โดมสำหรับพักพิงชั่วคราว

อ่าน: 7847

หากจะสร้างที่พักชั่วคราวแล้ว ลักษณะกระโจมน่าจะสร้างได้ง่ายที่สุดครับ

แต่หากอากาศแปรปรวนมีฝนหนักหรือลมแรง กระโจมมักจะทานแรงลมกรรโชกหรือแรงพายุไม่ไหว

โครงสร้างที่กระจายแรง (ลมและฝน) ที่มากระทำจากภายนอกได้ดี คือโครงสร้างรูปโดม ไม่ว่าลมและฝนจากพัดมาในทิศทางใด ผิวโค้งของโดมก็จะกระจายแรงออก ถ่ายไปตามผิวโค้ง อ้อมไปอีกด้านหนึ่ง ทำให้โครงสร้างรูปโดมทนทานต่อพายุได้ [โครงสร้างรูปโดม] องค์กรจัดการภัยพิบัติของสหรัฐ (FEMA) ได้แนะนำโครงสร้างรูปโดมไว้ สำหรับบ้านเรืองในเขตที่ต้องเผชิญกับพายุเฮอริเคนระดับ 5

การก่อสร้างดูจะยุ่งยากเหมือนกัน เนื่องจากเต็มไปด้วยผิวโค้ง ดังนั้นก็มีวิธีสร้างโดยนำแผ่นเรียบที่ตัดให้ได้ขนาด มาต่อกันเป็นรูปคล้ายโดม เรียกว่า Geodesic dome [บ้านปลอดภัย] มีสูตรการคำนวณขนาดอยู่ในบันทึกดังกล่าว หรือจะใช้ที่นี่ก็ได้ครับ [1] [2]

โดมเป็นส่วนหนึ่งของทรงกลม ซึ่งทรงกลมเป็นพื้นผิวที่น้อยที่สุดที่ห่อหุ้มปริมาตรอันหนึ่งเอาไว้ ทั้งนี้ก็หมายความว่าถ้าต้องการปกป้องปริมาตรอันหนึ่งเอาไว้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ทรงกลม (หรือส่วนของทรงกลม) ครอบไว้ ก็จะสิ้นเปลือวัสดุก่อสร้างน้อยที่สุด หรือแปลอีกอย่างหนึ่งคือโครงสร้างนี้ มีน้ำหนักเบาที่สุด… แต่ก็ว่าเถอะ การก่อสร้างอะไรพวกนี้ยุ่งยากเหมือนกัน ต้องเปิดสูตร ต้องคำนวณ ต้องตัดแบบ จึงเหมาะสำหรับการก่อสร้างในภาวะที่สงบ

สำหรับในภาวะฉุกเฉิน ที่จริงก็มีวิธีก่อสร้างง่ายๆ เพียงแต่ว่าเหมาะกับเป็นที่พักชั่วคราวเท่านั้น

อ่านต่อ »


อพยพ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 May 2011 เวลา 21:59 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3073

คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก … ถ้าคับแค้นอะไรก็อยู่ (ก็ไม่มีทางเลือกนี่นา เอ หรือว่าเลือกที่จะคับแค้นเอง)

เวลาเราพูดถึงที่หลบภัยแล้ว ส่วนใหญ่จะมองว่าแค่เป็นที่หมายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า ว่าหากเกิดภัยก็ให้มารวมพลกันตรงนี้ เช่นวัด โรงเรียน ศาลาประชาคม ฯลฯ … คิดแค่นั้นคงไม่พอหรอกครับ ถ้าเกิดภัยจนถึงขนาดว่าจะต้องอพยพแล้ว บางทีอาจจะต้องอยู่กันนานหน่อย เรื่องอย่างนี้ไม่เหมือนกับแพ็คกระเป๋าไปเที่ยวเสาร์-อาทิตย์ครับ

สถานที่…ขนาดไหนจึงพอ

แค่ระบุที่หมายว่าจะอพยพไปเมื่อเกิดภัยนั้นไม่พอ จะต้องดูความพร้อมของสถานที่หลบภัยด้วย

UNHCR ให้แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่อพยพเอาไว้ว่า ศูนย์อพยพควรจะมีพื้นที่ขั้นต่ำ 45 ตารางเมตรต่อผู้อพยพหนึ่งคน เช่นหมู่บ้านขนาด 200 คน ไม่ว่าจะแห่กันไปอยู่วัดหรือโรงเรียนก็ตาม ศูนย์อพยพนั้นควรจะมีพื้นที่ 9,000 ตารางเมตร (5.6 ไร่)

อ่านต่อ »


ประชุมเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ครั้งที่ 4

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 May 2011 เวลา 21:59 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3638

บ่ายนี้มีการประชุมประชุมเครือข่ายอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ซึ่งน่าจะเป็นครั้งที่ 4 แล้วนะครับ ครั้งแรกที่ สสส. ต่อมาที่ Thai PBS ก่อนย้ายที่ทำการ แล้วก็ดุสิตธานี ครั้งนี้กลับมาประชุมที่ที่ทำการใหม่ของ Thai PBS

เป็นการประชุมที่สนุกดีครับ ได้แง่คิดด้วยหลายอย่าง มีปล่อยของบ้างประปราย… โธ่ คนทำงานนะ ก็ต้องเจอสิ่งที่ไม่น่าอภิรมย์เป็นธรรมดา ยิ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความปรารถนาจะช่วยเหลือคนด้วยแล้ว พอไปเจอความเฟอะฟะเข้า ก็คงมีอาการไม่สบอารมณ์กันบ้างล่ะ

แต่ว่าบ่นไปก็เท่านั้นแหละนะครับ เราเปลี่ยนแปลงคนอื่นไม่ได้ ตั้งเงื่อนไขก็ไม่ได้ (ที่จริงตั้งเงื่อนไขได้ แต่มันไม่เกิดขึ้น)

ที่ว่าสนุกนั้น ไม่ได้สนุกบนความทุกข์ยากของผู้ประสบภัยหรอกครับ แต่สนุกที่เกร็ดหรือเรื่องราวแปลกๆ ที่แต่ละทีมไปเจอมา นับว่าเป็นประสบการณ์พิเศษซึ่งหาไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ช่วยผู้ประสบภัย ก็ไม่ได้เจออะไรอย่างนี้

อ่านต่อ »


ความปรารถนาดีอย่างเดียวไม่ได้ช่วยอะไร

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 May 2011 เวลา 2:51 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2862

เมื่อตอนเกิดสึนามิขึ้นปลายปี 2547 ต้นปี 2548 ก็มีคุณหญิงคุณนายลงไปในพื้นที่ เอาของไปแจกผู้ประสบภัยเยอะแยะ แต่จะไปแจกเฉยๆ เพื่อถ่ายรูป ก็ดูกระไรอยู่ บรรดาไฮโซจึงสำรวจความเสียหาย โอภาปราศรัย ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบตามมารยาท คำถามยอดนิยมออกมาในแนว เป็นอย่างไรบ้าง? ใครลงไป ก็ถามคำถามแนวนี้ โดยไม่รู้หรอกว่าคำถามในแนวนี้ hurt มากกว่า help

ทุกครั้งที่ผู้ประสบภัยเล่าถึงความสูญเสีย เขาก็คิดย้อนกลับไปถึงการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เครื่องมือทำกินบ้านช่องทรัพย์สินเงินทองมลายหายไปหมด — มีชาวบ้านที่สูญเสียสมาชิกของครอบครัวไปทั้งหมด บ่นให้ฟังว่า ลงมาสิบคณะ ทั้งสิบคณะถามแบบเดียวกันหมด พ่อแม่ภรรยากับลูกผมตายสิบเอ็ดครั้ง… ตายจริงครั้งเดียว แต่อีกสิบครั้ง ตายเมื่อผู้ประสบภัยต้องนึกย้อนไปถึงเหตุการณ์ เพื่อที่จะเล่าเรื่องให้ฟัง

แต่ถ้ามองในแง่ของความช่วยเหลือที่เข้าไปในพื้นที่แล้ว ก็จำเป็นต้องรู้ว่าผู้ประสบภัยต้องการให้ช่วยเหลืออะไรเหมือนกัน ไม่อย่างนั้นความช่วยเหลือก็จะต้องอาศัยจินตนาการซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงได้

อ่านต่อ »


เขื่อนใหญ่บนรอยแยก

อ่าน: 3377

จนปัญญาที่จะหาเหตุผลว่าทำไมจึงไปสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ไว้บนรอยแยก ถ้าจะเดาเอา ก็คงมีอยู่สองกรณี คือ (1) ไม่รู้ว่ามีรอยแยก และ (2) มีการสำรวจจนมั่นใจแล้ว ว่ารอยแยกนั้นไม่มีพลังแล้ว ดับแล้ว

ในเมืองไทยมีอยู่สองเขื่อนทางทิศตะวันตก คือเขื่อนศรีนครินทร์บนรอยแยกศรีสวัสดิ์ และเขื่อนวชิราลงกรณใกล้รอยแยกเจดีย์สามองค์ (อนึ่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตสะกดชื่อเขื่อนวชิราลงกรณ ไม่มีการันต์ แต่วิกิพีเดียสะกดแบบมีการันต์ ซึ่งผมเชื่อ กฟผ.ผู้ดูแลเขื่อนครับ)

ที่พูดกันมากคือความเป็นไปได้ของกรณีเขื่อนแตก แล้วน้ำในเขื่อนไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือน ว่ากันว่ากาญจนบุรีจะจมน้ำสูง 25 เมตร แล้วน้ำจะไหลมาตามแม่กลองและคลองต่างๆ ทำให้ อ.บ้านโป่งท่วมสูง 7.5 เมตร ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพท่วมสูง 2 เมตร

ถ้าอยู่ดีๆ ถามว่ามีโอกาสที่เขื่อนจะแตกไหม ก็ต้องบอกว่ามีครับ ไม่มีอะไรที่คงอยู่ตลอดไปแน่นอน แต่ผมคิดว่ามีเรื่องที่น่าจะทำความเข้าใจกันก่อนหลายประเด็น…

อ่านต่อ »


ควบคุมความคิด ความฟุ้งซ่าน

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 17 May 2011 เวลา 3:43 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3990

บ้านเมืองของเราสงบสุขอยู่บนความปั่นป่วนอลหม่าน เป็นความอลหม่านอันเกิดจากการไม่ทำหน้าที่ของตน ปล่อยปัญหาให้หมักหมมไว้จนแก้ไขได้ยาก สิ่งที่ผิดกลายเป็นถูก สิ่งที่ถูกกลายเป็นแปลกประหลาด ผู้มีหน้าที่บางส่วนก็หย่อนยาน กระทำการเพื่อประโยชน์ส่วนตนแต่ถ่ายเดียว คนทำอย่างนั้นก็คงคิดว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ(ทีึ่คนเห็นแก่ตัว)จึงทำไป…

ความคิดแบบนี้ ถูกแค่บางส่วนครับ แต่คงลืมไปว่ามนุษย์นั้นพึ่งพากัน ไม่มีใครที่รู้อะไรทั้งหมด ไม่มีใครทำอะไรได้ทั้งหมด ถ้าคนอื่นอยู่ไม่ได้ ตัวเราก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน… ปัจเจกชนมีความแตกต่าง ถ้าไม่ระวังก็จะเกิดความกระทบกระทั่งเบียดเบียนกันขึ้นได้ แล้วยิ่งอคติ+อัตตาใหญ่โต คุ้นชินกับการเพ่งโทษของผู้อื่น เรื่องนิดเดียวก็ขยายได้เช่นกัน ทุกเรื่องดูเหมือนเป็นเรื่องใหญ่เมื่อไปจ้องดูใกล้ๆ ในขณะที่คนที่ไม่สนใจ มองดูจากระยะไกลแล้วเป็นเรื่องนิดเดียว ทั้งที่เรื่องนั้นก็มีขนาดของเรื่องเท่าเดิมนั่นแหละ

ในวิตักกสัณฐานสูตร ว่าด้วยอาการแห่งวิตก — อาการวิตกคืออาการหมกมุ่นครุ่นคิดกังวลอยู่กับเรื่องที่คิด ทำให้สติไม่แจ่มใส ไม่เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง (วิปลาส)… ในอาการวิตกหมกมุ่น ไม่มีปัญญาครับ เวลาอ่านหนังสือที่อยู่ห่างลูกนัยน์ตาแค่นิ้วเดียว ไม่ได้ทำให้ซาบซึ้งมากขึ้นเลย แต่กลับอ่านไม่ออกนะครับ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชอธิบายไว้โดยสังเขปด้งนี้

อ่านต่อ »


ฝนตก น้ำท่วม กระสอบทราย

อ่าน: 4126

ช่วงนี้สภาวะอากาศแปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝนแล้งก็แล้งจัด ส่วนเมื่อฝนมา กลับมาหนักเสียจนเกินต้านทาน

คลิปนี้ เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะลดภาระในการทำกระสอบทราย เอาไว้ป้องกันอาณาเขตที่ต้องการจากน้ำ

อ่านต่อ »


พืชน้ำมัน: ทานตะวัน

อ่าน: 4317

ความคิดเดิมที่คุยกันในบรรดาชาวเฮ ก็คิดกันว่าต้นเอกมหาชัยซึ่งเมล็ดมีน้ำมันมาก คุณภาพดีแบบน้ำมันมะกอก น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่กว่าต้นเอกมหาชัยจะโตพอที่จะออกดอกออกผลก็ใช้เวลาหลายปี ระหว่างที่รอจนเก็บเกี่ยวเมล็ดได้ ยังไม่มีคำตอบว่าจะทำอะไรดี

คืนนี้ค้นเน็ตไปเรื่อย ก็เจออีกไอเดียหนึ่งคือทานตะวันครับ เมล็ดทานตะวันเอามาบีบน้ำมัน ได้น้ำมันทานตะวันขายกันเกร่อ

ทานตะวันเป็นพืชที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้ดีพอสมควรไม่ไวต่อแสง สามารถออกดอกให้ผลได้ทุกสภาพช่วงแสง ปลูกได้ในบริเวณที่มีการปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง เมื่อทานตะวันตั้งตัวได้แล้ว จะมีความทนทานต่อสภาพแห้งและร้อนได้พอสมควร และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน นอกจากนี้ทานตะวันยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีกว่าข้าวโพด ข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า ทานตะวันขึ้นได้กับดินหลายประเภท แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินที่มีผิวดินหนาและอุ้มความชื้นไว้ได้ดี สามารถทนต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ตลอดจนสภาพดินเกลือและเป็นด่างจัดได้พอสมควร ซึ่งดินเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจำ นวนมากในเขตแห้งแล้งทั่วๆไป

สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน มีคุณค่าทางอาหารสูง ขายได้ราคา แต่หากเกิดการขาดแคลน สามารถใช้เป็นน้ำมันพืชได้โดยตรง หรือจะใส่เครื่องดีเซลเป็นไบโอดีเซล 100% แก้ขัดไปก็ยังได้

อ่านต่อ »


ช้อนกับชายพเนจร

อ่าน: 3602

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีผู้ชายคนหนึ่งเดินเข้าไปในคฤหาสน์ที่สวยงามของเศรษฐีผู้หนึ่งเพื่อที่จะขอดูรูปที่วิจิตรสวยงาม เมื่อชายคนนั้นขอเศรษฐีเข้าไปในบ้าน เศรษฐีก็ยอมให้ชายคนนั้นเข้าไปในบ้านแต่มีข้อแม้ว่า เขาต้องถือช้อนที่มีน้ำมันไว้ ถ้าทำน้ำมันหกเขาจะต้องออกจากบ้านทันที

ชายพเนจรมองที่ช้อนน้ำมันด้วยใจจดจ่อ เมื่อเดินผ่านมาครึ่งมาห้องก็มีเสียงลึกลับพูดว่า “ถ้าเจ้ามัวสนใจแต่ช้อนน้ำมัน ก็จะพลาดโอกาสที่จะดูสมบัติของเศรษฐีน่ะสิ”

ชายพเนจรมองไปรอบๆห้องก็รู้ว่า เสียงพูดนั้นมาจากรูปปั้นหินปูนนั่นเอง ชายคนนั้นจึงครุ่นคิด “เราจะทำอย่างไรจึงจะได้มองรูปภาพและถือช้อนน้ำมันในเวลาเดียวกันได้นะ”

ในที่สุดเขาก็คิดได้ว่าถ้าดูแต่น้ำมันก็จะไม่ได้ดูรูป เขาจึงตัดสินใจว่า “ช่างมัน เราควรสนใจในสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งก็คือรูปภาพในคฤหาสน์ของเศรษฐีนั่นเอง ส่วนการที่เรากลัวว่าน้ำมันจะหกก็คือการที่เรากลัวกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ถ้ามัวคำนึงกับสิ่งที่จะเกิดในอนาคตก็จะพลาดสิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน”

พอคิดได้ดังนั้นเขาก็สนใจแต่รูปภาพ น่าแปลกใจที่น้ำมันกลับไม่หก นั่นก็เพราะว่าเขาไม่ได้กังวลจนเกินไป มือจึงไม่สั่น น้ำมันก็เลยไม่หก

ในที่สุด เขาก็เดินมองดูรูปภาพในคฤหาสน์จนครบ และจากไปอย่างมีความสุข

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่ควรกังวลกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพราะว่าจะทำให้ทำปัจจุบันได้ไม่ดี เราจึงควรทำวันนี้ให้ดีที่สุด

อ่านต่อ »


เตาเผาอิฐ

อ่าน: 5817

อิฐเป็นวัสดุก่อสร้างซึ่งหาซื้อได้ทั่วไป แต่ถ้าขนส่งไม่ได้ (ยังไง?) หรือไม่มีในแบบที่ต้องการ ก็ต้องทำขึ้นมาเองหรือไม่ก็ไม่ใช้ครับ

แต่มีความต้องการพิเศษแบบที่ผมคิดว่าน่าจะเตรียมการไว้นี่นา นั่นคือดินเผาที่ใช้เป็นเครื่องกรองน้ำในยามจำเป็น… จำเป็นขนาดที่กระบอกกรองน้ำ (ธมกรก) ก็เป็นหนึ่งในอัฐบริขารครับ

ทีนี้ กรองแล้วเวิร์คขนาดไหน — เครื่องกรองน้ำแบบนี้ กรองสารเคมี-กรองปุ๋ยไม่ได้ครับ กรองจุลชีพได้บางส่วน (ซึ่งควรเอาน้ำที่กรองไปตากแดดไว้ทั้งวัน เพื่อให้ UV ฆ่าเชื้อโรคอื่นที่อาจหลุดรอดมา) และกรองสารแขวนลอยได้ครับ

น้ำในบีกเกอร์ขวาเป็นน้ำที่ยังไม่ได้กรอง เมื่อเทน้ำนี้ใส่ถ้วยดินเผา น้ำจะซึมผ่านตัวกรองน้ำดินเผาลงมาในบีกเกอร์ทางซ้าย เป็นน้ำใสๆ (เค้าน่าจะหาบีกเกอร์/กระบอกที่สะอาดเสียหน่อย)

อ่านต่อ »



Main: 0.89272713661194 sec
Sidebar: 0.71621704101562 sec