Firefox รุ่นใหม่

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 March 2011 เวลา 0:02 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 4151

Firefox 4 ออกแล้ว แต่รุ่นนี้ใหม่กว่าครับ

น้องสาวส่งมาให้

เรื่องน้ำท่วม ดินถล่ม ไม่รู้จะเขียนอะไรอีก เพราะเขียนไปเยอะแล้ว… จนป่านนี้ ก็ยังไม่มีแผนที่สถานการณ์ ไม่มีฐานข้อมูลผู้ประสบภัย

เขียนเรื่องหมาหนาวดีกว่า


ข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติ

อ่าน: 4319

เนื่องจากข้อจำกัดในพื้นที่ ข่าวตามสื่อมวลชนให้ได้แต่ภาพใหญ่ของความเสียหาย และด้วยวงจรของการทำและนำเสนอ ข่าวตามสื่อก็จะเป็นสถานการณ์ที่ย้อนหลังเสมอ ด้วยลักษณะของการประมวลภาพข่าวและข่าวสาร แต่ก็สามารถจะให้ภาพสุ่มของสถานการณ์ ที่ผู้สื่อข่าวพอจะเข้าไปยังพื้นที่ได้ แต่บริเวณที่ผู้สื่อข่าวเข้าไม่ถึง ก็จะขาดหายไป

ดังนั้นในภัยพิบัติที่เกิดเป็นวงกว้าง จะมีพื้นที่ที่ตกหล่นเสมอ ซึ่งหากว่าเน็ตยังอยู่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ยังอีกมีทวิตเตอร์เป็นช่องทางหนึ่ง ที่จะรายงานสถานการณ์ที่แท้จริงออกมาสู่โลกภายนอกได้ แต่หากเน็ตไม่อยู่แล้ว ข่าวสารยังต้องอาศัยทีมสำรวจส่วนหน้า บุกลงไปในพื้นที่ซึ่งมักจะมีปัญหาเรื่องความทั่วถึงและความล่าช้า ซึ่งภัยพิบัติทำให้เข้าพื้นที่ได้ลำบาก

นี่จึงเป็นที่มาของการสื่อสารฉุกเฉิน แต่ถึงแม้เมืองไทยจะมีหน่วยงานภายใต้กระทรวงไอซีทีและกทช.ที่ทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง ขอบเขตยังจำกัดอยู่แค่การนำระบบสื่อสาร ให้กลับมาอยู่ในสภาพพร้อมใช้เท่านั้น

การสื่อสารที่ดีจะต้องเข้าใจตรงกันทั้งผู้ส่งและผู้รับ ข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติ ควรจะมีทั้งตำแหน่ง(พิกัด) เวลา สถานการณ์ ความช่วยเหลือที่ต้องการ และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อที่ว่าความช่วยเหลือที่ส่งไปยังพื้นที่ จะไม่น้อยเกินไป(จนเกิดการแย่งชิงแตกแยกในชุมชน) หรือมากเกินไป(แล้วผู้ประสบภัยนำไปขายทำให้ผู้บริจาคเกิดความเสียใจ) — ทวิตเตอร์ดูเหมาะดี ส่งจากโทรศัพท์มือถือจากพื้นที่ประสบภัยก็ได้ แต่ก็มีปริมาณการรีทวิตมากมายจนข้อความสำคัญจางหายไปหมด ประกอบกับมีความยาวจำกัด จึงขาดความแม่นยำ

อ่านต่อ »


แก้ไขหรือรอไป

อ่าน: 3237

เน็ตผมเจ๊งครับ ต่อผ่านมือถือได้แต่ไม่ถนัด ดังนั้นจะไม่เขียนอะไรยาวมากๆ

น้ำท่วมหาดใหญ่ ถ้าท่วมแล้ว การแก้ไขโดยการเร่งระบายน้ำนั้น น่าจะถูกต้อง แต่ถ้าชลอน้ำเอาไว้ไม่ให้ท่วมเลย น่าจะดีกว่า

น้ำป่าไหลหลากจากเทือกเขาบรรทัดเข้าสู่นครศรีธรรมราช-พัทลุง และอาจจะไปยังจังหวัดอื่นๆ เกิดจากฝนตกลงกลางคาบสมุทรซึ่งเป็นภูเขา ภูเขาเป็นพื้นที่รับน้ำ ปริมาณน้ำฝนตกวันละ 100-200 มม. คูณกับพื้นที่ภูเขากลายเป็นปริมาตรน้ำมหาศาล แต่น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ ก็จะไหลลงไปรวมกันในโตรกเขา ตามลุ่มน้ำลำธาร และไหลต่อไปยังชุมชน และเมืองซึ่งมักตั้งอยู่ใกล้ทางน้ำเสมอ… เป็นอาการเดียวกับหาดใหญ่ สุโขทัย บางระกำ-พิษณุโลก บางบาล-อยุธยา เมื่อมีฝนตกหนักอีก ผลอย่างนี้ก็จะเกิดอีก

พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กว่าสองพันตารางกิโลเมตร ฝนตกหนัก 600 มม.ในเจ็ดวัน คิดเป็นปริมาณน้ำ 1,200 ล้านลูกบากศ์เมตร ถ้าดินและป่าดูดซับหรือชลอไว้ได้ครึ่งหนึ่ง น้ำที่เหลือ 600 ล้านลูกบากศ์เมตร ไหลไปทางปากช่องในเวลาอันรวดเร็ง ลงเขื่อนลำตะคองซึ่งมีความจุ 300 ล้านลูกบากศก์เมตร ลำตะคองจะไปรับได้ยังไงไหวล่ะครับ น้ำล้นเขื่อน แล้วอะไรที่อยู่ใต้เขื่อน ก็ท่วมแหลกราญกันไป

ฝนตก จะไปห้ามคงยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำอะไรไม่ได้ซะทีเดียวหรอกครับ สำคัญอยู่ที่ว่าทำอะไรหรือเปล่าต่างหาก หรือว่าจะรอให้น้ำท่วมเสียก่อนแล้วจึงจะช่วยเหลือ

จะแก้ปัญหาน้ำของพื้นที่อะไรก็ตาม ลองดูไปทางต้นน้ำซิครับ


ยุ่งยากเกินไปหรือเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 March 2011 เวลา 0:19 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3404

Rube Goldberg machine เป็นเครื่องมือที่แสดงความเชื่อมโยง ซึ่งพวกนักศึกษานิยมสร้างกระบวนการทางกลต่อเนื่องยาวๆ ให้สิ่งหนึ่งกระทำต่ออีกสิ่งหนึ่ง ต่อเนื่องกันไปจนได้ผลลัพท์ที่ต้องการ มักจะเป็นกระบวนการเชิงเส้น (แต่ไม่จำเป็น)

คลิปข้างล่าง เป็นการต้มบะหมี่สำเร็จรูปหนึ่งจานครับ จะฉีกซอง เทน้ำร้อน แล้วตอกไข่เฉยๆ ก็ได้ แต่เขาก็จะทำอย่างนี้

อ่านต่อ »


เก็บตกงานเสวนา สวทช. NAC2011

อ่าน: 4661

หลังจากเขียนบันทึกที่แล้ว เรื่องความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ผมก็ไปขึ้นเวทีเสวนาของ สวทช.ในฐานะผู้เชี่ยวชาญครับ พิลึกจริงๆ

มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญ 8 ท่าน คือ

  • รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ - มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมสิรินธร ในพระบรมราชูปถัมป์ของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
  • พลเรือตรีถาวร เจริญดี - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
  • ศ.เกียรติคุณ ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว - สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
  • คุณวีระชัย ไชยสระแก้ว - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • คุณมนตรี ชนะชัยวิบูลย์วัฒน์ - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • คุณปรเมศวร์ มินศิริ - ไม่รู้จะลงตำแหน่งอย่างไรเพราะทำเยอะแยะไปหมดเลย แต่เป็นงานในภาคประชาชนทั้งนั้น
  • ผม

การเสวนาครั้งนี้ เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๑ - บทเรียนจากญี่ปุ่นสู่การเตรียมพร้อมของไทย มี ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช.เป็นผู้ดำเนินการเสวนาเอง มีผู้ฟังก็เต็มออดิทอเรียมของ สวทช. และมีผู้ฟังการถ่ายทอดสดทางอินเทอร์เน็ตอีกประมาณ 400 ท่าน

ด้วยความผูกพันกับ สวทช. ซึ่งกาลครั้งหนึ่งผมเคยเป็นอาสาสมัครที่เนคเทคอยู่หลายปี เมื่อชวนมายังไงผมก็ไปร่วมด้วยแน่นอนครับ แต่ยอมรับว่าหนักใจเรื่องเวลา ฮี่ฮี่ เพราะเวลาสามชั่วโมง วิทยากรสามท่าน-ท่านใดก็ได้ สามารถจะให้ได้ทั้งภาพกว้างและลึกได้อย่างถี่ถ้วน แถมยังเหลือเวลาตอบคำถามได้อีกนิดหน่อย ทีนี้พอมีวิทยากรอยู่แปดท่าน จึงเหลือเวลาสั้นมาก ผมตัดประเด็นที่เตรียมไปทิ้งไปประมาณสองในสาม แล้วต้องพูดที่เหลืออย่างเร็วจี๋ ก็เลยอาจจะปัญหาสำหรับผู้ที่ทำ Live tweet (ขออภัยเป็นอย่างยิ่งนะครับ)

อ่านต่อ »


ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 March 2011 เวลา 0:27 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3818

โลกมีข่าวสารต่างๆ มากมาย และมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลง (เหมือนเช่นเอนโทรปีที่ไม่เคยลดลง) คนปกติย่อยไม่ทันหรอกครับ

ดังนั้นเราจึงมักเชื่อความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพราะเชื่อว่าผู้เชี่ยวชาญมีความแม่นยำ แน่นอน ถูกต้อง รู้เรื่องนั้นดี ความเชื่อถือผู้เชี่ยวชาญ มีมากเป็นพิเศษสำหรับกรณีการตัดสินใจที่ความเสี่ยงสูง/เดิมพันสูง และเป็นการตัดสินใจที่สำคัญจริงๆ

แต่เป็นไปได้ไหม ว่าการเชื่อผู้เชี่ยวชาญ เป็นการปกป้องความไม่รู้ของตัวเองโดยผลักความรับผิดชอบไปหาแพะ ผู้เชี่ยวชาญเป็นคน ผิดได้เหมือนกัน แล้วการที่คนหนึ่งบอกว่าเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น ไม่ได้แปลว่าเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ

อ่านต่อ »


อินเทอร์เน็ตและสังคม: ให้อำนาจหรือปิดกั้น

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 March 2011 เวลา 4:48 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3132

บางทีผมก็สงสัยเหมือนกันว่าข่าวสารที่ชอบฟันธงนี่ สรุปมาง่ายๆ ด้วยผู้ที่ไม่เข้าใจสถานการณ์ ไม่เข้าใจภาษาและบริบทหรือเปล่า


เรื่องของคนจัดการจราจร

อ่าน: 3216

ก็ในเมื่อเป็นเรื่องของคนจัดการจราจร ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของผมหรอกนะครับ แต่มีข้อสังเกตตัวเอง

เรื่องนี้ผมเคยรำคาญมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ความรู้สึกกลับไม่เหมือนเดิม

เมื่อก่อนนี้ ผมรำคาญพวกจัดการจราจรตามที่จอดรถของศูนย์การค้ามาก เป่านกหวีด ปรี๊ดดดดด ๆ ๆ ๆ ๆ ดังลั่น ไม่รู้ว่าจะเป่าหาอะไร ยืนห่างไปเมตรเดียว เป่าเบาๆ ก็ได้ยิน ขนาดเป่าเร่งคันที่อยู่ข้างหน้าห้าหกคัน ผมยังได้ยินเลย รถก็ขับตามกันมาติดแหงกกันถ้วนหน้า เร่งให้ไปก็ไปไม่ได้ ทั้งเป่าทั้งโบกมันได้ทุกคัน

ไม่รู้เค้านึกว่าที่ผมนั่งอยู่ในรถเปิดแอร์เย็นฉ่ำและมีคนขับรถให้อยู่นั้น เราอยากจะติดอยู่ในที่จอดรถหรืออย่างไร ปรี๊ดดด ๆ ๆ ๆ ๆ เป่าอยู่ได้ ที่อาการหนักระดับได้โล่ห์ คือที่อิมแพ็คเมืองทองธานีครับ

ด้วยสมองซีกซ้าย รีบฟันธงหาเหตุผล อ๋อ พวกนี้เป็นคนที่ไม่มีอำนาจ พอมีนกหวีดเป็นเครื่องมือแสดงอำนาจ ก็ลนลานเป่าเสียงดัง เพิ่มความสำคัญของตนเองเพื่อลบปมด้อยทันที ฯลฯ

มองย้อนกลับไป ความรู้สึกรำคาญจะเป็นจะตาย ตอนนี้ก็ยังไม่ตาย ถ้าถามว่านึกถึงหน้าคนเป่านกหวีดได้ไหม นึกยังไงก็นึกไม่ออกครับ แล้วสิ่งที่เขาทำไม่สำคัญต่อผมเลย พอรถหลุดจากที่จอดรถตรงนั้น ก็กลับบ้านมาเสวยสุขตามเดิม จะทุกข์อะไรกันนักหนา

คิดดูก็เห็นว่าตัวเคยโง่มาก่อน ตอนนี้คงโง่น้อยลงนิดหน่อย หลงเพลิดเพลินอยู่กับความไม่จีรัง [นันทิ] เกิดความคับข้องอยากไปให้พ้น ทั้งที่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามใจปรารถนาได้ เมื่อจะหาย มันหายไปเอง เช่นเดียวกับเมื่อตอนเกิดขึ้น มันก็มาเอง จะไปอินอะไรกันนักหนา ดูละครจบไปแล้ว ยังติดอารมณ์อยู่ ไม่ถึงขนาดฟูมฟายหรอกครับ แต่ก็ยังติดอยู่ หรือดูบอลจบ ยังมีอารมณ์ค้างอะไรกัน ถ้าเป็นเรื่องจริงจัง ก็ลงไปเล่นเองซิ

อ่านต่อ »


ผิดถูกนั้น สำคัญแค่ไหน

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 March 2011 เวลา 5:06 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3861

ผิดหรือถูก ดีหรือไม่ดี มีมาตรวัดที่แน่นอนจริงหรือ ไม่ว่าจะถูกหรือดีก็ตาม เราเดินสู่เป้าหมายหรือไม่ (เป้าหมายคืออะไร)

ในสมัยที่มนุษย์ยังถลุงทรัพยากรจากโลกยังไม่เก่ง รัฐชาติต้องมีอาณาเขตใหญ่ๆ อาณาจักรก็ต้องมีพื้นที่สำหรับผลิตอาหารมากๆ มีลัทธิล่าอาณานิคม มีประเทศราช ส่งส่วยบรรณาการมาที่เมืองหลวงเยอะๆ

กรีก ต้นแบบประชาธิปไตย รุ่งเรืองเพราะประชาธิปไตยโดยตรง และพังไปเพราะประชาธิปไตยที่ต่างคนต่างมีอิสระ จนลืมความจำเป็นในการพึ่งพากันและกัน และถูกตีแตกสลายแพ้สงครามไปในที่สุด

มนุษย์กระจ้อยร่อย ใช้อัตตาตัดสิน ใช้ค่านิยมเป็นบรรทัดฐาน เหมือนกิรสูตรในพระไตรปิฎกเรื่องตาบอดคลำช้าง

ตอนเด็กคิดอย่างหนึ่ง ตอนเรียนคิดอีกอย่าง พอทำงานแล้วคิดอย่างหนึ่ง แก่แล้วคิดอีกอย่าง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่แน่นอน ไม่สำคัญว่าความคิดไหนถูกที่สุด แต่สำคัญว่าแต่ละความคิด เบียดเบียนใครหรือไม่ คิดแล้วทำหรือไม่ เกินกำลังหรือไม่ ทำให้อะไรดีขึ้นมาหรือไม่ — ถ้าไม่ แล้วคิดไปทำไม

อ่านต่อ »


ขาย “หินเลี้ยง” รวยพันล้าน

10 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 March 2011 เวลา 8:48 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 5089

เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เกิดขึ้นในสหรัฐในปี 2518

นายแกรี่ ดาห์ล ผู้บริหารบริษัทโฆษณา เกิดไอเดียพิสดารโดยการขาย “หินเลี้ยง” (Pet Rock) พร้อมกล่องกระดาษ ฟาง พร้อมทั้งคู่มือเลี้ยงหิน ในราคา $3.95

หินไม่ร้องหนวกหู ไม่ถ่ายเลอะเทอะ ลืมให้น้ำให้อาหารก็ไม่เป็นไร

แต่ไอเดียบ้าบอนี้กลับติดตลาด มีคนซื้อไปถึง 5 ล้านชิ้น; ต้นทุนกล่อง และหนังสือคู่มือมีราคาประมาณ 30¢ และค่าขนส่งก็ประมาณ 65¢ ทำให้นายดาห์ลมีกำไรชิ้นละประมาณ $3

ขายไป 5 ล้านชิ้นใน 6 เดือน ก็สร้างกำไรให้เขา $15 ล้าน (300 ล้านบาทในปี 2518 — หรือกว่าพันล้านบาทด้วยมูลค่าในปัจจุบัน)

ถามว่าขายไปได้อย่างไร แล้วซื้อเข้าไปได้อย่างไร

อ่านต่อ »



Main: 0.040476083755493 sec
Sidebar: 0.16323900222778 sec