โดมสำหรับพักพิงชั่วคราว

อ่าน: 7842

หากจะสร้างที่พักชั่วคราวแล้ว ลักษณะกระโจมน่าจะสร้างได้ง่ายที่สุดครับ

แต่หากอากาศแปรปรวนมีฝนหนักหรือลมแรง กระโจมมักจะทานแรงลมกรรโชกหรือแรงพายุไม่ไหว

โครงสร้างที่กระจายแรง (ลมและฝน) ที่มากระทำจากภายนอกได้ดี คือโครงสร้างรูปโดม ไม่ว่าลมและฝนจากพัดมาในทิศทางใด ผิวโค้งของโดมก็จะกระจายแรงออก ถ่ายไปตามผิวโค้ง อ้อมไปอีกด้านหนึ่ง ทำให้โครงสร้างรูปโดมทนทานต่อพายุได้ [โครงสร้างรูปโดม] องค์กรจัดการภัยพิบัติของสหรัฐ (FEMA) ได้แนะนำโครงสร้างรูปโดมไว้ สำหรับบ้านเรืองในเขตที่ต้องเผชิญกับพายุเฮอริเคนระดับ 5

การก่อสร้างดูจะยุ่งยากเหมือนกัน เนื่องจากเต็มไปด้วยผิวโค้ง ดังนั้นก็มีวิธีสร้างโดยนำแผ่นเรียบที่ตัดให้ได้ขนาด มาต่อกันเป็นรูปคล้ายโดม เรียกว่า Geodesic dome [บ้านปลอดภัย] มีสูตรการคำนวณขนาดอยู่ในบันทึกดังกล่าว หรือจะใช้ที่นี่ก็ได้ครับ [1] [2]

โดมเป็นส่วนหนึ่งของทรงกลม ซึ่งทรงกลมเป็นพื้นผิวที่น้อยที่สุดที่ห่อหุ้มปริมาตรอันหนึ่งเอาไว้ ทั้งนี้ก็หมายความว่าถ้าต้องการปกป้องปริมาตรอันหนึ่งเอาไว้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ทรงกลม (หรือส่วนของทรงกลม) ครอบไว้ ก็จะสิ้นเปลือวัสดุก่อสร้างน้อยที่สุด หรือแปลอีกอย่างหนึ่งคือโครงสร้างนี้ มีน้ำหนักเบาที่สุด… แต่ก็ว่าเถอะ การก่อสร้างอะไรพวกนี้ยุ่งยากเหมือนกัน ต้องเปิดสูตร ต้องคำนวณ ต้องตัดแบบ จึงเหมาะสำหรับการก่อสร้างในภาวะที่สงบ

สำหรับในภาวะฉุกเฉิน ที่จริงก็มีวิธีก่อสร้างง่ายๆ เพียงแต่ว่าเหมาะกับเป็นที่พักชั่วคราวเท่านั้น

อ่านต่อ »



Main: 0.33674693107605 sec
Sidebar: 0.73514795303345 sec