โครงสร้างรูปโดม
อ่าน: 6292โครงสร้างรูปโดม เป็นโครงสร้างที่แข็งแรง ใช้ผิวกระจายน้ำหนักและแรงต่างๆ ทำให้ทนต่อแรงลมพายุ จน FEMA กล่าวไว้ว่า “near-absolute protection” from F5 tornadoes and Category 5 Hurricanes ส่วนการทนแผ่นดินไหวนั้น ขึ้นกับความแข็งแรงและความแรงของแผ่นดินไหว (แรง g) ซึ่งถ้าเทียบกับอาคารปกติแล้ว ก็มักจะดีกว่าอยู่ดี
- เอกสาร FEMA 361 Design and Construction Guidance for Community Safe Rooms (38271 kB)
โครงสร้างรูปโดมที่รู้จักกันดีคืออิกกลู ซึ่งชี้ให้เห็นศักยภาพของโดมอีกแบบหนึ่ง ผิวของโดมเป็นพื้นที่ที่น้อยที่สุด ที่สามารถจะบรรจุปริมาตรที่มากที่สุดเอาไว้ภายใน ปริมาตรบรรจุก็คืออรรถประโยชน์ใช้สอย ส่วนผิวที่น้อยที่สุดหมายถึงต้นทุน/แรงงานในการก่อสร้าง; เมื่อมีพื้นที่ผิวน้อย ก็หมายความว่าความร้อนที่อยู่ภายใน จะสูญเสียผ่านผนังให้กับบรรยากาศน้อยด้วยเช่นกัน ทำให้ภายในอิกกลูอุ่นกว่าโครงสร้างแบบอื่นๆ
ความรู้เรื่องการก่อสร้างโดมหิน เกิดสูญหายไปตั้งแต่สมัยยุคโรมันเสื่อมลง จนกระทั่งมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ อัจฉริยะชาวอิตาลี Filippo Brunelleschi 1377-1446 (ซึ่งเกิดร่วมสมัยกับไมเคิลแอนเจโล และลีโอนาโดดาร์วินชี) ได้สร้างโดมที่มหาวิหารแห่งฟลอเรนซ์ ซึ่งแม้ในปัจจุบัน ก็ยังครองตำแหน่งโดมเรียงอิฐที่ใหญ่ที่สุดในโลก