สึนามิโลก

อ่าน: 5049

ความจริงเรื่องที่จะเขียนนี้ ได้รับฟังมาก่อนหน้านี้นานแล้ว แต่ไม่เคยคิดจะตรวจสอบ จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ดูคลิปอันหนึ่งจาก Timeline ของเพื่อนในทวิตเตอร์ จึงเริ่มตรวจสอบข้อมูล แล้วก็พบสิ่งที่น่าคิดจริงๆ … แต่เนื่องจากบันทึกในลักษณะนี้ อาจตีความได้ว่าเป็นลักษณะ Wishful thinking พยากรณ์ ทำนาย แช่งชัก หรืออยากจะโดน ดังนั้นก็จะเขียนเท่าที่ค้นมา โดยไม่อ้างอิงบุคคลใดให้อาจจะเสียหายนะครับ

“สึนามิโลก” ไม่ได้หมายถึงน้ำ แต่หมายถึงความปั่นป่วนทางการเงินที่รอเวลาอยู่

เรื่องเก่านมนานปี เริ่มต้นมาจาก “สถานะพิเศษ” ที่รัฐบาลสหรัฐออกกฏหมายว่ารัฐบาลพิมพ์ธนบัตรได้เอง โดยไม่ต้องนำทองไปสำรอง เงินสกุลดอลล่าร์เป็นสกุลหลักสำหรับการค้าขายระหว่างประเทศ ไปไหนมาไหน แลกเงินสกุลท้องถิ่นด้วยดอลล่าร์ได้ไม่ยาก และที่สำคัญคือน้ำมันดิบก็ซื้อขายเป็นดอลล่าร์

แต่ภาระหนี้สินของสหรัฐก็มากล้นพ้นตัว

ขณะที่เขียนนี้ หนี้ภาครัฐ+เอกชน คิดเป็นกว่า 96% ของ GDP แล้ว ภาระหนี้บานเบอะ ยังมีค่าใช้จ่ายทางการทหาร อัตราคนว่างงานสูง ทำให้ต้องจ่ายค่าสวัสดิการสูง

การที่อัตราการว่างงานดูเหมือนลดลง เป็นการเล่นกายกรรมทางบัญชี โดยเปลี่ยนไปนับจำนวนคนว่างงานจากจำนวนคนที่รัฐจ่ายสวัสดิการให้ (ซึ่งมีระยะจำกัด) ถ้าเลยจากระยะที่กำหนดไปแล้วยังหางานไม่ได้ นอกจากรัฐไม่จ่ายเงิน+สแตมป์อาหารให้อีกต่อไปแล้ว ก็ยังไม่นับว่าเป็นคนว่างงานอีกด้วย แม้ว่ายังจะหางานไม่ได้ก็ตาม

ภาระหนี้ของสหรัฐ เคยอยู่ในระดับที่สูงกว่านี้อีกครับ เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งต้องทุ่มทุกอย่างเพื่อชัยชนะ ชนะก็รอดตัวไปที แต่ถ้าแพ้ประเทศชาติก็ล่มจม

อ่านต่อ »


ไปภูเก็ตช่วงดวงจันทร์โคจรใกล้โลก

อ่าน: 3659

ไม่ได้เขียนบันทึกเสียสองวัน เพราะเดินทางไปเป็นวิทยากรที่ภูเก็ตครับ

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) จัดสัมนาตามโครงการสัมนาการแจ้งเตือนภัยในสถานประกอบการ ครั้งแรกก็จัดให้กับผู้ประกอบการโรงแรมในภูเก็ต เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ได้รับความสนใจพอควรทีเดียวครับ

แรกทีเดียว ยังไม่แน่ใจว่าอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา และผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะไปร่วมได้หรือเปล่า เนื่องจากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงต่างๆ ก็ต้องคอยเฝ้าว่าจะมีเรื่องที่ต้องชี้แจงหรือไม่ (เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว) พอดีคิวของกระทรวงไอซีทีผ่านไปแล้ว ก็เลยสามารถเดินทางไปร่วมบรรยายได้

นอกจากท่านอธิบดีแล้ว ก็ยังมีที่ปรึกษาพิเศษของ ศภช. แล้วก็มีผมด้วย ร่วมบรรยายเพื่อให้รายละเอียด โดย ผอ.ศภช. เป็นผู้ดำเนินรายการเอง

อ่านต่อ »


การขาดมิติในข่าวสาร

อ่าน: 3116

เมื่อเกิดเหตุความไม่สงบเมื่อปีก่อนและอีกครั้งเมื่อกลางปีที่แล้ว ผมบ่นในทวิตเตอร์ว่าข่าวสารไม่มี timestamp ทำให้ไม่รู้ว่าเป็นข่าวเก่าหรือข่าวใหม่ เนื่องจาก Retweet/Share/Forward ส่งต่อกันทางอิเล็กทรอนิกส์ไปเรื่อยๆ

สักพักการรายงานข่าวก็เปลี่ยนไปบ้างครับ มีเวลาแปะข้างหน้ามาก่อน ไม่ว่าจะเป็นผู้รายงานข่าวต้นทางหรือสำนักข่าวตระหนักได้เองหรือไม่ก็ตาม ในฐานะผู้บริโภค ผมก็ขอขอบคุณที่ให้ความกระจ่างในข่าวสารครับ

ที่เสนอเรื่อง timestamp นี้ เพราะเป็นบทเรียนจากสึนามิปี 2547 ซึ่งมีความอลหม่านมาก ข่าวถูกก็อบปี้ไปมาจนไม่รู้ว่าอะไรเก่าอะไรใหม่ ข้อมูลต้นทางก็ไม่มีให้ตรวจสอบ ทั้งความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ความเห็นส่วนตัว ข่าวลือ แซวเล่น รายงานเหตุการณ์ เรื่องเล่า ปนเปกันไปหมด แล้วไม่รู้ด้วยว่า “ข่าว” อันนั้น อยู่บนบริบทอะไร

ช่วงนี้มีการตื่นข่าวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นเกิดมีปัญหาขึ้นมาจากภัยธรรมชาติ ก็เกิดการอลหม่านขึ้นอีกแล้ว ตื่นรังสีจากข่าวที่ถูกส่งต่อซ้ำๆ กันโดยไม่มีเวลา บริบท ตลอดจนแหล่งข่าว ด้วยความแตกตื่น แล้วก็มีข่าวให้เอาเบตาดีน (น้ำยาใส่แผลสด) ทาคอ นัยว่าการทายาที่มีส่วนผสมของไอโอดีนที่ดูดซึมผ่านเนื้อเยื่ออ่อน จะทำให้ไอโอดีนเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งไอโซโทปของไอโอดีนที่มากับฝุ่นกัมมันตภาพรังสี ไม่สามารถเข้าไปในต่อมไทรอยด์ได้เพราะ “เต็มแล้ว” หรือว่าเป็นข่าวลือขายยาก็ไม่รู้ แต่ว่าทั้งยาเม็ดและยาใส่แผล ขาดตลาดไปเรียบร้อยแล้ว

เรื่องนี้ อ.วิบุล วงศ์ภูวรักษ์ ท่านรวบรวมข้อมูลไว้

อ่านต่อ »


ตาข่ายคลุมฟ้า (2)

อ่าน: 3417

บันทึกที่แล้ว เขียนเรื่อยเจื้อยไปจนจบ จึงเพิ่งนึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้แนะทางออกเลย

การทำเองนั้น ยากลำบากเสมอครับ แต่การที่หวังว่าคนอื่นจะมาทำให้นั้น ดูเลื่อนลอยยังไงก็ไม่รู้ ยิ่งถ้าคนมาทำให้ ไม่เข้าใจความจำเป็นในพื้นที่แล้ว ยิ่งไปกันใหญ่

ตอนสึนามิเข้าชายฝั่งอันดามันปลายปี 2547 ตอนนั้นมีอาสาสมัครและมูลนิธิลงไปทำงานในพื้นที่มากมาย การติดต่อสื่อสารเป็นปัญหาจริงๆ เมื่อผมถามว่ามีอะไรจะให้ช่วยบ้างไหม มีมูลนิธิหนึ่งบอกขอสถานีโทรศัพท์มือถือที่มี EDGE… ผมผิดเอง ที่ถามไม่ตรงคำตอบ ฮาๆๆๆๆ… สมัยนั้น EDGE ยังมีแต่ในกรุงเทพ และสถานีฐานแถบชายฝั่งพังหมด ผมไม่ได้ทำธุรกิจมือถือ จะไปเอาจากไหนมาให้ล่ะ แต่ถ้าจะเอาอินเทอร์เน็ตนั้น ให้ได้ครับ

ต้นปีที่แล้ว มีแผ่นดินไหวในเฮติ ผมเอาบทเรียนสึนามิของเรามาเขียนบันทึก [ตาข่ายคลุมฟ้า] หลักการก็คือจัดให้มีการสื่อสารฉุกเฉินในท้องถิ่น เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร เรียกระดมความช่วยเหลือ บอกกล่าว ร้องขอ ทำให้ความช่วยเหลือตรงกับความต้องการของผู้ประสบภัยจริงๆ

อ่านต่อ »


การสื่อสารฉุกเฉิน

อ่าน: 3585

เหลือบไปเห็นข้อความร้องขอความช่วยเหลือใน facebook แต่เพราะผมเล่น facebook ไม่ค่อยเป็นครับ ไม่รู้จะให้ความเห็นอย่างไร

สนข.เด็กและเยาวชน ขบวนการตาสับปะรด was tagged in his own album.

ใครช่วยแนะนำที กรณีสึนามีทั้งที่ไทยและญี่ปุ่น ปัญหาใหญ่คือการติดต่อส่งข่าวสื่อสารระหว่างกัน ท่านใดมีข้อเสนอแนะดีๆบ้างไหมครับ การสื่อสารในยามวิกฤติ จะใช้วิธีใด

ประเด็นเรื่องการสื่อสารฉุกเฉินนี้ มีปฏิญญา Tampere ว่าด้วยการช่วยเหลือจากนานาชาติสำหรับการสื่อสารฉุกเฉินครับ รายละเอียดอ่านได้ที่นี่ แต่เมื่อตรวจดูในรายละเอียดแล้ว ทั้งญี่ปุ่นและไทย ไม่ได้ให้สัตยาบันในปฏิญญาฉบับนี้

ก็หมายความว่า จะไม่มีกระบวนการนำเข้าอุปกรณ์สื่อสารฉุกเฉินเข้ามาช่วยเหลือภัยพิบัติในประเทศ หรือผ่านแดนไปช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านอย่างรวดเร็วเป็นกรณีฉุกเฉิน… การนำอุปกรณ์เข้ามาช่วยเหลือ จะต้องผ่านกระบวนการพิธีทางศุลกากรตามปกติ คำว่า “ปกติ” นี่ล่ะครับ ที่เป็นปัญหา…ผมไม่บ่นดีกว่า

ช่วงที่เกิดภัยน้ำท่วมต่อกับภัยหนาว มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งกรุณานัดหมายให้ได้พบกรรมาธิการชั้นผู้ใหญ่ของวุฒิสภา ก็ได้พูดกันเรื่องเมืองไทยไม่ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาอันนี้ครับ แต่ว่า…เรื่องก็ไม่ไปไหน ส่วนหนึ่งเพราะช่วงนั้นกำลังจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 มีเรื่องวาระของวุฒิสมาชิกกำลังจะหมดลง และมีเรื่อง กสทช. และอะไรต่อมิอะไร… ถูกช่องทางแต่ไม่ถูกเวลาครับ

อ่านต่อ »


อาหารสำหรับกรณีฉุกเฉิน

อ่าน: 5325

อนุสนธิจากกรณีเหตุภัยพิบัติต่อเนื่องในญี่ปุ่น ความเสียหายลุกลาม จากเหตุหนึ่งนำสู่อีกเหตุหนึ่ง กระทบกันเป็นทอดๆ

น้ำสะอาดและอาหารเป็นปัญหาใหญ่ครับ กรณีของน้ำเป็นความเสี่ยงเรื่องกัมมันตภาพรังสี ปนเปื้อนในอากาศ และตกลงมาสู่แหล่งน้ำผิวดินตาม ดังนั้นน้ำสะอาด สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้พื้นที่ประสบภัยพิบัติจึงเป็นปัญหา ครั้นจะส่งน้ำจากพื้นที่อื่นเข้าไปช่วย ก็เป็นเรื่องโกลาหลเหมือนตอนที่เราส่งน้ำดื่มไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมนั่นล่ะครับ

ในส่วนของอาหาร อาหารสดมีปัญหาจากการปนเปื้อนกัมมันตรังสี ลูกสาวหมอป่วนซึ่งอยู่ร้อยกิโลเมตรทางใต้ของโตเกียวบอก ยังโอเค แต่ขนมปังขาดแคลนเพราะเขาส่งไปช่วยเขตภัยพิบัติ

“ทำไมขนมปัง” แค่คำถามนี้ ก็ถอดบทเรียนได้แล้วครับ ไฟฟ้าไม่มี ก๊าซหุงต้มไม่มี บ้านเรือนเสียหาย ผู้คนอพยพไปยังศูนย์พักพิงหลายหมื่นคน ความช่วยเหลือที่ส่งไปยังพื้นที่เป็นเรื่องลำบาก การประกอบอาหารแทบเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นอะไรที่กินได้ ให้พลังงานแก่ร่างกายโดยไม่ต้องหุงหา จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประสบภัยต้องการที่สุดครับ

ผมน่ะทำอาหารไม่เป็น ขึ้นกับความกรุณาของคนอื่นที่ทำอาหารให้กินมาตลอด กินอาหารก็ไม่ปรุง ทำมาอย่างไรก็กินอย่างนั้น (จริงๆ นะ) แต่ดันอ่านเจอ วิธีการทำ health bars คิดว่าไม่เลวแฮะ ให้พลังงานแก่ร่างกายสำหรับกรณีขาดแคลนจริงๆ พอประทังชีวิตไปได้สักพัก ก็เอามาเล่าสู่กันฟังก็แล้วกันครับ จะส่งไปช่วยหรือจะเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว ก็แล้วแต่จะพิจารณากันเอง

อ่านต่อ »


ควรสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่

อ่าน: 5036

จากเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดปัญหาที่ญี่ปุ่น หลังจากที่แผ่นดินไหวและสึนามิ ทำให้ระบบหล่อเย็นมีปัญหา เตาปฏิกรณ์ร้อนเกินไป ระเบิด รังสีรั่วไหล ฯลฯ ก็เป็นเหตุให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าควรสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่

แฟนบล็อกที่จับแนวทางการเขียนของผมได้ คงรู้อยู่แล้วว่าคำถามถูก-ผิดแบบนี้ ผมไม่ค่อยตอบหรอกนะครับ ผมไม่ได้กำลังทำข้อสอบอยู่นะ

แต่จะตั้งคำถามกลับ

ในปัจจุบัน การผลิตพลังงานไฟฟ้า ยังจำเป็นที่จะต้องใช้รัฐวิสาหกิจทำอยู่หรือไม่

เรามีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ) ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า มีโรงไฟฟ้าเอกชนขายไฟฟ้าให้ กฟผ โดย กฟผ ขายไฟฟ้าต่อให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) เราซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านโดย กฟผ ลงทุนร่วม แล้วนำมาขายต่อเช่นกัน

ก็ไม่รู้ว่าควรจะเรียกเป็นการส่งเสริมดีหรือไม่ แต่ว่าการไฟฟ้าซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนด้วย “ค่าเพิ่ม” หมายความว่าไม่ว่าค่าไฟฟ้าจะเป็นเท่าไร ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ก็จะสามารถขายไฟฟ้าในราคาที่สูงกว่าราคาขายปลีกของการไฟฟ้า เป็นระยะเวลาเท่ากับที่ได้รับการส่งเสริม (ซึ่งขึ้นกับกำลังการผลิตและชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้)

อ่านต่อ »


ถอดบทเรียนสึนามิที่ญี่ปุ่น 2011-03-11

อ่าน: 6158

การถอดบทเรียนที่ยากที่สุดแต่น่าจะได้ประโยชน์ที่สุด คือการถอดบทเรียนที่เราไม่ได้เรียน ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ ไม่เข้าใจบริบทและข้อจำกัดของสถานการณ์อย่างถ่องแท้ แต่สามารถเทียบเคียงกับสถานการณ์ของเราได้ เรียกว่าเรียนรู้จากบทเรียนชีวิตของคนอื่นก็แล้วกันครับ

เมื่อสี่ห้าปีก่อน ผมเคยถอดบทเรียนการจัดการสึนามิที่ญี่ปุ่นไว้ครั้งหนึ่ง คราวนี้ญี่ปุ่นก้าวหน้าไปกว่าก่อน

ระบบประเมินแผ่นดินไหว

ที่ตั้งของญี่ปุ่น อยู่แถบรอยต่อของเปลือกโลก ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในบริเวณใกล้ๆ ได้ง่าย และเนื่องจากระยะทางใกล้มาก จึงเหลือเวลาเตือนภัย น้อยจริงๆ ระบบเตือนภัยของญี่ปุ่น ไม่มีเวลามากนักสำหรับการคำนวณอะไรมากมาย ถ้าประมาณได้ เขาจะประมาณการและประกาศก่อนทันที เพราะชีวิตคนสำคัญที่สุด ความถูกต้องตามมาทีหลังครับ

[บันทึกเหตุการณ์]

ระบบตรวจจับแผ่นดินไหวของญี่ปุ่น กระจายอยู่ทั่วทุกหัวระแหง แต่ทันทีที่เครื่องตรวจวัดตัวใดตัวหนึ่ง ตรวจจับการสั่นสะเทือนจากคลื่นปฐมภูมิ (p-wave) ได้ จะเริ่มการประมาณการความแรงและจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวทันที ถ้าตัวเลขเบื้องต้นทีความร้ายแรง เขาจะเริ่มกระบวนการเตือนภัยทันที

เมื่อผ่านไปสิบวินาที คลื่นปฐมภูมิเคลื่อนที่ไปเป็นวงกว้างมากขึ้น ย่อมผ่านเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวมากขึ้น ส่วนเครื่องตรวจวัดที่คลื่นปฐมภูมิผ่านไปแล้ว อาจได้รับคลื่นทุติยภูมิ (s-wave) เป็นการยืนยันอีก ข้อมูลเหล่านี้นำไปคำนวณอย่างรวดเร็วได้อีก โดยใช้ข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดเพียง 2-3 ตัว ก็จะให้ข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้น

อ่านต่อ »


สึนามิกับความรู้ที่ลืมเลือน

อ่าน: 3954

เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ใกล้ชายฝั่งญี่ปุ่น มีจุดศูนย์กลางอยู่ตื้นมาก และเกิดสึนามิสร้างความเสียหายใหญ่หลวงตามมา แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 12:46 ตามเวลาประเทศไทย หรือ 14:46 ตามเวลาในญี่ปุ่น [รายละเอียด]

เกี่ยวกับชื่อบันทึก ถ้าเป็นความรู้(จริง)แล้ว ไม่ลืมเลือนหรอกครับ เพียงแต่บางทีเราแยกแยะไม่ออกระหว่าง

  • ความรู้ — เข้าใจทั้งเหตุและผล ปฏิบัติได้ ปรับปรุงได้ เตรียมการสำหรับอนาคตได้
  • ประสบการณ์ — เคยทำมาอย่างนี้แล้วผ่านมาได้
  • ความรู้มือสอง — เขาเล่าว่า…อย่ามาถามต่อนะ [คุณเป็นมนุษย์มือสอง]

เรื่องพวกนี้ มองดูดีๆ ก็ไม่แปลกว่าจะ “เป็น” อะไรหรอกครับ (เป็น->อัตตา) ถ้าเกิดจากความตั้งใจดี ให้ผลดีที่เตือนผู้คนไม่ให้อยู่ในความประมาท (ซึ่งความไม่ประมาทนั้น รู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อ ไม่ใช่แค่บริกรรมว่าไม่ประมาทๆๆ แต่ทำอะไรไม่ถูก) ไม่เบียดเบียนใคร ไม่บังคับใคร ก็เป็นของดีทั้งนั้นครับ

จากประสบการณ์สึนามิตามชายฝั่งอันดามันเมื่อปลายปี 2547 ผมคิดว่าเอากลับมาเล่าเตือนความจำกันอีกครั้ง

อ่านต่อ »


แผ่นดินอีสานมีอะไร

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 March 2011 เวลา 0:46 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, พลังงาน #
อ่าน: 4119

ไม่ว่าแผ่นดินอีสานจะมีอะไร ก็คงไม่มีคำตอบเดียวที่ครอบจักรวาลหรอกครับ

ผมอ่านบันทึกวุฒิอาสาร่วมพัฒนาชุมชน (๑๔) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของท่านอาจารย์แพนด้าด้วยความสนใจ และติดใจสไลด์อยู่แผ่นหนึ่งครับ

มองเผินๆ จะเห็นความไม่เท่าเทียมอย่างชัดเจน แต่ถ้ามองลึกลงไป กลับเป็นคำถามว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่

ถ้าสมมุติว่าเนรมิตให้เศรษฐกิจอีสานเป็นสัดส่วนเดียวกับค่าเฉลี่ย ก็ต้องมีขนาดของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 ล้านล้านบาท สงสัยว่าจะเป็นอุตส่าหากรรมอีกแน่นอน ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่คนอีสานต้องการและยอมแลกมาหรือไม่ เรื่องนี้คงไม่มีใครตอบแทนคนอีสานได้เหมือนกัน

อ่านต่อ »



Main: 0.077623128890991 sec
Sidebar: 0.13338088989258 sec