ภัยอะไรน่ากลัว (2)

อ่าน: 3355

ผมไม่เขียนภัยจาก ลม ไฟ ต่อจาก ดิน น้ำ ที่เขียนในตอนที่แล้วหรอกครับ คงพอจะพิจารณาต่อกันได้เองแล้ว

ตอนนี้ เป็นภัยจากอวกาศ ซึ่งตื่นเต้น เร้าใจ น่าติดตาม และถูกขยายผลโดยใช้ข้อความเพียงบางส่วน; อวกาศ กว้างใหญ่และทรงพลัง สิ่งที่เกิดในอวกาศอธิบายได้ด้วยทฤษฎีทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ซึ่งบางส่วนก็ได้รับการพิสูจน์แล้ว แต่มีอีกมากมายที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ เช่นเดียวกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่เกินจากความเข้าใจของคนทั่วไป เช่นทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ เมื่อประกาศออกมาก็มักจะได้รับการท้าทาย กาลครั้งหนึ่ง คนที่มีความคิดแปลกๆ ก็ยังถูกฆ่าขัดกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ได้

พอกล่าวถึงภัยจากอวกาศ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือมากมาย ซึ่งเมืองไทยไม่มีสักอย่าง ถึงมีก็คงแตะต้องไม่ได้ เราต้องอาศัยข้อมูลมือสองจากต่างประเทศทั้งนั้น เค้าจะเปิดหรือไม่เปิดให้ก็ได้ จะพลิกแพลงแบบเนียนๆ ก็ไม่มีใครรู้ แต่เราก็ยังเชื่อกันเป็นตุเป็นตะ (หรือเป็นวรรคเป็นเวรก็ไม่รู้)

มีทฤษฎีต่างๆ มากมายที่อธิบายความเป็นไปได้ของเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงอันทรงพลังในอวกาศ ซึ่งหากดาวฤกษ์ในกาแลกซีทางช้างเผือกซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก เกิดระเบิดขึ้น เราคงไม่รอดมายืนยันทฤษฎีนั้น เพราะรังสีที่ปลดปล่อยออกมาจะเกินกว่ามนุษย์จะต้านทานได้ เช่นกรณีดาวนิวตรอน SGR 1806-20 ขนาด 20 กม. เกิดระเบิดขึ้น และแสงเดินทางมาถึงโลกเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2547 หนึ่งวันหลังจากเกิดสึนามิทางฝั่งอันดามัน SGR 1806-20 ปล่อยพลังงานทั้งหมดออกมาใน 0.1 วินาที มากกว่าพลังงานที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกมาในแสนปี — ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ในระยะ 10 ปีแสงจากโลก ชั้นโอโซนคงถูกทำลายหมด และชีวิตบนโลกคงดับลงหมด

อ่านต่อ »



Main: 0.026798963546753 sec
Sidebar: 0.17051911354065 sec