เมื่อเอาใจนำ ทุกข์ก็เปลี่ยนเป็นสุข — ศ.นพ.ประเวศ วะสี

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 April 2009 เวลา 0:25 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3523

เคล็ดลับของความสุขนั้นไม่ยากเลย เหมือนเส้นผมบังภูเขา เราทำอะไรๆ โดยเอาความรู้นำบ้าง เอาเศรษฐกิจนำบ้าง เอาการเมืองนำบ้าง แล้วก็นำเราเข้าไปสู่ความเครียด ความขัดแย้ง และวิกฤต จริงอยู่ ความรู้ก็ดี เศรษฐกิจก็ดี การเมืองก็ดี มีความจำเป็นแต่ไม่ใช่ตัวนำ

ดาวน์โหลดฉบับเต็ม

อ่านต่อ »


หัวใจนักปราชญ์ ตีความแบบตามใจฉัน

อ่าน: 9285

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต วัดราชโอรสาราม กล่าวในหนังสือ พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด ถึงคาถาบาลีบทหนึ่งว่า สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปํณฑิโต ภเว แปลว่า ผู้ปราศจาก สุ จิ ปุ ลิ จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร คาถาบทนี้ เป็นที่ถือกันว่าเป็นหัวใจนักปราชญ์

ผมลองค้นพระไตรปิฎกดู ไม่พบทั้ง “สุ จิ ปุ ลิ” และ “หัวใจนักปราชญ์” และเมื่อพิจารณาดูว่าสมัยพุทธกาล อักษรเทวนาครี/อักษรพราหมณ์ มีไว้เพื่อจารึกพระเวทย์ และมีไว้ใช้ในวรรณะพราหมณ์และวรรณะกษัตริย์เท่านั้น ตัว ลิ (ลิขิต/เขียน) จึงไม่น่าจะเกิดจากสมัยนั้น น่าจะเป็นเกจิอาจารย์แต่งเสริมขึ้นในสมัยหลัง เลยค้นไม่พบในพระไตรปิฎก [พาหุสัจจะ ตามความหมายในพระไตรปิฎก]

แต่อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่า สุ จิ ปุ ลิ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมาก เพียงแต่การตีความนั้น ผมขยายออกไปอีก ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวครับ บางส่วนเล่าให้ฟังแล้วในกิจกรรมอ่างปลา

ความรู้ไม่ได้ถ่ายให้กันได้ง่ายๆ เหมือนเทน้ำจากถังหนึ่งไปยังอีกถังหนึ่ง ฝั่งผู้สอนหรือผู้ถ่ายทอดนั้น เป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ ต้องใช้แสวงหาเอา แต่ปัจจัยที่เกิดขึ้นในตัวเรา (ซึ่งไม่ต้องไปโทษใคร) นั้น คือ สุ จิ ปุ ลิ ของกระบวนการเรียนรู้นั่นล่ะครับ

อ่านต่อ »


เสียงพูดสุดท้าย ‘รงค์ วงษ์สวรรค์

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 April 2009 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 4635

เมื่อตอนบ่าย ออกไปเจอ อ.แฮนดี้ เพื่อส่งคืนกล้องซึ่งอาจารย์ลืมไว้ในรถผมเมื่อตอนกลับมาจากสวนป่า ก็เลยเถลไถลไปร้านหนังสือ ซื้อวารสาร สารคดี ฉบับเดือนเมษายน 2552 ซึ่งหน้าปกเป็นเรื่องทุ่งกุลาร้องไห้มาอ่าน

พอตอนหัวค่ำ ไปงานศพลูกน้อง เศร้าอีกแล้วครับ เธอคนนี้ขยันขันแข็ง เลิกงานตอนเย็น ไปรำแถวสีลมหาเงินช่วยครอบครัว ทำงานด้วยกันมา 12-13 ปี แต่งงานที่นี่ สร้างครอบครัวใหม่ที่นี่ มีลูกที่นี่

เลยเลื่อนเรื่องเกลืออีสานเอาไว้ก่อน มาเขียนบอกว่า สารคดี เล่มนี้ มีเรื่อง เสียงพูดสุดท้าย ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ด้วยครับ ผมยกเฉพาะไฮไลท์ที่หนังสือทำเป็นตัวใหญ่มาให้อ่านครับ

“เด็กสมัยใหม่คิดว่าการเป็นนักเขียนมันง่าย แป๊บ ๆ พิมพ์เป็นเล่มแล้ว ง่ายไป ก็เลยไม่ยั่งยืน กับนักเขียนใหม่ ๆ เราบอกอย่าเพิ่งพิมพ์เป็นเล่ม ให้คนอ่านยอมรับก่อนค่อยพิมพ์ หลายคนไม่เชื่อเรา แล้วมาเจ็บปวดภายหลัง บางคนตั้งตัวเป็นบรรณาธิการเอง คุณภาพไม่ถึง บางคนเพื่อนเป็นบรรณาธิการ เขียนไม่ดีแกล้งบอกดี แบบนี้ไม่รอด”

“เราไม่ชอบรัฐบาลมายื่นเงินให้ แต่คุณควรทำถนนให้ดี ทำโรงพยาบาลให้ดี ทำโรงเรียนดี ๆ ไม่ใช่ว่ามาให้ข้าวสาร ให้เงิน แค่ปกครองให้เป็นธรรมก็พอ นี่เปลี่ยนรัฐบาลที เข้ามาก็รู้ หน้าตาซ้ำ ๆ หรือเปลี่ยนก็เป็นญาติพี่น้องผลัดกัน มาโกง ไม่เห็นมีสติปัญญา ไม่มี pearl of wisdom คือไม่มีไข่มุกทางปัญญา มีแต่ผรุสวาท”

“การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ว่าเรื่องเซ็กซ์ เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องแฟชั่น ประเทศไทยการศึกษาเหมือนจะดีแต่ไม่ดี รู้น้อย รู้ในเรื่องที่ไม่ควรรู้เยอะ เปิดอินเทอร์เน็ตแล้ว อ้างว่ารู้เยอะ แต่ไปรู้ในเรื่องที่ไม่ควรรู้ ชีวิตลวกขึ้น รีบร้อน เด็กยุคนี้เสียบไอพอดฟัง ๓,๐๐๐ เพลง แต่ไม่รู้จักคนแต่งเพลงเลยสักคน”

“ทุกสังคมมีคนดัดจริต อายในสิ่งที่ไม่ควรอาย มือถือสาก ปากถือศีล ชอบสร้างภาพว่าตัวเองเป็นคนดี จริง ๆ เหี้ยมาก ชอบสร้างกฏหมายให้ตนเองเป็นคนดี แต่จริง ๆ ทำชั่วฉิบหาย มนุษย์เป็นแบบนี้ ชอบสร้างกฏหมายให้ดูว่าพลเมืองประเทศนี้ชั้นหนึ่ง เบื้องหลังก็คอร์รัปชันแหลก สำส่อน ผิดลูกผิดเมีย เราเกลียดมาก เสแสร้งไม่เข้าเรื่อง”

“เราคิดว่ากำลังใจเราดี แต่อย่าถามว่ากลัวตายไหม กลัวทุกคน ไม่มีใครรู้จักว่าความตายคืออะไร เพื่อนที่วัยไล่ ๆ กันมา ป่วยทั้งนั้น…เรารู้สึกว่าเราควรจะปลอบใจ ปลอบโยนกันตามโอกาสสมควร เพราะรู้ว่าความตายใกล้มาถึงแน่แล้ว”

อ่านต่อ »


AAR สวนป่างานค่ายนิสิตแพทย์ 23-26 เม.ย. 2552

13 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 April 2009 เวลา 0:17 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4413
  • งานนี้ มีหมอชาวเรามาสองหมอ คือหมอป่วน กับหมอตา; มีแม่หมอ (ป้าจุ๋ม); มีหมอเสน่ห์ยาแฝด (อ.ขจิต) เป็นตัวเดินเรื่องตลอดงาน สงสารเด็กจัง ฮาๆๆๆ
  • แม้อากาศร้อนจัด กับพายุฝน เป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ แต่ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่ปรับปรุงได้ กล่าวคือต้องการเงาไม้ปิดบังแสงแดดตกกระทบลานคอนกรีตข้างอาคารใหญ่ ถ้าไม้ใหญ่โตช้า ทำร้าน+ไม้เลื้อยหรือพลาสติกพรางแสง จะเร็วกว่า ผมคิดว่ามีประโยชน์มากกว่าการใช้ลานกินข้าวเป็นที่นอนดูดาว ซึ่งเลี่ยงไปใช้ชานอาคารที่ชั้นสองแทนได้ ถ้าไม่มีเงาไม้ ลานคอนกรีตที่กินข้าว จะกลายเป็นเตาอบไป
  • ทางเข้าสวนป่าเป็นหลุมเป็นบ่อ แม้จะยังใช้สัญจรได้ แต่เป็นเป็นโอกาสดีที่จะปรับให้เรียบ(ขึ้นบ้าง) เนื่องจากฝนทำให้ดินอ่อนลงแล้ว
  • ถ้าจะออกจากสวนป่าหลังเที่ยง ควรพิจารณาค้างอีกคืนหนึ่ง ระยะระหว่างสวนป่าถึงบ้านป้าจุ๋ม 400 กม.กับเศษอีกนิดหน่อย วันนี้ใช้เวลาขับห้าชั่วโมงสิบห้านาที (รวมเวลาหยุดพักยี่สิบนาที) แต่ช่วงท้ายๆ มีอาการอ่อนเพลีย และมืดแถวหนองแค/สระบุรี จึงไม่ควรเสี่ยง
  • ผมร่วมกิจกรรมวงอ่างปลาเป็นครั้งแรก เล่นไม่เป็น แต่ฟังการอธิบายแล้วเล่นเลย; ด้วยข้อจำกัดของเวลาประกอบกับเด็กอาจโดยรังสีของประสบการณ์ ทำให้ไม่กล้าถาม วงอ่างปลาจึงเป็นรูปแบบของวงอ่างปลาแต่ไม่คล้ายวงอ่างปลา ก็ไม่เป็นไรหรอกครับ ถือเป็นการจุดประกายเกี่ยวกับแนวคิด ระบบความคิด วิธีมอง วิธีเรียนรู้ วิธีทำ การสร้างกำลังใจ (ให้ตัวเอง) อันเป็นทักษะที่ฝึกได้ — แน่นอนว่าเด็กแต่ละคนจะได้อะไรไปไม่เท่ากัน แต่ได้ไปบ้างก็ยังดีกว่าผ่านไปเฉยๆ — จะใช้กิจกรรมนี้ น่าจะมีเด็กที่กล้าและตั้งคำถามเป็น ยิ่งเป็นคำถามกวนประสาท (แต่เป็นคำถามที่ดี) จะยิ่งสนุกและได้รับประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย ทั้งผู้ถาม ผู้ฟัง และผู้ตอบ
  • ไม่ได้ยินกระบวนกรพูดถึงเรื่องอดีต ปัจจุบัน และอนาคต; ความสำเร็จ/ความล้มเหลว เป็นเรื่องของอดีต ซึ่งผ่านไปแล้ว อย่าไปติดอยู่กับมัน
  • ไม่ได้ยินกระบวนกรพูดถึง self-esteem (ค้นหา) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญ ที่จะช่วยให้ชีวิตยืนหยัดอยู่ได้อย่างไม่แก่วงไปแกว่งมา; คนที่มี self-esteem สูง เข้าใจคุณค่าของตนตามความเป็นจริง และแกว่งไปมาน้อยเมื่อเจอกับโลกธรรม
  • ในค่ายต่อๆ ไป อาจจะต้องช่วยหาความสำเร็จย่อยๆ ให้กับผู้เข้ารับการอบรมทุกคน ให้ทุกคนเข้าใจว่าความแตกต่างนั้นมีค่า ต่างมีดีกันคนละด้านสองด้าน ไม่มีใครห่วยแตกจนสมควรจะแยกตัวออกไปจากกลุ่ม (Developing Your Child’s Self-Esteem) — ระบบการศึกษาปกติที่สอนตามหลักสูตร ละเลยเรื่องนี้เป็นอย่างมาก พ่อแม่เลี้ยงลูกโดยขาดความรู้เรื่องนี้ ทำให้เด็กโหยหาการยอมรับ/ความสำเร็จอย่างฉาบฉวย แล้วในที่สุดก็เป็นคนที่ไม่มีความอดทน ติดเพื่อน/ติดเกมส์ จับจด เอาแต่ใจตัว


ใดใดในโลก ล้วนอนิจจัง

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 April 2009 เวลา 0:14 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5553

หลังจากที่สวนป่า ร้อนจนคลุ้มคลั่งเมื่อวันศุกร์ ค่ำวันเสาร์ฝนก็ตกลงมาห่าใหญ่ กิ่งใหญ่ขนาดยาวสิบเมตรของต้นสะเดาหลังอาคารใหญ่ หักลง ดีที่ไม่ไปฟาดอะไรเข้า ในขณะที่เขียนนี้ ตกมาแล้วสามชั่วโมงยังไม่เลิก

เรื่องร้าย เรื่องไม่ดี เรื่องไม่ชอบใจ ผ่านไปได้ ถ้าเราเพียงแต่เข้าใจและอดทนพอ; เช่นเดียวกับเรื่องดี ความพึงพอใจ ก็ไม่อยู่กับเราอย่างถาวรเช่นกัน ทั้งหลายทั้งปวง เป็นไปตามไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา; หากจะให้ความดีอยู่นานๆ ก็ต้องรักษา ส่วนจะให้ความพึงพอใจอยู่ด้วยนานๆ ก็ต้องหมั่นปรับปรุง/พัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อคืนผมอาการไม่ค่อยดี ป้าจุ๋ม (แม่หมอ) ให้กินสมุนไพรแค็ปซูล พญามือเหล็ก ไปสี่เม็ด มื้อเดียวเรียบร้อยเลยครับ ยังมีกินต่อเนื่องมากลางวัน แต่ไม่ได้กินตอนเย็น

วันนี้ ขนอุปกรณ์ Ulem ออกมาให้ อ.แฮนดี้ ได้ลองทุกขั้นตอน เรื่องนี้ไม่ได้ไหว้วานผู้ใหญ่หรอกครับ แต่การลงมือทำเอง จะเห็นทุกอย่าง และผมอยากให้ อ.แฮนดี้ได้เข้าใจทุกประเด็นครับ เพราะว่าเอาไปต่อยอดได้เยอะแยะ

อุปกรณ์ที่เอามา น่าจะมีกำลังพอที่จะจ่ายน้ำให้หัวจ่าย Ulem ได้สองหัว แต่ผมดันลืมของสำคัญ คือหัวต่อที่แยกน้ำออกเป็นสองทาง ก็เลยหนีเที่ยวไปสตึกอีก หาร้านขายอุปกรณ์แต่งตู้ปลาทั้งอำเภอก็ไม่เจอ (ที่จริงไม่คิดว่าจะเจอหรอกครับ ถือโอกาสออกมาเที่ยวอีก)

ตกลง Ulem ที่สวนป่า ก็จะติดตั้งไว้หัวเดียวก่อน ติดไว้ใต้ร่มไม้หน้าครัว ตั้งเวลาไว้ให้เปิดรอบละสองนาทีที่ 10:00 10:20 10:40 11:00 11:20 11:40 16:20 17:00 เป็นแปดช่วงของทุกวัน คาดว่าเป็นเวลาที่ทำครัวกันอยู่ครับ

ระหว่างกลับมาจากสตึก แวะที่ตลาดนัดสัญจร “คลองถม บ้านหม้อ 2″ ซึ่งมีทุกวันเสาร์และวันพุธ เดินเข้าไป ใครก็มองครับ คนแปลกถิ่น มารถเก๋ง ตลาดนัดนี้ไม่มีอะไรคล้ายคลองถมหรือบ้านหม้อหรอกนะครับ แต่ผมกลับคิดว่าดี อะไรที่ตอบสนองต่อความจำเป็นในชีวิตชาวบ้านได้ ดีทั้งนั้นครับ

ผมเดินไปเจอลูกเจี๊ยบย้อมสี ย้อมทั้งตัว สีสดใส ล่อลูกค้าเด็กๆ ครับ เด็กไม่รู้หรอกว่าสีที่ย้อมไว้ไม่ใช่สีจริง ในที่สุดก็จะกลับคืนสู่สีตามธรรมชาติ (ถ้าไม่ตายซะก่อน)


สวนป่าหลังสงกรานต์

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 April 2009 เวลา 0:55 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 2871

ร้อนครับ ร้อนมาก อุณหภูมิในร่ม 40.5°C

ผมมาสวนป่าคราวนี้ เป็นช่วงที่นิสิตแพทย์มาเยี่ยม โดยวิชาชีพอาจไม่มีอะไรเกี่ยวกัน แต่ในฐานะความเป็นคนแล้ว มีประสบการณ์แง่คิดจะแลกเปลี่ยนได้ถ้าต้องการครับ

มาสวนป่าเที่ยวนี้ เอาอุปกรณ์ Ulem มาทดลอง สองครั้งที่ผ่านมา ไม่มีเวลาทำจริงๆ คราวนี้มีอาจารย์แฮนดี้มาด้วย ก็อยากให้อาจารย์ได้ลองทำดูทั้งกระบวนการครับ

ช่วงบ่ายเมื่อวาน ผมงัดเอาชุดทดลองออกมาเล่น ไม่ได้เปิดไต๋ทั้งหมด แต่เปิดออกทีละขั้น จนในที่สุดเราก็ได้อุปกรณ์ที่ทำงานได้ (ทดลองมาแล้วจากบ้าน) มีป้าจุ๋ม/อ.แฮนดี้ร่วมเล่นด้วย เวลาเปิดผมร้องเตือนว่าระวังเปียก แต่กลับกลายเป็นว่าป้าจุ๋มไม่กลัวเปียก เพราะว่าเวลาเปิดแล้ว ละอองน้ำทำให้เย็นสบาย

เช้าวันนี้ก็จะเป็นการประยุกต์ใช้งานจริง โดยจะติดตั้ง Ulem เพื่อจ่ายน้ำสองหัวจ่าย ระบบควบคุมหนึ่งชุด ติดไว้บริเวณต้นไม้ระหว่างอาคารใหญ่กับครัว เชื่อว่าจะสร้างความชุ่มชื้น/ลดความร้อนบริเวณครัวลงได้บ้าง จริงอยู่ที่ Ulem เป็นอุปกรณ์ให้น้ำแก่พืช แต่ถ้าเลือกพืชกับคน เลือกหมู่คนที่ทำครัวให้เรากินก่อนครับ


ไว้อาลัยผู้แทนปวงชนชาวไทย

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 April 2009 เวลา 8:42 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3203

วันนี้จะไม่เขียนอะไรเป็นชิ้นเป็นอันหรอกครับ รู้สึกกระอักกระอ่วนและอับอาย ที่มีผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งเล่าความเท็จในสภาอย่างเป็นระบบ

ที่บอกว่าเป็นการเล่าความเท็จนั้น เป็นเพราะเวลาพูดเรื่องเดียวกัน ข้อมูลของสองฝ่ายแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ต่างฝ่ายต่างยืนยันความถูกต้องในข้อมูลของตน แน่นอนว่าไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่งจะต้องใช้ข้อมูลเท็จอย่างแน่นอน (เป็นไปได้ว่าเท็จทั้งสองฝ่าย แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะจริงทั้งคู่)


กล้าไหม

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 April 2009 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3394

ความเป็นเลิศ ไม่ได้เกิดจากการอวดอ้าง
ความสามารถ ไม่ได้งอกออกมาจากทฤษฎี
สิ่งดีดี ไม่ได้กลั่นมาจากอากาศ
อยากเก่งกล้าสามารถ ล ง มื อ ทํ า เ สี ย ที ดี ไ ห ม

Danny MacAskill


เกลือกับแผ่นดินอีสาน

อ่าน: 6258

จากบันทึกเรื่องเกลือ ซึ่งเป็นข้อกังวลเรื่องการกระจายตัวของเกลือ ทำให้ดินเค็ม เพาะปลูกไม่ได้ แต่ก่อนที่จะหาทางจัดการเรื่องนี้ให้ได้ ก็ต้องเข้าใจสาเหตุที่เกิดขึ้นเสียก่อน

ในอดีตกาลนานมาแล้ว อีสานเคยเป็นทะเลมาก่อน เมื่อแผ่นดินยกตัวขึ้น/ระดับน้ำลดลง น้ำทะเลก็ถูกขังอยู่ใน “แอ่ง” และเมื่อน้ำระเหยไปเรื่อยๆ จึงเหลือแจ่เกลือตกตะกอนอยู่บนแผ่นดินอีสาน แล้วก็มีซากพืชซากสัตว์มาทับถม กลบฝังเกลือปริมาณมหาศาลเอาไว้ใต้แผ่นดิน ใต้แอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร

จากคำถามในบันทึก

อีสานมีฝนเฉลี่ย 1000 มม. (เกือบ)ทุกพื้นที่ แต่มีปัญหาเก็บกักน้ำไม่อยู่ เมื่อฝนตกลงมา ก็ซึมลงไปใต้ดินหมด หากชั้นของเกลืออยู่ตื้น น้ำที่มีความเค็ม ก็จะทำให้ดินเค็ม ใช้เพาะปลูกไม่ได้

กรมทรัพยากรธรณี อธิบายไว้ว่า

รูปแสดงภาพตัดขวางแสดงชั้นเกลือหิน จาก อ.พล จ.ขอนแก่น ถึง จ.หนองคาย (จาก นเรศ สัตยารักษ์, 2533)

พื้นที่ดินเค็ม บริเวณอำเภอจตุรัส จังหวัดนครราชสีมา ปรากฎคราบเกลือสีขาวพบผิวดิน ไม่สามารถทำการเกษตรได้

พื้นที่ห้วยคอกช้าง บ.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม เป็นพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งแม้จะ ไม่มีคราบเกลือให้เห็น แต่ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้

พื้นที่ หนองบ่อ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม แสดงความแตกต่างของระดับพื้นที่พื้นที่ใกล้ ระดับน้ำใต้ดินจะมีคราบเกลือบนผิวดิน ปลูกพืชไม่ได้พื้นที่เนินที่อยู่ด้าน หลัง อยู่สูงกว่า มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น

อ่านต่อ »


CSR คือหน้าที่ ใช่อาสา

อ่าน: 5387

ความตอนหนึ่งจากหนังสือ CSR ที่แท้ โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย ซึ่งในขณะปัจจุบันนี้ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย (www.thaiappraisal.org)

ผมตัดตอนส่วนสั้นๆ ของบทหนึ่งมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งหากติดขัดไม่สามารถจะหาหนังสือซื้อนี้มาอ่านได้ ก็ยังสามารถอ่านได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ตที่นี่

CSR คือหน้าที่ ใช่อาสา

CSR ดูเหมือนเป็นของเล่นใหม่สำหรับการทำดีแบบ “ลูบหน้าปะจมูก” ของวิสาหกิจเอกชนบางแห่ง ประหนึ่งเป็นกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของพวกคุณหญิงคุณนาย และน่าแปลก ที่วิสาหกิจทำผิดกฎหมาย มักชอบอ้างว่าตัวเองมี CSR

ตอนนี้ CSR (Corporate Social Responsibility) คือความ รับผิดชอบของวิสาหกิจ กำลังเป็นที่กล่าวขวัญถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) นั้นหมายถึงตั้งแต่ผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ลูกค้า คู่ค้า (supplier) ชุมชนที่วิสาหกิจนั้นตั้งอยู่ ตลอดจนสังคมโดยรวม อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจทั่วไปมักนึกถึงผู้ถือหุ้นเป็นอันดับแรก โดยไม่คำนึงถึงกลุ่ม อื่น ๆ การคิดเช่นนี้แสดงว่าขาด CSR นั่นเอง และก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมได้

อย่างไรจึงถือว่ามี CSR

การมี CSR นั้น ย่อมหมายถึงการเอื้อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสมโดย ไม่ไปเบียดเบียนฝ่ายใด วิสาหกิจที่มี CSR ย่อมไม่ขูดรีดแรงงานลูกจ้าง ไม่ฉ้อโกงลูกค้า ไม่เอาเปรียบคู่ค้า ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือทำร้ายชุมชนรอบที่ตั้งของวิสาหกิจด้วยการก่อมลพิษ วิสาหกิจที่ขาด CSR ย่อมขาดความโปร่งใส ผู้บริหารในแทบทุกระดับมักหาผลประโยชน์เข้าตัวเองหรือฉ้อโกง <1>

การมี CSR เป็นการทำธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย (แต่ถ้าใครจะทำให้ดีเกินมาตรฐานกฎหมายหรือจะบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมเพิ่ม เติมก็อีกเรื่องหนึ่ง) หรืออีกนัยหนึ่งคือการไม่ทำผิด หมิ่นเหม่หรือหลบเลี่ยงกฎหมายแรงงาน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอาญา ด้วยเหตุนี้การทำ CSR จึงต้องมีกรอบกฎหมายบังคับ

ถ้าทำการกุศลจริง, บ้านเมืองจะดีกว่านี้

จากการวิเคราะห์ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ <2> ครัวเรือนหนึ่ง ๆ ของไทยใช้จ่ายเงินเพื่อการบริจาคเป็นเงินเดือนละ 422 บาท หรือ 2.69% ของรายได้ต่อเดือนของครัวเรือน เชื่อว่าแทบไม่มีวิสาหกิจใดทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์จะบริจาคเงินถึง 2.69% ของรายได้ของตนเป็นแน่ เพราะถ้าทำจริง ผลงานสร้างสรรค์คงมีมากกว่านี้ และสังคมคงดีงามผาสุกอย่างมีนัยสำคัญกว่านี้

การที่วิสาหกิจหลายแห่งไม่แสดงตัวเลขการบริจาคชัดเจน ก็คงเป็นเพราะใช้เงินไปเพียงน้อยนิด จึงกระดากที่จะเปิดเผย การที่วิสาหกิจบางแห่งคุยเขื่องว่าตนแทบไม่ใช้เงินในการทำ CSR เลย ก็คงเป็นเพราะวิสาหกิจนั้นอาศัยแรงงานฟรีของพนักงานไปทำอะไรนิดหน่อยให้ พอได้ออกข่าวตามความเกรงใจของสื่อมวลชน และในที่สุด CSR ก็กลายเป็นกิจกรรมคุณหญิงคุณนายในรูปแบบใหม่ สัมฤทธิผลของ CSR จึงไม่อาจพิจารณาจากจำนวนกิจกรรมที่ได้ทำ เพราะอาจเป็นแค่การ “ลูบหน้าปะจมูก” ทำบุญเอาหน้า

อ่านต่อ »



Main: 0.047549962997437 sec
Sidebar: 0.13384604454041 sec