แนวกันคลื่น

อ่าน: 3804

ถ้าน้ำไม่ท่วมได้ก็ดีหรอกครับ แต่ไม่รู้จะมาบ่นตอนนี้ไปทำไม ในเมื่อน้ำท่วมแล้ว เป็น Reactive approach เหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

ในหนึ่งปีที่ผ่านมา ผมเขียนเรื่องบ้านๆ มาเยอะแล้ว วันนี้จะลองเรื่องภัยในเมืองบ้าง คำว่าเมืองไม่ได้หมายถึงจังหวัดใหญ่ แต่หมายถึงชุมชนเมืองขนาดต่างๆ ที่มีถนนหนทางผ่านสะดวก จะเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอน้อยใหญ่ ต่างก็มีลักษณะของเมืองทั้งนั้น

เพราะว่าเราไม่มีแผนที่ความสูง การป้องกันน้ำท่วมจึงวางแนวป้องกันชั่วคราวได้ลำบากมาก เพราะไม่รู้ที่ไหนสูงที่ไหนต่ำ หากน้ำไหลเข้าท่วมเมือง ก็จะมีภัยซ้ำซ้อนจากคลื่นที่เกิดจากรถราวิ่งกันแบบไม่เกรงใจใคร บางทีก็เป็นคลื่นจากเรือ คนจะไปช่วยแต่รีบร้อน ดันไปสร้างคลื่นกระแทกบ้านเรือน เข้าใจได้ว่ามันเครียดมากครับ น้ำท่วม แถมมีคลื่นซัดมาโครมๆ บ้านจะทนไหวหรือไม่

สงสัยเหมือนกันว่าคลื่นทำงานอย่างไร หากทำแนวป้องกันเฉพาะบริเวณผิวน้ำ ให้มีส่วนจมน้ำ+เหนือน้ำสูงกว่ายอดคลื่นแต่ข้างล่างโบ๋ๆ แนวป้องกันแบบนี้จะดูดซับพลังงานของคลื่นได้มากน้อยแค่ไหน ก็ไม่ใช่ความคิดอันยิ่งใหญ่อะไรหรอกครับ แล้วก็ไม่ใช่ความคิดใหม่ในโลกด้วย

อ่านต่อ »


น้ำเริ่มลด งานจริงๆ เพิ่มเริ่ม

อ่าน: 3460

กรณี #น่านนะซิ เป็นกรณีที่ยาก เมืองน่านไม่ใช่เมืองผ่าน แม้จะเอาของไปบริจาค ก็จะต้องตีรถเปล่ากลับมา ทำให้ค่าขนส่งแพง(มาก)

เมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่ที่น่านปี 2549 คราวนั้นใช้พันธุ์ข้าว 16 ตัน ผมโทรไปขอข้อมูลเพิ่มเติมจากกลุ่มฮักเมืองน่าน “คราวนี้เสียหายถึง 70 ตำบล เฉพาะตำบลที่ผมอยู่ ก็ต้องการพันธ์ุข้าวน่าจะถึง 4 ตัน” พันธุ์ข้าวที่ปลูกและกินกันในพื้นที่ เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวสะเมิง แต่ทางกลุ่มฮักเมืองน่านติดต่อไปทางสะเมิงแล้ว ยังไม่ได้คำตอบ จึงต้องดิ้นรนหาทางอื่น ซึ่งทางกลุ่มได้ทราบจากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวอุบลราชธานี แนะนำข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 ตรวจสอบต่อ พบว่ามีอยู่ที่ศูนย์ฯ ที่ชุมแพ แต่อาจจะมีเพียง 700 กก. ถึง 1 ตันเท่านั้น — #ArsaDusit เช็คราคาค่าขนส่งอย่างรวดเร็ว ในเบื้องต้น รถบรรทุกจากเชียงใหม่ไปน่านหมื่นสาม แต่จากชุมแพ(ขอนแก่น)ไปน่านแค่เจ็ดพัน หึหึ ค่าครองชีพไม่เหมือนกันมั๊งครับ มีอาสาสมัครจากเชียงรายบอกจะขนให้ฟรี ขออนุโมทนาด้วยนะครับ เรื่องนี้ยังต้องรอความชัดเจนว่าจะมีพันธุ์ข้าวจากเชียงใหม่หรือไม่

ผมติดต่อป้าจุ๋มในลานปัญญาว่ามีทางช่วยเหลือชาวบ้านได้หรือไม่ มีหรือที่เห็นคนเดือดร้อนแล้วป้าจุ๋มจะไม่ช่วย ได้เรื่องอย่างไรแล้วจะติดต่อกลับมา ถ้าให้ก็จะจัดการเรื่องการขนส่งไปยังน่าน ถ้าขายก็จะซื้อครับ (ตอนนี้คงติดต่อกันวุ่นทั่วประเทศ เสาะหาพันธุ์ข้าวที่ต้องการ) ทางกลุ่มฮักเมืองน่านจะติดต่อกลับมาเย็นนี้

อ่านต่อ »


เรือยนต์

15 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 June 2011 เวลา 18:47 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5881

มีเรื่องจะขอความเห็นครับ

กรณีน้ำป่าไหลหลากจากฝนตกหนักนั้น มีกรณีที่การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยก็ยากลำบากเช่นกัน คือเนื่องจากน้ำไหลเชี่ยวมาก แพหรือเรือพายไม่สามารถจะทานแรงของกระแสน้ำได้

ทางราชการมีเรือ แต่เรือมักไม่มีเครื่อง (ทำไมก็ไม่รู้) เรือที่ติดเครื่องเรือ ก็ขนส่งลำบากและมักไม่ทันการ เรือมีความจำเป้นในการส่งอาหาร น้ำ ยา บุคลากรทางการแพทย์ กู้ภัย และอาสาสมัครลงไปในพื้นที่ ในบางกรณีก็ต้องนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล

ผมชอบแนวคิดที่อาจารย์ทวิชให้นักศึกษาม.เทคโนโลยีสุรนารี ลองทำแพใช้เครื่องตัดหญ้าเมื่อคราวน้ำท่วมโคราช เป็นการแสวงเครื่อง ลบล้างลัทธิซื้อแหลก แสดงให้เห็นชัดว่าความรู้ง่ายๆ ประกอบกับความกล้าที่จะแสวงเครื่องดัดแปลงวัสดุในท้องถิ่น ก็สามารถจะช่วยตัวเองในเรื่องของเดินทางในช่วงน้ำท่วม

อ่านต่อ »


ฉุกละหุกอีกแล้ว #น่านนะซิ

อ่าน: 3624

วันนี้มีกำหนดนัดหมายตอนบ่ายโมงที่วัดบัวหลวง อ.สามโคก ปทุมธานี ในการอบรมการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ และ EM Ball โดยการสนับสนุนของการประปานครหลวง #SaveTheRiver จึงนอนเอาแรงไปสักพัก ตื่นขึ้นมาเพราะโทรศัพท์ ดูนาฬิกานึกว่าเก้าโมงกว่า (ที่จริงบ่ายโมงสี่สิบห้าแล้ว!) ได้รับแจ้งข่าวฉุกเฉินถึงสถานการณ์น้ำท่วมหนักในจังหวัดน่าน ต้องรีบประสานการจัดเตรียมระดมความช่วยเหลือโดยด่วน

ที่ว่าฉุกละหุกนี้ ไม่ใช่ว่าไม่มีการเตือนหรือการคาดคะเนภัยล่วงหน้า เป็นเพราะมีการคาดการณ์ล่วงหน้าแต่ไม่ได้ทำอะไรต่อหลังจากนั้น มัวแต่มาลุ้นว่าแม่นหรือไม่แม่น ถ้าหากเรามีความสามารถและมีความมั่นใจในการคาดการณ์จริง ไม่ควรนั่งรอภัยพิบัติให้เกิดขึ้นหรอกนะครับ ควรจะเตรียมรับผลกระทบล่วงหน้า มนุษย์กระจ้อยร่อย ไม่มีกำลังที่จะต่อกรกับธรรมชาติได้ แต่หากได้เตรียมการเอาไว้ล่วงหน้า ก็จะบรรเทาผลกระทบไปได้บางส่วน

ที่จริงจะว่าไม่ทำอะไรเลยนั้น คงไม่ถูกเสียทีเดียว เพียงแต่การเตรียมการนั้นยังไม่พร้อม วอร์รูมภาคประชาชนยังไม่มี แบนด์วิธอินเทอร์เน็ตยังไม่มี อุปกรณ์สำหรับทำแผนที่สถานการณ์กำลังทำแต่ยังไม่เสร็จ ส่วนภาครัฐนั้นมีมติ ครม.ออกมาเมื่อวันที่ 4 เมษายน [มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปี 2554] ผ่านไปเกือบสามเดือนแล้ว ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาประกาศออกมา อันนี้ทำให้การให้ความช่วยเหลือของนิติบุคคลซึ่งมีกำลังมากต่อประชาชน ไม่ว่าจะโดยตรงหรือผ่านตัวแทน แทบทำไม่ได้เนื่องจากจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม (เป็นศัพท์ทางบัญชีแต่จะไม่อธิบายล่ะ)

อ่านต่อ »


วันยาวกับประชุมยาว ประชุมเครือข่ายอาสาฯ

อ่าน: 3784

เมื่อวาน ไปร่วมประชุมเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติครั้งที่ 4 ที่โรงแรมดุสิตธานี มีท่านอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธานในที่ประชุม

การประชุมครั้งนี้ สนุกดีครับ ผมไม่มีปัญหากับการประชุมยาวๆ แต่มีปัญหากับการประชุมที่ผมไม่ได้พูดไม่ว่าสั้นหรือยาว คราวนี้ได้พูด เลยไม่มีปัญหา ฮาาา

มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอย่างกว้างขวาง โดย สสส. กรุงไทยอาสา ทีวีไทย อ.ไพบูลย์กล่าวเปิด @iwhale รายงานภาพรวมของเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างย่อ(โดยละเอียด!) มูลนิธิซิเมนต์ไทย มูลนิธิโอเพ่นแคร์ | อาสาดุสิต พอช. CSR โคราช มูลนิธิชุมชนไท ตามลำดับ พอคุณปรีดาพูดไปได้นิดหนึ่ง ผมก็ขอตัวกลับก่อนครับ คือว่าสไลด์ชุดนี้เคยฟังแล้ว

อ่านต่อ »


ไร่นาหลังน้ำลด

อ่าน: 3333

น้ำท่วมนำความอุดมสมบูรณ์มา เมื่อน้ำลดแล้ว จะพบซากพืชเน่าอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นงานหนักในการปรับสภาพดินเพื่อเพาะปลูกในรอบใหม่ แต่…

อย่าเผานา เผาไร่

เช่นเดียวกับคนที่ต้องการอาหาร พืชก็เติบโตได้ด้วยสารอาหาร ที่หลักๆ ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม (N P และ K ตามสูตรปุ๋ยนั่นแหละครับ) แต่ว่าปุ๋ยไม่มีธาตุตัวที่สำคัญที่สุด คือคาร์บอน (C) รากพืชดูดสารอาหารจากดิน แล้วใช้สารอาหารเหล่านี้ไปสร้างเซล แต่ทุกเซลห่อหุ้มด้วยเซลลูโลส ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอน และแน่นอนว่าใช้ธาตุคาร์บอนเยอะมาก

เมื่อเผาพืชเซลลูโลสเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ปล่อยออกไปในอากาศ เหลือเป็นเถ้าถ่านคืนคาร์บอนคืนสู่ดิน เมื่อคาร์บอนมีน้อยลง พืชก็เติบโตได้ยากเพราะไม่รู้จะเอาคาร์บอนมาจากไหนไปสร้างเซลเพื่อเจริญเติบโต

พอชาวไร่ชาวนาเห็นพืชไม่โต ทีนี้ก็ไปซื้อปุ๋ยมาเติม ยิ่งทำ ยิ่งจน เอากำไรของตัวเองที่ควรจะได้ ไปจ่ายเป็นค่าปุ๋ย (ช่วยได้เหมือนกัน พืชโตขึ้น แต่คนปลูกจนลง)

[เผาอ้อย] [ดิน]

การกำจัดพืชที่เน่าควรจะไถกลบให้ไปย่อยสลายในดินครับ เป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน เอาคาร์บอนกลับคืนสู่ดิน

อ่านต่อ »


รอดได้ ยิ่งกว่าซ่อมได้

อ่าน: 6129

ผมคิดว่าส่วนหนึ่งของคนไทย ไม่เข้าใจสเกลของตนครับ ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน ใช้เงินเป็นใหญ่ มีเงินซื้ออะไรได้หมด (จริงหรือ?)

คนมีเงินนั้นมีลักษณะที่อธิบายได้ง่ายๆ สองอย่างว่า (1) เป็นคนที่ไม่จ่าย+ไม่ซื้อในสิ่งไม่มีประโยชน์หรือไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ถ้าซื้อแล้วไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่ซื้อ และ (2) เป็นคนที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย — แต่ไม่ได้แปลว่าว่ามีรายได้มากอย่างที่มักจะเข้าใจ (และอิจฉา) กันหรอกนะครับ เพราะว่าตัวเราเองนั่นล่ะครับที่เป็นคนกำหนดค่าใช้จ่าย ดังนั้นเราจะมีเงินเหลือเก็บก็ต่อเมื่อรู้จักประมาณกำลังของตน

ลองดูเศรษฐกิจในหมู่บ้าน จะซื้อผักซื้อเนื้อสัตว์จากรถขายผัก รถขายผักเองก็ต้องมีกำไรไปจ่ายค่าน้ำมันและเลี้ยงชีพตนเอง กลายเป็นการซื้อผักกลับต้องจ่ายเงินเลี้ยงคนขายผักด้วย รถขายผักมีอะไรให้เลือกมากหรือก็เปล่า ซื้อผักเดิมๆ หมู ไก่ ไข่เดิมๆ นั่นแหละครับ ในเมื่อซื้อของเดิมๆ อยู่ตลอดเวลา แล้วทำไมไม่ปลูกเอง เลี้ยงเอง? (ผมก็ไม่ทำครับ แต่ผมมีพอ)

เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่นะครับ ลองดูสินค้าที่ซื้อขายกันในชุมชนให้ดี มีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่ผลิตได้เองในชุมชน ผมคิดว่าว่าไม่เยอะนะ!! ถ้าการคมนาคมขนส่งถูกตัดขาด (น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำมันแพง ฯลฯ) แล้วชุมชนที่พึ่งสินค้าจากนอกพื้นที่ จะทำอย่างไร

อ่านต่อ »


กาลักน้ำ

อ่าน: 8181

น้ำท่วมมาเดือนกว่าแล้ว บางพื้นที่ของสุโขทัย+พิษณุโลกกว่าสองเดือนแล้ว แต่ยังมีพื้นที่ที่น้ำท่วมขังกระจายอยู่เป็นวงกว้าง

ความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้การฟื้นฟูล่าช้า ตัวผู้ประสบภัยเองสภาพจิตใจยิ่งย่ำแย่ไปหมด น้ำไม่ลดเหมือนไม่มีความหวัง

เมื่อวานไปเปิดบัญชีตามบันทึก [วุ่นวายไปทำไม] เจอลุงเอก ประธานมูลนิธิ (ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า) ลุงเอกงานยุ่งมากแต่เล่าว่าเพิ่งไป อ.บางบาล อยุธยามา น้ำยังปริ่มถนนอยู่เลย

ผมก็ปากหนักไป ดันไม่ได้ถามว่าลุงเอกไปมาเมื่อไหร่ พอกลับมาบ้าน ก็มาเช็คดูระดับน้ำ ปรากฏว่ามาตรวัด C36 (คลองบางหลวง อ.บางบาล) อยู่ต่ำกว่าตลิ่งตั้งหลายเมตร

ถ้าตัวเลขนี้ถูกต้อง ลองนึกถึงใจชาวบ้านแถวนั้นดูนะครับ เห็นอยู่ว่าน้ำท่วมบ้าน ท่วมหนัก และท่วมมานานแล้ว แล้วก็ยังไม่ยอมลดลงเสียที ในขณะที่ระดับน้ำในคลอง ต่ำกว่าตลิ่งตั้งเยอะ ก็ยังทำอะไรไม่ได้ (ก็มันติดถนนนี่หว่า! แค่ข้ามถนนไปก็ไม่ท่วมแล้ว!!!) เวลาน้ำบ่าเข้ามา มันข้ามถนนมาได้ แต่พอข้ามถนนมาแล้ว น้ำไหลกลับไม่ได้ครับ เพราะว่าถนนเมืองไทยเป็นถนนที่ยกสูง เอาไว้ป้องกันน้ำท่วม

อ่านต่อ »


การออกแบบเพื่อฟื้นฟูเหตุภัยพิบัติ

อ่าน: 3878

บ่ายวานนี้ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เป็นเจ้าภาพจัดงาน OPEN FORUM: Design for Disasters Relief  การออกแบบเพื่อฟื้นฟูเหตุภัยพิบัติ ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

เข้าใจว่างานนี้ ค่อนข้างฉุกละหุกครับ session นี้ ตั้งใจให้เป็น Open Forum แต่เนื่องจากมีเวลาจำกัด จากมีอีเมลแจ้งครั้งแรกจนงานเริ่ม มีเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมงเท่านั้นเอง แต่งานก็เรียบร้อยดี ขอบคุณ TCDC มากเลยครับ

อ่านต่อ »


ความแตกต่างบนเป้าหมายเดียวกัน

อ่าน: 3712

การบรรเทาทุกข์เป็นงานใหญ่ เมื่อจะทำให้ลุล่วง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ รวมพลังกัน คำว่ารวมพลังกันทำงานใหญ่นั้น ไม่ได้แปลว่าทุกคนทำเหมือนกันไปหมด เพราะการทำเหมือนกันไปหมดนั้น เป็นการระดมพลังทำงานชิ้นเดียว (ลงแขก ซึ่งมักไม่ใช่งานใหญ่ซึ่งมีความซับซ้อน) ทำงานใหญ่ต้องระดมสรรพกำลังมาจากทุกแหล่ง ใช้ความรู้จากหลากหลายวิทยาการ ใช้การประสานใจ มีเป้าหมายเป็นแก่นกลาง

เมื่อมีปัญหาใหญ่โต วางกองอยู่ตรงหน้า เหล่าผู้คนที่มาช่วย จะมองเห็นปัญหานั้นด้วยภาพที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นกับมุมมองของตน ความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์

อย่างไรก็ตาม แต่ละมุมมองเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของปัญหาเท่านั้น ไม่ควรดึงดันยึดเอาว่ามุมมองของตนเท่านั้นที่ถูกต้องที่สุด ทางออกมีแค่ที่อย่างตนเสนอ

ตาบอดคลำช้าง (สำ) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น

การตัดสินว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ ยังไม่สำคัญเท่ากับการตระหนักว่ายังมีผู้คนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ยังต้องการความช่วยเหลืออีกเป็นจำนวนมาก — ผู้ที่อาสามาช่วยต่างต้องการจะช่วยผู้ประสบภัยด้วยกันทั้งนั้น จะด้วยใจบริสุทธิ์กี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม แต่ละคนต่างก็มาด้วยความต้องการที่จะช่วย ตามความรู้ความชำนาญของตนด้วยกันทั้งนั้นครับ

เรื่องนี้น่ะเป็นความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย ไม่ใช่การทำข้อสอบปรนัยที่มี “คำตอบที่ถูกต้อง” เพียงคำตอบเดียวนะครับ

ในเมื่อตัวเราไม่ได้รู้อะไรทั้งหมดแต่จะไปตัดสินคนอื่น แล้วจะเป็นการตัดสินใจที่ดีได้อย่างไร?!?! [Paradox ของสายตา กับการไม่รู้จักเป้าหมาย] [เชื่อเพราะเห็น ทำให้หลงได้ง่าย] [ความมีเหตุผล อาจทำให้หลงได้]

อ่านต่อ »



Main: 0.045897960662842 sec
Sidebar: 0.13426995277405 sec