การจัดการน้ำท่วม

อ่าน: 4065

ไม่ว่าจะเป็นการจัดการใดๆ ก็ต้องเริ่มที่ความเข้าใจที่ถูกต้องครับ

กรณีของน้ำท่วม มีหลายเรื่องประกอบกัน คือ

  1. มีปริมาณน้ำไหลมามาก ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากฝนตกหนักในเวลาไม่นาน หรือว่าฝนตกระยะยาวหลายวันในพื้นที่กว้าง เมื่อฝนตกแล้ว น้ำก็ไหลไปลงแม่น้ำลำธารซึ่งเป็นร่องน้ำตามธรรมชาติ แต่เมื่อการที่เกิดมีน้ำไหลมากขึ้นอย่างฉับพลัน เกินกำลังการระบายของร่องน้ำ น้ำก็จะยกตัวขึ้น หากยกตัวจนพ้นตลิ่ง ก็จะไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนซึ่งมักตั้งอยู่ริมร่องน้ำ — เขื่อนแตกก็มีสภาพเดียวกัน เพียงแต่ว่าเขื่อนในเมืองไทยมักเป็นเขื่อนแกนดินเหนียวดาดคอนกรีต ซึ่งมักจะไม่ระเบิดโพล๊ะเหมือนในหนัง แต่จะปริแทน

  2. เมื่อน้ำปริมาณมหาศาลไหลบ่าลงมาแล้ว ก็จะมาเจอแนวป้องกันซึ่งเป็นถนนหลวง ประเทศไทยมีระดับถนนสูงกว่าพื้นที่รอบข้างติดอันดับโลก (และอาจเป็นอันดับหนึ่งเลยทีเดียว) ไม่ว่าจะเอาถนนสูงไว้กั้นน้ำหลาก หรือเอาไว้ให้พวกถมดินได้มีงานทำก็ตาม ถนนสูงขวางทางน้ำธรรมชาติ หากกั้นไว้ไม่ได้แล้วน้ำข้ามถนนมาได้ ทีนี้การระบายน้ำออกจากพื้นที่กลับเป็นเรื่องยาก เนื่องจากถนนกลับเป็นกำแพงกั้นเอาไว้ น้ำไหลออกไม่ได้ — อาจจะเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้ แต่ว่าเขื่อนกั้นสึนามิในญี่ปุ่นซึ่งสูงไม่พอนั้น ทำให้เกิดความเสียหายลึกเข้ามาในแผ่นดินมาก เพราะว่าเมื่อน้ำข้ามเขื่อนเข้ามาแล้ว ไหลย้อนกลับลงทะเลไปไม่ได้ ต้องไหลเข้าไปทางแผ่นดินเรื่อยๆ จนไปไม่ไหว น้ำจึงเข้าไปในแผ่นดินได้ถึงสิบกิโลเมตร

  3. แก้มลิง เป็นพื้นที่ที่พักน้ำเอาไว้ รอระบายในจังหวะที่เหมาะสม เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่เป็นปลายเหตุนะครับ เรื่องของเรื่องคือน้ำไหลมาจากต้นน้ำในปริมาณมากจนเกินรับ

อ่านต่อ »



Main: 0.050908803939819 sec
Sidebar: 0.21318602561951 sec