ปลูกต้นไม้เอาใบ

อ่าน: 4691

บันทึกนี้เกี่ยวเนื่องกับบันทึกที่แล้วครับ ขอเอาภาพเดิมกลับมาดูกันใหม่อีกที

ดูตรงเส้นสีส้มซึ่งสะท้อนพลังงานของดวงอาทิตย์ออกไปนะครับ การสะท้อนนี้เกิดโดยปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกัน และมีผลไม่เท่ากัน ตัวบรรยากาศของโลกเองสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ออกไป 6% เมฆชั้นสูง/ชั้นกลาง/ชั้นต่ำ สะท้อนแสงอาทิตย์ออกไป 20% ส่วนที่เหลืออีก 4% นั้น แสงแดดตกกระทบพื้นแล้วแผ่ออกในรูปรังสีอินฟราเรด

เอาล่ะ เราคงผ่านความแห้งแล้งกันมาคนละหลายๆ ครั้ง ซึ่งนอกจากบ่นแล้ว ก็ไม่ได้ทำอะไรไม่ใช่หรือครับ… แน่นอน เวลาแล้งเป็นเพราะฝนไม่ตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน… แต่ไม่รู้ว่าเคยสังเกตท้องฟ้าหรือเปล่าครับ ว่าเวลาที่แล้งนั้น มักหาจะหาเมฆเหนือหัวไม่เจอสักก้อน ไม่ว่าจะเป็นเมฆในระดับไหน

เมื่อไม่มีเมฆ การสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์กลับออกไปในอวกาศด้วยเมฆ (20%) ก็ไม่มีน่ะซิครับ อย่างน้อยก็ตรงที่เราอยู่ พอไม่มีอะไรกั้นแล้ว พลังงานจากดวงอาทิตย์ก็ตกลงมากระทบผิวโลกมากขึ้น (เป็น 51%+20%) ยิ่งร้อนหนักเข้าไปใหญ่ รังสียูวีก็เยอะ นอกจากผิวเสียแล้ว ฮิวมัสในดินก็จะสลายตัวเร็ว ดินเสื่อม พืชรับความซวยไป

เมื่อดินร้อน น้ำผิวดินหาย น้ำใต้ดินแห้ง พืชพันธุ์ธัญหารก็เสียหาย… เมื่อเมฆหายไป ก็ควรจะหาอะไรมาบังแดดแทนเมฆครับ ซึ่งนั่นคือใบไม้ไง!

พลังงานแสงที่ตกกระทบใบไม้ ใบไม้ก็สังเคราะห์แสงไป ดูดเอาน้ำและแร่ธาตุผ่านรากและลำต้น ดูดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ ไปสร้างความเจริญเติบโตไปตามกระบวนการ… แสงที่ผ่านใบไม้ลงมาไม่ได้ ก็เกิดเป็นร่มเงาอยู่ข้างใต้ ดินไม่ร้อน น้ำใต้ดินไม่สูญเสียจากการระเหยเนื่องจากโดนแดดเผา ลดอัตราการเสื่อมของดิน (ดินดาน ดินแตกระแหง กลายเป็นทราย ฯลฯ)

ก็จริงอยู่ที่เวลาอากาศแล้งจัด ต้นไม้ผลิใบเพื่อลดการคายน้ำ ใบไม้ที่ร่วงลงดินก็ปล่อยมันไว้อย่างนั้นล่ะครับ เพราะว่ามันย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ คืนธาตุอาหารที่ต้นไม้ยืมมาสร้างใบกลับไปสู่ดินอีกทีหนึ่ง แต่ระหว่างที่ใบไม้ยังไม่ย่อยสลาย มันบังบังแดดให้แก่พื้นดินได้สักพักครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.026647090911865 sec
Sidebar: 0.03892993927002 sec