ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (3)
อ่าน: 4963บันทึกที่แล้ว เป็นการผลิต Biochar แบบง่าย แต่มีลักษณะใหญ่โตตามขนาดถังที่ใช้ ความร้อนจากไฟที่เผาถ่าน ต้องปล่อยทิ้งไปเฉยๆ
ในอัฟริกา สภาพแห้งแล้ง อากาศร้อน ครัวอยู่ในร่มซึ่งมักเป็นในกระท่อมหรือในบ้านดิน ควันไฟจากการหุงหาอาหารก่อปัญหาสุขภาวะซ้ำซ้อน เพื่อแก้ปัญหาปัญหานี้ จะต้องทำให้การเผาไหม้บริสุทธิ์ให้มากที่สุด กำจัดควันไฟ กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ ในการนี้ นาย Folke Günther ชาวสวีเดน ก็ได้ออกแบบ Anila stove เป็นเตาหุงต้มขนาดเล็ก ตามหลักการ microgasification ซึ่งมีคลิปการทดลองข้างล่าง
ช่วงที่จุดเตาแรกๆ มีควันออกมาเนื่องจากเชื้อเพลิงไม่แห้ง แต่เมื่อความร้อนมากพอที่ทำให้เกิดกระบวนการ gasification เป็นการเผาไหม้ก๊าซที่ได้จากไม้แล้ว ควันก็หายไป
เตา Anila มีส่วนที่ให้ความร้อนอยู่ตรงกลาง ในขณะที่เอาห้องอบความร้อนสำหรับเปลี่ยน biomass เป็น biochar ออกมาอยู่ในวงนอก (ตรงกันข้ามกับเตาถังในบันทึกที่แล้ว)
รูปทางขวา จะเห็นว่าเป็นทรงกระบอกสองอันซ้อนกัน เอา biomass ใส่ไว้ระหว่างทรงกระบอกทั้งสองชั้น (ส่วนสีเหลือง) ปิดหัวปิดท้ายไว้ ไม่ให้ก๊าซออก เว้นแต่เจาะรูที่ทรงกระบอกในเพื่อให้ก๊าซไหลเข้าไปในห้องเผาไหม้ (สีขาว)
ก้นห้องเผาไหม้ ทำกรวยเหล็กไว้ข้าวล่าง เพื่อให้อากาศที่ไหลเข้าจากใต้เตา เข้าไปในห้องเผาไหม้ได้
วัสดุที่ใช้ เป็นสังกะสี เหล็กแผ่น หรืออะไรก็ได้ที่กันไฟ แล้วเชื่อมได้
รูปแรก ตัดแผ่นสังกะสีสองแผ่น เป็นขนาด 88×38 ซม และ 47×38 ซม ม้วนเป็นทรงกระบอก ใหญ่อัน เล็กอัน อันใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 28 ซม และอันเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม เจาะรูก๊าซไว้ใกล้ขอบล่าง
รูปที่สอง ตัดวงแหวนอีกสองวง โดยแต่ละวงมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก 29 ซม และมีรูที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 15 ซม ใช้วงแหวนอันหนึ่ง เชื่อมปิดหัวทรงกระบอกทั้งสอง ตัดตะแกรงเป็นกรวยแปะก้นทรงกระบอกอันเล็ก
เวลาจะใส่ biomass ก็ใส่จากด้านก้นเข้าไประหว่างทรงกระบอกทั้งสอง แล้วเอามาวางไว้บนวงแหวนอีกอันที่เหลืออยู่; จากนั้นก็ใส่เศษไม้สำหรับจุดเตาทางด้านบนลงไปในช่องว่าง
ก่อนจุดเตา เอาก้อนหินหนุนเตาสักเล็กน้อย ให้อากาศไหลเข้าใต้เตา (ผ่านกรวย) ไปยังห้องเผาไหม้ได้
« « Prev : ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (2)
Next : เตาเผาอิฐ » »
1 ความคิดเห็น
[...] ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (3) [...]