อาหารสำหรับกรณีฉุกเฉิน

อ่าน: 5308

อนุสนธิจากกรณีเหตุภัยพิบัติต่อเนื่องในญี่ปุ่น ความเสียหายลุกลาม จากเหตุหนึ่งนำสู่อีกเหตุหนึ่ง กระทบกันเป็นทอดๆ

น้ำสะอาดและอาหารเป็นปัญหาใหญ่ครับ กรณีของน้ำเป็นความเสี่ยงเรื่องกัมมันตภาพรังสี ปนเปื้อนในอากาศ และตกลงมาสู่แหล่งน้ำผิวดินตาม ดังนั้นน้ำสะอาด สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้พื้นที่ประสบภัยพิบัติจึงเป็นปัญหา ครั้นจะส่งน้ำจากพื้นที่อื่นเข้าไปช่วย ก็เป็นเรื่องโกลาหลเหมือนตอนที่เราส่งน้ำดื่มไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมนั่นล่ะครับ

ในส่วนของอาหาร อาหารสดมีปัญหาจากการปนเปื้อนกัมมันตรังสี ลูกสาวหมอป่วนซึ่งอยู่ร้อยกิโลเมตรทางใต้ของโตเกียวบอก ยังโอเค แต่ขนมปังขาดแคลนเพราะเขาส่งไปช่วยเขตภัยพิบัติ

“ทำไมขนมปัง” แค่คำถามนี้ ก็ถอดบทเรียนได้แล้วครับ ไฟฟ้าไม่มี ก๊าซหุงต้มไม่มี บ้านเรือนเสียหาย ผู้คนอพยพไปยังศูนย์พักพิงหลายหมื่นคน ความช่วยเหลือที่ส่งไปยังพื้นที่เป็นเรื่องลำบาก การประกอบอาหารแทบเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นอะไรที่กินได้ ให้พลังงานแก่ร่างกายโดยไม่ต้องหุงหา จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประสบภัยต้องการที่สุดครับ

ผมน่ะทำอาหารไม่เป็น ขึ้นกับความกรุณาของคนอื่นที่ทำอาหารให้กินมาตลอด กินอาหารก็ไม่ปรุง ทำมาอย่างไรก็กินอย่างนั้น (จริงๆ นะ) แต่ดันอ่านเจอ วิธีการทำ health bars คิดว่าไม่เลวแฮะ ให้พลังงานแก่ร่างกายสำหรับกรณีขาดแคลนจริงๆ พอประทังชีวิตไปได้สักพัก ก็เอามาเล่าสู่กันฟังก็แล้วกันครับ จะส่งไปช่วยหรือจะเตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว ก็แล้วแต่จะพิจารณากันเอง

อ่านต่อ »


ควรสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่

อ่าน: 5026

จากเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดปัญหาที่ญี่ปุ่น หลังจากที่แผ่นดินไหวและสึนามิ ทำให้ระบบหล่อเย็นมีปัญหา เตาปฏิกรณ์ร้อนเกินไป ระเบิด รังสีรั่วไหล ฯลฯ ก็เป็นเหตุให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าควรสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่

แฟนบล็อกที่จับแนวทางการเขียนของผมได้ คงรู้อยู่แล้วว่าคำถามถูก-ผิดแบบนี้ ผมไม่ค่อยตอบหรอกนะครับ ผมไม่ได้กำลังทำข้อสอบอยู่นะ

แต่จะตั้งคำถามกลับ

ในปัจจุบัน การผลิตพลังงานไฟฟ้า ยังจำเป็นที่จะต้องใช้รัฐวิสาหกิจทำอยู่หรือไม่

เรามีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ) ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้า มีโรงไฟฟ้าเอกชนขายไฟฟ้าให้ กฟผ โดย กฟผ ขายไฟฟ้าต่อให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) เราซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านโดย กฟผ ลงทุนร่วม แล้วนำมาขายต่อเช่นกัน

ก็ไม่รู้ว่าควรจะเรียกเป็นการส่งเสริมดีหรือไม่ แต่ว่าการไฟฟ้าซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนด้วย “ค่าเพิ่ม” หมายความว่าไม่ว่าค่าไฟฟ้าจะเป็นเท่าไร ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ก็จะสามารถขายไฟฟ้าในราคาที่สูงกว่าราคาขายปลีกของการไฟฟ้า เป็นระยะเวลาเท่ากับที่ได้รับการส่งเสริม (ซึ่งขึ้นกับกำลังการผลิตและชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้)

อ่านต่อ »



Main: 0.056032180786133 sec
Sidebar: 0.31794285774231 sec