ประชุมเครือข่ายรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ภาคประชาชน

10 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 February 2011 เวลา 17:37 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3762

ไม่ได้เขียนบันทึกเสียหลายวันเนื่องจากร่างกายไม่พร้อมที่จะนั่งเขียนนานๆ นะครับ

แต่วันนี้ เริ่มออกไปแรดได้ โดยไปร่วมประชุมเครือข่ายรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ภาคประชาชน อาการตอนเช้ายังไม่ค่อยดี เลยนอนต่อ ตื่นมาอีกที ตายล่ะหว่า เลยเวลานัดแล้ว ก็ต้องรีบแจ้นออกไปประชุมโดยไม่กินข้าวปลา

ไปถึงที่ประชุม กำลังแจก pizza กันอยู่ มี agenda วางอยู่บนโต๊ะ แต่ยังไม่ได้คุยกันอย่างจริงจัง(มั๊ง) พอนั่งได้สักครู่ก็เริ่มเปิดประชุมครับ เสร็จแล้วโยนไมค์มาที่ผม…เอิ๊ก ซึ่งก็ได้ใช้เวลาพูดถึงการวางแผนด้วยสถานการณ์ (scenario planning: คอมพิวเตอร์แปลเป็นไทย หรือ ไม่แปล) กระบวนการแบบนี้ จะช่วยจัดการความยุ่งยากซับซ้อนลงได้มากจนพอเห็นภาพใหญ่ ว่ามีอะไรจะเกิดขึ้นได้บ้าง และในแต่ละกรณีควรจะเตรียมตัวอย่างไร

อันนี้ตรงกับงานของมูลนิธิที่ทำอยู่ คือการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งไม่ได้เน้นหนักที่การบรรเทาทุกข์ แต่เป็นการจัดการกับความเสี่ยงต่างๆ ล่วงหน้า ลดผลกระทบอันอาจจะเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด เมื่อเกิดภัยแล้ว ถึงยังไงก็เสียหายไม่ว่าจะบรรเทาทุกข์ได้เร็วเพียงใด งานป้องกันจึงมีความสำคัญมาก (และถูกมองข้ามมากเช่นกัน)

ผมไม่ได้หวังให้ผู้ร่วมประชุมเชื่อหรือทำตามหรอกครับ แค่ฉุกคิด ปรับปรุง หรือทำในสิ่งที่ดีกว่า ก็ดีใจแล้ว… เอ่อ…จะเขียนเล่าทั้งหมดก็ไม่ไหว นั่งแล้วยังโงนเงนอยู่บ้าง ขอจบดื้อๆ แค่นี้ครับ

อย่างไรก็ตาม ผมได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทที่พระราชทานมาในปีที่ผมเรียนจบ มาฝากไว้ในห้องประชุมให้เป็นแง่คิด (ข้อความนำมาจากบันทึกเก่าซึ่งเขียนไว้หลายปีแล้ว)

อ่านต่อ »


เตามือถือประสิทธิภาพสูง

อ่าน: 4479

การเอาฟืนมาเผาเพื่อให้ความร้อนนั้น เป็นการเผาไม้ซึ่งปลูกมาหลายปี เพื่อให้ความร้อนเพียงไม่กี่สิบนาที

แต่ในเวลาที่หนาวหรือจะหุงหาอาหารนั้น จะไม่ให้จุดไฟเลยก็แปลกไปล่ะครับ

บันทึกนี้พูดถึงเตาขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และให้ความร้อนสูงเมื่อเทียบกับขนาดของเตา ใช้หลักการของ stack effect [ปล่อง] ซึ่งจะว่าไป เตานี้เป็นปล่องเสียมากกว่า

ตัวเตามีเพียงแผ่นโลหะ ที่สูงมากกว่ากว้าง จะเป็นกระป๋อง สังกะสี อลูมิเนียม เหล็ก หรือเศษวัสดุอะไรก็ได้ ปลายเปิดทั้งสองด้าน ด้านล่างเจาะรูให้อากาศเข้า  ส่วนด้านบนเจารูใหญ่ไว้รูหนึ่ง ภายในปล่องมีตะแกรงอยู่ค่อนไปทางด้านล่าง แล้วเจาะรูเล็กๆ ไว้ในด้านตรงข้ามกับรูใหญ่

อันทางขวานี้บริษัท Stratus ทำขายอันละ $24.95 ครับ

สัดส่วนก็มี ความสูง 22.3 ซม. ปากเตาด้านบนกว้าง 10.2 ซม ส่วนด้านล่างกว้าง 13.1 ซม ซึ่งสัดส่วนไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรหรอกครับ ลมเข้าด้านล่าง พัดผ่านไม้ที่เผาไหม้ แล้วพาเปลวไฟและความร้อนลอยขึ้นข้างบน เกิดแรงดูดให้ลมพัดดังนี้ตาม stack effect เหมือนเตาอั้งโล่

ปากบนเล็กกว่าฐานนิดหน่อย เพื่อบีบให้ความร้อนพุ่งออกมาทางปากเตาอันเป็นที่วางกะทะ หรือต้มน้ำร้อน: ดูคลิปการใช้งานกันก่อนนะครับ

อ่านต่อ »


หลบภัย (4) — หลังภัยใหญ่

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 February 2011 เวลา 0:12 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4539

ถึงชีวิตไม่เที่ยงตามธรรมชาติ ก็ไม่ได้หมายความว่าชีวิตไม่มีค่า

ก่อนจะมีภัย ควรมองสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง พยายามแก้ไขบรรเทาไม่ให้เกิดภัยร้ายแรง แต่หากภัยนั้นเกินกำลัง ก็หลบไปตั้งหลักก่อน… อาการที่ยืนนิ่งอยู่บนรางรถไฟในขณะที่รถไฟกำลังพุ่งมาหา หรือการยืนอยู่ท่ามกลางสนามรบนั้น ไม่ใช่การไม่อินังขังขอบหรือหลุดพ้นปล่อยวางได้หมดแล้วทุกสิ่งหรอกนะครับ

บันทึกนี้พูดถึงที่หลบภัยและวิถีชีวิตหลังจากที่ภัยขนาดใหญ่ผ่านพ้นไป แม้เงินตราอาจไม่มีค่า (เงินอาจจะมีค่าเหมือนเดิม แต่หาซื้ออะไรไม่ได้) แม้การขนส่งจะมีอย่างจำกัด แม้ความสะดวกสบายอย่างที่เคยเป็นมาจะไม่มีอีกต่อไป แม้สิ่งที่สะสมไว้จะหายไปหมด แต่ยังมีความรู้อยู่กับตัวคน มีโอกาสฟื้นฟูหรือสร้างใหม่ให้ดีกว่าเก่า…

ไปๆ มาๆ อาจจะคล้ายกับพิภพเทอร์มินัสในสถาบันสถาปนาก็ได้ เป็นนิคมการเกษตร มีแรงงาน มีความรู้ แต่แทบไม่มีโลหะที่นำมาใช้ได้ อาจจะคล้ายกับโลกในกรณีที่โครงสร้างพื้นฐานถูกทำลายไปหมด — เป็นโลกหลังภัยร้ายแรง แต่ไม่ถึงระดับเลวร้ายเสียทีเดียว

คำว่าระดับเลวร้ายนี้ แต่ละคนตีความหมายไม่เหมือนกัน สำหรับผม ตีความว่าเป็นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้วในโลก ก่อนที่จะมีเผ่าพันธุ์มนุษย์ และเป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์

อ่านต่อ »


หลบภัย (3) — ฮวงจุ้ย

อ่าน: 7357

ถ้าหากว่าจะต้องใช้หลุมหลบภัย เรื่องอื่นเป็นความสำคัญที่รองลงไปจากความปลอดภัยและความอยู่รอดครับ แต่ว่าทำเลที่ตั้งของหลุมหลบภัยนั้น บอกล่วงหน้าได้ว่าเวลาจะใช้หลบภัยนั้น ใช้ได้หรือไม่

ในเวลาที่ลงไปอยู่ในหลุมหลบภัยนั้น ทุกคนถูกตัดขาดจากภายนอก จะต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยสิ่งที่มีอยู่ในหลุมหลบภัยเท่านั้น สุขอนามัยเป็นเรื่องสำคัญต่อทุกคน หากคนใดคนหนึ่งป่วย ก็จะเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นสำหรับทุกคนในที่หลบภัยนั้น มีผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจพอเพียงกันเยอะแยะ ใครเป็นของจริง คนนั้นนำพาคนรอดได้ครับ

ที่ตั้งของหลุมหลบภัย จะต้องเป็นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง แล้วถ้าอยู่ใต้ดิน ก็ต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำใต้ดินเช่นกัน ขืนสร้างจนเสร็จแล้วน้ำท่วม ก็เป็นการสูญเปล่าครับ

หลุมหลบภัยใต้ดิน มีดินเป็นฉนวนกั้นความร้อน-ความเย็น อุณหภูมิภายใน จะเป็นอุณหภูมิของดิน ซึ่งก็มีผู้ทำเป็นบ้านอยู่อาศัยไปเลยเหมือนกัน เหมือนบ้าน Hobbit ในหนังลอร์ดออฟเดอะริงส์

อ่านต่อ »


หลบภัย (2) — ที่พักใต้ดิน

อ่าน: 6303

ในสหรัฐ ตื่นเรื่องที่พักใต้ดินกันเป็นพักๆ มีช่วงสงครามเย็น ช่วงเครื่องบินชนตึก และช่วงภัยธรรมชาติและ 2012

สองช่วงแรก เป็นภัยจากระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งจากเอกสารของ FEMA มีประเด็นสามเรื่องครับ คือ

  1. ระยะห่างจากศูนย์กลางของการระเบิด — ถ้าอยู่ใกล้นักก็ไม่เป็นไรหรอกครับ คงไม่รู้สึกอะไร
  2. การป้องกันรังสี — ดินหนา 3 ฟุต/1 เมตร สามารถลดทอนรังสีลงได้ 99% [หลุมหลบภัยนิวเคลียร์]
  3. ระยะเวลา — ถ้าระเบิดแล้วสองอาทิตย์ รังสีลดเหลือ 1% ของระดับรังสีเดิม

พอระเบิดลง ตูม จะมีคลื่นกระแทกจากแรงระเบิดวิ่งผ่าน ถ้ายังไม่ตายจากความร้อน รังสี หรือคลื่นกระแทก ท่านมีเวลาอีก 1-2 ชั่วโมงที่จะวิ่งเข้าหลุมหลบภัย ก่อนที่ฝุ่นนิวเคลียร์จะเริ่มตกลงสู่พื้นโลก แล้วอย่าคิดจะขับรถด้วยความเร็ว 150 กม/ชม เลยนะครับ พอระเบิดลงตูม คนที่รอดทั้งหมดน่ะ ลงมาอยู่ในถนนหมดแล้ว!

ตัวหลุมหลบภัยนิวเคลียร์เอง สร้างขึ้นเพื่อป้องกันฝุ่นนิวเคลียร์ มีระบบระบายอากาศ กับปริมาณน้ำ+อาหารสำรองเป็นประเด็นหลัก เพียงพอที่จะหลบอยู่ได้สักอาทิตย์สองอาทิตย์เท่านั้น

อ่านต่อ »


หลบภัย (1) — แนวคิดเกี่ยวกับภัย

อ่าน: 4129

มนุษย์เบียดเบียนโลก จนเกิดความรู้สึกร่วมว่าโลกจะรับไม่ไหวแล้ว

มีคำทำนายจากอดีตหลายพันปี และมีข่าวสารมากมายเกี่ยวกับวันสิ้นโลก ซึ่งอันนี้เป็นความเชื่อซึ่งผมไม่ว่าอะไรหรอกนะครับ อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศเกิดธุรกิจหลุมหลบภัยขึ้นเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง(ตามความเห็นของผม)มักจะเว่อร์อยู่เนืองๆ

เมื่อมองจากมุมของความเสี่ยงภัย ความเสี่ยงมีอยู่จริงครับ และไม่มีหลุมหลบภัยใดที่จะรับสถานการณ์ได้ทุกชนิด ยกเว้นลักษณะของ biosphere ซึ่ง biosphere ที่เราคุ้นเคยที่สุดแต่รู้จักน้อยที่สุด ก็คือโลกนี่แหละ เพราะ biosphere คือระบบนิเวศน์ที่ยั่งยืนตามแนวความมั่นคงสามแนวทาง: อาหาร น้ำ และพลังงาน

เท่าที่ได้ค้นมา มีโครงการทดลอง biosphere ที่มนุษย์สร้างสี่แห่ง คือในสหรัฐอเมริกา ในรัสเซีย ในอังกฤษ และในญี่ปุ่น ทั้งหมดก็พยายามที่จะศึกษาสภาวะแวดล้อมที่สมดุลย์ (เช่นการเดินทางในอวกาศเป็นระยะเวลานาน) ที่ผู้อยู่อาศัยถูกตัดขาดจากสภาวะแวดล้อมภายนอกอย่างสิ้นเชิง และจะต้องมีชีวิตอยู่ได้

อ่านต่อ »


สมานใจด้วยความดี ปลูกไมตรีในผองชน

อ่าน: 4275

เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2554 มีงาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 3 ที่โรงภาพยนตร์สกาล่า

Igniter ท่านแรกคือพระไพศาล วิสาโล ท่านพูดเรื่อง “สมานใจด้วยดี ปลูกไมตรีในผองชน” ซึ่งมีร่างอยู่บนเว็บไซต์ visalo.org

อ่านต่อ »


คาถาธรรมบท พุทธวรรค

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 February 2011 เวลา 2:45 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3454

วันนี้เป็นวันมาฆบูชา ซึ่ง 9 เดือนหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ได้ตรัสโอวาทปาฏิโมกข์ ประทานแก่พระอรหันต์ที่ทรงเอหิภิกขุอุปสัมปทาจำนวน 1,250 รูป ซึ่งไปเฝ้าโดยพร้อมเพรียงกันในคืนวันเพ็ญ เดือนสาม 44 ปีกับอีก 3 เดือนก่อนพุทธศักราช

ผมค้นพระไตรปิฎกดูว่าอยู่ตรงไหน ก็พบอยู่ในธรรมบท พุทธวรรคที่ 14 ข้อ [24] ดังนี้ครับ (ขออภัยอย่างยิ่งหากท่านไม่ชอบบาลี ผมนำมาจากพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐทั้งบาลีและไทย แต่สำหรับนักศึกษาแล้ว เชื่อว่าพอแกะ+เปรียบเทียบได้ครับ)

 สพฺพปาปสฺส อกรณํ       กุสลสฺสูปสมฺปทา
 สจิตฺตปริโยทปนํ          เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
   ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
   นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
   น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
   สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
 อนูปวาโท อนูปฆาโต       ปาติโมกฺเข จ สํวโร
 มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ     ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
 อธิจิตฺเต จ อาโยโค       เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
ความไม่ทำบาปทั้งปวง ความบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม
ความชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ
  ความอดทน คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง
  ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมกล่าวนิพพานว่าเป็นธรรมอย่างยิ่ง
  ผู้ฆ่าสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
  ผู้เบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย ฯ
การไม่เข้าไปว่าร้ายกัน ๑ การไม่เข้าไปฆ่า ๑ ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในภัต(ตาหาร) ๑ การนอนการนั่งอันสงัด ๑
การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑ นี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ

อ่านต่อ »


ถุงยังชีพ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 17 February 2011 เวลา 1:17 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4326

ถุงยังชีพ มีความหมายถุงที่บรรจุของอุปโภคบริโภค ที่ช่วยให้ประทังชีวิตให้ผ่านวิกฤตไปได้ แต่เพราะวิกฤตทุกครั้งไม่เคยเหมือนกันเลย ถุงยังชีพที่แจกจ่ายทุกครั้ง จึงไม่น่าจะเหมือนกัน! ขึ้นกับลักษณะของวิกฤต ข้อจำกัดของพื้นที่ และระยะเวลา

ฟังดูเรื่องมากจัง!! ที่จริงแล้ว สัปปุริสทานเป็นของประณีตนะครับ

ถุงยังชีพ มีเป้าหมายหลักที่จตุปัจจัยก่อน เพราะปัจจัยสี่เป็นความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต (เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา — จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช)

ชีวิตของคนในปัจจุบันไม่ได้แตกต่างกับสมัยพุทธกาล แต่สิ่งของบริจาคในถุงยังชีพเปลี่ยนไป เดี๋ยวนี้มีบะหมี่ฉีกซอง ขนม สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยา น้ำขวด ข้าวสาร ฯลฯ เป็นของที่ใช้แล้วหมดไป

เมื่อของหมด->รอถุงใหม่ ถ้าของมีปริมาณมากเกินไปหรือไม่ตรงกับความต้องการ->ขาย… อย่างนี้ไม่ดีแน่ครับ

อ่านต่อ »


Protected: ผลการสแกนสมอง

Enter your password to view comments โดย Logos เมื่อ 16 February 2011 เวลา 17:37 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3037

This post is password protected. To view it please enter your password below:




Main: 0.043951034545898 sec
Sidebar: 0.1521680355072 sec