ตรวจปริมาณฝนระยะไกล

อ่าน: 2876

ไปเจอข้อมูลการตรวจปริมาณฝนจาก Tropical Rainfall Measuring Mission ซึ่งเป็นภารกิจร่วมระหว่าง NASA และ JAXA ใช้เครื่องมือวัดต่างๆ ในดาวเทียมวัดปริมาณฝน ซึ่งเมื่อเกิดฝนตกหนักในพื้นที่สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราชเมื่อเร็วๆ นี้ ก็ให้ข้อมูลออกมาว่าเกิดฝนตก 1200 มม. ใน 24 ชั่วโมง อันเป็นเหตุให้เกิดอุทกภัยใหญ่ในพื้นที่ดังกล่าวได้ถูกต้อง

การวัดปริมาณฝนในลักษณะนี้ จึงน่าสนใจกว่าการดูภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยแสงอินฟราเรด ภาพสีจริง หรือภาพเรดาร์ตรวจอากาศในลักษณะที่ว่าเมื่อเห็นเมฆ ไม่ได้แปลว่าฝนตก; ผู้เชี่ยวชาญทางอุตุนิยมวิทยา ใช้ข้อมูลอื่นประกอบจนพอบอกได้ว่าอะไรเป็นเมฆ อะไรเป็นฝน มีปัญหาสองอย่างคือ (1) ผู้เชี่ยวชาญ ผิดได้เหมือนกัน (2) เราตรวจสอบเองไม่ได้ โดยปกติก็มักจะเชื่อและระวังตัวไว้ก่อน

เมืองไทยตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร มีทะเลใหญ่ขนาบข้างทั้งสองด้าน อุณหภูมิของน้ำทะเลมีความสำคัญ เพราะน้ำทะเลเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ได้มาก ความร้อนเหล่านี้สามารถถ่ายไปเป็นความร้อนแฝง ทำให้น้ำทะเลกลายเป็นไอ เป็นเมฆ เติมเชื้อปริมาณน้ำและความรุนแรงให้กับพายุที่พัดผ่านมาในทะเลแถวนี้ได้ (ที่ไหนๆ ก็เป็นอย่างนี้)

ตัวอย่างของการเติมปริมาณน้ำและความรุนแรงที่เห็นชัด ก็คือพายุไซโคลนนาร์กีสในปี 2551 เส้นทางของพายุ พัดเลียบฝั่งพม่า ตาพายุอยู่ชายฝั่งบนบก รัศมีของพายุครอบคลุมทั้งบนบกและในน้ำ ดังนั้นนาร์กีส จึงได้รับน้ำและพลังงานจากส่วนที่อยู่ในน้ำ เติมความรุนแรงลงไปเรื่อยๆ จนพม่าตอนล่างแหลกราญไป แต่เมื่อตาพายุเคลื่อนตัวลึกเข้ามาในแผ่นดินจนจะเข้าเขตพรมแดนไทย พายุอยู่ห่างฝั่งมากแล้ว อ่าวเบงกอลไม่สามารถเติมพลังงานให้กับพายุได้อีก นาร์กีสจึงสลายตัวไป ก่อนที่จะทำความเสียหายแต่แม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่

รูปสำคัญที่อยากให้ดู คือรูปปริมาณฝนล่าสุดอันนี้ครับ (คลิกบนรูปเพื่อขยาย) มีหรือไม่มี มาหรือไม่มา ตัดสินใจกันเองนะครับ

เวลาได้ยินใครบอกว่าพายุมา ย้อนมาดูตรงนี้ได้นะครับ (bookmark เอาไว้ได้) ถ้าข้อมูลไม่เปลี่ยนเป็นข้อมูลล่าสุด รีเฟรชเบราว์เซอร์อีกที

« « Prev : ไฮโซจุดไฟ

Next : เที่ยวอุทัย » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 April 2011 เวลา 0:50

    เรื่องนาร์กีสบุกพม่า ไม่รู้มาก่อนว่าน้ำทะเลมีส่วนเติมกำลังสมทบให้รุนแรงขึ้นได้ คนดอยเลยรอดตัวไป แต่ปริมาณน้ำฝนตกใส่ภาคใต้คราวนี้ คงเป็นสถิติไปอีกนาน
    ที่อีสานฝนตกยังไม่ทั่วฟ้า สวนป่ายังต้องการน้ำอีกมาก ถ้าถล่มเท่าภาคใต้ก็ไม่เดือดร้อนเท่าไหร่นักเพราะเป็นที่ราบ อาจจะท่วมแต่ไม่มีภูเขาถล่ม ลดไปได้เรื่องหนึ่ง อิ

  • #2 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 April 2011 เวลา 1:10
    เนื่องจากนาร์กีสเป็นพายุหมุนซึ่งเคลื่อนที่ไปทางตะวันออก บริเวณประสบภัยในพม่า จึงโดนลมพายุส่วนหน้าพัดขึ้นจากทางใต้ครั้งหนึ่ง และลมพายุส่วนหลังพัดลงจากทางเหนือครั้งหนึ่งครับ สองเด้งเลย

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.2603919506073 sec
Sidebar: 0.15980005264282 sec