ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (3)

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 May 2011 เวลา 20:07 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4965

บันทึกที่แล้ว เป็นการผลิต Biochar แบบง่าย แต่มีลักษณะใหญ่โตตามขนาดถังที่ใช้ ความร้อนจากไฟที่เผาถ่าน ต้องปล่อยทิ้งไปเฉยๆ

ในอัฟริกา สภาพแห้งแล้ง อากาศร้อน ครัวอยู่ในร่มซึ่งมักเป็นในกระท่อมหรือในบ้านดิน ควันไฟจากการหุงหาอาหารก่อปัญหาสุขภาวะซ้ำซ้อน เพื่อแก้ปัญหาปัญหานี้ จะต้องทำให้การเผาไหม้บริสุทธิ์ให้มากที่สุด กำจัดควันไฟ กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ ในการนี้ นาย Folke Günther ชาวสวีเดน ก็ได้ออกแบบ Anila stove เป็นเตาหุงต้มขนาดเล็ก ตามหลักการ microgasification ซึ่งมีคลิปการทดลองข้างล่าง

ช่วงที่จุดเตาแรกๆ มีควันออกมาเนื่องจากเชื้อเพลิงไม่แห้ง แต่เมื่อความร้อนมากพอที่ทำให้เกิดกระบวนการ gasification เป็นการเผาไหม้ก๊าซที่ได้จากไม้แล้ว ควันก็หายไป

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (2)

อ่าน: 7923

หลักการผลิตถ่าน Biochar นั้น เกี่ยวพันกับกระบวนการ Gasification กล่าวคือเราใช้ความร้อน ไปทำลายพันธะทางเคมีของ biomass ที่แห้ง เช่น เศษไม้ เศษหญ้า มูลไก่ มูลโค มูลหมู — ถ้า biomass แห้ง จะทำให้อุณหภูมิที่ต้องการให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นถ่าน (carbonization) ลดลงได้ เป็นการประหยัดเชื้อเพลิงและประหยัดเวลา

วิธีที่ง่ายที่สุด คือใช้ถังสองใบที่มีขนาดไม่เท่ากัน มีก้น ไม่มีฝา เป็นอุปกรณ์

ถังใบเล็ก ใส่ biomass แห้ง ที่ต้องการจะเปลี่ยนเป็นถ่าน Biochar คว่ำเอาไว้ในถังใบใหญ่ — ซึ่งถังใบใหญ่ เจารูอากาศรอบๆ ก้นถัง แล้วใส่เชื้อเพลิง จุดไฟ

เมื่อไฟร้อนขึ้น อุณหภูมิในถังเล็กก็ร้อนขึ้นด้วย จนได้ระดับ biomass แห้ง ก็จะเริ่มปล่อยก๊าซออกมา

ก๊าซที่ติดไฟได้นี้ จะค่อยๆ ซึมลงมาข้างล่าง ออกไปยังถังใหญ่ภายนอก เพราะว่าเราแค่เอาถังเล็กครอบ biomass ไว้เฉยๆ

เมื่อเกิดก๊าซขึ้น ทีนี้เชื้อเพลิงซึ่งใช้ให้ความร้อนในตอนแรก ต่อให้เผาไหม้หมดไป ก็ไม่มีความหมายแล้ว

ก๊าซเผาตัวเองระหว่างถังเล็กกับถังใหญ่ สร้างความร้อนหล่อเลี้ยงอุณหภูมิในถังเล็ก เกิด gasification ไปเรื่อยๆ จน biomass กลายเป็น biochar ไปหมด

ในตอนแรก ถ้าใช้เศษไม้เป็น biomass (ถ้าผ่าเอาไว้ก็จะดี เพราะเป็นการเพิ่มพื้นผิวของไม้ให้ก๊าซออกมาได้ดีกว่า) เราเรียงเศษไม้แห้งเอาไว้ในถังเล็ก แล้วเอาถังใหญ่ครอบ จากนั้นค่อยพลิกกลับหัวอีกที

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (1)

อ่าน: 6319

อินทรียสารในดิน (humus) สลายตัวโดยธรรมชาติที่อุณหภูมิสูงกว่า 25°C… ดินบ้านเรา ไม่มีต้นไม้ปกคลุม โดนแดดเผาชั่วนาตาปี ทำให้อุณหภูมิของผิวดินสูงได้กว่า 70°C และทำให้ดินปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นก๊าซเรือนกระจก (มีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์) ชาวนาชาวไร่ใส่ปุ๋ยเคมีเท่าไหร่ก็ไม่พอ ยิ่งใส่ปุ๋ยก็ยิ่งจน เพราะกงเต็กปุ๋ยไปให้บรรพบุรุษโดยการเผาซากต้นไม้

ปุ๋ยคือสารอาหารของต้นไม้ จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเพื่อออกดอกออกผล แต่ปุ๋ยเคมีนั้นเหมือนยาโด๊ป ใส่มากเกินไปยังไม่แน่ว่าจะดี… ธรรมชาติรักษาตัวเองได้ซึ่งอาจจะใช้เวลาบ้าง ไม่ทันอัตราที่มนุษย์ทำลายสมดุลย์ของธรรมชาติ

ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่โลกน่าจะปลอดภัย จากความปั่นป่วนของบรรยากาศคือระดับ 350 ppm แต่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะที่เขียนนี้ เป็น 393.18 ppm แถมยังสูงขึ้นเรื่อยๆ อีก… ก๊าซเรือนกระจก (ประกอบกับอย่างอื่น) ล้วนเป็นองค์ประกอบของปัญหาโลกร้อน ซึ่งทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดไอน้ำมากขึ้น กลายเป็นพายุที่มีความรุนแรง น้ำฝนมาเป็นปริมาณมาก เดือดร้อนกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า

แหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือมหาสมุทร จุลชีพปริมาณมหาศาลของมหาสมุทรในอดีต ดูดจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แล้วเปลี่ยนเป็นหินปูนตกตะกอนลงพื้นทะเล จนบรรยากาศของโลกกลายเป็นบรรยากาศที่หายใจได้… ปัจจุบันนี้ ไม่มีจุลชีพยุคโบราณที่จะทำอย่างนั้นอีก โลกจึงไม่มีวิธีกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ และกิจกรรมของมนุษย์ ก็เร่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ — แหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่รองลงมาคือแผ่นดิน แต่แผ่นดินนั่นแหละ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามาก!

อ่านต่อ »


ภัยอะไรน่ากลัว (3)

อ่าน: 3133

ภัยจากคนน่ากลัวครับ ภัยจากความวิปลาสน่ากลัวจริงๆ เพราะคนวิปลาส กระทำการโดยไม่อยู่บนเหตุและผล หรือบางทีเขาก็คิดว่ามันมีเหตุผลแล้ว แต่เป็นเหตุผลจากมุมมองของเขาเอง ก็มองข้ามไปหมดว่าจะเบียดเบียนใครหรือมีผลอย่างไรตามมา

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่น แทนที่จะบำรุงรักษา กลับปลอมแปลงรายงานการบำรุงรักษา ด้วยประมาทว่าคงไม่มีอะไร แต่ในที่สุดก็มี ทำให้ต้องอพยพคนเป็นแสนคน เดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า ถ้าค้นดูในบล็อก คงเห็นว่าผมประเมินไว้ตั้งแต่หลังแผ่นดินไหวและสึนามิ ว่าไฟฟ้ากับน้ำมันจะขาดแคลนก่อนมีข่าว แต่คนญี่ปุ่นร่วมแรงร่วมใจกันผ่านความยากลำบากด้วยกัน ฟื้นฟูได้เร็วจนน่าแปลกใจ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะญี่ปุ่นมีเป้าหมายร่วม ที่ความสงบสุขก้าวหน้าของสังคมญี่ปุ่น… ลองคิดดูหากเป็นเมืองไทย คงจะเละอย่างยาวนาน มีโอกาสฟื้นตัวน้อยหรือใช้เวลายาวนาน

ในเมืองไทยเอง มีการประท้วงทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงมาหลายปีตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร ผ่านไปห้ารัฐบาล รัฐประหารครั้งหนึ่ง เลือกตั้งสองครั้ง และประกาศใช้รัฐธรรมนูญหนึ่งฉบับ กลุ่มคนที่ประท้วงทุกกลุ่มก็คงเห็นว่าตนเองทำถูกแล้ว ที่จะต้องหยุดรัฐบาลในขณะนั้นให้ได้ แต่ยังมีอีกมุมหนึ่งเป็นอย่างน้อยครับ ช่วงที่มีการประท้วงกันหนักๆ เป็นเวลาหกปีระหว่าง 2548-2553 ประเทศไทยแทบจะหยุดลงคลาน เวลาหกปีนี้ เรียนประถม เรียนมัธยม เรียนปวช.กับปวส. หรือเรียนปริญญาตรีและโทจบได้นะครับ ซึ่งสิ่งที่กระทำไป ต่างเห็นว่าสมควรแล้ว จะต้องหยุด “อีกพวกหนึ่ง” ให้ได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

อ่านต่อ »


ภัยอะไรน่ากลัว (2)

อ่าน: 3341

ผมไม่เขียนภัยจาก ลม ไฟ ต่อจาก ดิน น้ำ ที่เขียนในตอนที่แล้วหรอกครับ คงพอจะพิจารณาต่อกันได้เองแล้ว

ตอนนี้ เป็นภัยจากอวกาศ ซึ่งตื่นเต้น เร้าใจ น่าติดตาม และถูกขยายผลโดยใช้ข้อความเพียงบางส่วน; อวกาศ กว้างใหญ่และทรงพลัง สิ่งที่เกิดในอวกาศอธิบายได้ด้วยทฤษฎีทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ซึ่งบางส่วนก็ได้รับการพิสูจน์แล้ว แต่มีอีกมากมายที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ เช่นเดียวกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่เกินจากความเข้าใจของคนทั่วไป เช่นทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ เมื่อประกาศออกมาก็มักจะได้รับการท้าทาย กาลครั้งหนึ่ง คนที่มีความคิดแปลกๆ ก็ยังถูกฆ่าขัดกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ได้

พอกล่าวถึงภัยจากอวกาศ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือมากมาย ซึ่งเมืองไทยไม่มีสักอย่าง ถึงมีก็คงแตะต้องไม่ได้ เราต้องอาศัยข้อมูลมือสองจากต่างประเทศทั้งนั้น เค้าจะเปิดหรือไม่เปิดให้ก็ได้ จะพลิกแพลงแบบเนียนๆ ก็ไม่มีใครรู้ แต่เราก็ยังเชื่อกันเป็นตุเป็นตะ (หรือเป็นวรรคเป็นเวรก็ไม่รู้)

มีทฤษฎีต่างๆ มากมายที่อธิบายความเป็นไปได้ของเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงอันทรงพลังในอวกาศ ซึ่งหากดาวฤกษ์ในกาแลกซีทางช้างเผือกซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก เกิดระเบิดขึ้น เราคงไม่รอดมายืนยันทฤษฎีนั้น เพราะรังสีที่ปลดปล่อยออกมาจะเกินกว่ามนุษย์จะต้านทานได้ เช่นกรณีดาวนิวตรอน SGR 1806-20 ขนาด 20 กม. เกิดระเบิดขึ้น และแสงเดินทางมาถึงโลกเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2547 หนึ่งวันหลังจากเกิดสึนามิทางฝั่งอันดามัน SGR 1806-20 ปล่อยพลังงานทั้งหมดออกมาใน 0.1 วินาที มากกว่าพลังงานที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกมาในแสนปี — ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ในระยะ 10 ปีแสงจากโลก ชั้นโอโซนคงถูกทำลายหมด และชีวิตบนโลกคงดับลงหมด

อ่านต่อ »


ภัยอะไรน่ากลัว (1)

อ่าน: 3255

ทีแรกจะตั้งชื่อบันทึกนี้ว่าภัยอะไรน่ากลัวที่สุด แต่ในที่สุดก็ตัดคำว่าที่สุดออกไป เพราะว่าคำว่าที่สุดเป็นการเอาตัวเองตัดสิน

ภัยจากแผ่นดินไหวเป็นข่าวอึกทึกทุกทีจนผู้คนประสาทเสีย แผ่นดินไหวขนาดมดตด (น้อยกว่า 4 ริกเตอร์) ที่เขาไกรลาส ก็ยังก่อให้เกิดความแตกตื่นได้ — แผ่นดินไหวไม่ได้ฆ่าใครหรอกครับ แต่สิ่งปลูกสร้างที่หล่นลงมา สามารถฆ่าคนได้ ความประหวั่นพรั่นพรึงคือเราทำนายแผ่นดินไหวล่วงหน้าไม่ได้ เมื่อไหวเบาๆ เราไม่รู้ว่าจะมีการไหวที่รุนแรงตามมาอีกหรือไม่ ไม่รู้ว่าจะไหวอีกใกล้หรือไกล เมื่อไหร่ และรุนแรงไหม

ภัยจากน้ำก็น่ากลัว เพราะเราเป็นสัตว์บก หายใจในน้ำไม่ได้ น้ำมีพลังอันน่ากลัว น้ำหนึ่งลูกบาศก์เมตรหนักหนึ่งตัน น้ำท่วมทีหนึ่ง ก็หมดตัวทีหนึ่ง — เขื่อนกันคลื่นและถนนสูง สร้างปัญหาอย่างต่อเนื่อง ถ้าน้ำไม่สูงกว่าที่กั้น ก็ยังไม่เป็นไรมาก แต่เมื่อไหร่ที่ระดับน้ำสูงกว่าที่กั้น พอน้ำทะลักเข้ามาแล้ว ทีนี้ระบายออกไม่ได้ เหมือนเขื่อนกั้นคลื่นสึนามิในญี่ปุ่น น้ำสูงกว่าเขื่อน พัดเข้ามาแล้วออกไม่ได้ จึงไหลบ่าไปท่วมที่ลุ่มอื่นๆ ลึกเข้าไปในแผ่นดินเป็นสิบกิโลเมตรก็มี (แล้วแต่ภูมิประเทศ) หรืออย่างน้ำท่วมครึ่งประเทศไทยเมื่อปลายปีที่แล้ว ถนนกลายเป็นเขื่อนเตี้ยที่ขวางทางน้ำไหล เมื่อน้ำไหลบ่าข้ามถนนเข้าท่วมแล้ว ถนนนั่นแหละที่กักน้ำเอาไว้ ทำให้น้ำขังและเน่าเสียอยู่ในที่ทำกินของชาวบ้าน

อ่านต่อ »


เก็บตกการบรรยายในค่าย THNG #2

อ่าน: 3192

บ่ายวันนี้ ถึงจะไม่ค่อยสบาย ก็ยังไปบรรยายในงาน THNG Camp ครั้งที่ 2 ทั้งนี้เป็นเพราะผู้จัดได้ทาบทามล่วงหน้ามาหกเดือนแล้ว หลังจากที่เคยไปบรรยายในค่ายครั้งแรกเมื่อปีก่อน — เจออธิการบดีด้วย (เรียนศศินทร์รุ่นดึกดำบรรพ์พร้อมกัน) เพิ่งรู้ว่าวันนี้เพื่อนร่วมรุ่นนัดสังสรรค์กันตอนเย็น ซึ่งผมต้องขอตัว ฮี่ฮี่ฮี่

เพราะค่าย #THNGCamp ต้องการเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการภัยพิบัติ ดังนั้นแทนที่จะบรรยายตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายมา (OpenCARE เครือข่ายเพื่อการเตือนภัย เชื่อมโยงทั้งในและนอกประเทศ) ผมตัดสินใจเพิ่ม framework เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ ทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดเยอะ ผู้เข้าร่วมค่าย THNG อาจจะมีประสบการณ์เรื่องนี้มาไม่มากนัก ก็ยิ่งจำเป็นต้องตั้งทิศทางกันเสียก่อน (ถ้าฟังทัน)

โหลดสไลด์ได้ที่นี่ครับ (6.2 MB) แต่สิ่งที่ผมพูดมักไม่เขียน ถ้าหากอ่านไม่รู้เรื่องก็ขออภัยด้วยนะครับ มันเป็นสไลด์สำหรับการบรรยาย ไม่ใช่สไลด์สำหรับอ่าน

อ่านต่อ »


สำหรับตอนนี้…

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 May 2011 เวลา 0:36 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3730

เมื่อวานไปต่อทะเบียนรถ แล้วเลยแวะไปเที่ยวหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สวนโมกข์กรุงเทพ ซื้อหนังสือมาบ้าง ซื้อเสื้อ ช่วยเรื่องค่าพิมพ์หนังสือ แต่ก็มีประเด็นให้ระลึกถึง สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา ตัวท่านพุทธทาสเองก็ไม่ได้อยู่กับเรามาจนปัจจุบัน เหลือแต่แง่คิดคำสอนที่ท่านทิ้งไว้

ในชีวิตเรา คำตอบหรือทางออก ที่คิดค้นคว้ามาจากความรู้ประสบการณ์ในอดีต อาจใช้ไม่ได้ในบริบทใหม่ คำตอบที่ใช้ได้ดีในอดีต ไม่แน่ว่าจะยังเป็นทางออกที่ดีสำหรับปัจจุบัน

คนเราไม่ได้รู้อะไรทั้งหมด จะยึดคำตอบเป็นสูตรสำเร็จก็ใช่ที่ เมื่อเจอความรู้ใหม่ที่ใช้งานได้ดีกว่า แล้วถ้าโชคดี (มีทั้งสติและสัมปชัญญะ) ที่รู้ด้วยว่าเป็นทางออกที่เหมาะสมกว่า ก็น่าจะเปลี่ยนคำตอบได้ การยึดคำตอบที่มีอยู่แล้ว บางทีก็ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดตลอดกาล จะดึงดันติดยึดไปทำไม หรือว่าเรารับข้อมูลใหม่+เรียนรู้ไม่เป็น

อย่าง “การจัดการสมัยใหม่” ในระบบทุนนิยม เกิดมาจากการกลั่นกรองที่ดีที่สุดสำหรับสมัยสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อเกือบเจ็ดสิบปีก่อน โดยผู้ที่ได้รับการศึกษามาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ซึ่งการจัดการสมัยใหม่ที่เน้นประสิทธิภาพ เน้นผลิตผล เน้นการตลาด เน้นโฆษณา เน้นการใช้ทุน(เงินของคนอื่น) สร้างความต้องการ ผลักสินค้าออกไปสู่ผู้บริโภค ใช้คนเหมือนเครื่องจักร มีการเหยียดผิว ฯลฯ อาจจะเหมาะสำหรับโลกที่เศรษฐกิจชะงักงันอย่างรุนแรงระหว่างและหลังสงครามโลก แต่ทำไมเราจึงควรจะยึดสิ่งที่อาจจะเคยเหมาะกับโลกเมื่อเจ็ดสิบปีที่แล้ว — ทำไมจึงไม่ใช้การจัดการสมัยใหม่กว่า

อ่านต่อ »


โลกหลากมิติ - Superstring Theory

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 May 2011 เวลา 3:01 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 4693

บันทึกนี้ไม่เกี่ยวกับภัยพิบัติหรอกนะครับ เขียนเพราะน่าสนใจดีและมีความหลัง แต่ก่อนอื่นดูวิดีโอก่อนครับ

อ่านต่อ »


น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (2)

อ่าน: 7775

บันทึกนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ต่อจาก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (1)] ซึ่งใช้กระถางดินเผา ที่เรียกแบบโก้ว่า ceramic filter มาเป็นตัวกรองสารแขวนลอย แล้วใช้ silver colloid หรือซิลเวอร์นาโนในเครื่องซักผ้าบางยี่ห้อ มาฆ่าเชื้อโรค — วิธีการดังกล่าว ถึงดูดีมีสกุล แต่ก็ดูจะเกินเอื้อมของชาวบ้าน บันทึกนี้ จึงเสนอความคิดแบบง่ายๆ ชาวบ้านสร้างเองได้ เรียกในภาษาต่างประเทศว่า Biosand filter

Biosand filter เป็นเครื่องกรองน้ำชนิดกรองช้า ให้น้ำค่อยๆ ไหลผ่านเครื่องกรองซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ ใช้ธรรมชาติเป็นตัวกรอง มีทราย กรวด ถ่าน เป็นเครื่องกรองสารแขวนลอย และใช้เมือกชีวภาพ Schmutzdecke ซึ่งเป็นเมือกของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ (แบคทีเรีย รา โปรโตซัว โรติเฟอรา) คอยจับกินเชื้อโรคอื่นๆ ที่ปนเปื้อนมาในน้ำ

เมือกชีวภาพ biofilm ที่เรียกว่า Schmutzdecke ต้องอาศัยเวลา 20-30 วัน จึงจะเติบโตเป็นชั้นหนาพอที่จะกรองเชื้อได้ ดังนั้น หากต้องการน้ำดื่มในปัจจุบันทันด่วน ก็ต้องมีมาตรการอื่นมาเสริมด้วย เช่นเอาตากแดดไว้วันหนึ่ง [แสงแดดฆ่าเชื้อโรค] [อีกด้านหนึ่งของน้ำ]

อ่านต่อ »



Main: 0.12511301040649 sec
Sidebar: 0.17177200317383 sec