ถ้า Maslow ถูก

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 February 2009 เวลา 0:36 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 5568

Abraham Maslow (1908-1970) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งเคยเสนอทฤษฎีบรรลือโลก Maslow’s hierarchy of needs ในปี 1954 ซึ่งเป็นพื้นฐานของจิตวิทยามนุษยนิยม (humanistic psychology ว่าด้วยเรื่องของแรงจูงใจ แรงผลักดัน แรงบันดาลใจ ฯลฯ อันเป็นเบื้องต้นของพฤติกรรมและการกระทำต่างๆ)

ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์ พยายามอธิบายโดยการศึกษาคน และพยายามจัดชั้นความต้องการ เบื้องต้นแบ่งออกมาเป็นห้าระดับ ซึ่งคุณเบิร์ดได้อธิบายไว้ดีแล้วครับ ผมขอลอกมาเลย…

อ่านต่อ »


Achmed the Dead Terrorist

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 February 2009 เวลา 0:15 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3500


รู้

อ่าน: 3514

ตามเรื่องในพุทธประวัติ ความตอนหนึ่งที่กล่าวโดยย่อคือ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช ปัญจวัคคีตามปรนิบัติอยู่หกปี จนเมื่อทรงละการบำเพ็ญทุกรกริยา ปัญจวัคคีจึงละทิ้งท่านไป ด้วยสำคัญผิดว่าพระองค์จะละทิ้งการแสวงหาทางหลุดพ้น เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว จึงตามหาพระอาจารย์ปรากฏว่าสิ้นอายุขัยไปแล้ว จึงระลึกถึงปัญจวัคคี เมื่อตามจนพบกัน พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรในวันอาสาฬหบูชา

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น คำว่าตรัสรู้ คือรู้ถึงสิ่งที่ไม่เคยได้ร่ำเรียนหรือรับรู้มาก่อน แต่ยังมีประเด็นที่น่าสนใจซึ่งพระพรหมคุณาภรณ์ เขียนบทความเรื่อง หัวใจพุทธศาสนา (ซึ่งมีหลายมิติ) ความตอนหนึ่งว่า

บางท่านบอกว่า ” อริยสัจสี่ ” เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา  เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในอริยสัจสี่

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว เสด็จไปแสดงปฐมเทศนา  พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ….พระองค์ตรัสพุทธพจน์ตอนหนึ่ง มีความว่า ตราบใดที่เรายังไม่ ( จตูสุ อริยสจฺเจสุ ติปริวฎฺฎํ ทวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ ) มีญาณทัศนะที่มีปริวัฎ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจสี่ เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า ได้ตรัสรู้ ต่อเมื่อเรามีญาณทัศนะนั้น  จึงปฏิญาณได้ว่า ตรัสรู้   หมายความว่า  ตรัสรู้อริยสัจสี่ครบ  ๓  ด้าน  คือรู้ว่าคืออะไร แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่ออริยสัจสี่แต่ละอย่างนั้นคืออะไร และรู้ว่าได้ทำหน้าที่ต่ออริยสัจนั้นแล้ว เวียนไปทุกข้อเรียกว่า  ๓  ปริวัฎ   อธิบายว่า รู้ในอริยสัจสี่แต่ละอย่างเริ่มตั้งแต่รู้ว่าทุกข์คืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อทุกข์ แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่อทุกข์นั้นเราได้ทำแล้ว ถ้ายังไม่รู้อริยสัจด้วยญาณทัศนะครบทั้ง ๓ ในแต่ละอย่าง (รวมทั้งหมดเป็น  ๑๒  เรียกว่ามีอาการ  ๑๒) ก็ยังไม่สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ

ต่อเมื่อได้ตรัสรู้อริยสัจ โดยมีญาณในอริยสัจแต่ละข้อครบทั้ง ๓ รวมเป็น ๑๒ จึงปฏิญาณได้ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ

เป็นอันว่า  พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่  และการตรัสรู้อริยสัจสี่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า  อริยสัจสี่จึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

ประเด็นอยู่ตรงนี้ครับ

ความรู้ที่เผยแพร่กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่พยายามบอกว่า “คืออะไร” เสียมากกว่า ดังนั้นจึงเป็นลักษณะบอกให้รับรู้ (แล้วจะสอบได้ ถ้าใครถามก็ตอบ “ถูก”); ส่วนรู้แล้วจะต้องทำอะไร (หน้าที่) และการนำความรู้นั้นไปปฏิบัติให้ได้ผล (ทำหน้าที่) กลับเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะละเลยกัน

คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐

โยคา เว ชายตี ภูริ
เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย

อโยคา ภูริสงฺขโย
ภวาย วิภวาย จ
ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.

ภูริปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความเจริญและความเสื่อมนั่นแล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ภูริปัญญาจะเจริญขึ้นได้.

ภูริปัญญา = ปัญญาอันกว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน
การประกอบ = การกระทำ


Hypar: โครงสร้างมหัศจรรย์

อ่าน: 4920

โครงสร้าง Hypar หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Hyperbolic paraboloid เป็นเรื่องที่ผมเคยอ่านหลายสิบปีมาแล้ว

ยังจำฝังใจถึงการประยุกต์ใช้แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นความร้อนที่แปลก คือไม่ว่าพระอาทิตย์จะอยู่ที่ไหน แสดงแดดจะสะท้อนผิว Hypar มารวมกันบน “เส้น” เหนือโครงสร้างนี้เสมอ ทำให้ใช้เป็น solar collector แบบที่ไม่ต้องหมุนตามดวงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาใหญ่คือมันนานมาแล้ว จำไม่ได้ว่าเคยอ่านมาจากวารสารจากต่างประเทศเล่มไหน เมื่อไหร่

เมื่อวันอาทิตย์ไปรับต้นมะรุมจากป้าจุ๋ม และชิมขนมซึ่งครูบาซื้อมาจากอิหร่าน รวมทั้งชาป้าจุ๋มที่ครูบาผสมแล้วครูปูชง พอกลับมาบ้านดันหาเจอ สงสัยจะมึน อิอิ เลยรีบมาเขียนบันทึกนี้ทิ้งไว้ก่อน

เชื่อไหมครับ ผมจำวิธีสร้าง Hypar ได้ (แต่จำตำแหน่งเส้นโฟกัสไม่ได้)

อ่านต่อ »


Trompe

อ่าน: 3368

ไม่รู้ว่าเรียกชื่อไทยว่าอย่างไรนะครับ Trompe เป็นภูมิปัญญาฝรั่ง ว่ากันว่ามีใช้มาตั้งแต่ยุคเหล็ก

จากภาพตัดขวางทางด้านขวา น้ำไหลเข้าทางซ้าย และออกทางขวา ตอนที่น้ำไหลเข้า มีการแยงหลอดเติมอากาศลงไป (ในรูปมีสองหลอด)

น้ำไม่ไหลย้อนออกมาทางหลอดเติมอากาศเพราะ venturi effect เนื่องจากในท่อน้ำเข้า มีความดันน้อยกว่าความดันบรรยากาศ อากาศจึงมีแต่ไหลเข้า จึงเติมอากาศไปได้เรื่อยๆ

เมื่อฟองอากาศลงไปล่างสุด ก็จะถูกดักไว้ใน chamber ปล่อยให้น้ำไหลออกไปทางด้านขวา ฟองอากาศที่ถูกดักอยู่ ก็เป็นเช่นเดียวกับ Pulser pump คือจะเป็นอากาศที่มีความดัน เราสามารถต่อท่อเอาอากาศนี้ไปใช้งานได้ เช่นเอาไปเป่าเตาไฟ หรือเป่าอากาศลงไปในเหมือง

แถมอากาศที่ได้ออกมาจากท่อ มีลักษณะพิเศษ คือ อากาศเย็นกว่าอุณหภูมิบรรยากาศ และอากาศนี้แห้งกว่าอากาศที่เติมเข้าไปทางหลอดเติมอากาศ อธิบายได้ด้วยฟิสิกส์ซึ่งจะละไว้ในที่นี้ แปลเป็นภาษาขาวบ้านก็คือเครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช้พลังงาน — ที่จริงมันใช้พลังงานศักย์ของน้ำ ซึ่งเราได้มาฟรีแต่ไม่เคยใช้เลย ปล่อยให้น้ำไหลไปเฉยๆ

ในรูป Blow-off pipe เป็นท่อรักษาระดับอากาศ กล่าวคือถ้าอากาศมีมากเกินไป ก็จะหนีออกทางท่อนี้ได้ ทำให้ปริมาตรและความดันอากาศสูงสุดใน chamber ถูกจำกัดไว้

เงื่อนไขสำคัญคือน้ำขาเข้า มีความสูงกว่าน้ำขาออก และน้ำไหลอย่างต่อเนื่องครับ


โลกร้อน (2.4.1)

อ่าน: 3926

ธารน้ำแข็งละลาย เป็นปฏิกริยาลูกโซ่ ยิ่งธารน้ำแข็งละลาย กลายเป็นน้ำไหลลงสู่มหาสมุทร ปริมาตรน้ำที่เพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้โลกร้อนขึ้น และธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้นกว่าเก่าอีก

ประวัติศาสตร์บอกว่าสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้ว จะเกิดขึ้นอีก แล้วหากว่ามันไม่เกิดขึ้นมานานแล้ว มันจะเกิดขึ้นอีกเร็วๆ นี้; บรรยากาศของโลกก้าวผ่านช่วงเวลาเหล่านี้เป็นวัฏจักร เคยเกิดมาแล้วทั้งสองขั้ว ทั้งน้ำท่วมโลก และหนาวเย็นแข็งจนไปทั้งโลก วันนี้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุดในประวัติศาสตร์

ไม่ว่ามันจะเกิดในช่วงอายุของเราหรือไม่ ลูกหลานเราก็คงจะลำบากแน่ ดังนั้นทำไมเราไม่กลับมาใช้ชีวิตอย่างรับผิดชอบ และเลิกเบียดเบียนโลกล่ะครับ วันนี้ไม่ใช่วันที่จะมาทำตัวเป็นพวกชอบอ้าง ถ้าไม่รู้จะทำอะไร ปลูกต้นไม้ซิครับ ปลูกมันในที่รกร้างว่างเปล่านั่นแหละ

Get the Flash Player to see this player.


Pulser Pump

อ่าน: 7338

Pulser pump เป็นการเปลี่ยนพลังงานศักย์เป็นพลังงานจลน์

พูดเป็นภาษามนุษย์คือเป็นปัมป์ที่ไม่มีส่วนเคลื่อนไหว ใช้อากาศดันน้ำขึ้นสูง ไปเก็บไว้ในถังเก็บเพื่อเอาไปรดน้ำต้นไม้ โดยไม่ใช้ไฟฟ้าหรือน้ำมัน มีความทนทานสูงมาก

น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ด้านเหนือเขื่อน (ทางซ้ายในรูป มีท่อให้น้ำไหลลง โดยปลายท่อด้านบนอยู่ใกล้ผิวน้ำ ทำให้น้ำดูดฟองอากาศลงไปในท่อด้วย เมื่ออากาศลงไปปลายท่อ อากาศก็พยายามลอยขึ้นตามธรรมชาติ ก็จะถูกเก็บอยู่ในช่องเก็บอากาศเพื่อสร้างแรงดันอยู่ใต้เขื่อน จนมากขึ้นๆ พอมาเจอทางออกตรงท่อเล็กตรงกลางสันเขื่อน ก็จะพยายามหนีออก โดยดูดเอาน้ำขึ้นไปด้วย โผล่พรวดขึ้นมาด้วยความแรง (น้ำสลับกับอากาศ) ทำให้ Pulser pump สามารถยกน้ำขึ้นสูงกว่าสันเขื่อนได้ อันเป็นผลลัพท์ของปัมป์ที่เราต้องการ

ทางส่วนใต้เขื่อน ท่อน้ำออกอยู่ต่ำกว่าท่อที่อากาศหนีออก จึงปล่อยเฉพาะน้ำออกไปทางด้านขวา

ยิ่งกว่านั้น ปลายปล่องด้านน้ำไหลลงไปใต้เขื่อน หาก “ลอย” อยู่ใกล้ระดับผิวน้ำได้ ก็จะสามารถปรับตัวเองให้ใช้งานได้อัตโนมัติ โดยขึ้นกับระดับน้ำต้นทุนหน้าเขื่อน

Pulser pump ในหนังตัวอย่างข้างล่าง มีอายุเกือบ 20 ปีมาแล้ว และยังใช้งานได้อยู่ *แต่เป็นปัมป์ที่มีเสียงดัง*

อ่านต่อ »


ฉายเดี่ยว

อ่าน: 2996

ทำอะไรคนเดียว บางทีมันก็ออกมาดีเหมือนกัน เพียงแต่ว่าไม่ใช่ทุกอย่างจะออกมาดีถูกใจผู้คนเสมอไปหรอกนะครับ

คนที่ทำอะไรคนเดียวออกมาได้ดี มีเคล็ดลับอยู่ว่าเขาจะต้องมีอิสระที่จะเลือก และเข้าใจตัวเองว่าเขาทำอะไรได้ดี (”ทำได้” ต่างกับ “ทำได้ดี”)



คลิปนี้ มีเล่นผิดหลายเม็ดเหมือนกัน แต่ถ้าให้ผมเล่น ผมก็เล่นไม่ได้ ดังนั้น ฟังอย่างเดียวดีแล้วครับ


ความกล้าหาญของ “ผู้จัดการ”

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 February 2009 เวลา 16:03 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5616

บันทึกที่เขียนไว้เมื่อสองปีก่อน นำมาดัดแปลงครับ

ผมแปลคำว่า manager ว่า “ผู้จัดการ” ซึ่งในความหมายที่แท้จริง ควรจะแปลว่า “ผู้บริหาร” ครับ — แต่ถ้าแปลว่าผู้บริหาร ก็จะมีคนถามว่าทำไม manager จึงไม่แปลว่าผู้จัดการอีก เลยช่างมัน


เมื่อปี ค.ศ.1963 Peter Drucker ตั้งคำถามเตือนสติไว้ 3 คำถามเกี่ยวกับการทำงานของผู้จัดการไว้ใน Harvard Business Review ว่า

1. What is the manager’s job?

ใครๆก็คงจะตอบได้ว่าหน้าที่ของผู้จัดการคือการจัดสรรทรัพยากรและความพยายามในการดำเนินธุรกิจ เพื่อผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจต่อองค์กร -- ฟังดูน่าเบื่อซ้ำซาก และน่าจะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้

แต่ Drucker ก็เขียนไว้ว่า “But every analysis of actual allocation of resources and efforts in business that I have ever seen or made showed clearly that the bulk of time, work, attention, and money first goes to “problems” rather than to opportunities, and, secondly, to areas where even extraordinarily successful performance will have minimum impact on results.” เวลา-งาน-ความสนใจ-เงิน-ทรัพยากรส่วนใหญ่กลับถูกใช้ไปในการแก้ไขปัญหาแทน ที่จะใช้ไปเพื่อสร้างและจัดการกับโอกาสในทางธุรกิจ (เป็นการแก้ไขเรื่องในอดีต แทนที่จะมองไปในอนาคต) และแม้ว่าจะแก้ปัญหาได้ ก็ลืมถามตัวเองก่อนว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญต่อองค์กรหรือไม่

2. What is the major problem?

มีความสับสนมากระหว่างประสิทธิภาพกับประสิทธิผล ซึ่งนำไปสู่ความไม่ชัดเจนระหว่างการทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อผลลัพธ์ (doing the right things) กับการทำสิ่งที่ถูกตรงตามระเบียบกฏเกณฑ์ (doing things right)

ในอีกบทความหนึ่ง Drucker เขียนไว้และกลายเป็น management quote อันมีชื่อเสียงว่า Efficiency is doing things right; effectiveness is doing the right things.” — ไม่มีอะไรจะไร้สาระเท่ากับการมีประสิทธิภาพสูงแต่ไม่มีประสิทธิผล คนเป็นนายควรจะถามตัวเองอยู่บ่อยๆว่าเหนื่อยทำไม-คุ้มหรือไม่ ตัวเลขต่างๆที่มี (kpi, financial ratio, growth) ต่างเน้นไปที่ประสิทธิภาพไม่ใช่ประสิทธิผล

ตำแหน่ง ผู้จัดการจึงมีอยู่เพื่อจัดสรรทรัพยากรต่างๆเพื่อประสิทธิผล ไม่ใช่เพื่อให้สิ่งต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติปกติ เพราะเหล่าพนักงานและระบบงานทำอย่างนั้นได้อยู่แล้วโดยไม่ต้องมีผู้จัดการ เรื่องที่ผู้จัดการต้องทำคือ “(1) a way to identify the areas of effectiveness (of possible significant results), and (2) a method for concentrating on them.”

3. What is the principle?

องค์กรธุรกิจไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หากแต่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม และในเมื่อมันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม กฏ 20-80 จึงมีผลมาก กล่าวคืองาน 10-20% อาจจะสร้างผลกระทบถึง 80-90% ในขณะที่งานส่วนใหญ่สร้างผลไม่มากแต่เหนื่อย — อันนี้อาจเป็นคำตอบสำหรับความรู้สึกที่ว่าทำไปก็เท่านั้นไม่มีใครเห็น ที่ไม่มีคนเห็นนั้น เป็นเพราะมันยังไม่ดีพอ-ไม่มีผลต่อองค์กรอย่างเพียงพอ-ยังปรับปรุงได้อีก

เป็นเรื่องผิดธรรมชาติหากว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำจะมีคนมาชื่นชม แต่เราก็มักจะคาดหวังการยอมรับใน ลักษณะแปลกๆแบบนี้อยู่เรื่อย ถ้าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นจริง อาจเป็นไปได้จากสาเหตุอย่างน้อยสองอย่าง คือ คนๆนั้นไม่มีอะไรทำ นอกจากเฝ้าดูเราตลอดเวลา หรือนั่นคือการสอพลอ

ความกล้าหาญของ”ผู้จัดการ” คือการทำในสิ่งที่ต้องทำ เพื่อตอบคำถามทั้งสาม


บาปใหญ่-บาปลึก

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 February 2009 เวลา 0:25 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4824



Main: 0.13883185386658 sec
Sidebar: 0.30117321014404 sec