บัณฑิตจบใหม่ตกงาน

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 March 2009 เวลา 0:26 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5522

เรื่องที่ภาคธุรกิจลดความต้องการบัณฑิตใหม่เนื่องจากธุรกิจหดตัว หรือว่าต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ ก็ส่วนหนึ่ง แต่ยังมีบัณฑิตจบใหม่อีกส่วนหนึ่งที่ไม่รู้ว่าเรียนมาทำไม เรียนอะไรมา ใช้ประโยชน์อะไรได้ และจะทำอะไรในอนาคต

เรื่องนี้เป็นเรื่องซีเรียสนะครับ บัณฑิตจบใหม่มีความรู้ มีความคาดหวังสูง แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ความรู้ที่เรียนในมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องทางทฤษฎีเป็นส่วนใหญ่ นำมาสู่การปฏิบัติได้ไม่ง่ายนัก เพราะตัวบัณฑิตเองก็ไม่มีประสบการณ์พอที่จะพลิกแพลงให้เป็นประโยชน์

สองวันก่อน ผมได้รับอีเมลมาปรึกษา จากบัณฑิตจบใหม่ท่านหนึ่งซึ่งพยายามจะช่วยเพื่อน ความตอนหนึ่งว่า…

อ่านต่อ »


สมองสร้างความรู้สึก และ “ความจริง” ต่างๆ เพื่อความอยู่รอดได้

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 March 2009 เวลา 0:23 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3634

ดูวิดีโอจาก TED อันหนึ่ง เป็นคลิปสั้นๆ ที่ผู้ฟังขำกลิ้ง แต่ผมคิดว่ามีเรื่องน่าคิดซ่อนอยู่หลายเรื่องครับ

อ่านต่อ »


กำลัง (พลสูตร)

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 March 2009 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4322

[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย

  • ทารกทั้งหลายมีการร้องไห้เป็นกำลัง ๑
  • มาตุคามทั้งหลายมีความโกรธเป็นกำลัง ๑
  • โจรทั้งหลายมีอาวุธเป็นกำลัง ๑
  • พระราชาทั้งหลายมีอิสริยยศเป็นกำลัง ๑
  • คนพาลทั้งหลายมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง ๑
  • บัณฑิตทั้งหลายมีการไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง ๑
  • พหุสุตบุคคลทั้งหลายมีการพิจารณาเป็นกำลัง ๑
  • สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีขันติเป็นกำลัง ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้แล

คหปติวรรคที่ ๓ อุคคสูตรที่ ๑
อังคุตตรนิกาย [๒๓/๑๑๗]
อรรถกถาปฐมพลสูตรที่ ๗

คนเราใช้เชื้อไฟต่างกัน ของใครของมัน พิจารณากันเองครับ


ฐานข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็ก กรมพัฒนาที่ดิน

อ่าน: 4054

เพิ่งหาเจอครับ

ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็ก
(http://giswater.ldd.go.th/ldd/)

พัฒนาโปรแกรม :  คณะที่ปรึกษาจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็ก (Water Resource Management System) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นด้วยการบูรณาการระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) และระบบอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการข้อมูลแหล่งน้ำ ตลอดจนสนับสนุนการ วิเคราะห์และวางแผนบำรุงรักษา โปรแกรมแบ่งการทำงานออกเป็นสามส่วนหลัก ได้แก่  ส่วนสืบค้นข้อมูล   ส่วนแสดงผลรายละเอียดข้อมูลเชิงบรรยาย  ส่วนนำเข้าข้อมูลและส่วนแสดงผลข้อมูลในรูปแบบแผนที่ โดยระบบจะอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในการเข้าถึงข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็กจากฐานข้อมูลกลาง

[ ผู้ใช้งานทั่วไป จะต้อง Login  เข้าสู่ระบบได้ดังนี้ ]
Username : guest
Password  : guest

เว็บไซต์อื่นๆ ของกรม แยกตามเขตที่ดินในส่วนภูมิภาค


เชื้อเพลิงสาหร่าย

อ่าน: 3920

มีข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับสาหร่ายเซลเดียว/ตะไคร่ (algea) ที่เรามองข้ามไปครับ

สาหร่ายเซลเดียวเป็นพืชขนาดเล็ก มีทั้งแบบที่มีชีวิตอยู่ในน้ำทะเลและน้ำจืด สาหร่ายสังเคราะห์แสงโดยใช้คาร์บอนไดออกไชด์และสารอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ กับแสงแดด และปล่อยออกซิเจนกับไนโตรเจนออกมา

เอาขวดพลาสติกมาขวดหนึ่ง ใส่น้ำ ใส่สาหร่าย เอาปั๊มป์ลมตู้ปลา จ่ายอากาศผ่านหัวจ่ายทราย (จ่ายลมเป็นฟองเล็กๆ แบบที่เห็นในตู้ปลา) เติมน้ำทิ้งจากการซักผ้าบ้างนิดหน่อย (ผงซักฟอกเป็นฟอสเฟต เป็นสารอาหารของสาหร่าย) แล้วปล่อยให้สาหร่ายโตในแสงแดดสักสามสี่วัน

เมื่อได้ปริมาณสาหร่ายพอสมควร ตักออกมาบีบเอาน้ำออกจากสาหร่าย แล้วปั้นเป็นก้อน ผึ่งแดดให้แห้ง ก็จะได้ถ่านสาหร่าย ทดแทนถ่านไม้/ถ่านแกลบได้ ต้นทุนคือค่าไฟปั๊มป์ลม (จ่ายค่าไฟประมาณหลอดไฟนีออน ไม่เกินไฟที่ใช้หลอดไส้)

สำหรับพันธ์ของสาหร่าย ในระยะทดลอง อาจไม่ต้องสนใจอะไรมากมาย หาเอาตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ถ้าจะทำในสเกลของบ่อน้ำ ขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมได้จากศูนย์วิจัยต่างๆ

หากได้คาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะเร่งให้สาหร่ายเจริญเติบโตได้เร็ว แต่ถ้าไม่มี ก็โตช้าหน่อย ไม่เป็นไรหรอกนะครับ

อ่านต่อ »


เจ็ดบทเรียน นำพาฝ่าวิกฤติ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 March 2009 เวลา 0:15 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ #
อ่าน: 6069

Bill George เป็นอาจารย์ที่ Harvard Business School ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือขายดีชื่อ Authentic Leadership และ True North ผมชอบอ่านข้อเขียนของเขาครับ

เมื่อเร็วๆ นี้ เขาเขียนบทความชื่อ Seven Lessons for Leading in Crisis ลงตีพิมพ์ใน the Wall Street Journal ซึ่งเป็นภาวะที่เกือบทุกสถาบันในสหรัฐและทั่วโลก กำลังเผชิญกับความโกลาหลปั่นป่วน มีการเลิกจ้าง

ถ้าท่านเป็นผู้นำ คงอ่านภาษาอังกฤษจากลิงก์ข้างบนได้อยู่แล้ว ผมจึงแปลมาเป็นไทยแบบคร่าวๆ ดังนี้ครับ

  1. เผชิญหน้ากับความเป็นจริง
  2. อย่าประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป
  3. เก็บเงินสดไว้ บริหารเงินสดอย่างฉลาด
  4. กระจายงานออก อย่าทำเป็นเก่งอยู่คนเดียว
  5. ก่อนจะขอให้ผู้อื่นเสียสละอะไร ลองสละเองก่อน
  6. ถือโอกาสเปลี่ยนแปลง อย่าปล่อยผ่านเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
  7. ตลาดเปลี่ยนแปลงไปแล้ว อย่าทำเหมือนเดิม ออกไปเรียนรู้และค้นพบตลาดใหม่ซะ


สร้างเมฆ

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 March 2009 เวลา 0:46 ในหมวดหมู่ ธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งแวดล้อม #
อ่าน: 4547

จากบันทึกเรื่อง Five ways to save the earth ในลานเจ๊าะแจ๊ะ มีความคิดบ้าบออยู่อันหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าเก๋ไก๋เข้าท่าดีครับ

หนึ่งในห้าความคิดที่เสนอมาลดโลกร้อนคือการสร้างเมฆเทียมขึ้นมา ให้เมฆสะท้อนแสงอาทิตย์กลับออกไปในอวกาศ เขาจะปล่อยเรือโรเตอร์ (Rotor Ship) ที่ไม่มีมนุษย์ขับ 1,500 ลำ ควบคุมเรือด้วยคอมพิวเตอร์และ GPS

เรือนี้เป็นเหมือนเรือใบที่ไม่ใช้ใบ แต่เคลื่อนที่ด้วย magnus effect (กระแสลมไหลผ่านท่อทรงกระบอกหมุน จะเคลื่อนท่อทรงกระบอกไปในแนวตั้งฉากกับกระแสลม) เมื่อเรือเคลื่อนที่ไป ใบพัดที่อยู่ใต้ท้องเรือ จะทำหน้าที่ปั่นไฟฟ้า

ไฟฟ้าที่ได้ เอามาสร้าง “เชื้อเมฆ” (Cloud condensation nuclei หรือ CCN) เป่าขึ้นไปในอากาศ CCN มีขนาดเพียงประมาณ 0.2 ไมครอน คือประมาณหนึ่งในร้อยของหยดน้ำในปุยเมฆ ขนาดของ CCN นี้เล็กมาก จึงไม่แปลกว่าจะเป็นน้ำเค็มหรือน้ำจืด เพราะเวลาละอองน้ำในอากาศ มาจับตัวกัน กว่าจะตกลงมาเป็นฝน ก็จะมีขนาดใหญ่โตขึ้นมากแล้ว — ฝนมีขนาดประมาณ 2 มม. ซึ่งโตกว่า CCN หมื่นเท่าตัว

อ่านต่อ »


เกลือ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 March 2009 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3334

เกลือเป็นธาตุอาหารที่สัตว์ (รวมถึงคน) จำเป็นต้องบริโภค แต่เป็นอันตรายต่อพืช เนื่องจากทำให้การลำเลียงน้ำและสารอาหารจากราก ลำบากขึ้น

เดือนก่อน พี่บางทราย NGO ใหญ่เคยพูดถึง Salt Dome ในอีสาน ว่าเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ แต่เป็นเรื่องที่ผมไม่เคยศึกษา จึงไม่ได้คุยต่อ

ตอนนี้เวลาค้นแล้ว เห็นประเด็นบางอย่างครับ

ในเมื่อแผ่นดินอีสานเคยเป็นทะเลมาก่อน แล้วเมื่อแผ่นดินยกตัวขึ้น น้ำทะเลที่ถูกกักอยู่ในแอ่งโคราชและแอ่งนครพนม ซึ่งไม่สามารถไหลลงทะเลได้ (เช่นเดียวกับ dead sea) จึงกลายเป็นชั้นเกลือขนาดใหญ่ฝังอยู่ใต้ดิน

อ่านต่อ »


การล่มสลายของประชาธิปไตย

อ่าน: 4186

เป็นบันทึกรีไซเคิลอีกแล้วครับ

มีผู้กล่าวว่า Alexander Fraser Tytler หรือ Lord Woodhouselee (1747-1813) เป็นผู้เขียนไว้ใน The Fall of Athenian Republic การล่มสลายของสาธารณรัฐเอเธนส์ (ต้นแบบประชาธิปไตย) ว่า

A democracy is always temporary in nature; it simply cannot exist as a permanent form of government. A democracy will continue to exist up until the time that voters discover that they can vote themselves generous gifts from the public treasury. From that moment on, the majority always votes for the candidates who promise the most benefits from the public treasury, with the result that every democracy will finally collapse due to loose fiscal policy, which is always followed by a dictatorship.

กล่าวโดยย่อ คือประชาธิปไตยล่มสลายด้วยประชานิยม ผู้ออกเสียงลงคะแนนเองนั่นแหละ ที่เลือกทำลายประชาธิปไตยโดยการโหวตให้กับคนที่สัญญาว่าจะให้สูงสุด สถานการณ์แบบนี้ มักจบลงด้วยการปกครองแบบเผด็จการอยู่เสมอๆ

และมี Quote อีกอันหนึ่ง โดย Tytler เช่นกัน กล่าวว่า

The average age of the worlds greatest civilizations from the beginning of history has been about 200 years. During those 200 years, these nations always progressed through the following sequence:

  • From Bondage to spiritual faith; (จากความผูกพัน สู่ศรัทธา)
  • From spiritual faith to great courage; (จากศรัทธา สู่ความกล้า)
  • From courage to liberty; (จากความกล้า สู่เสรีภาพ)
  • From liberty to abundance; (จากเสรีภาพ สู่ความอุดมสมบูรณ์)
  • From abundance to complacency; (จากความอุดมสมบูรณ์ สู่ความพึงพอใจ)
  • From complacency to apathy; (จากความพึงพอใจ สู่การขาดความเอาใจใส่)
  • From apathy to dependence; (จากการขาดความเอาใจใส่ สู่ภาวะที่ช่วยตัวเองไม่ได้)
  • From dependence back into bondage. (จากภาวะช่วยตัวเองไม่ได้ ย้อนกลับสู่ความผูกพัน)

เอกสารอ้างอิง


โลกร้อน กับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงส่วนที่ถูกปกคลุมโดยน้ำแข็ง และบรรยากาศ

อ่าน: 3391

Main: 0.20223307609558 sec
Sidebar: 0.68468999862671 sec