญ่ครั้งนี้มา 35 บันทึก [ดูทั้งหมดได้ที่ tag น้ำท่วม ตรงนี้] ส่วนมากเป็นแง่คิดมุมมองเพื่อที่จะทำให้ผู้ประสบภัยยังพอยืนอยู่ได้ พอทำอะไรเองได้บ้าง การช่วยเหลือควรช่วยอะไร ฯลฯ แน่นอนล่ะครับ ว่าช่วยแล้วก็ยังไม่เหมือนก่อนเกิดอุทกภัย แต่สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้ว เป็น past tense จะไปห้ามไม่ให้เกิดไม่ได้ จะเอาใหม่เหมือนเล่นวิดีโอเกมก็ไม่ได้เช่นกัน

ช่วงแรกๆ ที่ท่วมหนัก ผมนอนตอนเช้า เพราะอดีตลูกน้องและผู้ห่วงใยเคยสั่งไว้ว่าไม่ให้นอนดึก แต่มาสัปดาห์หลังนี่ ชักเลยเถิดเปลี่ยนเป็นนอนสาย เมื่อวานตื่นมาหกโมงเย็น ทำท่าจะไปกันใหญ่แล้ว ตัวผมเองคงต้องเริ่มฟื้นฟูเหมือนกัน

บทเรียนสำคัญจากช่วงการบรรเทาทุกข์คือจำเป็นต้องมีแผนงานกับการประสานงานกันครับ

อุทกภัยครั้งนี้หนักหนาสาหัส และเกิดเป็นวงกว้างมาก คาดว่าในความรู้สึกของผู้ประสบภัย ความช่วยเหลือทั้งหลาย too little too late เสมอๆ… อาการแบบนี้มักเกิดขึ้นเมื่อเห็นสื่อกระแสหลักรายงานข่าวความเสียหายและความช่วยเหลือ แต่ว่าตัวผู้ประสบภัยเองกลับไม่ได้รับความช่วยเหลือ หรือได้ไม่ตรงกับที่ต้องการ หรือว่าได้ช้า เป็นพื้นที่ตกหล่น ถูกตัดขาด ฯลฯ ผมไม่ได้ต่อว่าใครหรอกครับ คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดานะ

แม้แต่ “ความจริง” ก็มีหลายมุมมอง เหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้น มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมากมาย ดังนั้นก็จะมีหลากหลายมุมมองเสมอ — มีข้อจำกัดของคนอื่นตั้งหลายอันที่เราไม่รู้เลย ไม่เคยนึกถึง (เนื่องจากไม่เคยคลุกคลีศึกษามาก่อน) เราก็ยังยึดแต่ความจริงจากมุมมองของเรา ว่าใหญ่กว่า ถูกต้องกว่าความจริงจากมุมมองอื่นเสมอ ทั้งนี้เป็นเพราะเราคุ้นเคยรู้ทางกับความคิดของตัวเองมาตั้งแต่เกิดแล้ว

ความทุกข์ยากของแต่ละพื้นที่ ไม่มีคำตอบหรือวิธีการใดที่ครอบจักรวาล เช่นเดียวกับการที่ไม่มีกางเกงตัวใดที่พอดีกับผู้สวมใส่ทุกคนหรอกครับ — แต่จะมีบางคำตอบที่เหมาะกับคนกลุ่มหนึ่งมากกว่ากลุ่มอื่น มีบางคำตอบที่ฟื้นฟูชาวบ้านได้เร็วหากพื้นที่ตรงนั้นไม่มีข้อจำกัดมากนัก

อ่านต่อ »


ปั่นเพื่อชาติ

อ่าน: 3955

บันทึกนี้ ได้ไอเดียมาจากความคิดเห็นของครูบา และจากบันทึกสูบน้ำจากแหล่งลึกซึ่งเขียนไว้เมื่อสี่เดือนก่อน แต่ดัดแปลงไปนิดหน่อยครับ

ครูบาแนะให้ปั่นเอาซึ่งก็เหนื่อยน้อยดี ส่วนบันทึกสูบน้ำจากแหล่งลึก พูดถึงปั๊มน้ำแบบเชือก ใช้ปมเชือกที่ผูกผ้าเป็นปม ที่วิ่งขึ้นจากก้นบ่อขึ้นมาข้างบนผ่านท่อเล็กๆ ก็จะนำน้ำขึ้นมาจากบ่อลึกๆ ได้

ผมเล่าไอเดียหลักก่อน ถ้าเราจะยกน้ำขึ้นจากฝั่งที่ท่วมหนัก ข้ามสิ่งกีดขวางสูง 2 เมตร ไปปล่อยอีกข้างหนึ่งซึ่งจะไหลลงแหล่งน้ำธรรมชาติได้ ก็ใช้ท่อพีวีซีขนาด 2 เมตร ยิ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างมากก็ยิ่งดี

แล้วเราก็ใช้เชือก ยาวสัก 5-6 เมตร (ยาวกว่าสองเท่าของความสูงของสิ่งกีดขวาง — 2 เมตร) เชือกเส้นนี้ จะผูกกันเป็นวงกลม

แต่กว่าก่อนที่จะผูกเป็นวงกลม เรามัดเชือกเป็นปมสองปมอยู่ใกล้กัน (สีเขียวเข้มในรูปทางขวา)

ระหว่างปม ทำกระสวยรูปโคน (สีเขียวอ่อนในรูปขวา) อาจทำจากพลาสติก เย็บด้วยลวดเย็บกระดาษตามออฟฟิศก็ได้ ใส่กระสวยเพื่อให้กระสวยรับน้ำหนักของน้ำ

เหนือกระสวย เอาเศษผ้ามาถักเป็นเส้น (สีบานเย็น) เศษผ้าเป็น seal จะรั่งบ้างนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร ถึงอย่างไร เศษผ้าเปียกน้ำ ก็ยังเป็น seal ที่พอใช้ได้แล้วหาได้ไม่แพง — ถ้าแข็งแรงไม่พอ ก็เพิ่มกรวยรูปโคนประกบไว้เหนือเศษผ้าอีกชั้นหนึ่ง

อ่านต่อ »


เหยียบเพื่อชาติ

อ่าน: 6383

เมื่อสองอาทิตย์ก่อน ผมเคยเขียนถึงปั๊มน้ำกู้ชาติ ความคิดตอนนั้นคือน้ำท่วมเป็นวงกว้างมาก มีหลายพื้นที่ที่ท่วมบ้านเรือนประชาชนแบบไม่ได้ตั้งตัว ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าฝนจะหยุดตกหรือยัง ถ้าเกิดยืดเยื้อ ก็ต้องมีพื้นที่แห้งไว้อยู่กันบ้าง ผมคิดถึงบ้านเรือนตามริมน้ำ ที่เจอน้ำทะเลหนุนแถมมีน้ำหลากมาจากทางเหนือมาผสมแรง ตั้งตัวไม่ทัน อีกอย่างหนึ่งที่น่าจะใช้ได้ก็คือเอาไว้สูบน้ำหลังแนวกระสอบทราย ซึ่งมีการรั่วได้บ้าง ใช้ปั๊มมือก็เป็นทางออกในกรณีที่ไม่มีปั๊มน้ำ หรือไม่มีน้ำมัน/ไฟฟ้าสำหรับปั๊มน้ำ

สถานการณ์ในวันนี้ต่างออกไป ถึงแม้น้ำจะยังท่วมอยู่เหมือนเดิม

น้ำท่วมวันนี้เป็นน้ำท่วมขัง จะท่วมอยู่เป็นเวลานาน ถ้าหากไม่รีบเอาน้ำออกจากพื้นที่ ก็จะทำให้ชีวิตชาวบ้านทุกข์ยาก เครียดหนัก — น้ำท่วมขังเกิดขึ้นเพราะขอบแอ่งสูงกว่าพื้นที่อื่นของแอ่ง หลายครั้งทีเดียวที่ขอบแอ่งนั่นแหละ เป็นแนวป้องกันน้ำท่วม ดังนั้นหากสร้างปั๊มที่มี head ต่ำ กล่าวคือยกน้ำขึ้นสูงได้เพียงสองเมตร แค่ยกน้ำข้ามขอบแอ่ง (เช่นข้ามถนน) แล้วปล่อยให้ไหลไปตามภูมิประเทศ ก็จะบรรเทาความทุกข์ยากลงได้บ้าง ครั้งนี้เราไม่ต้องการปั๊มแรงดันสูง แต่ต้องการปั๊มที่สูบน้ำออกได้เป็นปริมาณมากๆ

ปั๊มน้ำกู้ชาติใช้กำลังแขน ด้วยสภาพร่างกายของคน แขนทำไม่ได้นานหรอกครับ ดังนั้นจึงเหมาะกับพื้นที่เล็กๆ เช่นห้องชั้นล่าง แต่กรณีน้ำท่วมขังนั้น น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง จะต้องถ่ายน้ำออกเป็นปริมาณมาก

อ่านต่อ »


พื้นที่ของ “มือสมัครเล่นผู้เชี่ยวชาญ”

อ่าน: 3496

คำว่ามือสมัครเล่นผู้เชี่ยวชาญนั้น เป็นมือสมัครเล่นที่มีความเชี่ยวชาญ Expert Amateur เป็นผู้ที่มีความสนใจใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และลงมือทำด้วยตนเองจนเกิดความเชี่ยวชาญ แม้ไม่ได้ร่ำเรียนมาโดยตรง แต่ก็ศึกษาเอาเองด้วยความสนใจส่วนตัวได้

ในโครงสร้างภาษานั้น ภาษาไทยจะวางคำหลักไว้ข้างหน้า แล้วคำขยายไว้ข้างหลัง เช่นดอกไม้สีชมพู หมายถึงดอกไม้ที่มีสีชมพู เช่นเดียวกัน มือสมัครเล่นผู้เชี่ยวชาญ ก็หมายถึงมือสมัครเล่นที่มีความเชี่ยวชาญจากความสนใจใฝ่รู้ ฝึกฝนมาด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติ; ต่างกับภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่มีรากมาจากภาษาละตินที่วางคำหลักไว้ข้างหลัง Pink Flower หมายถึง Flower ที่มีสี Pink หรือว่า Expert Amateur หมายถึง Amateur ที่มีความเป็น Expert ในเรื่องที่เขาเป็นครับ

ชีวิตคนเราไม่ได้มีด้านเดียว เช่นเรียนบัญชีมา ก็ไม่ได้เป็นนักบัญชีอย่างเดียว บางทีทำกับข้าวเก่ง บางทีขายประกัน-ขายตรงเป็นรายได้เสริม บางทีถ่ายรูปเก่ง ฯลฯ

ความคิดที่ว่าคนเราจะต้องเป็นเลิศในทางใดทางหนึ่ง เป็นแนวคิดในยุคอุตสาหกรรมก้าวกระโดด ซึ่งนั่นเริ่มในช่วงฟื้นฟูหลังสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อหกสิบกว่าปีมาแล้ว ประเทศที่ร่วมสงครามไม่ว่าชนะหรือแพ้ ต่างเจ๊งด้วยกันทั้งนั้น จึงต้องเร่งการผลิตออกมา กระจายสินค้าไปทั่ว อวดอ้างต่างๆ นานา เป็นจุดเริ่มต้นของ “การตลาดยุคใหม่”

แต่บางทีคนเราก็แยกไม่ออกระหว่างสินค้าอุตสาหกรรมกับความเป็นมนุษย์

อ่านต่อ »



Main: 0.093269109725952 sec
Sidebar: 0.1634509563446 sec